![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
วัดไชยวัฒนาราม | |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระ ชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | |||
![]() |
![]() |
วัดพนัญเชิงวรวิหาร | |
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิง ศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” | |||
![]() |
![]() |
วัดราชบูรณะ | |
ปัจจุบันยังปรากฏซากของเสาพระวิหารและฐานชุกชีพระ ประธานเหลืออยู่ พระปรางค์ประธาน เป็นศิลปะอยุธยาสมัยแรกซึ่งนิยมสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมขอมที่ให้พระปรางค์ เป็นประธานของวัด ช่องคูหาของพระปรางค์มีพระพุทธรูปยืนปูนปั้นประดิษฐานช่องละ 1 องค์ องค์ปรางค์ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ เทวดา นาค พระปรางค์องค์นี้มีลวดลายสวยงามมาก ภายในกรุปรางค์มีห้องกรุ 2 ชั้น สามารถลงไปชมได้ ชั้นบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเลือนลาง ชั้นล่างซึ่งเคยเป็นที่เก็บเครื่องทอง มีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีแดงชาดปิดทองเป็นรูปพระพุทธรูปปางลีลาและปางสมาธิ รวมทั้งรูปเทวดาและรูปดอกไม้เมื่อ พ.ศ. 2500 | |||
![]() |
![]() |
วัดหน้าพระเมรุ | |
ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้าง วัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046 วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบ ศึกเมื่อ พ.ศ. 2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส | |||
![]() |
![]() |
วัดพระศรีสรรเพชญ์ | |
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดิน เดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา | |||
![]() |
![]() |
พระราชวังบางปะอิน | |
อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และเป็นเคหสถานเดิมของ พระมารดาซึ่งเป็นหญิงชาวบ้านที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระ ราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเรือเกิดล่มตรงเกาะบางปะอิน พระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะบางปะอินตรง บริเวณเคหสถานเดิมของพระมารดาในปี พ.ศ. 2175 พระราชทานชื่อว่า | |||
![]() |
![]() |
วัดใหญ่ชัยมงคล | |
เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัต มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” | |||
![]() |
![]() |
วัดพุทไธศวรรย์ | |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์ และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเรียกว่า “ตำหนักเวียงเหล็กหรือเวียงเล็ก” หลังจากนั้นพระองค์ไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน (บึงพระราม) จึงสถาปนาสถานที่นี้เป็นวัดพุทไธศวรรย์ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธาน พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมแต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนัก นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ หมู่พระเจดีย์สิบสององค์ และวิหารพระนอน | |||
![]() |
วัดราชประดิษฐาน | ||
อยู่ริมคลองประตูข้าวเปลือก ฝั่งตะวันตก ถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นวัดที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเฑียรราชทรง ผนวชอยู่ และเมื่อก่อนเสียกรุงฯ ใน พ.ศ.2310 พระเจ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต (ขุนหลวงหาวัด) ซึ่งทรงผนวชอยู่ ณ วัดประดู่โรงธรรม นอกพระนครก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดนี้ จวบจนกระทั้งเสียกรุงฯ แล้ว จึงถูกพม่าเชิญไปยังประเทศพม่าด้วย ที่วัดนี้มีสิ่งที่ควรทราบอยู่อย่างหนึ่งคือ ที่ผนังพระอุโบสถเก่าของวัดนี้มีภาพเขียนสมัยอยุธยา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระเนตร และโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรมถ่ายอย่างภาพนั้นไว้ ในรัชกาลที่ 5 แรกเสวยราชย์ก็เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพเขียนดังกล่าวนี้ถึง 2 ครั้ง ปัจจุบันปรากฏว่ารูปภาพลบเลือนไปหมด เพราะพระอุโบสถไม่มีหลังคา และพระอุโบสถหลังนี้ทางวัดได้รื้อถอนเมื่อ พ.ศ. 2507 เพื่อสร้างพระอุโบสถใหม่ ในปัจจุบันได้รวม "วัดท่าทราย" (ร้าง) ซึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกศเป็นที่อยู่ของพระมหานาค ผู้รจนา "ปุณโณวาทคำฉันท์" อันมีชื่อเสียงอยู่ในวงวรรณคดีทุกวันนี้ เข้าเป็นวัดเดียวกันด้วย เรียกว่า "คณะท่าทราย" | |||
![]() |
![]() |
วัดแม่นางปลื้ม | |
เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ วัดนางปลื้ม” หรือ “วัดสมปลื้ม” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.1920 บริเวณที่ตั้งวัดเคยเป็นที่ตั้งค่ายของพม่า ซึ่งยกมาล้อมกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง ยังมีเนินค่ายปรากฏอยู่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกพม่า”ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม จากรูปแบบเจดีย์ประธานของวัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างสมัยเดียวกับวัดธรรมิกราช และวัดมเหยงคณะ กล่าวคือ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมองค์ระฆังคว่ำแบบเจดีย์ทรงลังกา ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ล้อมเช่นเดียวกัน และยังประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่หน้าบันพระวิหารด้วย |
|||
![]() |
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร | ||
อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้เส้นทางเดียวกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยว ซ้ายข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชฯ จากนั้นเลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนักก็จะถึงวัดนี้ วัดนี้เดิมชื่อ “วัดกษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยามีพระปรางค์ใหญ่เป็นประธานหลักของวัด และยังมีพระอุโบสถสมัยอยุธยาซึ่งมีลายดาวเพดานจำหลักไม้งดงามมาก ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นวัดที่มีความสวยงามมากวัดหนึ่ง | |||
![]() |
วัดสมณโกฏฐาราม | ||
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยาก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกทางด้านข้าง 4 ด้าน ภายในพระอุโบสถมีหลังคาต่อเป็นโครงไม้แบบหน้าจั่ว ประดิษฐานพระประธาน กว้างประมาณ 3.5 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีวิหารขนาดใหญ่ วัดนี้มี พระปรางค์ องค์ใหญ่รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าแห่งอื่นเข้าใจว่าเลียนแบบเจดีย์เจ็ดยอดของ เชียงใหม่ เป็นพระปรางค์ที่สร้างบนเจดีย์องค์เดิม มีมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณ 2 ทาง สันนิษฐานว่า พระปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นในราวสมัยอยุธยาตอนกลาง นอกจากนี้ยังมี เจดีย์ระฆัง ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างพระปรางค์และพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาแต่แรกเริ่มการสร้างวัดตามลักษณะของเจดีย์และลวดลาย ที่ประดับอยู่บนบัลลังก์ ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้ได้สร้างทับรากฐานอาคารเดิมอันเป็นงานที่สร้างขึ้นใน สมัยอยุธยาตอนต้น | |||
![]() |
![]() |
วัดท่าการ้อง | |
เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ท่ามกลางชุมชนอิสลาม 2 หมู่บ้านคือ บ้านท่ากับบ้านการ้อง อันเป็นวัดพุทธศาสนาที่อยู่ท่ามกลางชุมชนมุสสิม วัดท่าการ้องตั้งอยู่ที่บ้านท่า เป็นวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ นามว่า "พระพุทธรัตนมงคล" หรือที่เรียกกันว่า "หลวงพ่อยิ้ม" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ขณะที่บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองและสงบสุข ดังจะเห็นได้จากพระพุทธลักษณะที่งดงามและพระพักตร์ที่มีความเมตตา วัดท่าการ้อง ได้ตกแต่งบริเวณวัดให้สวยงามด้วยไม้ดอกไม้ประดับเป็นระเบียบ รวมทั้งมีห้องน้ำที่ตกแต่งสวยงามจนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด สุดยอดส้วมแห่งปีระดับประเทศ ปี 2549 ประเภทวัดและศาสนสถาน ติดต่อสอบถามวัดท่าการ้องโทร. 0 3532 3088, 0 3521 1074 |
|||
![]() |
![]() |
ปราสาทนครหลวง | |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ในเขตตำบลนครหลวง เดิมเป็นตำหนักที่ประทับของกษัตริย์ในระหว่างเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรีและเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จไปลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. 2174 พระองค์โปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทศิลาที่เรียกว่า “พระนครหลวง” ในประเทศกัมพูชา นำมาสร้างใกล้กับวัดเทพจันทร์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชา กลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยประการใดไม่ปรากฏ องค์ปราสาทสีเหลืองงดงาม ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้างอยู่ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีฯเปิดเมื่อ พ.ศ. 2538 | |||
![]() |
![]() |
วัดธรรมิกราช | |
เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังข บุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงเพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะและที่วิหารหลวงแห่ง นี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง ปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สำหรับวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น พระราชมเหสีของพระองค์ทรงสร้างพระวิหารถวายตามคำอธิษฐานที่ขอให้พระราชธิดา ทรงหายประชวร ไว้ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือของพระเจดีย์สิงห์ล้อม 52 ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ช้างล้อม พระพุทธไสยาสน์มีความยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทปิดทองประดับกระจก | |||
![]() |
ล่องเรือรอบเกาะเมือง | ||
เป็นการล่องเรือตามเส้นทางรอบเกาะเมืองหลวงเก่า ชมวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบเกาะเมืองอยุธยามากกว่า 18 วัด และชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามริมน้ำสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เรือนาวานคร โทร. 0 1658 9148, 0 1928 2887 เรือเบญจรงค์ โทร. 0 3521 1036 ใช้เวลาในการล่องเรือประมาณ 1 ชั่วโมง | |||
![]() |
![]() |
สวนกล้วยไม้บางไทรการ์เด้น | |
ตั้งอยู่ริมถนนสามโคก-เสนา ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร เป็นสวนกล้วยไม้ปลูกบนดินแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามสกุลมอ คาลาและกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์เหมือนสวนทิวลิปในประเทศฮอลแลนด์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอนการปลูกกล้วยไม้ เพื่อการท่องเที่ยวและทัศนศึกษา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมทุกวันโดยไม่เก็บค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3537 2443-6 โทรสาร 0 3537 2441 E-mail: yadhna_t@hotmail.com |
|||
![]() |
![]() |
โบราณสถานวัดนางกุย | |
