|
|
พุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว |
เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมอง เห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขาสลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบัติธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะ สวยงามแปลกตา
|
|
|
|
|
|
|
ภูทับเบิก |
ตั้งอยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางจากหล่มเก่าไปภูหินร่องกล้า หรือห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ภูทับเบิกมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา มีอากาศบริสุทธิ์ |
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า |
ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติแปลกตาและสวยงาม ทั้งยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ เป็นยุทธภูมิสำคัญในอดีตของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
ภูหินร่องกล้ามีลักษณะภูมิอากาศคล้ายกับภูเขาสูงของจังหวัดเลย เช่น ภูกระดึงและภูเรือ |
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา) |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ด้านจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 6 กิโลเมตร จุดท่องเที่ยวหลักของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมีทิวทัศน์และพรรณไม้ดอกที่งดงามโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว เหมาะแก่กิจกรรมเดินป่า กางเต็นท์พักแรม และปั่นจักรยานเสือภูเขา |
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว |
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางที่ชอบสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็น และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ครอบคลุมพื้นที่ป่ารอยต่อสองจังหวัด คือ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์และอำเภอคอนสาน จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่รวม 603,750 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน |
|
|
|
|
เขาค้อ |
เป็นชื่อเรียกรวมทิวเขาน้อยใหญ่ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอเขาค้อ เหตุที่เรียกกันว่า “เขาค้อ” เพราะป่าบริเวณนี้เดิมมีต้นค้อซึ่งเป็นไม้ตระกูลปาล์มขึ้นอยู่มาก ภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นสบายตลอดปีแม้ในฤดูร้อน และค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาว รวมทั้งมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ |
|
|
|
|
พระตำหนักเขาค้อ |
ตั้งอยู่บนเขาย่า สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการในพระราชดำริและทรงตรวจ เยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและอำเภอใกล้เคียง เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งวงกลมมีทั้งหมด 15 ห้อง รูปทรงแปลกตาไปจากพระตำหนักอื่น สามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่เข้าชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักได้ บริเวณใกล้กันมีบ้านพักทหารม้าซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวพักค้างแรมได้ มีร้านค้าสวัสดิการตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินขึ้นยอดเขาย่าซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์เขาค้อโดย รอบได้สวยงาม การเดินทาง จากสี่แยกสะเดาพงษ์ ใช้เส้นทางหมายเลข 2258 ทางไปหนองแม่นา ตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางชันมาก ควรขับรถอย่างระมัดระวัง |
|
|
|
วัดมหาธาตุ |
ตั้งอยู่บนถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูงประมาณ 3 วา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่องาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร |
|
|
|
วัดวิเชียรบำรุง |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าโรง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 และมีทางแยกเข้าตัวอำเภออีก 7 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายข้างที่ว่าการอำเภอไปอีก 200 เมตร ภายในบริเวณวัดมองเห็นพระนอนสีทององค์ใหญ่อยู่กลางแจ้ง นามว่า พระพุทธไสยาสน์วิเชียรบุรีศรีรัตนมิ่งมงคล มีความยาวประมาณ 50เมตร สูง 5 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก องค์พระหล่อด้วยปูนทาสีทอง ภายในองค์พระเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ด้านหลังองค์พระมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ยังมีเรือมาด (เรือขุดที่มีประทุน) ที่ขุดแต่งจากไม้ตะเคียนทั้งต้น อายุในราวสมัยอยุธยา ที่พบในแม่น้ำป่าสัก อำเภอวิเชียรบุรีตั้งแสดงอยู่ที่วัดนี้ |
