พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน | ||
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง” ลักษณะเป็นพระตำหนักแบบไทยผสมยุโรป เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง สร้างด้วยไม้สักทอง พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด พระที่นั่งสมุทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา พระที่นั่งพิศาลสาครเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอาคารข้าราชบริพารฝ่ายหน้าเป็นบริวารหลายหลัง และมีแนวระเบียงยื่นลงสู่ทะเลเป็นที่ลงสรงน้ำ และพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเป็นโรงละครซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทร พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกได้แก่ ได้แก่ บ้านพักข้าราชบริพาร อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเจ้าพระยารามราฆพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3250 8443-4 เว็บไซต์ http://mrigadayavan.org สิ่งอำนวยความสะดวก - ลานจอดรถ - ร้านอาหาร - ร้านขายของที่ระลึก - รถเข็นสำหรับผู้พิการ - จักรยานให้เช่า หมายเหตุ - ผู้เข้าชมพระตำหนักต้องแต่งกายสุภาพ ผู้ที่ใส่กางเกงขาสั้นมีบริการผ้านุ่งให้สวมใส่ |
||
Camel Republic | ||
ท่องเที่ยว แนวตะออก สัมผัสความสนุกกับเครื่องเล่นแนว Advanture และสนุกกับการได้ขี่อูฐเหมือนได้อยู่กลางทะเลทราย |
||
Danus Hobby Farm | ||
บรรยากาศฟาร์ม แนวตะวันตก ทางฟาร์ม มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สนุสนาน ทั้งการถ่ายรูป ให้อาหารแกะ นั่งรถม้า ชมวิวรอบฟาร์ม และอื่นๆที่ทางฟาร์ม จัดเตรียมไว้ให้กับนักท่องเที่ยวได้สนุก และพักผ่อนกัน อย่างเต็มอิ่มค่ะ เหมาะกับการท่องเที่ยว ทั้งแบบครอบครัว และมาเป็นแบบคู่รัก |
||
พันธ์สุข(1000 สุข) | ||
เที่ยวฟาร์ม แนวตะวันตก ทางฟาร์ม มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สนุสนาน ทั้งการถ่ายรูป ให้อาหารแกะ นั่งรถม้า ชมวิวรอบฟาร์ม และอื่นๆที่ทางฟาร์ม เหมาะกับการท่องเที่ยว ทั้งแบบครอบครัว และมาเป็นแบบคู่รัก |
||
Swiss Sheep Farm | ||
ตั้งอยู่ จังหวัดเพชรบุรี บรรยกาศธรรมชาติ สไตล์ฟาร์ม ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส
บรรยากาศฟาร์ม แนวตะวันตก ทางฟาร์ม มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สนุสนาน
ทั้งการถ่ายรูป ให้อาหารแกะ นั่งรถม้า ชมวิวรอบฟาร์ม และอื่นๆที่ทางฟาร์มจัดเตรียม ไว้ให้กับนักท่องเที่ยวได้สนุก และพักผ่อนกัน อย่างเต็มอิ่มค่ะ เหมาะกับการท่องเที่ยว ทั้งแบบครอบครัว และมาเป็นแบบคู่รัก แบบว่าบรรยากาศให้มาสวีธ กันน่ะค่ะ |
||
พระรามราชนิเวศน์ หรือ “พระราชวังบ้านปืน” | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหม้อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นพระราชนิเวศน์สำหรับประทับแรมในฤดูฝน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่จากราษฎร และให้จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ออกแบบโดยมิสเตอร์คาล เดอริง ชาวเยอรมัน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท และทรงเปลี่ยนเป็นพระรามราชนิเวศน์ ปี พ.ศ. 2461 ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือ โรงเรียนฝึกหัดครูเกษตรกรรม โรงเรียนประชาบาลประจำตำบล พระรามราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ 5 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรบรรยาย สามารถทำหนังสือถึงผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี ค่ายรามราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 โทร. 0 3242 8506-10 ต่อ 50259 |
||
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) | ||
เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า “เขาสมน” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขา แห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่าพระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่าเขาวัง สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้ |
||
