WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ถนนคนเดินวัวลาย...เป็น กิจกรรม การรวมตัวซื้อขายสินค้า และอาหารทางวัฒนธรรมล้านนา แต่เน้นหนักไปในสินค้าที่เป็น
เครื่องเงินล้านนา ทุกวันจะมีการแสดงโชวร์บนเวทีเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ล้านนา บนเสน่ห์ถนนวัวลายทั้งแถบ ยาวกว่า 3 ก.ม. ปิดถนนเฉพาะวัน
เสาร์เท่านั้น ของขายเยอะแยะมากมายตั้งแต่ของใช้ยันของกินทั้งกินเล่น และกินจริงๆ ไครมาเชียงใหม่ ไม่ควรพลาดอีกเช่นกัน หรือคนเชียงใหม่เอง
ว่างๆ ไม่รู้จะไปไหนก็แวะมาเดินเล่นได้ เปิดเวลา 16.00น.-23.00น. ถนนคนเดินอีกสายของเชียงใหม่ที่จะมีกันในช่วงเย็นค่ำของทุกเสาร์ คือที่ถนนวัวลาย ปากถนนสายนี้จะอยู่ตรงประตูเชียงใหม่
(ประตูเมืองด้านทิศใต้) เป็นถนนที่แยกออกจากถนนที่วิ่งรอบคูเมือง
ที่อยู่ด้านนอก ที่เป็นถนนวนขวาสังเกตว่าพอถึงประตูเชียงใหม่ แล้วมีถนนแยกซ้ายเฉียง ๆ เข้าไป นั่นคือถนนวัวลาย

นับแต่อดีตกาลที่ผ่านมาหลายร้อยปี ชุมชนย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่สร้างชื่อเสียงให้ กับเมืองเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างงาน และสร้างอาชีพให้กับชุมชนในวันนี้กำลังจะสูญหายไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เสียงตอกขันเงินที่เคยได้ยินมาตลอดนับแต่โบราณเริ่มแผ่วเบา
ลงทุกขณะ ด้วยเหตุนี้คนในชุมชนถนนวัวลายจึงพยายามทุกวิถีทาง เพื่อรักษา เอกลักษณ์ของ ล้านนา

ถนนคนเดินท่าแพ...เกิดขึ้น ครั้งแรกเนื่องจากสอดคล้อง
กับแผนการพัฒนาเมือง ที่ให้เมืองสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน การพัฒนาดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้เกิดการ
กระจายแนวคิดไปสู่ส่วนภูมิภาค ซึ่งหนึ่งในนั้นคือจังหวัดเชียงใหม่

การเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเสมือนการปลุกวัฒนธรรมของ
พื้นที่ท้องถิ่นให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง ถือว่าเป็นการ “คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน” ในครั้งแรกเริ่มวันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ –
อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2545 โดยใช้ชื่อว่า “10มหัศจรรย์ล้านนาที่ท่าแพ”
โดย ปิดถนนตั้งแต่แยกอุปคุตถึงประตูท่าแพ ความยาวประมาณ 950 เมตรและต่อมาหลังจากที่เทศบาลเมืองเชียงใหม่ได้ทำการปรับปรุง
สาธารณูปโภคลง ดินเป็นที่เรียบร้อย ถนนคนเดินประตูท่าแพจึงย้ายไปที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่ 31 สิงหาคา 2547 โดยระยะทางรวมกว่า 1.5 กิโลเมตร
ถนนคนเดินท่าแพ มีครบทั้ง ศิลปะ วัฒนธรรมและชีวิต จนเป็นอีกหนึ่งแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือน จากสองฝั่งทางเดิน เราจะถูกล้อมรอบด้วยงานศิลปะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานทำมือ อย่างงานแกะสลักไม้ สลักลายบนแผ่นเงินหรือแม้กระทั่งภาพวาดต่างๆ ศิลปะกับวัฒนธรรมย่อมเป็นของคู่กัน
ระหว่างทางเดินที่เราต่างสนใจในสิ่งที่วาง ขายอยู่นั้น ถัดจากทางเดินเข้าไปในกำแพง เราสังเกตเห็น วัดเจดีย์หลวงวรวิหารอุโบสถทำจากไม้ภายในประดิษฐานพระประธาน
สีทองเด่นเป็น สง่าเป็นวัดที่อยู่คู่กับถนนคนเดินเสมือนเครื่องยึด
เหนี่ยวจิตใจยามค่ำคืน ของผู้มาเยือน ศิลปะ วัฒนธรรมจะไม่สมบูรณ์แน่ถ้าสิ่งเหล่านั้นขาดชีวิต ชีวิตที่ว่านี้คือ ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่นำของมาขาย ผู้คนที่สร้างผลงาน ผู้คนที่มาเดินเล่น ด้วยความครบและเพียบพร้อมนี้เอง ที่เป็นเหตุให้ผู้คนที่มา
ยังเมืองเชียงใหม่ต้องไปสัมผัสกับถนนคนเดินท่าแพ สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปถนนคนเดินท่าแพ ถนนคนเดินนี้เปิดแค่วันอาทิตย์เท่านั้น

 
 
มีสินค้า งาน Hand made เป็นส่วนใหญ่ เหมาแก่การซื้อเป็นของฝาก หรือของใช้ส่วนตัวเลือกตามชอบ
 
 
กิจกรรมการแสดงต่างๆมีให้ชม มีหลายแนว ทั้ง คนตรีคนตาบอด , ดนตรีไทย , ตลอดถนน