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 5 ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยากว่า 400 ปี เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีสิ่งสำคัญประจำวัดคือ พระพุทธรูปศิลา สมัยทวารวดี ผู้ที่สร้างวัดนางกุย คือ นางกุย เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจึงได้สร้างวัดขึ้น สมัยก่อนวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุยได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ได้มาทำการบูรณปฎิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนางกุยเป็นวัดหนึ่งที่ได้รับการบูรณะ เช่น หน้าอุโบสถ หน้าบัน มีรูปนารายณ์ทรงครุฑ และรอบอุโบสถยังมีเสมาคู่ รวมทั้งเจดีย์ และพระปรางค์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 หลวงพ่อยิ้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่แกะจากไม้สักทองและลงลักปิดทองเป็นพระเก่าแก่ อยู่คู่กับวัดมานาน จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ว่า สมัยก่อนหลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาติดอยู่บริเวณหน้าวัด ทางเจ้าอาวาสได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มมาประดิษฐานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่ตะเคียนทอง เป็นต้นตะเคียนใหญ่ที่อยู่คู่วัดมานานกว่า 400 ปี และได้ยืนต้นตายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2540 ทางวัดจึงได้นำมาแกะสลกเป็นรูปแม่ตะเคียนทอง และนำมาไว้บนตอตะเคียนต้นเดิม เพื่อให้คนมาสักการะบูชา ปัจจุบันมีผู้มากราบไหว้ขอโชคลาภจากแม่ตะเคียนทองเป็นจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดนางกุย โทร. 08 9105 3441, 08 9141 0509 |
|||
![]() |
วัดช้างใหญ่ | ||
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดตูม ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามตำนานท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญที่มีความสามารถพิเศษในการเลี้ยงช้าง ฝึกถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจ้าพระยาปราไตรจักร เป็นช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ หัวหน้าชาวมอญได้รับแต่งตั้งเป็นจาตุรงคบาท ความคุมช้างศึก ต่อมาได้เป็นทหารเอกแม่ทัพหน้าชนะศึกหลายครั้งคือ พระยาราชมนู ตำแหน่งสูงสุดที่เจ้าพระยาอัครเสนาบดีสมุหกลาโหม เพื่อเป็นอนุสรณ์ของชาวมอญและความสามารถของพระยาช้าง เมื่อร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดไว้ในพระพุทธศาสนาจึงได้ให้นามว่า วัดช้างใหญ่ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 3571 3201 หรือพระสุทน โทร. 08 1365 1732 www.watchangyai.com | |||
![]() |
อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ | ||
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมือง ตรงข้ามวัดพนมยงค์ ถนนอู่ทอง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานแด่ท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งท่านเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนในการทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และท่านได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี 2542 ภายในอนุสรณ์สถานประกอบไปด้วย เรือนไทยพิพิธภัณฑ์ , เรือนไทยหอประชุมอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ อนุสาวรีย์มิใช่อนุสรณ์ที่เป็นรูปเหมือนของท่านศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ แต่เป็นรูปสัญลักษณ์แสดงอุดมการณ์ที่สำคัญยิ่งของท่าน 6 ประการ ดังนั้นอนุสาวรีย์จึงสร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประกอบด้วยเสากลม 6 ต้น รองรับหลังคาเรือนไทย ตั้งอยู่ในสระวงกลมซึ่งมีน้ำล้อมรอบ ความสงบนิ่งของน้ำในสระหมายถึงสันติภาพ และภายใต้หลังคามีไฟไม่รู้ดับส่องสว่างหมายถึงความเป็นอมตะของอุดมการณ์ของ ท่าน ผู้สนใจเข้าชมติดต่อได้ที่ โทร. 0 3524 3586 หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 0 2613 3030-3 และ www.pridiinstitute.com |
|||
![]() |
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | ||
อยู่ริมถนนสายอยุธยา-อ่างทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา ห่างจากเกาะเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กม. บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทยนับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องอธิปไตยและ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นไท เมื่อ พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกระทำศึกอย่างเหี้ยมหาญ เป็นผลให้อริราชศัตรูต้องพ่ายแพ้ไป พื้นที่นี้จึงได้รับการพัฒนาสร้างเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์สถาน และรำลึกถึงมหาวีรกรรมในครั้งนั้น พระบรมราชานุสาวรีย์มีพื้นที่ทั้งหมด 1,075 ไร่ ประกอบด้วยสระเก็บน้ำ พื้นที่จัดกิจกรรม มีภูมิทัศน์บริเวณรอบอนุสาวรีย์สวยงาม สวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน พื้นที่รับน้ำทำการเกษตร | |||
![]() |
![]() |
วัดพิชัยสงคราม | |
วัดพิชัยสงครามตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2900 เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีรอยุธยามีนามปรากฏในราชพงศาวดาร ว่า “ วัดพิชัย ” บางแห่งเขียนว่า “ วัดพิไชย ” ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า “ วัดพิชัยสงคราม ” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ 4 หรือ 5 ในคราวที่ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์เนื่องจากเป็น วัดร้างในช่วงปลายสมัยอยุธยาเป็นต้นมาที่ได้นามอย่างถือเอาเหตุผลที่สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากวัดพิชัยมาได้ นับว่าได้รับชัยชนะ ต่อมาเมื่อได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์วัดขึ้นจึงขนานนามวัดใหม่เป็นการเทิดพระ เกียรติและอนุสรณ์แห่งสถานที่วัดนี้ วัดพิชัยสงครามนับเข้าเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1920 | |||