หาดชะอำ | ||
ยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขบวนการรถไฟพิเศษนำเที่ยวกรุงเทพฯ-ชะอำ ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2225 6964 |
||
หาดเจ้าสำราญ | ||
เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน หาดเจ้าสำราญเจริญถึงขีดสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 หาดเจ้าสำราญมีชื่อเสียงกว่าชายทะเลแห่งใด ๆ ในเมืองไทยสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้น ณ ริมหาดแห่งนี้เรียกว่า พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ สำเร็จในปีพ.ศ. 2461 ต่อมารื้อไปสร้างใหม่ที่บริเวณอำเภอชะอำ เรียกชื่อว่า “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” บริเวณหาดเจ้าสำราญบางส่วนทำเป็นกันน้ำทะเลเซาะชายฝั่ง บางส่วนเป็นหาดทรายเล่นน้ำได้ มีที่พักและร้านอาหารบริการ การเดินทาง อยู่ห่างจากตลาดเมืองเพชรบุรี 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3177 ผ่านสถาบันราชภัฏเพชรบุรีไปประมาณ 13 กิโลเมตร สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง สามารถนั่งรถสองแถวที่วิ่งระหว่างตัวเมือง-หาดเจ้าสำราญ รถจะจอดบริเวณข้างธนาคารกรุงไทย ถนนวัดท่อใกล้หอนาฬิกา มีบริการตั้งแต่เวลา 07.30-18.15 น. |
||
แหลมเหลว | ||
ห่างจากอำเภอบ้านแหลมประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างทางจากบ้านแหลมไปบางตะบูน บริเวณแหลมเหลวเป็นหมู่บ้านของชาวประมง มีสะพานไม้ทอดผ่านหมู่บ้านและป่าชายเลนไปยังร้านอาหารริมชายทะเล บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของลิงฝูงใหญ่ ซึ่งมักออกมาคอยอาหารจากผู้คนอยู่ทั่วไป | ||
วัดกำแพงแลง | ||
อยู่ที่ถนนพระทรง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอม สร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามาในบริเวณนั้น จึงได้ดัดแปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน และหินยานตามลำดับ เทวสถานที่สร้างขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง สันนิษฐานว่าปรางค์แต่ละหลังใช้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระนางอุมา เพราะเมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง วัดนี้เมื่อดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแล้วได้สร้างพระอุโบสถขึ้น โดยมิได้เปลี่ยนสภาพเดิมไปมากนัก จะเห็นได้ว่ารอบ ๆ วัด ยังมีกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบอยู่ | ||
หาดปึกเตียน | ||
อยู่ในท้องที่ตำบลปึกเตียน ห่างจากหาดเจ้าสำราญไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางไปทางถนนเพชรเกษมถึงอำเภอท่ายางแล้วเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยก คลองชลประทานสาย 2 ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณหาดปึกเตียน มีหินเรียงกันคลื่นซัดชายหาดเป็นแนวยาว ในทะเลและบนฝั่งมีรูปปั้นพระอภัยมณี นางผีเสื้อสมุทร สุดสาครและม้านิลมังกร ศาลเจ้าแม่กวนอิมและเกาะเต่า นอกจากนั้นยังมีที่พัก ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกอยู่เรียงราย | ||
วัดพระนอน | ||
ตั้งอยู่เชิงเขาวังด้านทิศใต้ ถนนคีรีรัฐยา ไม่ไกลจากศาลหลักเมือง เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีลักษณะงดงามและมีขนาดใหญ่ สร้างด้วยอิฐตลอดทั้งองค์และลงรักปิดทอง ฝีมือช่างสมัยอยุธยา |
||
วัดเขาบันไดอิฐ | ||
ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3171 ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง 121 เมตร วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียง สมเด็จพระเจ้าเสือเคยเสด็จมาฝากตัวเป็นศิษย์ของวัดนี้ ในอดีตวัดเขาบันไดอิฐมีชื่อเสียงมากทางวิทยาคมในช่วงที่หลวงพ่อแดง พระเกจิชื่อดังของจังหวัดเพชรบุรีเป็นเจ้าอาวาส ทำให้มีผู้ให้ความเคารพและเดินทางมาสักการะเป็นจำนวนมาก วัดนี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านความงามของศิลปะปูนปั้นชั้นครูที่ฝากผล งานไว้เหนือหน้าบันพระอุโบสถ นอกจากนั้นบริเวณวัด ยังมีถ้ำให้ชมอีกหลายแห่ง ถ้ำแรก คือ “ถ้ำประทุน” มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำทั้งสองด้าน ลึกเข้าไปจะเป็นถ้ำ “พระเจ้าเสือ” ที่ชื่อเช่นนี้เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้าเสือได้เสด็จมาหาอาจารย์แสง และได้ถวายพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรประดิษฐานไว้ในถ้ำแห่งนี้ ถัดจากถ้ำนี้เข้าไปทางด้านใต้จะมีถ้ำพระพุทธไสยาสน์ จะมีพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ และตรงซอกผนังถ้ำมีประทุนเรือทำด้วยไม้เก่าแก่มาก เป็นประทุนเรือที่พระเจ้าเสือถวายอาจารย์แสง นอกจากถ้ำทั้งสามนี้แล้ว ยังมีถ้ำอื่น ๆ เช่น ถ้ำพระอาทิตย์ ถ้ำพระจันทร์ ถ้ำสว่างอารมณ์ ถ้ำช้างเผือก และถ้ำดุ๊คซึ่งมีชื่อตามดุ๊คโยฮันฮัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองปอร์นสวิค (Braunschweig) ประเทศเยอรมัน ผู้เคยมาเยือนเพชรบุรีและมาเที่ยวถ้ำแห่งนี้ | ||
วัดใหญ่สุวรรณาราม | ||
อยู่ที่ถนนพงษ์สุริยา ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ เป็นพระตำหนักไม้สักทั้งหลังที่พระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชทานแด่พระสังฆราชชาวเพชรบุรี ศาลาการเปรียญนี้มีการแกะสลักไม้ที่สวยงาม โดยเฉพาะบานประตูสลักลายก้านขดปิดทอง และยังมีธรรมาสน์เทศน์ ซึ่งแกะสลักลงรักปิดทอง รูปทรงเป็นบุษบกที่งดงามและสมบูรณ์ บนผนังภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนเทพชุมนุม อายุกว่า 300 ปี สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมศิลปกรรมในพระอุโบสถและศาลาการเปรียญ ต้องไปติดต่อขอกุญแจที่เจ้าอาวาส |
||
ถ้ำเขาหลวง | ||
อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็กมีความสูง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในมีปล่องที่แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น ถ้ำเขาหลวงถือเป็นถ้ำใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อันสำคัญยิ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเคยเสด็จประพาสมาและทรงโปรดถ้ำแห่งนี้มาก ทั้งยังทรงบูรณะพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณภายในถ้ำนี้หลายองค์ด้วย กัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำ ตรงทางเข้าเชิงเขาหลวงด้านขวามือมีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่ง ชาวเมืองเรียกว่า วัดถ้ำแกลบ ปัจจุบันชื่อ “วัดบุญทวี” ซึ่งเป็นวัดใหญ่ น่าชมมาก เพราะท่านเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นช่าง ได้ออกแบบและสร้างศาลาการเปรียญที่ใหญ่โต ประตูโบสถ์เป็นไม้สลักลายสวยงามมาก วัดถ้ำแกลบนี้มีตำนานเล่าว่า ปากถ้ำแกลบที่วัดนี้คือ ทางเข้าสู่เมืองลับแลอันเป็นเมืองที่มีแต่หญิงสาวทั้งนั้น แต่ก็เป็นเพียงตำนานของชาวเมืองเพชรนับร้อยปีมาแล้ว |
||
วัดเขาตะเครา | ||
ตั้งอยู่ตำบลบางครก จากตัวเมืองเพชรบุรี ข้ามทางรถไฟ บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟเพชรบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 3176 ระยะทาง 10 กิโลเมตร จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าวัดขนาดใหญ่อยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว มีประวัติว่าหลวงพ่อเขาตะเครา เป็นพระพี่พระน้อง 3 องค์กับหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง 5 องค์ คือ หลวงพ่อบางพลีใหญ่ และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย ประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้เริ่มปลายสมัยอยุธยา ขณะที่ชาวบ้านแหลมเมืองเพชรหนีพม่าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลอง ซึ่งได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้ วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าว ได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม ปัจจุบันนี้คือ วัดเพชรสมุทรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี |
||
วัดเนรัญชราราม | ||
ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณด้านทิศเหนือของหาดชะอำ ชื่อวัด เนรัญชราราม ได้รับการตั้งให้สอดคล้องกับชื่อวังมฤคทายวันซึ่งสร้างโดยรัชกาลที่ 6 ตามเรื่องราวในพุทธประวัติเกี่ยวกับแม่น้ำเนรัญชราและป่าอิสิปตนมฤคทายวัน |
