WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

วัดห้วยป่ากั้ง

วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 553 ม.3 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย บนเนื้อที่ 15 ไร่ เริ่มก่อตั้งในปี 2544 โดยคณะศรัทธาวัดห้วยปลากั้งร่วมกันก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จนกระทั่ง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ได้มี พระอาจารย์พบโชค ติสฺสวํโส เดินทางมาปฏิบัติธรรมและเริ่มมีการก่อสร้างศาสนวัตถุ เริ่มตั้งแต่ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน และได้ก่อสร้างพระมหาเจดีย์ พบโชคธรรมเจดีย์ขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ต่อมาเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552


วนอุทยานภูชี้ฟ้า

เป็นส่วนหนึ่งของดอยผาหม่น อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามราวภาพวาด ด้วยทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล การจะเดินขึ้นไปชมทะเลหมอกควรจะขึ้นไปยอดภูตั้งแต่ฟ้ายังมืด เพราะเมื่อฟ้าเริ่มสว่างจะทำให้เห็นสายหมอกค่อย ๆ ก่อตัวเป็นภาพต่าง ๆ ดูสวยงามราวกับมีช่างวาดฝีมือมาแต่งแต้ม สร้างความประทับใจไปอีกนาน ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนมกราคม การเดินทาง อยู่ห่างจากเชียงราย 111 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 เข้าสู่อำเภอเทิง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 จนถึงทางแยกขวาขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า หรือใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายเชียงราย-เทิง ลงรถที่อำเภอเทิง จากนั้นเช่ารถขึ้นไปภูชี้ฟ้า การเดินทางไปภูชี้ฟ้าโดยรถตู้ประจำทางสาย2402 เชียงราย-บ้านร่มฟ้าไทย(ภูชี้ฟ้า) ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย ทุกวัน เวลา 7.15น.และ13.15น. คนละ 80 บาท [บริษัท ก.สหกิจเดินรถ จำกัด โทร. 0 5374 2429-31]


อุทยานแห่งชาติขุนแจ

เดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จะถึงที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมทางบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 55-56 อุทยานแห่งชาติขุนแจตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นอุทยานที่มีความร่มรื่นสมบูรณ์ของป่า มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ชะมด หมูป่า เก้ง เม่น หมี ลิงลม นกต่าง ๆ เช่น นกแซงแซวสีเทา เหยี่ยวรุ้ง นกตีทอง นกเขียวก้านทองปีกสีฟ้า เป็นต้น


ดอยลังกา

ดอยลังกา มี ความสูง 2,000 เมตร สูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ทำให้มองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของอุทยานแห่งชาติ มีเส้นทางเดินป่าใช้เวลาเดินป่า 4 วัน 3 คืน


ดอยแม่สลอง

ตำบลแม่สลองนอกมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีเทือกเขาสลับซับซ้อน และมีที่ราบระหว่างเชิงเขา มีระดับความสูงของสันเขา 950-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ด้วยสภาพที่ตั้งและภูมิประเทศดังกล่าวเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้มีทรัพยากร ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชนเผ่าอยู่เป็นจำนวนมาก   ทั้งจีนฮ่อ เย้า อาข่า ลาหู่ ไทยใหญ่         


ไร่แม่ฟ้าหลวง

อยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่อบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในภาคเหนือ ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมอันรื่นรมย์ด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ในพื้นที่ 150 ไร่ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบเงียบและแรงบันดาลใจอันเกิดจากธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น


พระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง

เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒนธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชะอุ่มภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 30 ปีที่ผ่านมาด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรายรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย-พม่า ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดไม้ และทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักทอที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป์พื้นเมืองสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบ ตามไหล่เขาและบนดอยสูง แนบแน่นอยู่กับประเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน
วันนี้...ดอยตุงพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพโอบล้อมของสวน ป่าและอุทยานที่แวดล้อมด้วยไม้ดอกไม้ประดับอันงดงามเกินบรรยาย