|
|
|
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าโรง ห่างจากแยกทางหลวงหมายเลข 21 ตามเส้นทางเข้าตัวอำเภอวิเชียรบุรีเป็นระยะทางประมาณ 8กิโลเมตร เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งชาวอำเภอวิเชียร บุรีร่วมใจกันก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่เสด็จยกกองทัพไปตีทัพ เขมรที่เมืองวิเชียรบุรีแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2518 ทางอำเภอจัดงานเฉลิมฉลองศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นในวันกองทัพไทย ราวเดือนมกราคมของทุกปี |
|
|
|
|
แก่งบางระจัน |
ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านหนองแม่นา เป็นแหล่งท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ ซึ่งมีกิจกรรมพายเรือท่องป่า ตามหาแมงกะพรุนน้ำจืด ในช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ทุกปี โดยมีกลุ่มชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยวในบริเวณนี้
|
|
|
|
|
วัดช้างเผือก |
ตั้งอยู่ที่ตำบลวังชมภู ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 24 กิโลเมตร บริเวณปากทางเข้าวัดจะเห็นรูปปั้นช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ ภายในวัดเก็บรักษาสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระครูพัชราจารย์ หรือหลวงพ่อทบ บรรจุศพอยู่ในโลงแก้ว เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ตามประวัติเล่าว่า หลวงพ่อทบได้ศึกษาวิชาอาคมมาจากเขมร จนเป็นที่เลื่องลือทางด้านเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อเสียงในด้านแคล้วคลาดจากภยันตราย อยู่ยงคงกะพัน ในเดือนมีนาคมจะมีการจัดงานประจำปีครบรอบวันมรณภาพของหลวงพ่อทบเป็นประจำทุก ปี นอกจากนี้บริเวณลานกลางแจ้งยังมีรูปปั้นหลวงพ่อทบให้สักการะบูชา และซากโบสถ์เก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 300 ปี
การเดินทาง จากตัวเมืองเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ลงมาทางทิศใต้ ถึงสามแยกวังชมพูเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางอำเภอหนองไผ่ อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 118 ก่อนถึงสามแยกบ้านนายม ซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดไปอีกประมาณ 700 เมตร |
|
|
|
หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ |
ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ หอวัฒนธรรมแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นอนุสรณ์ "นครบาลเพชรบูรณ์" เนื่องจากในระหว่าง พ.ศ. 2486-2488 จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ออกพระราชกำหนดเพื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เพชรบูรณ์ โดยใช้ ชื่อว่า " นครบาลเพชรบูรณ์ " ด้านนอกอาคารจะมีรูปปั้นฝักมะขามยักษ์สีทองโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ ภายในตัวอาคารเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ และมีการจัดแสดงภาพถ่ายและโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์ |
|
|
|
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก |
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ไปทางตะวันออก 37 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 290 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์บนเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำป่าสักและลำน้ำชีและเป็นพื้นที่ป่ากันชนให้ กับผืนป่าสามแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2541 จัดเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ 87 ของประเทศ
|
|
|
|
|
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ |
เป็นโบราณสถานสำคัญที่น่า สนใจศึกษาหาความรู้มากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม อุทยานฯมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "เมืองอภัยสาลี" สร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เมืองโบราณศรีเทพมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน มีพื้นที่ 1,300 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป พบซากโบราณสถานกว่า 70 แห่ง บางแห่งได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้ว และ เมืองส่วนนอก มีพื้นที่ 1,589 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน ขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และพบโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกัน |
|
|
|
|
เนินมหัศจรรย์ |
อยู่ที่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 ถนนสายนางั่ว-สะเดาพงษ์ ทางหมายเลข 2258 เมื่อขับรถมาถึงตรงนี้ และดับเครื่องรถจะถอยหลังขึ้นเนินได้เอง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดจากภาพลวงตา เพราะในความเป็นจริงเมื่อวัดระดับความสูงของพื้นที่สองจุดแล้ว ความสูงของเนินจะมีระดับต่ำกว่าช่วงที่เป็นทางขึ้นเนิน
|
|
|
|
น้ำตกศรีดิษฐ์ |
เป็นน้ำตกหินชั้นขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เคยเป็นที่อยู่ของ ผกค. มาก่อน สิ่งที่น่าสนใจคือ ครกตำข้าวพลังงานน้ำตกที่ ผกค.สร้างไว้ การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2196 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 17 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2325 อีกประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าน้ำตก |
|
|
|
|
วัดไตรภูมิ |
ตั้งอยู่บนถนนเพชรรัตน์ ในตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ประดิษฐาน "พระพุทธมหาธรรมราชา" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปสมัยลพบุรี ชาวบ้านพบบริเวณหน้าวัดในแม่น้ำป่าสัก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปและมีผู้พบอยู่ในแม่น้ำบริเวณที่พบครั้งแรก จึงถือกันเป็นประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการแห่ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องนำไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศ การสารทไทย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร สมดังชื่อจังหวัดที่ว่า "เพชรบูรณ์" ซึ่งมาจากคำว่า "พืชปุระ" หรือเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยพระพุทธมหาธรรมราชา จะมีชื่อแสียงทางด้านการขอพรเพื่อรักษาโรคภัย และความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร
บทสวดบูชา พุทธมะหาธัมมะราชา วะชิระปูระณะมะหิทธิกา สัพเพ เต อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ |
|
|
|
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ |
อยู่ที่ถนนหลักเมือง ใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ เสาหลักเมืองเป็นเสาหินที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาจากเมืองศรี เทพ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณแบบทวารวดีและขอม คาดว่ามีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11–12 ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17–18 จึงนับว่าเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย |
|
|
|
เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุเขาค้อ |
ตั้งอยู่บนเขาค้อ ติดกับหอสมุดนานาชาติเขาค้อ บ้านกองเนียม หมู่ที่ 4 ตำบลเขาค้อ ที่ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เป็นเจดีย์ที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งแบบสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เจดีย์แห่งนี้ชาวเพชรบูรณ์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์ 50 ปี และเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ในวันสำคัญทางศาสนาจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียน
|
|
|
|
อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง |
ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง (จุดตัดของทางหลวงหมายเลข 21 กับทางหลวงหมายเลข 12) บริเวณบ้านน้ำชุน ห่างจากที่ว่าการอำเภอหล่มสักประมาณ 3 กิโลเมตร พระรูปทำด้วยโลหะในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักลงดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น พ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด) ผู้ทรงร่วมสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 1800 ได้ทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางพระสหายนำไพร่พลทำสงครามขจัดอำนาจการปกครองของขอมให้พ้นจาก ดินแดนสุโขทัย และได้ทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ถวายพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่สักการะของชาวเพชรบูรณ์และผู้เดินทางผ่านไปมาบน เส้นทางนี้ |
|
|
|
หอสมุดนานาชาติเขาค้อ |
ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บนเขาค้อ ที่บ้านกองเนียม ตำบลเขาค้อ เป็นหอสมุดขนาดใหญ่ออกแบบเป็นรูปเพชรคว่ำ สร้างด้วยกระจกสะท้อนแสง ภายในเก็บรักษาหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมของทุกปีจะมีการจัดงาน “วันนัดพบเอกอัครราชทูต ณ เขาค้อ” โดยเชิญเอกอัครราชทูตจากประเทศต่าง ๆ มาร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด หอสมุดฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าธรรมเนียมเข้าชมหอสมุดนานาชาติเขาค้อ 10 บาท/คน
การเดินทาง จากสี่แยกสะเดาพงษ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2196 ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าหอสมุด ให้เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 500 เมตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได่ที่ : ป้าแจ่มจันทร์ โทร 08 9048 5412, 08 10452384 |
|
|
|
ุภูเขาหินปะการัง หรือชาวบ้านเรียกกันว่า เขาหน่อ |
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 8 บ้านเขาเพิ่มพัฒนา ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน อยู่ในเทือกเขาชนแดน เป็นภูเขาหินสูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,200 เมตร มี ความลาดชันราว 45 องศาฯ ลักษณะแปลกตา แตกต่างจากภูเขาที่อยู่ข้างเคียง เต็มไปด้วยหินแหลมคมสีเทาโผล่ขึ้นมาทั่วบริเวณ มองดูคล้ายปะการัง หินบางลูกเมื่อใช้วัตถุเป็นไม้ หรือเหล็กเคาะจะมีเสียงดังก้องกังวานคล้ายเสียงระฆังพบอยู่โดยรอบครอบคลุมภูเขาทั้งลูก มีต้นไม้ขึ้นสลับหลายชนิด โดยเฉพาะต้นจันทน์ผาที่เป็นไม้มงคลหายาก ขึ้นอยู่ท่ามกลางป่าเบญจพรรณ บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์ได้
ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลซับพุทรา โทร. 0 5681 1003
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ไปจนถึงแยกนาเฉลียง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตำบลซับพุทธา ประมาณ 16 กิโลเมตร จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวขวาไปทางอำเภอชนแดน ประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปเขาหินปะการัง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร |
|
|
|
อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้ออยู่บนยอดเขาสูงสุดของเขา ค้อ |
อยู่เลยฐานอิทธิ ไปอีก 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ทหาร ตำรวจ ทหาร ผู้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2525 โดยสร้างด้วยหินอ่อนเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 24 เมตร หมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหารในปี พ.ศ. 2524 ผนังภายในบันทึกประวัติอนุสรณ์สถานและรายชื่อวีรชนผู้เสียสละไว้ด้วย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2196 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 28 ไปเล็กน้อย มีทางแยกขวาไปเส้นทางหมายเลข 2323 ประมาณ 3 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร
|
|
|
|
ฐานอิทธิ (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) |
ตั้งอยู่บนเขาค้อ อยู่เลยกิโลเมตรที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 2196 ไปเล็กน้อย แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2323 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดหนึ่งที่เห็นทิวทัศน์สวยงามและเคยเป็นฐานสำคัญทางยุทธศาสตร์ในอดีต ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ จัดแสดงปืนใหญ่ ซากรถถังและอาวุธที่ใช้สู้รบกันบนเขาค้อ มีห้องบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท
|
|
|
|
อนุสรณ์จีนฮ่อตั้งอยู่บนเขาค้อ |
อยู่เลยกิโลเมตรที่ 23 ของทางหลวงหมายเลข 2196 ไปเล็กน้อย เป็นอนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพลที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อ และเสียชีวิตในการสู้รบ |
|
|
|
สวนสาธารณะเทศบาลตำบลพุเตย |
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย ริมทางหลวงหมายเลข 21 ระหว่างทางจากอำเภอศรีเทพไปวิเชียรบุรี เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก ภายในมีบ่อน้ำแร่ ตกแต่งบริเวณสวนสวยงาม ที่สำคัญคือ มี “พุเตยสปา” ซึ่งเป็นสปาที่ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลพุเตย มีห้องแบ่งเป็นสัดส่วนแยกชายหญิง มีบริการนวดตัว นวดหน้า นวดเท้า และแช่น้ำแร่ร้อนในอ่างจากุซซี่ ที่สะอาดและทันสมัย สอบถามรายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5679 7650, 0 5679 7837 หรือ |
|
|
|
|
สวนภูพนา |
