|
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ที่ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี เยื้องศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 7 งาน 22 ตารางวา แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่
พระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า "วัดเฉลิมพระเกียรติ" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสร้างวัดเฉลืมพระเกียรติไม่แล้วเสร็จ ก็ทรงประชวร และเสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่อยู่ รัชกาลที่ 4 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้วจึง ทรงรับพระราชภารกิจ ดำเนินการสร้างต่อ จนเสร็จเรียบร้อย วัดเฉลิมพระเกียรตินี้จึงเป็นอีกวัดหนึ่งในหลายๆ วัดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างค้างไว้ และรัชกาลที่ 4 ทรงรับเป็น พระราชภารกิจดำเนินการต่อภายในวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารมีอุโบสถที่สร้างด้วย สถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน มีภาพเขียนฝาผนังอันสวยงาม |
|
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก สูง 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระนาม พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระนามว่า พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา ส่วนภายนอกมีลายปูนปั้นประดับกระเบื้อง หน้าบัน ลวดลายปูนปั้นที่กรอบประตูหน้าต่าง สวยงามมาก |
|
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง มาร่วม 135 ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ เมืองนนทบุรีเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของพระอัยกา พระอัยกี และเป็นสถานที่ประสูติของ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ เนื่องจากพระอัยกา (นามเดิม บุญจัน เคยเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดนนทบุรีที่ พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน |
|
สมควรที่จะสร้างพระอารามหลวง ขึ้นไว้เพื่อเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระอัยกา พระอัยกี และ สมเด็จพระราชชนนี จึงได้โปรดให้พระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง สร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น โปรดให้สร้าง ป้อมปราการก่ออิฐถือปูน มีใบเสมา (ทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง)เป็นรูป 4 เหลี่ยมไว้รอบวัดเพิ่อเป็น อนุสรณ์ด้วยแล้ว |
|
|
|