|
อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์ และมีน้ำว้าไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นระยะทางถึง 7.5 กิโลเมตรทำให้มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าไม้ วัฒนธรรม และลำน้ำ เหมาะสำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ ล่องแก่งลำน้ำว้า |
ขับรถชมวิวเส้นทางบ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า ตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1259 (บ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า) ระยะทาง 25 กิโลเมตร ตัดตามสันเขาผ่านสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง สามารถจอดรถชมทิวทัศน์หุบเขาและหมู่บ้านทะเลหมอกยามเช้า ตลอดจนทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินได้หลายจุด ระหว่างเส้นทางมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่จริมที่ 1 (ห้วยเต่า) ตั้งอยู่ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการสิ้นสุดเส้นทางชมวัฒนธรรมความเป็น อยู่ของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเส้นทางสัญจรในอดีตระหว่างบ้านร่มเกล้ากับบ้าน ห้วยทรายมูล มีจุดเริ่มต้นจากบ้านร่มเกล้าถึงปากน้ำแปงบรรจบลำน้ำว้า ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เดินทางเลียบตามริมลำน้ำแปง ผ่านป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณระหว่างเส้นทางาจะพบน้ำตกขนาดเล็ก ถ้ำ หน้าผา ธรรมชาติ และพรรณไม้ที่สวยงาม เป็นเส้นทางเดินสัญจรในอดีตของชาวบ้านร่มเกล้า ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามสันเขาผ่านสภาพป่าดงดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ มีป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าเบญจพรรณสลับบางช่วงสามารถพบเห็นนกได้หลายชนิด อากาศเย็นสบาย มีทะเลหมอก หุบเขาและพรรณไม้ที่สวยงามตลอดเส้นทางใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระดำเนินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 ทรงพบดอกไม้ป่าสกุลเดียวกับชบา ดอกสีชมพูอมม่วงขนาด 2-3 เซ็นติเมตร. พระราชทานนามว่า “ชบาป่า” (Urena lobata) ทางเดินมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นวงรอบไปสิ้นสุดบริเวณหาดทรายริมลำ น้ำว้า ผ่านสภาพป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติ 9 สถานี ได้แก่ เต็งรังกันไฟ การทดแทนกษัยการ (EROSION) เกื้อกูล ไตรลักษณ์ เป้ง ความเหมือนที่แตกต่างพรมแดนแห่งป่า (ECOTONE) และ”ไทร” นักบุญแห่งป่านักฆ่าเลือดเย็น ตามลำดับ มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของลำน้ำว้า และขุนเขาหลายจุด ใช้เวลาเดินประมาณ 1.5 ชั่วโมง |
|
|
|
||||||||||||||||||||||||||