ล่องแก่งลำน้ำว้า | |||
ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสไหลตลอดปีมีทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหิน เกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวง มีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแคมป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ |
|||
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา | |||
ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร |
|||
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน | |||
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา และป่าผาแดง บริเวณท้องที่ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือใต้ และต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีเนื้อที่ประมาณ 248.6 ตร.กม. หรือประมาณ 155,375 ไร่ มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่ง และมีจุดเด่นที่สวยงาม ที่สำคัญพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็ฯแหล่งต้น | |||
วัดภูมินทร์ | |||
เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้า เจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครอง นครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์”แต่ตอนหลังชื่อวัดได้ เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ |
|||
อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า) | |||
อยู่ ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่าหลายชนิด |
|||
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน | |||
มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสา นาน้อย และนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่ง ตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา มีรายงานว่าพบนกยูงในเขตอุทยานฯแห่งนี้ด้วย |
|||
ต้นดิกเดียม วัดปรางค์ | |||
ต้นดิกเดียม ต้นไม้อะไรใครรู้ดูประหลาดผิดธรรมชาติ พันธุ์พฤกษาน่าฉงน แค่เห็นเป็นต้นไม้หันหลังให้แดดหันหน้า เข้าวัดก็แปลกเหลือหลายอยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อว่าต้นไม้ ประหลาดต้นนี้เป็นต้นอารมณ์ขัน ใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้ง ที่ถูกคนสัมผัส การเดินทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 2 โทร. 0-5371-7433, |
|||
วัดพระธาตุเบ็งสกัด | |||
ไปตามเส้นทาง 1256 ทางเข้าตรงข้าม โรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ 200 เมตร และแยกซ้ายอีก 200 เมตร ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรน ครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรธรรมมาปกครอง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว |
|||
วัดต้นแหลง | |||
ตั้งอยู่ในตัวเมืองปัว จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 เมื่อเริ่มเข้าเขตตัวเมืองปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคาร ขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2127 วิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงแรกของวันสาดส่องมาต้ององค์พระประธานและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ เข้ามาในวิหารมุ่งความสนใจไปที่องค์พระประธาน ทั้งยังก่อให้เกิดบรรยากาศสลัวสงบนิ่ง เหมาะกับการน้อมจิตสู่สมาธิ |
|||
บ่อเกลือสินเธาว์ | |||
พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดยใช้เส้นทางผ่านมาทางสิบสองปันนา รัฐฉาน สู่เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เมืองสา (อำเภอเวียงสาในปัจจุบัน) และแพร่ รวมทั้งพ่อค้าไทเขินจากเชียงตุง และพ่อค้าวัวต่างชาวไทลื้อจากอำเภอท่าวังผา ในอดีตท้าวพญาในเค้าสนามหลวงได้รับส่วนแบ่งจากส่วยเกลือ นอกจากค่าธรรมเนียม และค่าปรับอื่นๆ พระยาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ยกทัพมาตีน่านก็มุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือ เป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น |
|||
เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ | |||
อยู่ที่ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตร จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย “แพะเมืองผี” ที่จังหวัดแพร่ จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย (late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า |
|||
วัดหนองบัว | |||
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามเส้นทาง 1080 เลี้ยวซ้ายที่ กม.40 ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่ง นี้สร้างราวพ.ศ. 2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4) ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่ สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็ก อยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยใน สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่ สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็ก อยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย |
|||
วัดพระธาตุแช่แห้ง | |||
เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897 การเดินทาง |
|||
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร | |||
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือ น้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091 |
|||
วัดพญาวัด | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตรแต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมือง จากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่ สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนคร เชียงใหม่แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้วใน พระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าฝนแสนห่า” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24 |
|||
วัดสวนตาล | |||
อยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัยภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่ สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1992 เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน |
|||
อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง | |||
สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลแก่วีรชน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง หลักกิโลเมตรที่ 84 และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้ |
|||
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว | |||
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัวอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม เรียกว่า “ผ้าลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย | |||
วัดหนองแดง | |||
อำเภอเชียงกลาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้างโดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ถึงที่ว่าการอำเภอเชียงกลาง เลยที่ว่าการอำเภอฯไป 2 กิโลเมตรจนถึงสี่แยกรัชดา และเห็นป้อมตำรวจบ้านรัชดาให้เลี้ยวซ้ายไป 1 กิโลเมตร |
|||
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน | |||
อยู่ที่ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติน่าน พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร 0 5471 0561 , 0 5477 2777 |
|||
หอศิลป์ริมน่าน | |||
ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัย ปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กม.20) ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอ บ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผล งานการสร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับกัน โดยจัดนิทรรศการประจำปีในรูปแบบกึ่งถาวร ขณะนี้มีผลงานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของผู้ก่อตั้ง ประมาณ 200 ชิ้น |
|||
วัดพระธาตุเขาน้อย | |||
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ 2ร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ.2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันจากวัดพระธาตุเขาน้อยสามารถมองเห็นทิวทัศน์ โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | |||
วัดมิ่งเมือง | |||
ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา |
|||
น้ำตกภูฟ้า | |||
เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น ใช้เวลาไป-กลับ ชมน้ำตก 3 วัน 2 คืน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง จากตัวเมืองน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข1080 (น่าน-ทุ่งช้าง) ระยะทาง 59 กิโลเมตร จากนั้นแยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร |
|||
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี | |||
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 8.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือ ผีตองเหลืองสถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ดอยผาจิ ดอยวาว น้ำตกสันติสุข น้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก และน้ำพุร้อน |
|||
หมู่บ้านประมงปากนาย | |||
ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้น และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่านสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝน จะมีแพลากไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และมีแพขานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
|
|||
ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู | |||
ู บริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่ง ชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 |
|||
วนอุทยาน ถ้ำผาตูบ | |||
อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9-10 สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาลเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทร์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณช่วงปลายฝน ทางเดินศึกษาธรรมชาติมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกัน คือ จะเริ่มจากเส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการสถานที่น่าสนใจในวนอุทยานถ้ำผาตูบ ได้แก่ ถ้ำพระ ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ถ้ำขอน และถ้ำเจดีย์แก้ว | |||
ถ้ำผาฆ้อง | |||
ต้องเดินเท้าผ่านป่าร่มรื่นเข้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 สู่อำเภอปัวประมาณกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกสู่โรงเรียนนาสวรรค์ บ้านป่าไร่ ต้องจอดรถไว้ที่โรงเรียนแล้วเดินเท้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร |
|||
ถ้ำผาแดง | |||
อยู่ที่บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วยในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบ ภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ เศษถาดอาหาร (ถาดหลุม) และเครื่องใช้ การเดินทาง ต้องเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่างๆ บ้านของชาวเผ่าม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา |
|||
ัตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น | |||
อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋น ด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อยู่ห่างจากเมืองน่าน 138 กิโลเมตร ตลาดจะมีทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยง สินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อ จากบ้านเมืองเงิน หงสา ของ สปป.ลาว นอกจากนั้น ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของป่า ลูกต๋าว เป็นต้น อนุญาตให้ประชาชนไทย-ลาว เข้าออกด่านนี้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.ศึกษาขั้นตอนการผ่านแดนไทย-ลาว ในรายละเอียด |
|||
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า | |||
เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตี ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตก ต่างกัน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0321, 0 5471 3324 |
|||
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก | |||
บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่ สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัว เอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้า พระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071-2102) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่ เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อสวก ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำ บริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำ ลักษณะของเตาหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง ภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้ เตามีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน 2 เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้าน จ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง “โบราณคดีชุมชน” โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกัน ในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวก และนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้าน และการอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน |
|||
โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง(พมพ.)บ้านมณีพฤกษ์ | |||
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตร มีโครงการทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาวสามารถไปแวะชมได้ นอกจากนั้นยังมีดอกเสี้ยวขาวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นนางพญาเสือโคร่ง บริเวณโครงการเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะ สิ่งที่น่าสนใจคือโครงการนี้ ตั้งอยู่บนเทือกดอยภูคาจึงพบต้นชมพูภูคาอยู่หลายกลุ่มแต่ต้นที่สมบูรณ์และ นักท่องเที่ยวเข้าไปชมได้อยู่ห่างจากศูนย์ฯ บริการนักท่องเที่ยว 3-4 กิโลเมตร รถเข้าถึงปากทาง จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 30 เมตร |
|||
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ | |||
ภูพยัคฆ์ เดิมชื่อ ภูผายักษ์ บนยอดภูเป็นหินผาสวยงาม มีสภาพเป็นป่าดิบและเป็นดงเสือ |
|||
เรือนจำจังหวัดน่าน | |||
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองน่าน มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน จุดที่โดดเด่นที่สุดคืออาคารห้องสมุดพร้อมปัญญา ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 อายุกว่า 100 ปี แต่เดิมเป็นโรงนอน มี 12 ห้อง หลังจากย้ายโรงนอนไปอาคารหลังใหม่แล้วก็ได้ปรับปรุงตกแต่งเป็นอาคาร อเนกประสงค์ |
|||
|
|
||||||||||||||||||||||||||