ดอยหัวแม่คำ

จากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลอง แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านอีก้อสามแยกแล้ว แยกเข้าเส้นทางที่ไปบ้านเทอดไทยจากนั้นจะพบทางแยกอีกครั้ง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านห้วยอิ้น ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านชาวเขาซึ่งตั้งอยู่เป็นระยะ บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดนพม่า เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3 - 4 ชั่วโมง ดอยหัวแม่คำเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเผ่าลีซอ เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอีก้อ ม้งและมูเซอ ในช่วงเวลาซึ่งตรงกับตรุษจีนของทุกปี ชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ซึ่งเปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ ในวันนั้นชาวลีซอจะแต่งกายสวยงาม มีการกินเลี้ยง เต้นระบำ เป็น 7 วัน 7 คืน และในเดือนพฤศจิกายนจะเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำงดงามไปด้วยดอกบัวตองสีเหลือง สดใสสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขา นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักบนดอยหัวแม่คำ มีบ้านพักและเต็นท์ให้บริการ หรือจะนำเต็นท์มาเองก็ได้ สอบถามข้อมูลติดต่อ เกษตรที่สูงหัวแม่คำ โทร. 0 5491 8101, 0 1993 0325


วัดถ้ำป่าอาชาทอง

อยู่ในถิ่นกันดารห่างไกลคมนาคม บนดอยสูง ที่บ้านแม่คำ ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวเขาใช้ม้าแกลบ ในการเดินทางและบรรทุกสัมภาระ เหตุนี้ พระครูบาเหนือชัยโฆสิโต เจ้าอาวาสซึ่งเป็นอดีตนายทหารม้าเก่า จึงให้พระเณรที่นี่ใช้ม้าเป็นพาหนะในการออกบิณฑบาตไปยังหมู่บ้านเชิงเขาหรือ ที่เรียกว่าลานพระแก้ว เป็นระยะทางร่วม 5 กิโลเมตรทุกวัน  ทุกเช้าเวลาประมาณ 07.00 - 07.30 น. จะมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อใส่บาตรบริเวณลานพระแก้วแห่ง นี้  
การเดินทางไปชมพระขี่ม้าบิณฑบาต หนึ่งในอันซีนไทยแลนด์  ใช้เส้นทางเชียงราย- อำเภอแม่จัน ประมาณ 28 กิโลเมตร จากตัวอำเภอแม่จัน ประมาณ 5 กิโลเมตร ก็ถึงปากทางไปวัดถ้ำป่าอาชาทอง มีป้ายบอกทางเข้าไปอีก ประมาณ 7 กิโลเมตร กรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถเช่ารถได้จากบริษัทรถเช่า หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว


วัดร่องขุ่น
ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลสักงาม อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 13 กม. ออกแบบและก่อสร้าง โดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดย บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และขยายออกเป็น 12 ไร่ อุโบสถ ประดับกระจกสีเงินแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร ตัวอาคารล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงาม เป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กัน อย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องใน หัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดอื่นๆ
หอฝิ่นจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชมบุคคลทั่วไป ต่างชาติ 300 บาท คนไทย 200 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท เด็กอายุ12-18 ปี 50 บาท (เฉพาะคนไทย)เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฟรี รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โทร. 0 5378 4444-6 เว็บไซต์


พระธาตุดอยตุง

ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี พระธาตุดอยตุงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล


สบรวก (สามเหลี่ยมทองคำ)
อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย ๒๘ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๙๐ เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ท่ามกลางสายหมอกด้านฝั่งพม่า และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ ๓๐๐–๔๐๐ บาท นั่งได้ ๖ คน ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้ หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง

ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

     ตั้งอยู่ จังหวัดเชียงรายกิโลเมตรที่ 12 ของทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน - ท่าตอน) ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง นั่งเกวียน มีการแสดงของช้าง การสาธิตต่าง ๆ เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องจักสาน การทำกระดาษสา การปั่นฝ้ายทอผ้า งานเย็บปักถักร้อยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และสาธิตวิธีชงชาตามแบบฉบับของยูนนาน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทย ลาว จีน (ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา และมีฆ้องชัยใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 5 เมตร ให้ชมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบริการที่พักและห้องประชุมสัมนา

การแสดงจะมีระหว่างเวลา 11.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 15.00 น. อัตราค่าอาหารกลางวันและการแสดง
1. ค่าชมการแสดง + อาหารกลางวัน  ท่านละ  200.- บาท  ถึง  300.-  บาท ( ขึ้นอยู่กับรายการอาหาร )
2. ค่าชมการแสดงกรณีไม่ทานอาหารกลางวัน   150.- บาท / ท่าน
3. เด็กอายุไม่เกิน  10  ปี  ราคาท่านละ   100.- บาท

เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.