||
แหลมผักเบี้ย | ||
เป็นแหลมเล็กๆ ยื่นลงไปในอ่าวทะเลไทย เป็นจุดที่เรียกว่า ทรายเม็ดแรกของทะเลอ่าวไทย เนื่องจากที่บริเวณปลายแหลมระยะทางยาวกว่า 2 กิโลเมตร เป็นจุดเริ่มต้นของหาดทรายริมฝั่งทะเลอ่าวไทย เพราะทะเลตั้งแต่กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาจนถึงเพชรบุรีจะเป็นทะเลโคลนทั้งหมด บริเวณแหลมผักเบี้ยเหมาะแก่การดูนกชายทะเล มีนกมากมายหลายชนิด อาทิ นกนางนวลแกลบธรรมดา นกตีนเทียน นกกระติ๊ดขี้หมู นกกาน้ำ ฯลฯ นอกจากเดินทางเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์แล้ว ก็สามารถเดินทางได้โดยทางเรือเช่นกัน ผู้ที่สนใจจะล่องเรือมาที่ปลายหาดที่เป็นที่ตั้งของทรายเม็ดแรก ก็สามารถลงเรือล่อง ตามคลองอีแอด ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากท่าเทียบเรือแหลมผักเบี้ย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้เห็นชีวิตสองฝั่งคลอง การล่องเรือจากคลองอีแอดต้องตรวจสอบระดับน้ำก่อนการเดินทาง เพราะจะมีเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ค่าเช่าเรือประมาณ 500 บาท ติดต่อเรือล่องเรือคลองอีแอดล่วงหน้า โทร. 08 7938 8363 |
||
วัดต้นสน | ||
ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านแหลม เป็นวัดสำคัญของชาวบ้านแหลม เป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชนบ้านแหลม มีสิ่งสำคัญอันเป็นมิ่งขวัญของชาวบ้านแหลม คือหลวงพ่อสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น เนื่องจากด้านหลังมีรูปปั้นหลวงพ่อทวดยืนเกือบชิดกัน บริเวณหน้าวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่น้ำเพชรบุรี มีสะพานคอนกรีตสูงทอดข้ามแม่น้ำ มีศาลาไทยริมน้ำสำหรับนั่งพักผ่อน มองเห็นทิวทัศน์สวยงามของหมู่บ้านชาวประมงมีเรือจอดอยู่เรียงรายและมีนก นางแอ่นมาทำรังอยู่ในวัดและโดยรอบ จึงมีการทำธุรกิจเก็บรังนก โดยการสร้างตึกสูงสำหรับให้นกนางแอ่นมาอาศัย | ||
ศูนย์อนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน โรงเรียนบางตะบูนวิทยา | ||
ตั้งอยู่ด้านหลังโรงเรียนบางตะบูนวิทยา ระหว่างทางไปอ่าวบางตะบูน ป่าชายเลนบริเวณนี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีจึงค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มาก มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำสะพานไม้และสะพานคอนกรีตยาวประมาณ 150 เมตรเดินเข้าไปในป่าชายเลนซึ่งมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น และมีสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นป่ามากมาย โดยเฉพาะ ปลาตีน ปูซึ่งจะดีดก้ามส่งเสียงดังไปทั่วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ในฤดูฝนจะพบหิ่งห้อยแมลงที่เรืองแสงได้อีกด้วย ทางเดินศึกษาธรรมชาติจะอยู่ติดกับชายทะเลซึ่งสามารถเห็นวิถีชีวิตการทำประมง พื้นบ้าน ผู้สนใจท่องเที่ยวศึกษาป่าชายเลนบริเวณนี้สามารถติดต่อได้ที่ โรงเรียนบางตะบูนวิทยา โทร. 0-3248-9174 โดยมีมัคคุเทศก์น้อยซึ่งเป็นเยาวชนในท้องถิ่นเป็นผู้นำชมให้ความรู้ |
||
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | ||
เป็นรูปหล่อสมเด็จพระนเรศวรทรงถือพระแสงดาบหันพระพักตร์สู่ทะเล ตั้งอยู่ริมทะเลด้านทิศเหนือของหาดชะอำ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองตอนใต้และทรง เคยประทับแรมที่ชายหาดชะอำแห่งนี้
|
||
วัดในกลาง | ||
เป็นวัดเก่าแก่มีอายุไม่น้อยกว่า 250 ปี เป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระมารดาซึ่งเป็นคนบ้านแหลม |
||
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน | ||
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ในเขตอำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังคงสภาพเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่ง ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขต อุทยานฯ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ |
||
สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 บางขุนไทร | ||