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำหนาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจของอำเภอน้ำหนาว อยู่เลยที่ว่าอำเภอน้ำหนาวทางไปอำเภอหล่มเก่าประมาณ 3 กิโลเมตร ด้านซ้ายมือ ด้านหน้าสวนมีร้านกาแฟสดในสวนไม้ดอกร่มรื่น ภายในสวนมีแปลงปลูกพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เด่นที่สุดคือ ดอกหน้าวัว ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น พลายชุมพล (ดอกสีแดง)และทองคำ (ดอกสีส้ม) โดยเฉพาะดอกหน้าวัวพันธุ์พลายชุมพลจากสวนภูพนาแห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ ในงานมหกรรมพืชสวนโลกที่ จังหวัดเชียงใหม่ จึงนับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งที่น่าศึกษาค้นคว้า เปืดให้เข้าชมระหว่าง เวลา 08.00-18.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 0 5677 9128 |
|
|
|
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.น้ำหนาวในอำเภอน้ำหนาว |
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสการท่องเที่ยวในรูปแบบเชิงเกษตร ในอำเภอน้ำหนาวแห่งนี้ มีสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากมาย อาทิ เช่น ไร่ธนลาภ ปลูกผักเมืองหนาว สวนภูน้ำหนาว แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ สวนภูพนา ปลูกดอกหน้าวัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สวนน้ำหนาว ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กุหลาบเงิน เบญจมาศ ว่านสี่ทิศ สวนเนินไผ่ ปลูกผักเมืองหนาว เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำหนาว โทร 0 5677 9028 |
|
|
|
หมู่บ้านท่องเที่ยวชาวดอย (ม้ง) เล่าลือ |
หมู่บ้านชาวดอย ( ชาวม้ง ) บ้านเล่าลือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของเขาค้อ ซึ่งมีชาวม้งอาศัยอยู่มาก ในอดีตชาวม้งนิยมปลูกฝิ่นกันมาก แต่ทางการได้เข้ามารณรงค์ให้เลิกปลูกฝิ่น และหาอาชีพเกษตรอื่น ๆ มาทดแทน ปัจจจุบันชาวเขาเผ่าม้ง ประกอบอาชีพปลูก ข้าวโพด ข้าวไร่ แปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ซึ่งทำให้ชาวเขาเผ่าม้งมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ เมื่อเข้ามาในหมู่บ้านจะได้พบเห็นบ้านเรือนและวิถีชีวิตชาวม้ง ยังพบเห็นชาวเขาที่แต่งกายด้วยผ้าที่ทอขึ้นเอง มีครกไม้ตำข้าว และสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ในบริเวณหมู่บ้าน การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกศรีดิษฐ์ ทางหลวงหมายเลข 2325 โดยบ้านเล่าลืออยู่บริเวณ กม. 16 นักท่องเที่ยวสามารถขับรถเที่ยวในบริเวณหมู่บ้านได้ |
|
|
|
หมู่บ้านวัฒนธรรมชาวเขาบ้านเข็กน้อย |
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดินทางจากพิษณุโลกมาตามเส้นทางหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายระหว่าง กม. ที่ 92 - 93 เป็นหมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีกิจกรรมท่องเที่ยวซึ่งหาดูได้ ยาก อาทิ เช่น ชมการจำลองวิถีชีวิตชาวม้ง ชมการแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ วิถีชีวิต 12 เดือนของม้ง รำแคน ระบำกระดัง ระบำขลุ่ย เดินแบบชุดม้ง และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวม้ง อาทิ ผ้าปักลาย พืชผักการเกษตร เปิดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น ภูทับเบิก เขาค้อ ทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : อบต.เข็กน้อย โทร 0 7839 2880 |
|
|
|
บึงสามพัน |
ตั้งอยู่ที่ตำบลซับสมอทอด ห่างจากที่ว่าการอำเภอบึงสามพันประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 323 ไร่ มีลักษณะเป็นลำคลองยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีน้ำใสตลอดทั้งปี เป็นบึงที่ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม แหล่งเพาะพันธุ์ปลา ที่บริเวณริมบึงมีร้านอาหารไว้บริการด้วย และในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีทางอำเภอบึงสามพันจัดให้มีการแข่งขันเรือยาว ประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้ทางหมายหลวงเลข 21 ผ่านบ้านวังชมภู ผ่านอำเภอหนองไผ่ สู่อำเภอบึงสามพันตรงสี่แยกไฟแดง บริเวณกิโลเมตรที่ 340-341 มีป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายเข้าบึงสามพันไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร |
|
|
|
ทุ่งทานตะวันที่บึงสามพัน |
