วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร | |||
ตั้งอยู่ริมถนนเจริญเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2498 โดยรวมวัดโบราณ 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนีพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด และมี พระเจดีย์มิ่งเมืองซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน และเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง ยาขอบหรือนายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย
|
|||
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย | |||
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 256,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524 ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามยอดเขาสูงมีป่าสน และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ และลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ้ง แม่จอก แม่สิน มีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น หมูป่า ไก่ป่า หมี อีเห็น เสือโคร่ง เลียงผา และนกชนิดต่างๆ อุทยานฯ นี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 จากตัวจังหวัด เมื่อเลยอำเภอเด่นชัยไป 10 กิโลเมตร แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 11 เส้นทางสายแพร่ - ลำปาง ไปอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ |
|||
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี | |||
ห่างจากอำเภอเด่นชัย 3 กิโลเมตร สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ ศาลาพิพิธภัณฑ์สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังรูปทรงล้านนา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุมีค่าของหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้มากมาย เช่นพระพุทธรูปต่างๆ เครื่องเขิน เครื่องดนตรีล้านนา อาวุธโบราณ รูปภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ และภาพเหตุการณ์ในอดีตต่างๆ
|
|||
อุทยานแห่งชาติแม่ยม | |||
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 284,218 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสองฝั่งแม่น้ำยม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ
|
|||
บ้านวงศ์บุรี | |||
เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้กับวัดพงศ์สุนัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 โดยเจ้าพรหม(พลวงพงษ์พิบูลย์) และ เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน และใช้ช่างไม้พื้นถิ่น เป็นบ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น 1 เมตร หลังคาสองชั้นมีช่องระบายลมระหว่างชั้นทั้งสอง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียง ใต้ จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน บ้านทรงปั้นหยา 2 ชั้น มีเพดานสูง หลังคาสูง จุดเด่นของอาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่ เจ้าสุนันทาซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซม แต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลาย ชั่วอายุ ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง และตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ นอกจากนี้บ้านวงศ์บุรีได้จัดกิจกรรมเสริม คือการจัดขันโตกสำหรับชาวไทยและต่างประเทศที่มาเป็นคณะ โดยต้องติดต่อล่วงหน้า |
|||
บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น) | |||
ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 13 ตำบลป่าแมต ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 (แพร่ - ลอง) สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง โดยใช้ไม้สักท่อนขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านรวม 130 ต้น แต่ละเสามีอายุประมาณ 300 ปี แกะสลักอย่างประณีตวิจิตรบรรจง ตัวบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ มีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย 15 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นอกจากนี้ผู้เข้าชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. (054) 511008, 511282 |
|||
อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ | |||
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กิโลเมตร ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101 พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ รับราชการระหว่าง พ.ศ. 2440 - 2445 ในปี พ.ศ. 2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตาย เนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี
|
|||
วนอุทยานแพะเมืองผี | |||
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เช่น ดอกเห็ด หน้าผา ดูแล้วแปลกตา ชื่อ แพะเมืองผี น่าจะมาจากภาษาพื้นเมืองแพะ แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วนคำว่า เมืองผี แปลว่า เงียบเหงา วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 |
|||
วัดพระธาตุจอมแจ้ง | |||
อยู่ในท้องที่ตำบลช่อแฮ เลยพระธาตุช่อแฮไป 1 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดราว 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1331 ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้งเนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่างพอดี ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้ง เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า ที่นี่มีศาลาเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง หรือพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก
|
|||
วัดจอมสวรรค์ | |||
ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตำบลทุ่งกวาว ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรมพม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุภายในวัด ได้แก่ หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปาติโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็นอักษรพม่า และยังมี บุษบก ลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน วัดจอมสวรรค์นี้สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2437 โดยชาวเงี้ยว ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในพม่า และเดินทางมาค้าขายที่เมืองแพร่ เมื่อเกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ วัดจึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรม ต่อมาได้รับการบูรณะจากชาวไทยใหญ่ | |||
วัดหลวง | |||
ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ซอย 1 ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง แพร่ วัดนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุคหลายสมัย |
|||
ถ้ำผานางคอย | |||
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ - ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101) ถึงกิโลเมตรที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร ถึงหน้าถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ หรือเป็นชะง่อนหินยาวถึงพื้นถ้ำ สุดทางของถ้ำมีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้อยรอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หินนางคอย ตามตำนานพื้นบ้านของถ้ำแห่งนี้ เบื้องหน้าของหินนางคอยมีหินย้อย ลักษณะคล้ายรูปหัวใจดูแปลกตาสวยงาม นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นที่เคารพสักการะของชาวแพร่ |
|||
พระธาตุพระลอ | |||
อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ห่างจากอำเภอสองประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน-พระแพงแห่งเมืองสรอง เป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บทประพันธ์ลิลิตพระลอได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดลิลิตบทหนึ่งเพราะบรรยายได้ อย่างไพเราะ คือ |
|||
หมู่บ้านทอผ้าตีนจก | |||
ผ้าตีนจกของอำเภอลอง เป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีความประณีตสวยงาม ทอด้วยผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเน้นสีดำแดงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านนาตุ้ม บ้านหัวทุ่ง บ้านนามน |
|||
น้ำตกตาดหมอก หรือ น้ำตกแม่คอย | |||
อำเภอเมือง จ.แพร่ อยู่ที่ตำบลสวนเขื่อน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3 ชั้น สวยงามมาก แต่ต้องเดินทางเท้าเข้าไปอีกราว 1 กิโลเมตร |
|||
แก่งหลวง | |||
อำเภอลอง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ปาน ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 11 ประมาณ 63 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีโขดหินใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งเมื่อน้ำไหลมาปะทะจะเกิดฟองฝอยสาดกระเซ็นสวยงาม เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมนั่งแพ และล่องแก่ง |
|||
ถ้ำเอราวัณ | |||
อำเภอลอง จ.แพร่ อยู่ ในบริเวณใกล้เคียงกับแก่งหลวง เป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดของจังหวัดแพร่ มีความลึกประมาณ 200 เมตร ภายในถ้ำมีห้องโถงกว้าง มีหินงอก หินย้อยอยู่ทั่วไปรูปร่างคล้ายช้างเอราวัณ และหญิงอุ้มท้องตามตำนานของถ้ำแห่งนี้ |
|||
วัดพระธาตุศรีดอนคำ | |||
หรือที่ชาว บ้านเรียกว่า วัดห้วยอ้อ อยู่เลยที่ว่าการอำเภอลองไปเล็กน้อย ห่างจากตัวเมืองแพร่ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1023 เป็นพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1078 คราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบนประดับด้วยแผ่นโลหะสีทอง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมตำนานพระพุทธรูป และมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า ที่ทำจากไม้เรียกว่า พระเจ้าพร้าโต้ตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งเก็บไว้ในหอไตรของวัด
|
|||
น้ำตกแม่แคม หรือ น้ำตกสวนเขื่อน | |||
อำเภอเมือง จ.แพร่ อยู่ในเขตตำบลสวนเขื่อน จากสี่แยกบ้านทุ่งข้ามสะพานข้ามคลองแม่สาย แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายป่าแดง - ทุ่งโฮ้ง 4 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกทางไปน้ำตกแม่แคมอีก12 กิโลเมตร น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 2 ชั้น น้ำไหลแรงตลอดปี สภาพทั่วไปเป็นป่า เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่า |
|||
พระธาตุปูแจ | |||
ตั้งอยู่ในตำบล บ้านเวียง ห่างจากอำเภอร้องกวาง 20 กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุ หรืองานขึ้นพระธาตุตรงกับวันขึ้น 11 - 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี |
|||
น้ำตกห้วยโรง หรือ น้ำตกห้วยลง | |||
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถนนสายแพร่ - ร้องกวาง ถึงกิโลเมตรที่ 78 เลี้ยวซ้ายอีก 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูง 2 ชั้น สภาพโดยรอบเป็นป่าโปร่งร่มรื่น
|
|||
ัหลัก เมืองจังหวัดแพร่ | |||
อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิมย่านกลางเมือง เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทย ปี 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม |
|||
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง | |||