ป่าชายเลนของจังหวัดเพชรบุรีกระจายอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร และขึ้นอยู่ตามปากแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางตะบูน และคลองต่าง ๆ ที่น้ำทะเลท่วมถึง พื้นที่ป่าชายเลน 80 เปอร์เซ็นต์อยู่ในเขตอำเภอบ้านแหลม มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ส่วนที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มีประมาณ 15,000 ไร่ ส่วนที่เหลือมีการยึดครองทำประโยชน์เป็นบ่อเลี้ยงปลา นากุ้ง และนาเกลือ |
||
น้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้อง | ||
ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพุร้อน ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง หากเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม เลยอำเภอเขาย้อยมาประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณกม. 148-149 มีทางแยกขวาไปน้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้องอีกราว 34 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสาย ระหว่างทางมีทิวทัศน์เป็นทุ่งนา และทิวเขาสลับซับซ้อนสวยงาม และหมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้องเป็นบ่อน้ำร้อนกลางป่าร่มรื่น พื้นที่บริเวณได้รับพัฒนาดูแลโดยชุมชน มีบ่อน้ำร้อน ซึ่งต่อท่อมาจากแหล่งกำเนิดซึ่งอยู่ห่างออกไป 400 เมตรซึ่งสามารถเดินเท้าไปชมได้สะดวก น้ำในบ่อมีอุณหภูมิประมาณ 49 องศาเซลเซียส สิ่งอำนวยความสะดวก มีโรงนวดเพื่อสุขภาพ ห้องอาบน้ำแร่แบ่งชายหญิง ร้านอาหาร และสามารถกางเต็นท์พักแรมในบริเวณได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้แก่ น้ำตกแม่กระดังลา ซึ่งการเดินทางเข้าน้ำตกต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อไปอีก 8 กิโลเมตร และเดินเท้าอีก 1 กิโลเมตร |
||
วนอุทยานเขานางพันธุรัต | ||
ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล หมู่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,562 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาตำนานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับนางพันธุรัตใน วรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง
|
||
ศูนย์เรียนรู้โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาใหญ่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนที่สนใจศึกษาดูงานโครงการ ตามพระราชดำริ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาอาชีพ โดยจัดทำเป็นศูนย์นิทรรศการในอาคารคุ้มเกล้า จัดแสดงเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ภาพถ่ายในอดีต และการจำลองแบบบ้านหลังแรกของเกษตรกรที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่หุบกระพง เครื่องจักรการเกษตร และกังหันน้ำชัยพัฒนาและยังสามารถเยี่ยมชมแปลงสาธิตของชาวบ้านหุบกระพง ซึ่งเป็นหมู่บ้านสหกรณ์ตัวอย่างแห่งแรก มีทั้งการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์ การเลี้ยงโคนม เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.30 -16.30 น. สำหรับหมู่คณะที่ต้องการเยี่ยมชมโครงการกรุณาทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า โทร. 0 3247 1543, 0 3247 1100 การเดินทาง ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามเส้นทาง 3203 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 201-202 จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลาดยาวเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร |
||
อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลพุสวรรค์ มีพื้นที่ประมาณ 180 ไร่ ภายในบริเวณแบ่งออกเป็น แดนมหายานเต๋า แดนพุทธเกษตร มีพระพุทธรูป รูปปั้นเทพต่างๆ ในศาสนาฮินดู-พราหมณ์ รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ที่น่าสนใจ คือ รูปปั้นพระแม่กวนอิมปางพันเนตรพันกร แกะสลักจากไม้การบูรหอมจากประเทศจีน องค์สูงใหญ่ที่สุดในโลก สามารถเดินเที่ยวชมจุดที่น่าสนใจค่าง ๆ ในบริเวณได้ต่อเนื่องกัน หรือใช้บริการรถพ่วง 30 บาทต่อคน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. การเดินทางจากถนนเพชรเกษม บริเวณอำเภอท่ายางแยกเข้ามาตามเส้นทางเลียบคลองชลประทานถึงเขื่อนเพชร มีทางแยกขวาไปอุทยานพระโพธิสัตว์กวนอิมอีก 12 กิโลเมตร หรือจากถนนเพชรเกษมจะแยกเข้าทางอำเภอบ้านลาดก็ได้ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3242 2048-9 |
