|
|
ปาลิโอ เขาใหญ่ |
ปาลิโอ ตั้งอยู่บนถนนธนะรัชต์ หลักกิโลเมตรที่ 17 ติดกับโรงแรมจุลดิศ เขาใหญ่ รีสอร์ท แอนด์ สปา ท่านจะได้สัมผัส Palio เขาใหญ่ในบรรยากาศอิตาลี จนเผลอคิดว่าเราอยู่ในอิตาลีจริงๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นอาคารถูกออกแบบให้เป็นกลุ่มอาคารถนนคนเดิน หรือสถาปัตยกรรมยุโรปโบราณแนวอิตาเลี่ยนสไตล์ที่รายล้อม แถมคำว่า Palio ยังเป็นภาษาอิตาเลียน หมายถึง "รางวัล" อีกด้วย |
|
|
|
|
ทุ่งบัวแดง |
ตั้งอยู่ บ้านดอนเปล้า ต.บ้านเหลื่อม อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง 90 กม. และห่างจากชัยภูมิ 30 กม. ทุ่งบัวแดงโคราช มีเนื้อที่ 3600 ไร่ และมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ทุ่ง กุ้ง หอย ปู ปลา และยังเป็นสถานที่ชมนกอีกแห่งด้วย |
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ |
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาค กลางและภาคอีสาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 ได้มีชาวบ้านประมาณ 30 ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่ สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน |
|
|
|
|
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย |
อุทยานประวัติศาสตร์พิมายตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท หินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวง ของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัย นั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน |
|
|
|
|
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี |
เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่ เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุ รนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่าง วันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน |
|
|
|
ปรางค์กู่ |
ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบ้านกู่ ตำบลดอนตะหนิน จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 74 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงตู้ยามตำรวจทางหลวงบ้านโนนตาเถรไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปทางโรงเรียนวัดบ้านกู่ ลักษณะเป็นปรางค์สมัยขอมขนาดเล็ก ฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันจากฐานถึงยอด แต่ปัจจุบันสภาพปรักหักพังไปแล้ว หลงเหลือเพียงซากฐานไม่สูงนัก ภายในองค์ปรางค์มีพระพุทธรูปดินเผาซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ 4-5 องค์ |
|
|
|
ฟาร์มโชคชัย |
ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง กิโลเมตรที่ 159 เป็นฟาร์มโคนมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีป เอเชีย เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในฟาร์มท่านจะได้เรียนรู้นับแต่การผลิต น้ำนมดิบ การเลี้ยงโคนม การรีดนม และกิจกรรมสนุกสนานที่โรงคาวบอย ชมสวนสัตว์เปิด เพลิดเพลินกับการให้อาหารสัตว์และป้อนนมลูกโค นอกจากนี้ยังมีบูติกแคมป์ เต็นท์ติดแอร์ที่เจาะกลุ่มผู้ที่ต้องการพักผ่อนแบบเน้นสร้างสมาธิ กลับสู่วิถีธรรมชาติ สร้างความแตกต่างจากรีสอร์ทอื่นๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2998 9381-5 ต่อ 150-157 |
|
 |
|
|
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม |
ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า ตำบลกลางดง แยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) หลักกิโลเมตรที่ 150 ไปตามถนนลาดยางอีก 3 กิโลเมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระพุทธสกลสีมามงคล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบทนั่งปางประทานพรสีขาวขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกวัาง 27 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับพื้นดิน 112 เมตรหรือ 56 วา หมายถึง พระพุทธคุณ 56 ประการ ส่วนความสูงขององค์พระ 45 เมตร หมายถึง พระพุทธองค์โปรดเวไนยสัตว์อยู่ 45 พรรษา หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ 45 พรรษา หลังจากที่ตรัสรู้แล้วทางขึ้นไปนมัสการองค์พระเป็นบันไดแยกออกสองข้าง เป็นรูปโค้งเว้าเหมือนขอบใบโพธิ์ นับรวมทั้งด้านซ้ายและขวาทั้งหมด 1,250 ขั้นซึ่งหมายถึง จำนวนพระอรหันต์ที่ไปชุมนุมกัน โดยมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชา
|
|
|
|
ล่องแก่งลำตะคอง |
ล่องแก่งลำตะคอง ตลอดลำน้ำจะผ่านบ้านเรือน เรือกสวน และป่าไม้เขียวขจี มีความยากในการล่องแก่งที่ระดับ 1-2 ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะลองกิจกรรมประเภทนี้และยังเหมาะแก่การมาท่อง เที่ยวกันเป็นครอบครัว เวลาที่เหมาะสมคือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน เนื่องจากมีน้ำมาก ความแรงของกระแสน้ำพอที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะน้อยเกินไป การล่องแก่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที และอาจเพิ่มรสชาติการผจญภัยด้วยการนั่งช้างชมป่าหลังจากล่องแก่งก็ได้ หากสนใจกิจกรรมนี้ติดต่อได้ที่ ปางช้างเขาใหญ่ (บ้านป่าเขาใหญ่) ถ.ธนะรัชต์ กิโลเมตรที่ 19.5 โทร. 0 4429 7183