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ที่บ้านเขาหลวง บ้านป่ายาง ตำบลสระแก้ว มีการปลูกทานตะวันบนภูเขาหลวง ครอบคลุมพื้นที่กว่าหมื่นไร่ เมื่อดอกทานตะวันบานในตอนเช้า ภูเขาบริเวณนี้จะกลายเป็นทุ่งทานตะวันมีสีเหลืองอร่ามสวยงาม ในช่วงเดือนธันวาคมทางอำเภอบึงสามพันได้จัดงาน “ตะวันบานบนภูที่บึงสามพัน” ภายในงานมีการจัดประกวดดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุด การประกวดธิดาตะวัน การแปรรูปเมล็ดทานตะวัน และการจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร
การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21ผ่านอำเภอหนองไผ่ ไปจนถึงสี่แยกราหุลให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 225ไปทางจังหวัดชัยภูมิอีก 18 กิโลเมตร ถึงสี่แยกซับบอนให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ้านป่ายางซึ่งทำไร่ทานตะวัน |
|
|
|
สวนรุกขชาติซับชมภู |
ตั้งอยู่ที่บ้านซับชมภู หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโภชน์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีพื้นที่ 180 ไร่ เป็นแหล่งความรู้ทางพฤกษศาสตร์มีทั้งป่าไม้เบญจพรรณ สมุนไพรนานาชนิด ภายในสวนรุกขชาติตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม มีน้ำตก 3แห่ง ได้แก่ น้ำตกหินงาม น้ำตกไทรงาม และน้ำตกธารงาม การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21ผ่านบ้านวังชมภูทางไปอำเภอหนองไผ่ ประมาณกิโลเมตรที่ 156 แล้วแยกขวาเข้าทางสายบ้านโภชน์-วังปลาไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. 0 5671 1446 |
|
|
|
ดงรอยเท้าไดโนเสาร์ |
พบรอยเท้าไดโนเสาร์บนหน้าผาหินทราย บริเวณเชิงเขาในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขตรอยต่อกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว หมู่ที่ 5 บ้านนาสอพอง ต.น้ำหนาว พบรอยเท้าประมาณ 300 รอย มึความลึกประมาณ 1-3 เซนติเมตร มีระยะระหว่างก้าวเดิน 70 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80 เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่ามีไดโนเสาร์ไม่น้อยกว่า 2 ตัว วัดขนาดรอยเท้ายาวประมาณ 12 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว เป็นรอบที่มี 3 นิ้ว ในขณะที่ส่วนปลายมีร่องรอยของเล็บที่แหลมคม ซึ่งเป็นลักษณะของไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยสองขาหลังเป็นหลัก
การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2216 ห้วยสนามทราย-น้ำหนาว-กกกะทอน ถึงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 19-20 จะมีทางแยกข้างหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พช.5 (นาพอสอง) เป็นถนนลูกรังซึ่งเป็นเส้นทางเข้าน้ำตกตาดพรานบา เข้าไปราว 3 กิโลเมตร จะมีถนนแยกด้านซ้ายระยะทางราว 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าลัดเลาะไปตามสันไหล่เขาเข้าไปอีกราว 1 กิโลเมตรจึงจะถึงแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ รถยนตร์ควรเป็นชนิดขับเคลื่อนสี่ล้อ และหลีกเลี่ยงเดินทางเข้าไปหากมีฝนตก เพราะเส้นทางขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจและบุกเบิก อาจเกิดอันตรายได้ |
|
|
|
วัดศรีมงคล (วัดนาทราย) |
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านนาทราย ตำบลวังบาล บนเส้นทางสี่แยกวังบาล-โจะโหวะ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ความน่าสนใจของวัดนี้อยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ ซึ่งมีภาพเขียนสวยงามตามแบบโบราณ เกี่ยวกับประวัติพระเจ้าสิบชาติ ภาพนรก-สวรรค์ และภาพที่สะท้อนให้เห็นชีวิตของสังคมท้องถิ่นในอดีต เช่น การประกอบอาชีพ การค้าขายทางเรือ การเดินทาง ใช้ทางหลวงสายหล่มเก่า-วังบาล ระยะทางจากอำเภอหล่มเก่าประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้านนาทรายอีกประมาณ 1 กิโลเมตร |
|
|
|
หลักเมืองหล่มเก่า |
ตั้งอยู่ที่สี่แยกบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งน้ำเต้า หลักเมืองนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 เป็นหลักเมืองที่ทำด้วยซีเมนต์ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นประธานทำพิธีฝังหลักเมืองเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2487 การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปถ้ำฤาษีสมบัติแต่อยู่ทางแยกขวามือปากทางเข้าสนามบิน เพชรบูรณ์ |
|
|
|
ถ้ำฤาษีสมบัติ |
ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำสมบัติ ตำบลบุ่งน้ำเต้า อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 36 กิโลเมตร เมื่อครั้งสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2487 และได้ตั้งกระทรวงการคลังขึ้นที่ถ้ำฤาษีสมบัติซึ่งใช้เป็นที่เก็บสมบัติของ แผ่นดินในสมัยนั้น ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารไม่ปรากฏ นอกจากถ้ำซึ่งมองเห็นเป็นร่องรอยการก่อสร้าง การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ระหว่างกิโลเมตรที่ 251-252 จะมีป้ายบอกทางเข้าถ้ำฤาษีสมบัติตรงทางแยกซ้ายมือตรงข้ามกับทางเข้าสนามบิน เพชรบูรณ์ เข้าไปประมาณ 6.5 กิโลเมตร |
|
|
|
อ่างเก็บน้ำรัตนัย |
หรืออ่างเก็บน้ำบ้านรัตนัย 1 อยู่บนทางหลวงหมายเลข 2325 เลยกิโลเมตรที่ 5 ไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นทางเข้าอ่างเก็บน้ำทางด้านซ้ายมือ เข้าไปตามทางเดินอีกประมาณ 400 เมตร อ่างเก็บน้ำรัตนัยเป็นอ่างเก็บน้ำความจุ 2,020,000 ลูกบาศก์เมตร บนเนื้อที่ 1,600 ไร่ มีอาคารระบายน้ำล้น กว้าง 15 เมตร พร้อมทำนบดิน สูง 15 เมตร ยาว 250 เมตร ในบริเวณอ่างเก็บน้ำมีลักษณะคล้ายทะเลสาบ ในตอนเย็นจะมีลมพัดเย็นสบายเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน |
|
|
|
สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ |
ตั้งอยู่ที่ 51 หมู่ 3 ตำบลสะเดาพงษ์ เป็นสถานที่ทดลองปลูกไม้เมืองหนาวจากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ภายในสถานีได้ปลูกไม้เมืองหนาวนานาชนิด เช่น พลับฝาด พลับเนคตาซีน แมคคาเดเมียนัท กาแฟ มะกอกน้ำ นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเข้าชมภายในสถานีทดลองการเกษตรที่สูงเขาค้อ จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ และสามารถจองเต็นท์ได้ในราคา 250 บาท พักได้ 4 คน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 05672 3056 |
|
|
|
ศูนย์กลางวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาเพื่อการพึ่งตน เอง (ศวต.) |
หรือ เขาค้อทะเลภู สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อเพชรบูรณ์มีบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 10 คน หากผู้ที่เข้าชมเป็นหมู่คณะต้องการเจ้าหน้าที่บรรยายและนำชมให้ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า ต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึง หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67270โทร. 08 6887 7373 และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยง สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช บางเขน กรุงเทพ โทร. 0 25614292ต่อ 713, 0 2579 9630 การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกศรีดิษฐ์ เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 7 แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร |
|
|
|
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อเพชรบูรณ์ (สวนสัตว์เปิดเขาค้อ) |
ดำเนินโครงการโดยกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชดำริเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงเสด็จมา |
|
|
|
ูอ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยป่าแดง |
อยู่ห่างจากตัวเมืองไป ทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 2006 ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นแหล่งพักผ่อนริมน้ำที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่ง เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นห้วยป่าแดงในเขตตำบลป่าเล่า อ่างเก็บน้ำนี้แวดล้อมด้วยทัศนียภาพของขุนเขาและสายน้ำที่งดงามโดยเฉพาะใน ยามเช้าตรู่และยามเย็น ช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้น-ลง ประชาชนนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ นั่งรับประทานอาหาร สังสรรค์กับเพื่อนฝูง ในบริเวณมีร้านขายอาหารบริการ อาหารที่ขึ้นชื่อคืออาหารจำพวกปลาน้ำจืด เช่น ปลาเผา ปลาทอด |
|
|
|
สวนรุกขชาติหนองนารี |
ตั้งอยู่ริมถนนนารีพัฒนา หมู่ที่5 ตำบลสะเดียง ข้างสนามกีฬาเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2กิโลเมตร บริเวณสวนเป็นบึงบัวขนาดใหญ่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ สามารถขับรถเที่ยวรอบบึง บรรยากาศร่มรื่น มีร้านอาหารบริการ |
|
|
|
เขารัง |
เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล อยู่บนเส้นทางสายเพชรบูรณ์-ตะพานหิน ถนนสายนี้สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปิดสู่เมืองเพชรบูรณ์ การก่อสร้างถนนเต็มไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนที่สร้างทางจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย |
|