||
เขื่อนแก่งกระจาน | ||
เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน |
||
วัดถ้ำเขาย้อย | ||
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาย้อย ใกล้ที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 22 กิโลเมตร ภายในถ้ำนี้มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยหลายปางประดิษฐานอยู่ คล้ายกับถ้ำเขาหลวงและวัดถ้ำเขาบันไดอิฐที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี ตามประวัติเล่าว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มีมานานแล้ว ต่อมาพระครูอ่อนวัดท้ายตลาดมาบูรณะใหม่ และมีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่ากันว่าสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวยังทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จธุดงค์มาปักกลดวิปัสสนาที่หน้าเขาย้อย แล้วทรงย้ายขึ้นมาประทับนั่งกรรมฐานอยู่ในถ้ำเขาย้อยหลายคืน |
||
ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง | ||
ตั้งอยู่หมู่ 5 ตำบลเขาย้อย เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 4 เลยจากแยกอำเภอเขาย้อย มาทางตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าโรงเรียนบ้านวัง เข้าไปประมาณ 150 เมตร ไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองเดียนเบียนฟู ในเวียดนามเหนือ มีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าและจักสาน นิยมแต่งกายด้วยสีดำ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ชาวลาวโซ่งส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ เป็นที่เก็บรวบรวมภาพชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของชาวลาวโซ่งให้คนรุ่นหลังได้ ศึกษา ภายในศูนย์ฯ มีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน บ้านจำลอง อักษรดั้งเดิม สาธิตการทอผ้า และขายสินค้าของที่ระลึก เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ เปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น. และในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะมีงานประเพณีไทยทรงดำซึ่งถือเป็นงานรื่นเริง สังสรรค์ของชาวลาวโซ่ง โดยจะหมุนเวียนกันจัดไปตามหมู่บ้านต่างๆ นอกจากนั้นหากนักท่องเที่ยวมาเป็นหมู่คณะและต้องการจะชมการแสดงรำพื้นบ้าน เช่น การอิ้นกอนฟ้อนแคน การเล่นลูกช่วงเพื่อการหาคู่ของหนุ่มสาว สามารถติดต่อล่วงหน้าโดยมีค่าใช้จ่าย และภายในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมฯ มีบริการบ้านพักลักษณะบ้านไทยทรงดำ สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ เทศบาลเขาย้อย โทร.0 3256 1200 หรือหากต้องการจะสัมผัสวิถีชีวิตชาวลาวโซ่งโดยพักกับชาวลาวโซ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิวรรณธนี สาตร์พันธุ์ โทร. 0 3256 2153, 08 1434 4997 การเดินทางโดยรถประจำทาง ใช้บริการรถโดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ-เพชรบุรี หรือกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ ลงที่สี่แยกเขาย้อย จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซด์ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ค่าบริการมอเตอร์ไซค์ประมาณ 20 บาท |
||
วัดกุฏิ | ||
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเค็ม ตามทางหลวงหมายเลข 4 ก่อนถึงทางเข้าที่ว่าการอำเภอเขาย้อย 6 กิโลเมตร (หากมาจากกรุงเทพฯอยู่ด้านซ้ายมือ) เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดเพชรบุรี พระอุโบสถสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รอบพระอุโบสถด้านนอกสลักเป็นเรื่องทศชาติ มหาชาติ และไซอิ๋ว หน้าบันโบสถ์ทิศตะวันออก แกะสลักเป็นเหรียญตรามงกุฎ สมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนด้านหลังทางทิศตะวันตก แกะสลักเป็นรูปเหรียญกษาปณ์ ราคา 1 บาท พร้อมตราแผ่นดินรัชกาลที่ 5 บานประตูเป็นลายเถาทะลุโปร่ง แกะสลักลายลึก ฝีมือประณีตด้วยฝีมือช่างชั้นครู |