วัดพระแก้ว       

    อยู่ถนนไตรรัตน์ เป็นวัดที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก คือพระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบันวัดพระแก้วเชียงรายเป็นที่ประดิษฐานพระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในวาระที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ 90 พรรษา


วัดพระธาตุผาเงา

อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน - เชียงของ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ เจ้าอาวาสของวัดพระธาตุผาเงาคือท่านเจ้าพระคุณ พระพุทธิญาณมุนี


ดอยผาตั้ง

เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นเทือกเขาแนวพรมแดนไทย-ลาว สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยผาตั้งถือเป็นเป็นจุดชมวิวไทย-ลาว และทะเลหมอกที่สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้า รถยนต์สามารถขึ้นเกือบถึงจุดชมวิวบริเวณเนินร้อยสามได้ บนจุดชมวิวจะเป็นแนวเขาซึ่งชมวิวได้ตลอดแนว นอกจากนั้นบนดอยยังมีจุดที่น่าสนใจ คือ ผาบ่องประตูสยาม ซึ่งเป็นประตูที่สร้างขึ้นในช่องเขาเพื่อกั้นพรมแดนไทย-ลาว ไม่ให้คนข้ามผ่านไปมาได้ เมื่อขึ้นถึงยอดภูแล้ว ส่งที่จะได้เห็นคือ ช่องเขาขาด เป็นช่องเขาที่หินขาดจากกันมองเห็นแม่น้ำโขงพาดผ่านตรงช่องเขาขาดพอดี และมักเกิดทะเลหมอกที่มาปรากฎในบริเวณช่องเขาขาดนี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมจะมีความสวยงามเป็นพิเศษ เนื่องจาก ดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูและดอกเสี้ยวสีขาวจะบานสะพรั่งงดงาม

ดอยผาตั้งเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ เคยเป็นฐานที่มั่นของทหารจีนในอดีตซึ่งมีการสู้รบกันอย่างดุเดือด เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ และด้วยอากาศที่หนาวเย็นเหมาะแก่การทำการปลูกพืชเมืองหนาว ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนดอยผาตั้งจึงทำอาชีพเกษตร ปลูกบ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล และชา ซึ่งจะให้ผลผลิตมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากทำให้เกิด การกระจายรายได้แก่ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี บนดอยผาตั้ง มีที่พัก สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี ติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยวดอบผาตั้ง โทร. 0 5391 8301

การเดินทาง
จากจังหวัดเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย –พญาเม็งราย –บ้านต้า (ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ (ทางหลวง 1020 ) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด (ทางหลวงหมายเลข 1155 ) 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน


ทะเลสาบเชียงแสน หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย

มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,711 ไร่ ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อปี พ.ศ. 2528 เดิมเป็นเพียงหนองน้ำขนาดเล็ก จนมีการสร้างฝายกั้นทางน้ำ ทำให้น้ำเอ่อล้น จนเกิดเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นสบายและหมอกลอยปกคลุมทั่วไป ทะเลสาบเขียงแสนยอังเป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดเป็นนกหายาก เช่นเป็นแมนดาริน เป็ดเทาก้านดำ เป็ดเบี้ยหน้าเขียว เป็ดหัวเขียว เป็นต้น บริเวณทะเลสาบมีรีสอร์ทเอกชนให้พักหลายแห่ง 
การเดิทาง จากตังเมืองเชียงแสน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตรที่ 27 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร หรือนั่งรถโดยสารจากเชียงราย ไปอำเภอเชียงแสนแล้วต่อรถสามล้อเครื่อง 


