อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี | |||
สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส ยะลา และปัตตานีเทือกเขาบูโดนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบร้อนแบบอินโด-มาลายัน ป่าดิบชื้นเขตร้อนซึ่งมีความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนตกตลอดปี และเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับป่าประเภทอื่นในพื้นที่เท่าๆ กัน ป่าเขตร้อนนี้จะพบเฉพาะแนวเส้นศูนย์สูตร คือ พื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ที่ 23 [1/2] องศาเหนือและใต้ ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงคอคอดกระจังหวัดระนองลงไป นักพฤกษศาสตร์แบ่งป่าเขตร้อนทั่วโลกออกเป็นสามเขตใหญ่ คือ ป่าฝนเขตร้อนทวีปอเมริกา ป่าฝนเขตร้อนแถบอินโด-มาลายัน และป่าเขตร้อนแถบทวีปแอฟริกา |
|||
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา | |||
เป็น พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2539 อันเป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้ จะเป็นป่าบาลาเท่านั้น ป่าบาลามีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
|||
พระพุทธอุทยานเขากง (วัดเขากง-พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล | |||
มีเนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู จากตัวเมืองใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055) ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย |
|||
ชายหาดนราทัศน์ | |||
เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน เรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีด้วย แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณเวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดยู่มากมาย อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก | |||
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง) | |||
ป่าพรุสิรินธรเป็นส่วนหนึ่งของป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุแห่งสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งคลุมพื้นที่ของ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ แต่ส่วนที่สมบูรณ์โดยประมาณมีเพียง 50,000 ไร่ เป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าและ พรรณไม้ พื้นที่ป่าพรุมีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน คือ คลองสุไหงปาดี แม่น้ำบางนรา และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่าภายในศูนย์ฯ ได้จัดให้มีทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของป่าพรุ เริ่มที่บึงน้ำด้านหลังอาคารศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็น สะพานไม้ต่อลัดเลาะเข้าไปในป่าพรุ ระยะทาง 1,200 เมตร บางช่วงเป็นสะพานไม้ร้อยลวดสลิง บางช่วงเป็นหอสูงสำหรับมองทิวทัศน์เบื้องล่างที่ชอุ่มไปด้วยไม้นานาพรรณใน ป่าพรุ จะมีป้ายชื่อต้นไม้ที่น่าสนใจ และซุ้มความรู้อยู่เป็นจุดๆ สำหรับให้ความรู้แก่ผู้เดินชมด้วย เปิดทุกวันเวลา 8.00–16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม และยังมีห้องจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่คนที่มาเที่ยวชมอีกด้วย | |||
มัสยิด 300 ปี (มัสยิดวาดีอัลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ) | |||
บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 แล้วแยกที่บ้านบือราแง นายวันฮูเซ็น อัส-ซานาวี ผู้อพยพมาจากบ้านสะนอยานยา จังหวัดปัตตานี เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2167 เริ่มแรกสร้างหลังคามุงใบลาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา ลักษณะของมัสยิดมีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไป คือเป็นอาคาร 2 หลังติดต่อกัน สร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ลักษณะการสร้างจะใช้ไม้สลักแทนตะปู รูปทรงของอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีน และมลายูออกมาได้ลงตัว ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซานซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ส่วนช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น นอกจากนั้นหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตยังเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอาน ที่เขียนด้วยมือด้านข้างมัสยิดมีสุสานชาวมุสลิม ถ้าเป็นของผู้ชายหินที่ประดับอยู่บนหลุมฝังศพจะมีลักษณะกลม ถ้าเป็นของผู้หญิงจะเป็นหินเพียงซีกเดียว | |||