|
|
|
|
วัดบ้านไร่ |
ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านอำเภอขามทะเลสอและบ้านหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากโรงพยาบาลด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีกประมาณ 11 กิโลเมตร วัดบ้านไร่เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของ หลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวนมาก |
|
|
|
ไทรงาม |
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย โดยก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมายอีกประมาณ 2 กิโลเมตร บรรยากาศไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350 ปี แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมายครอบคลุมพื้นที่ กว้างขวาง ประมาณ 15,000 ตารางฟุต สถานที่นี้มีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิมายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2454 และได้พระราชทานนามว่า “ไทรงาม” ในบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารหลายร้าน อาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานกันมากคือ ผัดหมี่พิมาย (ผัดหมี่โคราช) ที่เส้นเหนียวนุ่มน่ากินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์
|
|
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย |
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมายเล็กน้อย จากตัวเมืองนครราชสีมาเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ระยะทาง 50 กิโลเมตรถึงทางแยกตลาดแคเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 206 อีก 10 กิโลเมตร หากใช้บริการรถโดยสารสามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองนครราชสีมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่รวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3ส่วน
ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนอีสานตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิด อารยธรรมซึ่งมีมาจากความเชื่อต่าง ๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนที่ 2 อาคารชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในอีสานตอนล่าง
ส่วนที่ 3 อาคารโถง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลอง นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่สวยงามอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4447 1167 |
|
|
|
เขื่อนลำตะคอง |
ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 62 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) บริเวณกิโลเมตรที่ 196-197 ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปี พ.ศ. 2517 เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. |
|
|
|
ปราสาทนางรำ |
ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 62 กิโลเมตร จนถึงแยกบ้านวัด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตรถึงบ้านหญ้าคา (หรือก่อนถึงตัวอำเภอประทาย 11 กิโลเมตร) จากนั้นเลี้ยวซ้ายทางเข้าวัดปราสาทนางรำอีก 4 กิโลเมตร ชื่อ ปราสาทนางรำ มาจากว่า เดิมเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 กลุ่มตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่นประกอบด้วยปรางค์องค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทาง ทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ |
|
|
|
ประตูชุมพล |
ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1,000 x 1,700 เมตร เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา |
|
|
|
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ |
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12.5 กิโลเมตร อยู่ทางด้านซ้ายมือตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 175 เซนติเมตร สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือและเหล่าบรรพบุรุษของชาว นครราชสีมาที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ ปี พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ด้วยการใช้ดุ้นฟืนติดไฟโยนเข้าใส่กองเกวียนดินดำของกองทัพลาวจนระเบิดเสีย หายหมดสิ้นและตัวนางได้สิ้นชีวิตในการสู้รบในครั้งนั้น |
|
|
|
ศาลหลักเมือง |