วัดพระธาตุเจดีย์หลวง

ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีพระวิหารที่เก่ามากซึ่งพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่างๆ 4 องค์


รอยพระบาทแห่งสันติภาพ
เป็นรอยพระบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประทับลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์  เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2525 ณ ฐานปฏิบัติการที่ดอยพญาพิภักดิ์ จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารเมื่อครั้งที่ยังมีการสู้รบกับพรรค คอมมิวนิสต์บริเวณชายแดนของจังหวัดเชียงราย  หลังจากฝ่ายทหารได้รับชัยชนะยึดฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวสนิสต์ได้สำเร็จ ก็ไม่ปรากฏการสู้รบบนดอยแห่งนี้อีก จีงขนานนามรอยพระบาทคู่นี้ว่า "รอยพระบาทแห่งสันติภาพ" 
ทั้งนี้ กองทัพบกมีโครงการสร้างปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาทขึ้นใหม่ แทนศาลาที่ประดิษฐานรอยพระบาทหลังเดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้ประชาชนได้สักการะ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี 2550

พระธาตุดอยเวา     

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย บนดอยริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย ตามประวัติกล่าวว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง นอกจากนี้บนยอดดอยเวายังเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ของอำเภอแม่สาย และท่าขี้เหล็กทางฝั่งพม่าได้อย่างชัดเจน สามารถนำขึ้นไปจนถึงพระธาตุได้

 

 


กู่พระเจ้าเม็งราย วัดงำเมือง

ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง ถนนอาจอำนวย บ้านฮ่อมดอย ชุมชนราชเดชดำรง ตำบลเวียง สิ่งที่น่าในใจภายในวัด ได้แก่ วิหาร และสถูปพญามังราย หรือ กู่พระเจ้าเม็งราย กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสให้ขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้

 


วัดกลางเวียง

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย ในสมัยที่เรียกกันว่ายุคสถาปนาเมืองเชียงรายขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2386 หลังจากที่ได้ถูกทับถมทำลายโดยธรรมชาติและรกร้างมาก่อนหน้านี้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จมีการเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 2418 ได้มีการเปลี่ยนจากวัดเดิมคือ วัดจันทน์โลก หรือ จั๋นต๊ะโลก มาเป็นวัดจันทน์โลกกลางเวียง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กลางเวียง เพราะยุคนั้น วัดนี้คือศูนย์กลางของเวียงเชียงราย เป็นที่ตั้งของ "สะดือเวียงเชียงราย"

 

 


พิพิธภัณฑ์อูบคำ      
ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 ถนนหน้าค่าย ตำบลรอบเวียง ติดกับตลาดสดเด่นห้า เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุกว่า 200 ปี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยมีอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยไชย เป็นผู้รวบรวม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 9.00 - 18.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท พิพิธภัณฑ์นี้เป็นความตั้งใจของผู้รวบรวมที่จะเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่ไม่ ได้อยู่ในแผ่นดินไทยให้กลับมาอยู่ในผืนแผ่นดินไทย และเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงความเป็นมาและความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้าน นาในอดีต ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 713349

พิพิธภัณฑ์พระ-ประทีปโกลด์แลนด์    

ตั้งอยู่ที่ 191 หมู่ 1 ถ.แม่จัน-เชียงแสน ต.จอมสวรรค์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปโบราณ และพระเครื่องเก่าแก่หลายสมัย อาทิ ในยุคคันธราราษฎร์, ทวาราวดี, เชียงแสน สุโขทัย, อู่ทอง, ลพบุรี, อยุธยา, รัตนโกสินทร์ จำนวนมากกว่า 500 องค์ รวมทั้งมีพระเครื่องชุดเบญจภาคี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น. โทร. 0 5365 3038-9


อำเภอเชียงแสน     

เป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 59 กิโลเมตร โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จัน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31 กิโลเมตร เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อ เวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง

 