น้ำตกไพรสวรรค์ | ์ | ||
ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลเจ๊ะเห ริมฝั่งแม่น้ำตากใบ จากตัวเมืองออกไปตามเส้นทางสาย นราธิวาส-ตากใบ (ทางหลวงหมายเลข 4085) ถึงสี่แยกตลาดอำเภอตากใบแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงปากทางเข้าวัด ท่านพระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) เป็นผู้เริ่มก่อตั้งวัดนี้ขึ้นและต้องไปขอที่ดินจากพระยากลันตันเพื่อที่จะ สร้างวัด เมื่อ พ.ศ. 2416 สมัยนั้นดินแดนตากใบยังเป็นของรัฐกลันตันอยู่ การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางเส้นที่จะไปอำเภอตากใบ มีทั้งรถสองแถว(ค่าโดยสารประมาณ 20 บาท) รถตู้(ค่าโดยสารประมาณ 30 บาท ขึ้นที่วงเวียนในอำเภอเมือง) และรถบัส ลงที่แยกอำเภอตากใบ และเดินไปอีกประมาณ 500 เมตร แต่รถตู้จะเข้าไปส่งถึงวัด |
|||
หมู่บ้านทอน | |||
ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกเตียน ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางนราธิวาส-บ้านทอน (ทางหลวง 4136) ประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวประมงไทยมุสลิม เป็นแหล่งผลิตเรือกอและทั้งของจริงและจำลอง เรือกอและจำลองมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงหลักหมื่น แต่คุณค่าไม่ได้อยู่แค่นั้น เพราะคนที่ทำนั้นบางคนเป็นเด็กมีตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไป เด็กบางคนในหมู่บ้านจะใช้เวลาว่างมานั่งหัดทำเรือกอและ ศิลปะพื้นบ้านของพวกเขาเอง นอกจากเรือท่านอาจจะได้ความอิ่มใจกลับไปด้วยหากได้เห็นความสนอกสนใจของพวก เขาที่มีต่องานศิลปะเช่นนี้ นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์จากกระจูดและใบปาหนัน เช่นซองใส่แว่น กระเป๋า ไปจนถึงเสื่อที่มีลวดลายและสีสันสวยงามลงตัว หากรักษาดีๆ จะมีอายุการใช้งานถึง 10 ปี ระดับราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆไม่แพงนักตั้งแต่ 30 บาท ไปจนถึงหลักร้อย และที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำบูดู และข้าวเกรียบปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย ตลอดแนวหาดจะเห็นแผงตากปลาเรียงรายอยู่ มีตุ่มซีเมนต์ใส่บูดูจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาชมวิธีการผลิตและซื้อของฝากได้ทุกวันแต่ปกติในบ่าย วันศุกร์ชาวบ้านมักจะไปทำละหมาดและพักผ่อน ซึ่งไม่สะดวกนักหากจะแวะมาเวลานี้ เรือกอและ เป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก ที่ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเป็นเรือลำใหญ่ มีความยาว 25, 22 และ 20 ศอก ลักษณะการสร้างเรือจะทำให้ส่วนหัวและท้ายเรือสูงขึ้นจากลำเรืออันเป็น เอกลักษณ์มาช้านาน ลวดลายบนลำเรือกอและเป็นการผสมผสานระหว่างลายมลายู ลายชวาและลายไทยโดยมีสัดส่วนของลายไทยอยู่มากที่สุดเช่น ลายกนก ลายบัวคว่ำบัวหงาย ลายหัวพญานาค หนุมานเหิรเวหา รวมทั้งลายหัวนกในวรรณคดี เช่น “บุหรงซีงอ” หรือ สิงหปักษี (ตัวเป็นสิงห์ หรือราชสีห์ หัวเป็นนกคาบปลาไว้ที่หัวเรือ) เชื่อกันว่ามีเขี้ยวเล็บและมีฤทธิ์เดชมาก ดำน้ำเก่ง จึงเป็นที่นิยมของชาวเรือกอและมาแต่บุร่ำบุราณ งานศิลปะบนลำเรือเสมือน “วิจิตรศิลป์บนพลิ้วคลื่น” และเป็นศิลปะเพื่อชีวิตเพราะเรือกอและมิได้อวดความอลังการของลวดลายเพียง อย่างเดียว ทว่ายังเป็นเครื่องมือในการจับปลาเลี้ยงชีพชาวประมงด้วย กล่าวกันว่าลูกแม่น้ำบางนราไม่มีเรือกอและหาปลาก็เหมือนไม่ใส่เสื้อผ้า |
|||
วนอุทยานอ่าวมะนาว | ์ | ||
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตาคล้ายสับปะรด) เป็นต้น หากใครอยากพักค้างคืนมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้บริการ |
|||
น้ำตกฉัตรวาริน | |||
อยู่ที่ตำบลโต๊ะเด็ง ไม่ไกลจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4056 ถึงโรงพยาบาลสุไหงปาดีแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีก 6 กิโลเมตร ทางเข้าลาดยางตลอด อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำตลอดทั้งปี สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ ปาล์มบังสูรย์ ซึ่งเป็นไม้หายากพบในบริเวณป่าลึกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย ลักษณะเป็นไม้ลำต้นเตี้ยๆ แต่แตกก้านออกเป็นกอใหญ่ สูงท่วมหัว สามารถสูงได้ถึง 3 เมตร ใบแผ่กว้างทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีเส้นใบเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นปาล์มที่สวยงามที่สุด ซึ่งจะพบในป่าแถบนี้เท่านั้น ชื่อ “ปาล์มบังสูรย์” ตั้งโดยศาสตราจารย์ประชิด วามานนท์ ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ เมื่อครั้งท่านเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ได้พบปาล์มชนิดนี้ปลูกอยู่ในหมู่บ้านมุสลิม ศาสตราจารย์ประชิดเห็นว่าใบของปาล์มชนิดนี้มีลักษณะคล้าย “บังสูรย์” เครื่องสูงที่ใช้บังแดดในพิธีแห่จึงนำมาตั้งเป็นชื่อปาล์มดังกล่าว ส่วนภาษาท้องถิ่นเรียกว่า บูเก๊ะอีแป แปลว่าตะขาบภูเขา น่าจะมาจากส่วนช่อดอกที่คล้ายตัวตะขาบ |
|||
หมู่บ้านยะกัง | |||
เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งนราธิวาสยังเป็นหมู่บ้านบางนรา ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตผ้าปาเต๊ะ หรือผ้าบาติก ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปตามทางหลวงสาย 4055 (อำเภอเมือง-อำเภอระแงะ) ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าถนนยะกัง 1 ซอย 6 ประมาณ 700 เมตร |
|||
เกาะยาว | |||
ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดชลธาราสิงเห จากสี่แยกตลาดอำเภอตากใบเลยไปยังแม่น้ำตากใบ มีสะพานไม้ชื่อ “สะพานคอย 100 ปี” ยาว 345 เมตร ทอดข้ามแม่น้ำตากใบไปยังเกาะยาว ซึ่งทางด้านตะวันออกของเกาะจะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีน้ำตาล บรรยากาศสงบงาม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นมุสลิมประกอบอาชีพประมงและสวนมะพร้าว | |||
สวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษา มหาราชินี จังหวัดนราธิวาส | |||
ตั้งอยู่บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ 3 ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี มีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่เป็นสวนที่ทำการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ป่ามาปลูกเป็นหมวดหมู่ตามวงศ์ (Family)ตามสกุล(Genus)โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางนิเวศวิทยาเป็นหลัก ปัจจุบันมีพันธุ์ไม้มากกว่า 700 ชนิด หลายชนิดเป็นไม้ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร บางชนิดเป็นไม้ที่หาดูยากและบางชนิดเป็นไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น สวนฯ จึงเป็นศูนย์รวมของพันธุ์ไม้ป่าภาคใต้ที่น่าสนใจ เหมาะแก่การศึกษาหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนั้น ยังสามารถหาความเพลิดเพลินจากกิจกรรมวาดรูป ถ่ายภาพพันธุ์ไม้หรือสนุกตื่นเต้นกับการสาธิตการปีนเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ ได้อีกด้วย การเที่ยวชมสวนฯสามารถเที่ยวได้ตลอดปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหาร จัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 21 สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร.0 7333 6290-3 ต่อ 4128, 4129 การเดินทาง จากตัวเมืองนราธิวาส ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4056 ไปยัง อ.สุไหงปาดี ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงทางแยกบ้านเจาะวาเลี้ยวซ้ายระยะทาง 8 กิโลเมตร |
|||
ด่านสุไหงโกลก | |||