ตั้งอยู่ที่หัวมุมสี่แยกถนนจอมพลตัดกับถนนประจักษ์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน ประดิษฐานเสาหลักเมืองนครราชสีมา เป็นที่สักการะบูชาของชาวไทยและจีน สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ.2199-2231 ตัวศาลและเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ ผนังศาลด้านทิศตะวันออกเป็นกระเบื้องดินเผาปั้นลวดลายนูนต่ำเป็นเรื่องราว การสู้รบของท้าวสุรนารีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ |
|
|
|
น้ำตกสวนห้อม |
ซึ่งน้ำตกจะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน ระหว่าง เดือนกรกฎาคม-เดือนตุลาคม เช่นเดียวกัน ทางไปน้ำตกจะใช้เส้นทางเดียวกับการไปน้ำตกห้วยใหญ่ แยกซ้ายเข้าซอยเทศบาล 4 ที่บริเวณตลาดสดศาลเจ้าพ่อ (ตลาด 79) แต่รถที่ใช้ควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จึงจะเหมาะสมต่อการเดินทาง
|
|
|
|
วัดป่าสาลวัน |
ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้
|
|
|
|
วัดศาลาทอง |
์ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง
|
|
|
|
น้ำตกห้วยใหญ่ |
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทับลาน ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เข้าทางตลาดกม.79 ไปประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเดินเข้าน้ำตกเป็นทางลาดเล็กน้อย เข้าไปประมาณ 20 เมตร ก็จะพบธารน้ำตกขนาดเล็ก ไหลผ่านก้อนหินใหญ่สองก้อน น้ำตกจะมีเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน)
|
|
 |
|
น้ำตกวังเต่า |
น้ำตกวังเต่าอยู่บนเทือกเขาสันกำแพง อุทยานแห่งชาติทับลาน โดยได้ชื่อว่า "แก่งครบุรี...ต้นน้ำมูล" ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนลำแชะ หมู่บ้านมาบกราด ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแม่น้ำ 3 สาย ที่เรียกกันว่า "สามง่าม" โดยสายที่ 1 ต้นน้ำมูล แหล่งกำเนิดของแก่งน้ำโตน น้ำตกวังถ้ำ น้ำตกวังมะนาว ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนมูลบน หาดจอมทองและยังเป็นแหล่งดูนกหายาก สายที่ 2 ต้นน้ำลำแชะ แหล่งกำเนิดวังไผ่ วังยาว ซับเป็ด วังแปะ วังไทร วังเต่า วังวนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำแชะและสายที่ 3 ต้นกำเนิดลำมาศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำมาศ
การเดินทาง จากตัวเมืองไปยังอำเภอครบุรี ตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านอำเภอโชคชัย ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2071 ถึงอำภอครบุรี รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตรแล้วเดินทางต่อสู่เขื่อนลำแชะตามด้วยเส้นทางบ้านโคกเจริญ ตำบลเฉลียง เลี้ยวซ้ายตามทางไปเขื่อนลำแชะอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ขับตรงไปประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านมาบกราด ไปท่าเรืออีก 200 เมตร |
|
|
|
หาดจอมทอง |
อยู่ในบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อนลำมูลบน ใกล้กับเขาจอมทอง ตำบลจระเข้หิน มีความกว้างของหาดจากแนวริมน้ำขึ้นมาเฉลี่ย 80 เมตร ยาว 800 เมตร โดยทำการลงทรายหยาบตลอดแนวทั้งหมด ความหนาของทรายประมาณ 10 เมตร เป็นชายหาดที่เสมอเรียบตามแนวระดับน้ำ ทำให้มีบริเวณพื้นที่ชายหาดและบริเวณที่สามารถลงเล่นน้ำได้ มีบริการให้เช่าห่วงยาง เรือถีบ เก้าอี้พับ ร่มชายหาดและเรือแพอีกด้วย การเดินทาง มี 2 เส้นทางคือ
1.จากตัวจังหวัดนครราชสีมา ใช้เส้นทางนครราชสีมา-โชคชัย-ครบุรี ระยะทาง 52 กิโลเมตรถึงตัวอำเภอครบุรี ใช้เส้นทางถนนลาดยางชลประทานมูลบน-ลำแชะ ที่อำเภอครบุรี-หาดจอมทอง ระยะทาง 17 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดนครราชสีมา-ครบุรี-หาดจอมทอง ประมาณ 69 กิโลเมตร
2.จากตัวจังหวัด ไปอำเภอปักธงชัย จนถึงสามแยกปอแดง(ทางหลวงหมายเลข 304 -กบินทร์บุรี) เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางชลประทาน-ปอแดง ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงเขื่อนมูลบนจากเขื่อนฯไปอีก 5 กิโลเมตรถึงหาดจอมทอง รวมระยะทางจากตัวจังหวัดนครราชสีมา-ปักธงชัย-หาดจอมทอง ประมาณ 60 กิโลเมตร |
|
|
|
เมืองโบราณที่ตำบลโคราช |
เมืองโบราณที่ตำบลโคราช หรือ เมืองโคราชเก่าถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมขอมในอดีตที่พบในเขตนครราชสีมา มีร่องรอยโบราณสถานหลงเหลือให้เห็น 3 แห่งด้วยกันคือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทเมืองเก่า การเดินทางจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2161 (เข้าสู่อำเภอสูงเนิน)ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ให้สังเกตทางแยกขวามือข้างวัดญาณโศภิตวนาราม(วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานเหล่านี้ คือ |
|
|
|
|
ลานด่านเกวียน ศูนย์หัตถกรรม "ลานด่านเกวียน" |