วัดเจดีย์เจ็ดยอด     

อยู่เหนือวัดพระธาตุผาเงาขึ้นไปบนดอยประมาณ 1 กิโลเมตร ตัววัดหักพังหมดแล้ว เหลือแต่เพียงซากอิฐเก่าๆ แทบไม่เห็นรูปร่างเดิม อาจกล่าวได้ว่า วัดพระธาตุผาเงาและวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน มีบริเวณต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวาง บริเวณร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่ สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม

 


วัดพระธาตุจอมกิตติ    

อยู่ถนนเลียบแม่น้ำเชียงแสน - เชียงของ ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 1483 สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทอง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองสมัยเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2030 หมื่นเชียงสงได้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่อยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระธาตุจอมแจ้ง มีบันไดนาค 339 ขั้น เป็นทางเดินขึ้นไปนมัสการหรือจำนำรถขึ้นไปจอดบนพระธาตุได้

 


วัดพระสิงห์      

วัดพระสิงห์ ถนนท่าหลวง ใกล้ศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนาได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้ามหาพรหมทูลขอยืมพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงราย เพื่อหล่อจำลอง แต่เมื่อสิ้นบุญพระเจ้ากือนาและพระเจ้าแสนเมือง ราชนัดดาของพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหมคิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพจากเชียงรายไปประชิดเมืองเชียงใหม่ แต่เจ้าแสนเมืองก็สามารถป้องกันเมืองได้อีก ทั้งยกทัพตีทัพเจ้ามหาพรหมมาถึงเชียงราย และครั้งนี้เองที่ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์คืนกลับไปประดิษฐานอยู่ที่วัดพระ สิงห์เชียงใหม่สืบมา วัดพระสิงห์แห่งนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช นอกจากนั้นบานประตูยังออกแบบโดย คุณถวัลย์ ดัชนี บอกเรื่องราวเกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ แกะสลักโดยฝีมือช่างชาวเชียงราย โทร. 0 5374 5038


วัดพระธาตุดอยทอง

ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้าง เมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย       นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง  เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง  108 หลัก  ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา  คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ  และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน   เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง    แทนสมมติจักรวาล  อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง   ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที  ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน  เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมืองปี  พ.ศ  1531   เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย  และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว


วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์      

อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 11 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1208 หรือไปตามทางหลวงหมายเลข 1 สายเชียงราย - พะเยา ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการวนอุทยาน แล้วเดินเท้าไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 30 นาที ระยะทาง 1200 เมตร น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกสวยที่สูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตาดหมอก มีความสูงถึง 70 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าสู่น้ำตกเป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น์

 

 


แม่น้ำกก     
เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือริมแม่น้ำจากตัวเมืองเพื่อท่องเที่ยว ชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก สองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เช่น อีก้อ ลีซอ กะเหรี่ยง หรือจะแวะปางช้างเพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณนั้นก็ได้ อัตราค่าเช่าเรือ 450 บาท สามารถนั่งได้ 8 คน ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อเช่าเรือได้ตั้งแต่เวลา 06.00 - 16.00 น.

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ 731,250 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูง มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วยป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์มีความอุ้มน้ำสูง ทำให้ลำห้วยและน้ำตกในอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี อุทยานฯ ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก นกพญาไฟพันธุ์เหนือ นกปีกลายสก๊อต นกกางเขนหัวขาวท้ายแดง นกศิวะปีกสีฟ้า และนกย้ายถิ่นหายาก เช่น นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า นกกินปลีหางยาวคอสีดำ เป็นต้น นอกจากความสมบูรณ์ของป่าที่ให้ความร่มรื่น ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานฯ มี สูง 9 ชั้น เป็นน้ำตกที่มีต้นน้ำจากน้ำซับใต้ดิน มีตะกอนหินปูนปนมากับน้ำ ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยดูสวยงาม และในยามค่ำคืนจะได้ยินเสียงน้ำตกไหลกระทบหิน อุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกปูแกง ระยะทาง 1,500 เมตร ตามเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายตามจุดต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้แก่นักเดินป่าได้ เส้นทางเดินไม่ลาดชัน เดินสบาย และนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้างแรม อุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์บริการ สอบถามราย การเดินทาง ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (เชียงราย-พะเยา) ไป 58 กิโลเมตร ถึงบ้านปูแกง บริเวณ กิโลเมตรที่ 773 เลี้ยวขวาไปอีก 9 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ละเอียด โทร. 0 5360 9042สถานที่พักและสิ่งอำนายตวามสะดวก อุทยานมีบริการบ้านพักรายละเอียดติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสนและพื้นที่ ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสนและจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อและชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวัน พุธ - อาทิตย์ ยกเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น. เก็บค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 100 บาท โทร. 0 5377 7102 และเยื้องกับพิพิธภัณฑ์จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเมืองโบราณเชียงแส

วัดพระเจ้าล้านทอง     

วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม) ขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธาน ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

 


พระธาตุดอยปูเข้า        

ตามเส้นทางเชียงแสน - สบรวก แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันไดก็ได้ พระธาตุดอยปูเข้านี้ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน


สถูปดอยช้างมูบ   

อยู่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดของดอยตุง มีพระสถูปช้างมูบ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่ มีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ สภาพโดยรอบเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและต้นน้ำ

 


วัดสังฆาแก้วดอนหัน        

อยู่ถนนเลียบแม่น้ำเชียงแสน - เชียงของ ใกล้วัดพระธาตุจอมกิตติ มีประวัติตามตำนานว่า สร้างโดยพระเจ้าลวจักราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 21 กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติตอนเวสสันดรชาดก เช่น พระเวสสันดรเดินป่า ชูชกเฝ้าพระเวสสันดร เป็นต้น ลักษณะของภาพเป็นการเขียนลงบนอิฐก่อนการเผา ที่น่าสนใจคือ อิฐดังกล่าวถูกนำมาก่อเป็นผนังและฉาบปูนปิดทับ คงเนื่องจากความศรัทธาของชาวบ้านผู้สร้างวัดถวายมากกว่าเจาะจงให้คนมาชม นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหาร มีสภาพแตกหักแต่ยังคงเหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง 2 สี นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง


วัดป่าสัก            

อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพงจำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่า วัดป่าสัก ทรงตั้งพระพุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราชจำพรรษา ณ อารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร

 


อนุสรณ์ชาวไทยเชื้อสายจีน

ตั้งอยู่ที่บ้านสันติคีรี บนดอยแม่สลอง  สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงประวัติศาสตร์ว่า ที่บ้านสันติคีรีเป็นหมู่บ้านของอดีตทหารจีนคณะชาติ (ทจช.ก๊กมินตั๋ง) กองพล 93 ได้ช่วยราชการไทยต่อสู้และปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ดอยหลวง ดอยขาว และดอยผาหม่น จ.เชียงราย พ.ศ.2514-2528 และพื้นที่เขาย่า จ.เพชรบูรณ์ ในปี 2524 จากการสู้รบดังกล่าวอดีตทหารจีนคณะชาติได้เสียชีวิตและบาดเจ็บทุพพลภาพเป็น จำนวนมากรัฐบาลไทยจึงกำหนดสถานะให้อดีตทหารจีนและคณะชาติเหล่านั้น เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศไทย และให้แปลงสัญชาติเป็นไทยได้ ซึ่งทำให้อดีตทหารจีนคณะชาติเหล่านี้ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเป็นอย่างมาก
อนุสรณ์สถานดังกล่าวออกแบบก่อสร้างและตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมจีน ภายในได้มีการจัดแสดงภาพถ่ายประวัติศาสตร์ความเป็นมา ความเหนื่อยยากในการตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย และมีห้องสมุดที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง
เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ค่าธรรมเนียมคนไทย 30 บาท คนต่างชาติ 50 บาท สอบถามรายละเอียดที่ อบต.แม่สลองนอก โทร. 0 5376 5129


วัดมิ่งเมือง      

ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นวัดไทยใหญ่ สมัยก่อนมีชุมชนไทยใหญ่อยู่เรียกว่า วัดเงี้ยว หรือ วัดช้างมูบ (ช้างหมอบ) วัตถุโบราณของวัดมีบ่อน้ำโบราณ เรียกว่า บ่อน้ำช้างมูบ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่มีซุ้มครอบไว้บนหลังช้าง  ช้างมูบ ที่มาสันนิษฐานว่า บรรจุพระสารีริกธาจตุมาบนหลังช้างแล้วมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์ช้างมูบ หมอบรอที่วัดมิ่งเมือง เพิ่อขนพระแก้วแห่ไปจังหวัดลำปาง