![]() |
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร | ||
อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม แต่พอถึงสามแยกให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ วัดนี้เดิมชื่อว่า “วัดทอง” เป็นวัดที่พระบรมมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้าง ไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดทองขึ้นใหม่และพระราชนามว่า“วัดสุวรรณดาราราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์ คือ “ทองดี” และ “ดาวเรือง" | |||
![]() |
วัดกล้วย | ||
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2200 (ยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ติดกับแม่น้ำป่าสัก นอกเกาะตัวเมืองอยุธยาไปทางทิศตะวันออกใกล้กับสะพานนเรศวร หรือห่างจากสถานีรถไฟไปประมาณ ครึ่งกิโล
วัดกล้วยเป็นวัดที่มีความสำคัญมากในทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น ศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำ เป็นที่จอดเรือสินค้าของชาวภาคเหนือ เคยเป็นสนามรบและที่ตั้งกองทหารของพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในวัดมีพระประธานในอุโบสถเก่าเป็นหินสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างด้วยทอง เหลือง ภายในบรรจุด้วยวัตถุมงคล |
|||
![]() |
วัดกุฎีดาว | ||
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองหรืออยู่ทางด้านทิศตะวันออกของสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา เป็น วัดเก่าแก่ ฝีมือการสร้างงดงามยิ่ง เห็นได้จากซากอาคาร เสาบัว และยอดพระเจดีย์ที่หักโค่นลงมา แม้จะปรักหักพังไปหมดแล้ว แต่ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามในอดีต ปัจจุบันเป็นวัดร้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง การเดินทางไปวัดกุฎี ดาวค่อนข้างสะดวก คือไปทางรถยนต์จากทางแยกไปทางทิศเหนือของวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้มประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดซึ่งตั้งอยู่ริมถนนทางฝั่งซ้าย | |||
![]() |
ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก | ||
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีมูลเหตุความเป็นมาเกี่ยวกับความรักเป็นสำคัญ ศาลเจ้าแม่นั้นตั้งอยู่ริมท่าน้ำแห่งวัดพนัญเชิงวรวิหาร ซึ่งชาวจีนเรียกกันว่า ศาลเจ้าแม่อาเนี้ย ประวัติของศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากนี้มีความเป็นมายาวนานที่ถ่ายทอดกันฟังใน หมู่คนกรุงเก่ามาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีเนื้อหาว่าพระเจ้ากรุงจีนได้พระราชทานพระราชธิดาที่มีชื่อว่าพระนาง สร้อยดอกหมาก ให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้งกษัตริย์แก่งกรุงอโยธยา โดยจัดกระบวนเรือสำเภาส่งเสด็จพระนางสร้อยดอกหมากมาสู่กรุงอโยธยาทางชลมารค เมื่อขบวนเรือมาถึงพระนางทรงเห็นแต่เสนาอำมาตย์มารอรับ แต่กลับไม่เห็นเจ้าชายสายน้ำผึ้งซึ่งกำลังเตรียมการอยู่ภายใน ทรงน้อยพระทัยที่ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และไม่ยอมเสด็จลงจากเรือ ครั้นเมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จลงเรือมาเชิญพระนางด้วยตนเอง พระนางจึงตัดพ้อต่อว่า โดยพระเจ้าสายน้ำผึ้งได้ทรงสัพยอกไปว่า "เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด" พระนางได้ฟังดังนั้นก็น้อยพระทัยมาก จึงกลั้นลมหายใจจนสิ้นพระชนม์ลงบนเรือลำนั้นเอง |
|||
![]() |
![]() |
สถาบันอยุธยาศึกษา | |
ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในด้านอยุธยาศึกษา ที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. การจัดแสดงนิทรรศการบนเรือนไทย 5 หลัง ได้แก่ ห้องอยุธยาศึกษา ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ห้องมรดกทางด้านศิลปกรรม ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องพิธีการ 2. การแสดงกิจกรรม "อยุธยายามค่ำ" จัดแสดงในราชสำนัก วิถีชีวิต ความเชื่อของคนอยุธยา มีการแสดงดนตรี - นาฎศิลป์ไทย นั่งรถรางชมโบราณสถานในยามค่ำคืน (มีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์) 3. การจัดแสดง สาธิต จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 4. การให้บริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 5. การจัดแสดงทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน ทำขวัญนาค พิธีโกนจุก เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 1407 |
|||
![]() |
![]() |
พิพิธภัณฑ์เรือไทย | |
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ ถนนบางเอียน ภายในบริเวณบ้านพักของอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลาผู้มีความรักและผูกพันกับเรือและน้ำมาตั้งแต่เด็ก ท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบ้านทรงไทยขนาดใหญ่ไม้สักฝาเฝี้ยม ชั้นล่าง จัดแสดงเรือจำลองต่างๆ เรือพระราชพิธี โดยต่อขึ้นตามแบบเรือจริงทุกประการ ปัจจุบันมีผลงานนับร้อยลำตั้งแต่เรือเดินสมุทรไปจนถึงเรือแจวลำเล็กๆ และมีส่วนที่จัดแสดงเรือไทยพื้นบ้านนานาชนิดหลายรูปแบบที่ปัจจุบันหาดูได้ ยากตามแม่น้ำลำคลอง เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง ตั้งแต่เวลา 08.00–17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 1195 | |||
![]() |
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา | ||