ตั้งอยู่ตำบลด่านเกวียนซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตรตามทางหลวงสาย 224 (โคราช-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอยและได้ทำสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน นี้ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลก และหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ ที่มีเอกลักษณ์ของสีเป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนไว้โดยเฉพาะ
ศูนย์หัตถกรรมลานด่านเกวียน เป็นแหล่งรวบรวมศิลปหัตถกรรมไทยและสินค้าพื้นบ้านแห่งใหม่ในตำบลด่านเกวียน ได้ เปิดดำเนินกิจการเมื่อเดือนมิถุนายน2545 บนเนื้อที่ 8 ไร่ ภายในศูนย์ประกอบด้วยร้านค้าต่างๆมากมายกว่า 70 ร้านค้า มีสินค้าให้เลือกสรรหลากหลาย อาทิ เช่น เครื่องปั้นดินเผา งานหินทรายจากผู้ผลิตโดยตรง ผลิตภัณฑ์จากทองเหลือง ผ้าไหมไทย และผ้าพื้นบ้านนานาชนิด ศิลปะภาพวาดติดผนัง งานไม้จากภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์เรซิน ดอกไม้ยางพารา งานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษโลหะและอื่นๆ จากฝีมือคนไทยสินค้าตกแต่งบ้านและสวนของฝากของที่ระลึก สอบถามรายละเอียดได้ที่คุณทศพร เตชถาวรกุล โทร.0 1929 8368,0 4433 8444 |
|
|
|
ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก เป็นศาลเจ้าเล็กๆ |
ตั้งอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือ ตรงมุมถนนมนัสตัดกับถนนพลแสน สร้างครอบหลักตะเคียนหินซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียวนำช้างเผือกมา ผูกไว้เพื่อให้พนักงานกรมคชบาลตรวจดูลักษณะช้างก่อนกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ |
|
|
|
โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ (เขาแผงม้า) |
อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทางประมาณ 79 กิโลเมตร เมื่อถึงตลาด บริเวณกิโลเมตร 79 มีทางแยกขวาไปตามถนนรพช.สายศาลเจ้าพ่อ–หนองคุ้มอีก 11 กิโลเมตร เส้นทางช่วงสุดท้ายประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นทางดินขึ้นเขามีทิวทัศน์สวยงามแต่ค่อนข้างขรุขระ เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะเห็นภูเขาสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 850 เมตร พื้นที่นี้เป็นโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ มีการจัดกิจกรรมปลูกป่า เดินป่า ดูสัตว์ (โดยเฉพาะกระทิงซึ่งยังมีให้เห็น) และฉายสไลด์ให้ความรู้กับผู้สนใจ มีค่ายพักแรมลักษณะเป็นเรือนนอนไม้ไผ่ 3 หลัง พักได้หลังละ 10–20 คน ติดต่อล่วงหน้าได้ที่โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ เขาแผงม้า หมู่ 4 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา |
|
|
|
สวนไม้ดอกไม้ประดับ ซุ้มไม้งาม |
อำเภอวังน้ำเขียวเป็นแหล่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับสำคัญของภาคอีสาน เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สูง มีอากาศเย็น ไม้ดอกที่ปลูกกันมากได้แก่ เบญจมาศ และหน้าวัว นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ตามทางเส้นทางสู่อำเภอวังน้ำเขียว โดยเฉพาะที่ตำบลไทยสามัคคี สวนไม้ดอกไม้ประดับแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ซุ้มไม้งาม ของคุณชูศักดิ์ นิยมนา อยู่ที่บ้านบุไผ่ ตำบลไทยสามัคคี เลยที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียวไป 5 กิโลเมตร แยกซ้ายบ้านบุไผ่อีก 3 กิโลเมตร สวนแห่งนี้ได้รับทุนโครงการหลวงมาช่วยพัฒนา ผลผลิต ได้แก่ เฟิร์น, เบญจมาศ, เซอนาดู่ (ตัดใบขายใช้แต่งแจกัน) กุหลาบ (มีเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) หน้าวัว ผลไม้ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ กระท้อน ลองกอง มะขามหวาน ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม มีผลไม้ทุกชนิด |
|
|
|
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นศูนย์วิจัยพันธุ์ไม้ |
ในเขตป่าภาคอีสานและเปิดให้หมู่คณะที่สนใจมาจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงนิเวศ อยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทาง 57 กิโลเมตรจากตัวเมือง มีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร (48,750 ไร่) สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พบสัตว์ป่าหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพระยาลอและนกต่าง ๆ หากได้มีโอกาสปีนขึ้นไปบนยอดหอคอยสูงเหนือระดับยอดไม้ที่ทางสถานีสร้างขึ้น จะมองเห็นผืนป่าเขียวขจีอันกว้างใหญ่รายล้อมอยู่รอบตัว ตลอดจนเห็นเขาแผงม้าที่อยู่ไกลออกไป อากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง มีบ้านพักไว้บริการจำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 20 คน สอบถามรายละเอียดโทร.0 4425 8642 หรือ ติดต่อที่ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร 0 2579 1121–30, 0 2579 0160 ต่อ 4401 โทรสาร 0 2561 4771
|
|
|
|
หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน |
อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อกันมานับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มี เอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนโดยเฉพาะ
|
|
|
|
สวนมะนาวด่านเกวียน |
ตั้งอยู่เลขที่ 135 หมู่ 3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย การเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาใช้ทางหลวงหมายเลข 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ก่อนถึงชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน) แยกขวาทางเข้าวัดป่าหิมพานต์ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
สวนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ปลูกมะนาวพันธุ์ด่านเกวียนซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบ มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ทนทานต่อความแห้งแล้ง ผลใหญ่ มีน้ำมากทุกขนาดผล กลิ่นเปลือกไม่ฉุนจัด รสชาติกลมกล่อม แต่ละต้นมีผลดกมาก บางต้นมีมากถึง 5,000 ผล ถ้าปล่อยให้ผลเติบโตต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่แย่งอาหารกัน ผลก็จะเจริญเติบโตขึ้นจนคล้ายส้มเกลี้ยง ส้มซ่า แต่มีความเปรี้ยวตามแบบของมะนาวทุกอย่าง
สวนมะนาวด่านเกวียนเปิดให้ชมทุกวัน มีผลผลิตและกิ่งพันธุ์จำหน่าย หากต้องการจัดทัศนศึกษาชมงานสวนมะนาวด่านเกวียน สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายณรงค์ รัตนจันทร์ โทร.0 4421 2696 หรือ โทร. 0 1976 7768 |
|
|
|
ศูนย์สารสนเทศลิปตพัลลภ ที่พักริมทางลำตะคอง หรือ “สวนน้าชาติ” |
เป็นศูนย์บริการข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นจุดพักรถเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถและผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการเดินทางตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 193-194 (เส้นทางสายสระบุรี-นครราชสีมา) บนเนื้อที่ 37 ไร่ เป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพสวยงามเหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคองสมบูรณ์ด้วยบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เป็นแบบอย่างที่พักริมทางที่ทันสมัย ครบวงจรแห่งแรกภายในบริเวณนี้ นอกจากที่พักชมทิวทัศน์ สวนหย่อม ร้านขายเครื่องดื่มและของใช้จำเป็น ห้องน้ำ โทรศัพท์สาธารณะแล้วยังมีรูปสลักพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ในลักษณะท่ากอดอก ยืนพิงมอเตอร์ไซค์คู่ใจ สูง 3.40 เมตร แกะสลักจากหินทรายสีเขียวซึ่งเป็นหินชั้นดีที่สุดและมีมากที่สุดในจังหวัด นครราชสีมา
|
|
|
|
ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) |
อยู่ในเขตตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 155 ริมถนนมิตรภาพ ศูนย์วิจัยแห่งนี้แต่เดิม คือ “ธนะฟาร์ม” ซึ่งเป็นของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2508 ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยฯ นี้ รับผิดชอบงานวิจัย งานฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการเทคโนโลยีการเกษตร
ผลิตผลข้าวโพดหวานของที่นี่จะทยอยปลูกในแปลงทั้งปี และมีจำหน่ายให้ผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณด้านหน้าฟาร์ม นอกจากนั้นยังปลูกข้าวโพดไร่เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ มีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์งา และถั่วเหลือง ทิวทัศน์ในไร่สวยงามมากเป็นบรรยากาศของทุ่งข้าวโพดอยู่กลางหุบเขาและเคยใช้ เป็นฉากถ่ายละครหลายเรื่อง
ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมทางด้านทัวร์เกษตรสำหรับหมู่คณะที่สนใจศึกษา เทคโนโลยีการเกษตร เช่น กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ฯลฯ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เดินป่า ไร่สุวรรณมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีแนวเขากั้นเป็นแนวแบ่งระหว่างด้านหน้าและด้านหลังเขา ซึ่งภูเขายังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ลิง ไก่ป่า นก กระรอก ฯลฯ การเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4436 1770-4 โทรสาร 0 4436 1108 |
|
|
|
ปรางค์สีดา |
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 84 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกสีดาเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 (ไปทางอำเภอประทาย) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าวัดอีกราว 2 กิโลเมตร ปรางค์สีดามีลักษณะคล้ายปรางค์กู่ที่ตำบลดอนตะหนิน แต่ปรางค์สีดาปิดทึบทั้งสี่ด้าน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะแบบเขมรโบราณ ก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง มีลวดลายปูนปั้นประดับหันหน้าไปทางทิศตะวันออกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18 |
|
|