 

 


เวียงกาหลง

ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งม่วน ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าประมาณ 16 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงสายเชียงราย-เชียงใหม่ แยกจากถนนสายวังเหนือ-แม่ขะจานประมาณ 200 เมตร เคยเป็นชุมชนโบราณและแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่สำคัญของดินแดนล้านนาในอดีต เนื่องจากดินที่ใช้ผลิตมีสีขาวนวล เนื้อละเอียด มีซากเตาทำเครื่องถ้วยโบราณอยู่หลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ เป็นเตาก่อด้วยอิฐ ลักษณะเป็นประทุนคล้ายกระดองเต่า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร โบราณวัตถุส่วนใหญ่ได้ถูกขุดค้นไปแล้ว ปัจจุบันชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มผลิตเครื่องเคลือบเวียงกาหลงขึ้นเพื่ออนุรักษ์ รูปแบบการทำเครื่องถ้วยดั้งเดิม และยังได้ผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบใหม่เป็น จาน แก้วน้ำ และของตกแต่งบ้านต่าง ๆ


วัดศรีเกิด

ตั้งอยู่บ้านศรีเกิด ปูชนียวัตถุประกอบด้วย พระประธานและเจดีย์ศิลปะล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2441 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2513 บานประตู หน้าต่าง คันทวย หน้าบันของวัดนี้เป็นไม้สักแกะสลักสวยงามมาก

 

 

 


วัดถ้ำผาจม

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย ภายในถ้ำผาจมมีหินงอกหินย้อยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรตระการตา

 

 


น้ำตกแม่โถ      

เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี มีทั้งหมด 7 ชั้น สูง 40 เมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนแจ สามารถเดินทางโดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานถึงทางขึ้นน้ำตก (บ้านแม่โถ) ใช้เวลา 30 - 40 นาที ต่อจากนั้นเดินเท้าไปยังน้ำตก ใช้เวลาชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้น ประมาณ 2 ชั่วโมง

 

 

 


ดอยมด 

อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนแจ มีความหนาแน่นของป่าดิบชื้นระหว่างทางเดินขึ้นสู่ยอดดอยมด มีพืชขึ้นหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ดิน เฟิร์น มอส และพืชอื่นๆ ร่มรื่นและชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา บนยอดดอยที่ระดับความสูง 1,700 เมตร มีป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ดอยมดสามารถเดินป่าได้โดยใช้เวลา 2 วัน 1 คืน


ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย

ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย 16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 200 บาท ถ้าหากต้องการเช่าเรือเหมาลำ ลำละ 1,600 บาท สามารถนั่งได้ 8 คน สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทร. (053) 459427 นอกจากนี้ยังมีบริการล่องแพตามลำน้ำกกจากท่าตอนไปเชียงรายใช้เวลา 3 วัน 2 คืน รายละเอียดติดต่อร้านชาวแพ (ทิพย์เทรเวล) 211 หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัด เชียงใหม่ โทร. (053) 459312 ที่ท่าตอนมีรีสอร์ทและเกสท์เฮ้าส์ 4-5 แห่ง หรือจะพักที่ฝาง (22 กิโลเมตรจากท่าตอน)จุดท่องเที่ยวทางน้ำ (จากท่าตอน จ.เชียงใหม่-ท่าเรือเชียงราย)

พระธาตุสบฝาง (อำเภอฝาง) บ้านแม่สลัก (เขตแดนเชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทยใหญ่) บ้านเมืองงาม (หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านผาใต้ (หมู่บ้านมูเซอ) บ้านจะคือ (หมู่บ้านมูเซอ) บ้านผามูบใหม่ (หมู่บ้านมูเซอใหม่) โป่งน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร (หมู่บ้านกะเหรี่ยงมีบริการนั่งช้าง)