อยู่บริเวณอาคารศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลัง เก่า จัดตั้งขึ้นตามแผนแม่บทการอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูนครประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงศาลากลางเก่าของจังหวัดนครศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลวิชาการด้านการท่องเที่ยว โดยภายนอกยังคงรูปแบบเดิมไว้ ซึ่งหน้าอาคารยังเป็นรูปปั้นวีรกษัตริย์และวีรกษัตรี สำคัญสมัยอยุธยา 6 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เปิดให้เข้าชม วันพฤหัสบดี-วันอังคาร (หยุดทำการวันพุธ) ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.สามารถเข้าชมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 3521 0225 | |||
![]() |
![]() |
หมู่บ้านทำมีดอรัญญิก | |
ประวัติความเป็นมา บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง เป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาเเน่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เพราะเป็นเเหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมา เกือบสองร้อยปีการเดินทาง ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมาก มีรถยนต์วิ่งถึงหมู่บ้านเลยโดยจะต้องเดินทางเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีรถประจำทางจอดอยู่ที่ตลาดเจ้าพรหม จะเห็นป้ายติดหน้ารถว่า “ อยุธยาถึงท่าเรือ” รถจะออกจากตัวเมืองไปทางถนนสายเอเชีย (ทางหลวงเเผ่นดินหมายเลข 32) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายเอเชียไปทางจังหวัดนครสวรรค์ เลยโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชฯไปประมาณ100เมตร เลี้ยวซ้ายลอดใต้สะพานที่จะข้ามเเม่น้ำป่าสัก เข้าถนนสายอำเภอนครหลวงตลอดทางมีป้ายบอกที่ตั้งชุมชนฯ ทั้งสองเป็นระยะ หรือถ้าอยากจะเดินทางไปโดยทางน้ำก็ได้ โดยจะต้องลงเรือในตัวจังหวัดที่หน้าวังจันทรเกษม ย้อนขึ้นไปตามเเม่น้ำป่าสัก ผ่านโรงงานวัตถุระเบิดช่างเเสง (ของกรมสรรพวุธทหารบก) เเละอำเภอนครหลวงตามลำดับ การเดินทางใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะถึงชุมชนฯ เมื่อได้เเวะไปชมก็จะได้รับการต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีจากชาวบ้านทั้งสอง หมู่บ้านเป็นอย่างดี |
|||
![]() |
วัดชุมพลนิกายาราม | ||
อยู่บริเวณหัวเกาะตรงสะพานข้ามไปยังสถานีรถไฟบางปะอิน ตำบลบางเลน ด้านเหนือติดกับพระราชวังบางปะอิน ด้านตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2175 บริเวณเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์ ต่อมาขุนหลวงท้ายสระซึ่งผนวชอยู่ที่วัดโคกแสงได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์ใน ครั้งกระนั้น และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2406 ดังมีพระกระแสพระราชปรารภอยู่ในศิลาจารึกซึ่งติดอยู่ที่พระเจดีย์ทั้งสอง องค์หลังพระอุโบสถ (แต่ปัจจุบันอ่านไม่ออกเพราะลบเลือน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงปฏิสังขรณ์ ทรงซ่อมพระอุโบสถและพระวิหาร พระประธานปูนปั้นหินทรายในพระอุโบสถทั้ง 7 พระองค์และมีพระประวัติจารึกแผ่นศิลาติดอยู่ตามผนังพระอุโบสถด้วยทุกพระองค์ ในพระอุโบสถมีภาพเขียนพระพุทธประวัติ หอระฆังด้านใต้พระอุโบสถมีระฆังขนาดใหญ่และเสียงดังมาก | |||
![]() |
วัดตาลเอน | ||
เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัย อยู่เป็นจำนวนมากเช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะหันแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 347 ปากทางเข้าวัดจะอยู่ทางขวามือและเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร | |||
![]() |
วัดไก่ | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาไปประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ เข้าไป 600 เมตร (ปากทางเข้าจะมีป้ายสัญลักษณ์เป็นรูปลิง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้างภายหลังจากการเสียกรุงแก่พม่า ประมาณปี พ.ศ. 2535 มีพระสงฆ์มาบูรณะและตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัด และให้ชื่อว่า “วัดไก่” เนื่องจากมีไก่โดนโรคระบาดตายไปจำนวนมาก ส่วนฝูงลิงป่าที่อาศัยอยู่ที่วัดนี้ไม่มีใครบอกว่าอยู่มาตั้งแต่เมื่อใดเป็น ลิงแสม หรือลิงกัง มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่เป็นลิงที่มีนิสัยน่ารัก เชื่องไม่ดุร้าย | |||
![]() |
![]() |
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง | |
ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และรมด้วยน้ำยาสีเขียว ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศา ฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 | |||
![]() |
![]() |
วัดตูม | |
ตั้งอยู่บริเวณริมคลองวัดตูม ถนนอยุธยา-อ่างทอง ห่างจากตัวเมืองอยุธยา ประมาณ 6-7 กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลวัดตูม มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่เศษ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างตั้งแต่เมื่อไร ใครเป็นผู้สร้าง ทราบกันแต่เพียงว่าเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยเมืองอโยธยา ก่อนที่จะตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี วัดนี้คงเป็นวัดร้างมาครั้งหนึ่งเมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีผู้ปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกและเป็นวัดที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษามาจนทุกวันนี้ วัดตูมนี้เป็นที่สำหรับลงเครื่องพิชัยสงครามแต่ดั้งเดิมมาคงเป็นแต่แรกตั้ง กรุงอโยธยาตลอดจนถึงทุกวันนี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี | |||