ตัวเมืองสุไหงโกลก ดูจะคึกคักกว่าตัวเมืองนราธิวาส คงเพราะเป็นด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด และยังเดินทางข้ามไปมาได้สะดวกทั้งคนไทยและคนมาเลย์ มีการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างประเทศ เปิดตั้งแต่ 05.00–21.00 น. ชาวไทยมักข้ามไปยังฝั่งรันตูปันยังเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ของกินเล่น ส่วนคนมาเลย์จะข้ามมาซื้ออาหาร และผลไม้ ด่านสุไหงโกลก อยู่ห่างจากสถานีรถไฟสุไหงโกลก ประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองนราธิวาสสามารถเดินทางไปยังอำเภอสุไหงโกลกได้ 2 เส้นทาง คือ จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 4055 (นราธิวาส-ระแงะ) แล้วแยกซ้ายที่บ้านมะนังตายอ ไปตามเส้นทางหมายเลข 4056 ผ่านอำเภอสุไหงปาดี เข้าสู่อำเภอสุไหงโกลก หรืออาจใช้ทางหลวงหมายเลข 4084 จากตัวเมืองนราธิวาสไปยังอำเภอตากใบ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 4057 (ตากใบ-สุไหงโกลก) เป็นระยะทาง 66 กิโลเมตร จากด่านสุไหงโกลก สามารถขับรถข้ามสะพานเข้าไปเที่ยวเมืองโกตา บาห์รูของมาเลเซียได้ แต่รถที่จะเข้าไปต้องทำประกันรถยนต์ (รายละเอียดดูที่ด่านตาบา) การขอใบผ่านแดนสอบถาม โทร. 0 7361 4296 |
|||
ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ | |||
ตั้งอยู่ที่ซอยภูธร ถนนเจริญเขต ในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโกลก เดิมทีเจ้าแม่โต๊ะโมะนี้ประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกลก เป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลก และชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวจีนในประเทศมาเลเซียเป็นอย่างมากทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า ตรงกับวันที่ 23 เดือนสามของจีน (ประมาณเดือนเมษายน) ในงานจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการจัดขบวนแห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเองกอ ขบวนกลองยาว และยังมีการลุยไฟด้วย | |||
น้ำตกสิรินธร | |||
ลักษณะโดยทั่วไปไม่ใช่น้ำที่ตกมาจากผาสูง หากแต่เป็นลักษณะธารที่ค่อยๆลาดไหลมาจากแนวป่าสูง มีแอ่งน้ำลานหิน นั่งพักผ่อนได้ ธารน้ำตกจะไหลไปรวมที่คลองอัยกาดิง มักจะมีคนท้องถิ่นเข้ามาเที่ยว สิ่งที่ควรชมนอกเหนือจากน้ำตก ก็คือ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับป่าภาคใต้ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการรวบรวมไว้กว่า 200 ชนิด โดยจัดปลูกพรรณไม้ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ตามสภาพธรรมชาติ และมีป้ายบอกชื่อ รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยติดไว้ให้ศึกษา มีความน่าสนใจทั้งในแง่พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน และการนำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นไม้ประดับและพืชเศรษฐกิจ ผู้สนใจเข้าชมได้ระหว่างเวลา 8.30–16.00 น. | |||
หลวงพ่อแดงวัดเชิงเขา | |||
ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางจังหวัดปัตตานีประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกจากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 42) เลี้ยวซ้ายที่บ้านต้นไทระยะทาง 5.5 กิโลเมตร หลวงพ่อแดง อดีตเจ้าอาวาสและเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนราธิวาส มรณะภาพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 รวมอายุได้ 90 ปี ภายหลังจากที่ท่านได้มรณะภาพไปแล้ว ศพของท่านยังไม่เน่าเปื่อย ประชาชนจึงได้เกิดความศรัทธาและนำศพของท่านไปบรรจุไว้ในโลงแก้ว เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไป |
|||
ด่านตาบา (ด่านตากใบ) | |||
งอยู่ที่บ้านตาบา ตำบลเจ๊ะเห อยู่ห่างจากตัวอำเภอตากใบราว 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 4084 (อำเภอเมือง-อำเภอตากใบ) เป็นช่องทางการท่องเที่ยวและค้าขายระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย อีกแห่งหนึ่งนอกจากด่านสุไหงโกลก ผู้ที่จะข้ามไปซื้อของที่ร้านค้าปลอดภาษี ด่านศุลกากรเพนกาลันกูโป ของประเทศมาเลเซีย สามารถข้ามไปได้เลยแบบเช้าไป-เย็นกลับ แต่หากจะข้ามไปนานกว่านั้น สามารถขอใบผ่านแดน แบบ 3 เดือน เข้า-ออกครั้งเดียวได้ โดยต้องเตรียมคำร้องจากสำนักงานอำเภอที่ตัวเองมีชื่อในทะเบียนบ้านไปยื่นที่ สำนักอำเภอตากใบ สอบถาม โทร. 0 7358 1619 การข้ามฟากสามารถข้ามไปโดยเรือหางยาว หรือแพขนานยนต์ก็ได้ (จะอยู่กันคนละท่า) ออกทุก 15 นาที วิ่งระหว่างเวลา 6.30–17.15 น. ค่าโดยสารคนละ 6 บาท เท่ากันทุกท่า จักรยานยนต์ 15 บาท รถ 4 ล้อ 50 บาท รถบัส 100 บาท การนำรถยนต์เข้าไปถ้าจะไปไกลกว่าด่านศุลกากรจะต้องทำประกันรถยนต์สำหรับวิ่ง ในประเทศมาเลเซียก่อน และมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นรถที่ติดฟิล์มไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ และมีเข็มขัดนิรภัย เพราะฝั่งมาเลเซียเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยรถยนต์ มีบริษัทรับทำประกันรถยนต์ทั้งฝั่งไทยและฝั่งมาเลย์ ที่ฝั่งไทยทำได้สะดวกเพราะมีหลายบริษัท ค่าประกันประมาณ 600–700 บาท ระยะเวลาประกัน มีหลายแบบตั้งแต่ 9 วัน – 1 ปี |