||
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร | ||
ตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายพระรามหก ถนนเพชรเกษม ระหว่างชะอำและหัวหิน ทางเข้าทางเดียวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อุทยานแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2548 และเพื่อเป็นการฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดในบริเวณนี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดัง เดิม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริน ธร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม |
||
วัดมหาธาตุวรวิหาร | ||
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร ภายในวัดมีพระปรางค์ห้ายอด สร้างตามศิลปะขอม ปรางค์แต่ละองค์สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์องค์ใหญ่สูง 42 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ภาพปูนปั้นที่ประดับอยู่ตามพระอุโบสถวิหารหลวง รวมถึงศาลาภายในวัดล้วนเป็นฝีมือช่างเมืองเพชร ซึ่งงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนั้นในวิหารยังบรรจุพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเพชรบุรีนับถือมาก คือ รูปหลวงพ่อวัดมหาธาตุ รูปหลวงพ่อบ้านแหลม และรูปหลวงพ่อวัดเขาตะเครา |
||
บางขุนไทร | ||
|
||
ล่องเรือชมวิถีชีวิตบ้านบางตะบูน | ||
บ้านบางตะบูนอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอบ้านแหลม เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมปากอ่าว นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือหางยาวของชาวบ้านที่บริเวณหน้าวัดปากอ่าวเพื่อ ชมวิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้าน การถีบกระดานเก็บหอยแครง การทำฟาร์มหอยแมลงภู่ เตาเผาถ่านไม้โกงกาง และบ้านเรือนริมน้ำ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามได้ที่เทศบาลตำบลบางตะบูน โทร. 0 3248 9234 นอกจากนี้ที่บ้านแสมชาย ซึ่งไม่ไกลจากวัดเขาตะเคราสามารถนั่งเรือพายชมหิ่งห้อยตอนพลบค่ำซึ่งมีมากใน ช่วงฤดูฝน ติดต่อเรือได้ที่ลุงจั่น โทร. 0 3240 9326 |
||
สถานีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย | ||
ตั้งอยู่บนถนนจอมพล ตำบลสามพระยา ห่างจากอำเภอชะอำ 14 กิโลเมตร อยู่บริเวณหลักกิโลมตรที่ 220 เลี้ยวขวาไปทางเดียวกับวิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นสถานีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าหลายชนิด ภายในสถานีฯ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ และมีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เม่น หมี ละอง ละมั่ง กวาง เนื้อทราย นกยูง ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นต้น เปิดให้เข้าชมฟรีในวันเวลาทำการ เวลา 08.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3259 3252 -3 | ||
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
ศูนย์ศีกษาการพัฒนาฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอชะอำ มีพี้นที่ประมาณ 8,700 ไร่ ตั้งขึ้นตามโครงการพระราชดำริ เพื่อพัฒนาด้านป่าให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและพลิกฟื้นป่าให้กลับคืนมา เนื่องจากในอดึตมีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีการตัดไม้และปลูกพีชไร่ ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดินขาดการบำรุงและเป็นดินดาน และเกิดการพังทลายของผิ้วดินค่อนข้างสูง ซึ่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงดำเนินการปลูกป่าโดยให้ราษฏรที่ทำกินอยู่เดิมได้มีส่วนร่วมในการดูแล รักษาป่า เช่น การปลูกป่าทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมกับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ด้านการเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ และศึกษาป้องกันไฟป่า และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย สอบถามเพิ่มเติม โทร. 032 471 110, 032 471 410 | ||
|
|