![]() |
เขื่อนพระราม 6 | ||
ตั้งอยู่หมู่ที่10 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย สร้างกันแม่น้ำป่าสักเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ "เขื่อนพระเฑียรฆราชา" ภายหลังปลี่ยนชื่อเป็นเขื่อนพระราม 6 เป็นเขื่อนในความดูแลของ กรมชลประทาน บริเวณริมเขื่อนมีศูนย์จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น วัดสะตือ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านเกิดที่ตำบลแห่งนี้,หลวงพ่อเลไลยก์ แห่งวัดไก้แจ้ เป็นต้น | |||
![]() |
ชุมชนชาวญวนตำบลไม้ตรา | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ตรา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ในอดีตกว่า 150 ปี ที่ตำบลนี้ได้มีชาวญวนที่อพยพจากเขตสามเสน กรุงเทพ ฯ มาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยจนกลายเป็นชุมชน ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก มีโบสถ์ในหมู่บ้าน ทาง อบต.ไม้ตราได้จัดสร้างแพริมน้ำเจ้าพระยาที่บริเวณหน้าโรงเรียนไตรราชวิทยา เพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารของชาวบ้าน มีอาหารเวียดนาม หรือ อาหารญวน อาทิ บัวลอยญวน ข้าวกรอบปากหม้อญวน ข้าวต้มมัดญวน ก๋วยเตี๋ยวญวน และมีอาหารไทย ขนมไทยรวมทั้ง พืช ผัก ผลไม้ มาจำหน่าย และมีโครงการจัดทำบ้านพักโฮมสเตย์ด้วย บริเวณนี้มีบรรยากาศที่สวยงาม สามารถมองเห็นศูนย์ศิลปชีพบางไทรที่อยู่ฝั่งตรงข้ามและเห็นวิถีชีวิตของชาว บ้านที่มีอาชีพหาปลาริมแม่น้ำ รวมทั้งสามารถแวะเที่ยวสถานที่ใกล้เคียงเช่น วัดท่าซุง ที่มีค้างคาวแม่ไก่ ได้อีกด้วย |
|||
![]() |
ป้อมและปราการรอบกรุง | ||
กำแพงเมืองที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างครั้งแรกนั้นเป็น เพียงเชิงเทินดิน และมีเสาไม้ระเนียดปักข้างบน ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงได้ก่ออิฐถือปูนขึ้น ตามพระราชพงศาวดารมีการสร้างป้อมต่างๆ อาทิ ป้อมมหาไชย ป้อมซัดกบ ป้อมเพชร ป้อมหอราชคฤห์และป้อมจำปาพลเป็นต้น ป้อมขนาดใหญ่ๆ มักตั้งอยู่บริเวณทางแยกระหว่างแม่น้ำ เช่น ป้อมเพชรตั้งอยู่ตรงที่บรรจบของแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสัก จัดเป็นสวนสาธารณะริมน้ำสำหรับนั่งเล่น ป้อมมหาไชยตั้งอยู่มุมวังจันทรเกษมบริเวณซึ่งเป็นตลาดหัวรอในปัจจุบัน ตัวป้อมได้ถูกรื้อเพื่อนำอิฐไปสร้างพระนครใหม่ที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1 | |||
![]() |
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา | ||
ศูนย์แห่งนี้เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.30น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชมสำหรับเด็ก นักเรียนและนักศึกษา ในเครื่องแบบ 5 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท นักเรียนต่างชาติ 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 5123 นอกจากนี้ด้านหลังศูนย์ประดิษฐานพระราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว มีอาคารท้องฟ้าจำลอง เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.30 น. มีบรรยายวันละ 2 รอบ 11.00 น.และ 14.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3532 2076-9 ต่อ 5011 | |||
![]() |
สวนศรีสุริโยทัย | ||
สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ในเขตทหาร กองสรรพาวุธซ่อมยาง สวนศรีสุริโยทัยจะอยู่ด้านหลัง องค์การสุราเป็นผู้สร้างสวนนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายอดีตพระมหากษัตริย์ทุก พระองค์ในที่ดินซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานชื่อ “สวนศรีสุริโยทัย” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 และองค์การสุราได้ทูลเกล้าฯ ถวายสวนนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระ ชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 สวนนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ประกอบด้วยศาลาอเนกประสงค์ พลับพลาสมเด็จพระสุริโยทัย อนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยแสดงเหตุการณ์ตอนสู้รบบนหลังช้าง ในสวนด้านหลังมีเนินเสมาหินอ่อนโบราณอายุกว่า 400 ปีบรรจุชิ้นส่วนพระพุทธรูปที่ชำรุดอัญเชิญมาจากวัดพุทไธศวรรย์ (พระตำหนักเวียงเหล็กของพระเจ้าอู่ทอง) ฯลฯ สวนนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. | |||
![]() |
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ | ||
ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่กว้างขวาง ในพื้นที่ปลูกต้นไม้ต่างๆในวรรณคดี ศาลาไทยและมีซากโบราณสถาน นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาพื้นที่เป็นสวนป่าสมุนไพรอีกด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จแทนพระองค์มาเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนีเมื่อ พ.ศ. 2543 การเดินทาง หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วให้ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปจนสุดถนน พอถึงสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาแล้ว จะเห็นสามแยกข้างหน้าให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงสามแยกไฟแดงแล้วเลี้ยวขวาตรงไป ผ่านโรงพยาบาลจังหวัดไปไม่ไกลนักจะเห็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์อยู่ทางขวา มือ | |||
![]() |