|||
ชายหาดกูบู-บ้านคลองตัน | |||
มัสยิดกลางหลังเก่านี้ มีชื่อว่า มัสยิดยุมอียะห์ หรือมัสยิดรายอ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองห่างจากศาลากลางจังหวัดขึ้นไปตามถนนพิชิตบำรุง ก่อนถึงหอนาฬิกาเล็กน้อย เป็นมัสยิดไม้แบบสุมาตราสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นมัสยิดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนราธิวาส และเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าเมืองเก่า คือ พระยาภูผาภักดี ตามปกติมัสยิดกลางประจำจังหวัดจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ จึงได้มีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบริเวณปากแม่น้ำบางนรา อย่างไรก็ตามประชาชนในพื้นที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในมัสยิดหลังเก่าอยู่ มัสยิดแห่งนี้จึงดำรงฐานะเป็นมัสยิดกลางสืบต่อไป และทำให้นราธิวาสมีมัสยิดกลางประจำจังหวัดด้วยกันถึง 2 แห่ง | |||
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ | |||
ตั้งอยู่บนเขาตันหยงมัส ตำบลกะลุวอเหนือ ด้านริมทะเลใกล้กับอ่าวมะนาว ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2516 ภายในเขตพระราชฐานประกอบด้วย พระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และของพระบรมวงศานุวงศ์ ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดทำให้มีบรรยากาศร่มรื่น ยังมีศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งเป็นแหล่งฝึกงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก รวมทั้งจำหน่ายด้วย พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวันระหว่าง เวลา 8.30–16.30 น. เว้นเฉพาะช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมเท่า นั้น ซึ่งปกติจะเป็นช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางเส้นที่ไปอำเภอตากใบ และลงที่หน้าพระตำหนักได้เลย |
|||
มัสยิดกลาง (ใหม่) | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านบางนรา ก่อนถึงหาดนราทัศน์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มัสยิดกลางนราธิวาสนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดแห่งที่ 2 สร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น แบบอาหรับ ชั้นล่างจะเป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องทำละหมาดอยู่ 2 ชั้นบน ยอดเป็นโดมขนาดใหญ่ มีหอสูงสำหรับส่งสัญญาณอาซานเรียกชาวมุสลิมเข้ามาละหมาด | |||
มัสยิดกลาง (เก่า) | ์ | ||
มัสยิดกลางหลังเก่านี้ มีชื่อว่า มัสยิดยุมอียะห์ หรือมัสยิดรายอ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองห่างจากศาลากลางจังหวัดขึ้นไปตามถนนพิชิตบำรุง ก่อนถึงหอนาฬิกาเล็กน้อย เป็นมัสยิดไม้แบบสุมาตราสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นมัสยิดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนราธิวาส และเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าเมืองเก่า คือ พระยาภูผาภักดี ตามปกติมัสยิดกลางประจำจังหวัดจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ จึงได้มีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบริเวณปากแม่น้ำบางนรา อย่างไรก็ตามประชาชนในพื้นที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในมัสยิดหลังเก่าอยู่ มัสยิดแห่งนี้จึงดำรงฐานะเป็นมัสยิดกลางสืบต่อไป และทำให้นราธิวาสมีมัสยิดกลางประจำจังหวัดด้วยกันถึง 2 แห่ง |
|||
ค่ายจุฬาภรณ์ | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง ห่างจากท่าอากาศยานนราธิวาส 1.5 กิโลเมตร ภายในมีสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุม สนามยิงปืน ศาลและพระรูปกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นอกจากนี้ภายในค่ายยังมีชายหาดสะอาด สวยงาม ซึ่งสามารถเล่นน้ำทะเลได้ | |||