มีพื้นที่ทั้งสิ้น 112,500 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และหน้าผาสูงเป็นแหล่งกำเนิดของลำธาร ลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำยม สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณมีพันธุ์ไม้ที่สวยงาม เช่น จันทน์ผา กล้วยผา กล้วยไม้ดิน และสมุนไพร สัตว์ป่าที่พบ เช่น เลียงผา หมี เก้ง ไก่ป่า หมูป่า ชะมด และนกชนิดต่างๆ ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 20 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 1023 ระหว่างกิโลเมตรที่ 19 – 20 ภูเขาหินปะการัง อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 18–19 มีสถานที่พักแรม และสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ภูเขาหินประการัง เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก และการชะล้างพังทลายของหินที่ใช้เวลาหลายล้านปี มีลักษณะคล้ายปะการัง จะต้องเดินเท้าจากลานจอดรถเข้าไปตามทางใต้ร่มเงาป่าราว 200 เมตร ก็จะเริ่มขึ้นเขาที่ค่อยๆลาดขึ้น ประมาณ 30 เมตร จะถึงจุดพักจุดแรกที่เรียกว่า ถ้ำแอร์ธรรมชาติ เป็นโพรงถ้ำกว้างยาว 60 ซม. มีไอเย็นพัดออกมาอยู่ตลอดเวลา สวนหินมหาราช ขึ้นอยู่กับป่าไม้เขตแพร่ จากแพร่ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 เส้นทางสายแพร่-ลอง สวนหินมหาราชอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 19-20 ทางซ้ายมือ เป็นบริเวณกว้างโล่ง มีก้อนหินขนาดใหญ่วางเรียงอยู่ มีศาลาพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยว และมีบริการบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยว |
|||
ถ้ำจำปู | |||
ูอยู่ที่ตำบลน้ำรัด ห่างจากตัวเมืองแพร่ 17 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 40 เมตร ลึก 40 เมตร ภายในเป็นห้องโถงใหญ่ ลักษณะคล้ายโรงละครกลางแจ้ง มีอุโมงค์เชื่อมไปยังมุมต่างๆ ติดต่อกันเป็นห้องโถงประมาณ 6 - 7 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป มีหินงอกหินย้อยคล้ายเกล็ดแก้วระยิบระยับสวยงาม |
|||
น้ำตกตาดซาววา | |||
อยู่ห่างจากตัว เมือง 35 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงสวยงามมาก อยู่ในเขตอำเภอร้องกวาง ทางคมนาคมเข้าไปยังลำบากอยู่ และต้องเดินเท้าเข้าไปชม |
|||
หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง | |||
อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่ - น่าน) เป็นแหล่งผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่ |
|||
ตลาดหัวดง | |||
อำเภอสูงเม่น จ.แพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร ถนนสายแพร่ - สูงเม่น เส้นทางหลวงหมายเลข 101 เป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ และหวาย เช่น เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ในครัวเรือนต่าง ๆ |
|||
อุทยานลิลิตพระลอ | |||
อำเภอสอง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ในเส้นทางไปพระธาตุพระลอสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองสรองมาก่อนเพราะ ยังปรากฏเนินดินเป็นแนวกำแพงให้เห็น มีแม่น้ำกาหลงไหลผ่าน ปัจจุบันแม่น้ำนี้ได้ตื้นเขินไปแล้วจนเกือบไม่เหลือสภาพเดิม
|
|||
คุ้มเจ้าหลวง เมืองแพร่ | |||
ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ |
|||
บ้านนาตอง | |||
หมู่ 9 ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 20 กิโลเมตร สภาพทางค่อนข้างลำบากในหน้าฝนต้องใช้รถกระบะแรงดี บ้านนาตองมีประชากรประมาณ 100 หลังคาเรือน จัดการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ (Home Stay) ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ในช่วงนอกฤดูทำนาจะปลูกถั่วลิสงโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และเก็บยอดใบเมี่ยงทุก 2 เดือน นอกจากวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแตกต่างจากคนเมืองแล้ว ที่บ้านนาตองยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ เต่าปูลู ซึ่งเป็นเต่าหางยาว มีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อ 3 ประเทศ คือ ภาคเหนือของประเทศไทย ภาคตะวันออกของประเทศพม่า และทางตอนใต้ของจีน |
|||
วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง | |||
อำเภอสูงเม่น จ.แพร่ อยู่ที่ตำบลดอนมูล เลี้ยวซ้ายที่บ้านหัวดงเข้าไป 700 เมตร มีเจดีย์เก่าศิลปะสุโขทัย ชาวบ้านเรียกว่า ธาตุเนิ้ง มีความหมายว่า เอียง เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง |
|||
วัดสระบ่อแก้ว | |||
อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่บนถนนน้ำคือ ริมคูเมือง สร้างขึ้นสมัยเดียวกับวัดจอมสวรรค์ เดิมชื่อ วัดจองกลาง เป็นวัดศิลปะแบบพม่าที่สวยงามแปลกตา ทั้งศาลาการเปรียญ โบสถ์ และเจดีย์ มีพระพุทธรูปหินอ่อนทรงเครื่องแบบพม่า สร้างอย่างสวยงามวิจิตรพิสดารมาก วัดแห่งนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์พม่าที่เดินทางเข้ามาศึกษาพระธรรม วินัยในประเทศไทย
|
|||
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน | |||
ห่างจาก ตัวเมืองไปตามถนนแพร่ - สูงเม่น ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้านฝ้าย ถนนยันตรกิจโกศล เป็นสถานที่จำลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคารบ้านเรือน และของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง เมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5452 3114 |
|||
พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียง สรอง | |||
อยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 103 ตรงหลังกิโลเมตรที่ 14 ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 39 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ของครอบครัวอุปวรรณ ที่เก็บรวบรวมเงินตรา และเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ของไทยตลอดจนเงินสกุลอื่นๆ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันที่หายากไว้มากมาย นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้วัตถุโบราณ เช่น ถ้วยชามสังคโลก และเอกสารต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนละ 30 บาท หากเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (054) 634237, 634395 | |||
วัดพระนอน | |||
อยู่ใกล้วัดหลวงบนถนนพระนอนเหนือ มีพระอุโบสถแบบเชียงแสนคือไม่มีหน้าต่างแต่ทำเป็นช่องรับแสงแทน ส่วนหน้าบันแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายก้านขด มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ ส่วนวิหารตกแต่งชายคาด้วยไม้ฉลุโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นยาว 9 เมตร ลงรักปิดทองตลอดองค์ |
|||
|