หมู่บ้านญี่ปุ่น | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายใน กรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากขึ้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นเดินเรือออกไปค้าขายกับชาวต่างชาติใน บรรดาพวกที่ไปค้าขายมีพวกหนึ่งเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่น มาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยารอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่น ๆ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยามากขึ้น โดยมีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา ยามาดา เป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุขรับราชการต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้า เมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นจำลอง นากามาซา ยามาดา และจารึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามา ตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน มีอาคารจัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ แบ่งออกเป็นอาคาร 9 ส่วน ประกอบด้วยบอร์ดนิทรรศการ การจัดแสดงสิ่งของและวีดีทัศน์ 3 ภาษา เปิดเวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชมคนไทย 20 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 5336 | |||
![]() |
หมู่บ้านโปรตุเกส | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก ห่างจากเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อ ปี พ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็น คือ โบราณสถานซานเปโตร หรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อปี พ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัยและมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ | |||
![]() |
วัดบรมพุทธาราม | ||
อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณ พ.ศ. 2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ใกล้ประตูชัย ประตูใหญ่บนแนวกำแพงเมืองด้านใต้ ที่ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี จึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำบานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร |
|||
![]() |
![]() |
วัดเสนาสนาราม | |
อยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ "วัดเสื่อ" พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะพระอุโบสถมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าพระอุโบสถหันหน้าสู่ทิศตะวันออก มีพระยืนประดิษฐานอยู่บนหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นภาพปั้นลงรักปิด ทอง เป็นรูปช้างเอราวัณขนาบด้วยแตร เหนือเศียรช้างเอราวัณเป็นพระอลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ "พระสัมพุทธมุนี" เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สมัยอยุธยาลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 2 นิ้ว สูง 3 ศอก 1 นิ้วประดิษฐานเหนือบุษบกปูนปั้นลงรักปิดทอง ฝาผนังพระอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรม ด้านบนเป็นภาพของเทพและอัปสรที่มาบูชาพระประธาน ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งหาชมได้ยาก ผนังด้าน หน้าภายในพระอุโบสถมีพระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องต้นเฉลิมพระมหาพิชัยมงกุฎ ประทับเหนือพระราชบัลลังก์ในกรอบไม้สัก | |||
![]() |
![]() |
วัดพรานนก | |
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลโพธิ์สาวหาญ อำเภออุทัย สร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. 2300 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระประธานในอุโบสถสร้างขึ้นด้วยทองเหลือง พระศิลาแรงสมัยกรุงศรีอยุธยานามว่า หลวงพ่อแดง ปางมารวิชัย และยังเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและ อนุสรณ์สถานพรานนก เนื่องจากเมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองใหญ่น้อยของไทยและในที่สุดได้ยกกอง กำลังมาล้อมพระนครไว้สำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งเป็นเจ้าเมืองตากได้ถูกเกณฑ์มาช่วยรักษาพระนครพิจารณาเห็นว่าไทยจะเสีย กรุงแก่พม่า จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมออกไปทางวัดพิชัยแล้วมาตั้งพลพรรคเพื่อหาเสบียงอาหาร ผ่านบ้านธนู บ้านข้าวเม่า บ้านโพธิ์สาวหาญและพักแรม ณ วัดพรานนก และได้ทำการกู้เอกราชในเวลาต่อมา เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของบรรพบุรุษนักรบไทย ประชาชนบ้านพรานนกพร้อมใจกันสร้างขึ้นและได้อัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชประทับบนหลังม้าศึก พร้อมด้วยทหารเอกคู่พระทัยสี่ท่านประดิษฐานไว้ ณ วัดพรานนกสืบมา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ โทร. 0 3525 5253, 08 1 853 2096 | |||
![]() |
วังหลัง | ||
ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดกษัตราธิราช เดิมเป็นอุทยานสำหรับเสด็จประพาสเป็นครั้งคราวเรียกว่า สวนหลวง และมีเพียงตำหนักที่พัก ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติมเป็นพระราชวังเพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถ หลังจากนั้นได้กลายเป็นที่ประทับของเจ้านายในพระราชวงศ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเจดีย์พระศรีสุริโยทัย | |||
![]() |
![]() |
วัดธรรมาราม | |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามเจดีย์พระศรีสุริโยทัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระอุโบสถขนาดย่อมก่อผนังหุ้มกลองหน้าหลังเชื่อมผนังเป็นหน้าบันยันอก ไก่ และปั้นปูนเป็นรูปลายเครือเถา ประดับถ้วยชาม และปั้นปูนลวดลายในตรงที่เป็นช่อฟ้าใบระกา ภายในมีโบราณสถานวัดธรรมาราม สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาระหว่างประเทศไทย และศรีลังกาครบรอบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2546 และครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับศรีลังกา ในปี 2548 นับเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง | |||
![]() |
วัดบางนมโค | ||
ตั้งอยู่ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อวัดนมโคเนื่องจากชาวบ้านบริเวณนั้นมีการเลี้ยงวัวควายกันมากกว่าที่ อื่น เมื่อครั้งเกิดสงครามกับพม่า พม่าได้มาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลสีกุกใกล้บริเวณวัดและได้ถือโอกาสมากวาดต้อน วัวควายจากชาวบ้านบางนมโคเอาไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า ภายหลังจึงได้มีการบูรณะวัดขึ้นใหม่ชาวบ้านก็มีการเลี้ยงวัวควายกันอยู่มาก จึงเรียกกันว่าวัดบางนมโค วัดบางนมโคมีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่่ 21 วา 4 งาน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ | |||
![]() |
![]() |
วัดวรเชษฐาราม | |
เป็นวัดสำคัญที่สุดวัดหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิตะวันตกของพระราชวังโบราณในเขตกำแพงเมืองพระนครศรีอยุธยาใน สมัยอยุธยา วัดนี้ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดยอด แขวงขุนธรณีบาล ตัววัดตั้งอยู่บนที่สูงมีคูน้ำล้อมรอบ โดยด้านใต้ติดกับคลองฝางและวัดโลกยสุธา ด้านตะวันออกติดกับวัดระฆัง (วัดวรโพธิ์) ด้านตะวันตกและด้านเหนือคือบริเวณชุมชนตลาดยอด ปัจจุบันนี้อยู่ในการปกครองตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพระราช | |||
![]() |
วัดเชิงท่า | ||
ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของคลองเมืองหรือแม่น้ำลพบุรีเดิม ตรงข้ามป้อมท้ายสนมและคลองปากท่อ ทางทิศเหนือของเกาะเมือง อยู่ตำบลท่าวาสุกรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เล่าสืบต่อกันมาว่า เศรษฐีมีลูกสาวสวยอยู่คนหนึ่ง รักกับชายหนุ่มแล้วพากันหนี ฝ่ายเศรษฐีก็เฝ้าคอยบุตรสาวจึงได้ปลูกเรือนหอไว้คอย จนหลายปีลูกสาวก็ไม่กลับมา เศรษฐีจึงได้สร้างวัดและถวายเรือนหอหลังนั้นให้แก่วัด เรียกชื่อว่า "วัดคอยท่า"วัดนี้ยังได้ชื่ออื่นอีกคือ วัดตีนท่า วันติน วัดคลัง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาโกษาปานได้ปฏิสังขรณ์วัด แล้วได้เปลี่ยนชื่อว่า "วัดโกษาวาส" และซ่อมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเชิงท่า |
|||
![]() |
![]() |
วัดมเหยงคณ์ | |
วัดมเหยงคณ์ตั้งอยู่ที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมเป็นอาณาบริเวณของวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยาได้ทรงสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 1981 ต่อมากลายเป็นวัดร้างมีสภาพเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีไว้ เป็นโบราณสถานแห่งชาติ และเป็นมรดกโลกที่ล้ำค่าอีกแห่งหนึ่ง วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ.2252 ระหว่างนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้น นอกกำแพงวัดเพื่อประทับทอดพระนคร การปฏิสังขรณ์ ซึ่งกินเวลานานถึง 3 ปีเศษ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลอง เป็นการใหญ่ถึง 7 วัน ตามพงศาวดารกล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่า เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2112 พระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ตั้งทัพหลวงบัญชาการอยู่ ณ วัดมเหยงค์ แห่งนี้ ระยะเวลาปิดล้อม กรุงศรีอยุธยานานถึง 9 เดือน ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของท่านพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) ที่มุ่งหวังจะมีส่วนช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผสมผสานกับแรงศรัทธาของญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย จึงทำให้บริเวณโดยรอบโบราณสถานวัดมเหยงคณ์ ที่เคยเป็นป่าเปลี่ยว รกร้างมานาน ได้กลับกลายเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐานที่สงบร่มรื่นในระยะเวลาไม่กี่ปี จนในปัจจุบันมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาบำเพ็ญทาน รักษาศีล และปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นจำนวนมาก อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยวชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างประเทศ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดมเหยงค์ วัดไชยวัฒนารามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัดมเหยงคณ์ โทร. 0 3524 2892, 0 3524 4335 หรือ www.mahaeyong.org |
|||
![]() |
วัดบรมวงศ์อิศรวราราม | ||
เดิมเป็นวัดราษฎร์มีนามว่า "วัดทะเลหญ้า" หรือวัดทำเลหญ้า เพราะตั้งอยู่กลางทุ่งหญ้า พอถึงฤดูฝนน้ำท่วมบริเวณนี้ทุกปี วัดทะเลหญ้าเป็นวัดโบราณ สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ได้กลายสภาพเป็นวัดร้างมาเป็นเวลาช้านาน พระอุโบสถ เสนาสนุสงฆ์ และถาวรวัตถุต่างๆ พังทลายเสียหายไปหมด คงเหลือแต่เนินพระเจดีย์พอเห็นเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นวัดร้างมาก่อนเท่านั้น ด้วยพระกุศลเจตนาในอันที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรจิรัฏิฐิติกาลสืบไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงเห็นว่า วัดร้างแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่บริเวณเงียบสงัด สมควรเป็นที่จำพรรษาบำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์สามเณร จึงได้ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดทะเลหญ้า ซึ่งเท่ากับได้ทรงสร้างใหม่ทั้งวัด เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์เมื่อปีพุทธศักราช 2418 ในรัชกาลที่ 5 และได้ถวายเป็นพระอารามหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร" | |||
|
|
||||||||||||||||||||||||
|