พระธาตุจอมแว่  

อยู่บนภูเขาจอมแว่ หมู่ที่ 2 ถนนจอมแว่ (สายเก่า) ตำบลเมืองพาน เป็นพระธาตุที่มีประชาชนชาวอำเภอพานและอำเภอใกล้เคียงนับถือกันว่าเป็นพระ ธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ จะมีงานนมัสการองค์พระธาตุทุกปี

 

 


ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค        

ตั้ง อยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ 11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ำหินงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมาย

ถ้ำปุ่ม อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขา ต้องปืนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมาก ต้องมีผู้นำทางเที่ยวชม
ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า พระทรงเครื่อง เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้
ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่ในบริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้สร้างทางเดินเชื่อมกับถ้ำปลา ระยะทาง 150 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย


วัดพระเจ้าทองทิพย์ 
วัดพระเจ้าทองทิพย์ แต่เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตบ้านป่าหวาย ซึ่งในอดีตเป็นป่าหวาย ทั้งหมู่บ้านชาวบ้าน จึงเรียกว่า ป่าหวาย จนถึงปัจจุบันนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2089 พระเจ้าไชยเชษฐาของกรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองหลวงพระบาง  (นครเชียงทอง) จะไปครองนครเชียงใหม่ ตามคำทูลของเสนาอำมาตย์ของเมืองเชียงใหม่  พระองค์ได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ลงเรือมาด้วยเพื่อจะนำไปสักการะบูชาที่นคร เชียงใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือพระที่นั่ง ตามลำน้ำโขงเข้ามาแม่น้ำกก และแม่น้ำลาว ตามลำดับ ครั้นมาถึงที่ตั้งของวัดพระเจ้าทองทืพย์ในปัจจุบัน เรือพระที่นั่งก็มาติดทั้งๆที่ไม่มีสิ่งกีดขวางแต่อย่างใด เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาทรงเห็นว่าเหล่าเสนานอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นทางทิศตะวันตก และโปรดให้สร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์แล้วพระองค์ก็เสด็จ ไปครองนครเชียงใหม่ต่อไป และต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่าวัดพระเจ้าทองทิพย์สืบต่อ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัดพระเจ้าทองทิพย์เริ่มสร้าง เมื่อปี พ.ศ.2368 โดยท่าน ครูบาญาโณ พร้อมด้วย อุบาสก 3 คน คือ ท้าวสงคราม แสนขวาง และหมื่นขันธ์ได้มาริเริ่มสร้างประตูโขง พ.ศ. 2397 ท่านครูบายะ ครูบาถา และครูบาพรหม ตลอดจนถึงเจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงราย และพระยาไชยวงค์ ผู้รักษาเมืองหนองขวาง (อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน) ร่วมกันสร้างพรเวิหาร พ.ศ. 2420 ท่านครูบาชัยวุฒิวริปัญญาได้รื้อวิหารหลังเก่าบูรณะขึ้นใหม่ โดยได้รับทุนทรัพย์จากเจ้าดารารัศมี พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าหลวงเชียงใหม่ และบูรณะเสร็จในปีนั้น และได้บูรณะวิหารอีกครั้ง พ.ศ. 2539 โดยพระอธิการประยุทธ ติกขวีโร พร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ช่วยกันรื้อวิหารบูรณะใหม่เสร็จในปี พ.ศ. 2541

พระ เจ้าทองทิพย์ เป็นนามของพระพุทธรูปเก่าแก่ เดิมอยู่กรุงศรีสัตนาคนหุต (หลวงพระบาง) ประเทศลาว มีอายุประมาณพันปีเศษแล้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธื์ของนครเชียงทอง ประจำนครมาแต่โบราณกาล สามารถดลบันดาล ให้ผู้ที่ไปขอพรสมความปรารถนาได้ดังที่ขอ วัดพระเจ้าทองทิพย์ตั้งอยู่ที่ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 57180 โทร. 0 5370 822


วัดมุงเมือง    
ตั้งอยู่ที่ถนนอุตรกิจ ติดกับตลาดสดเทศบาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2382 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2509 สิ่งสำคัญในวัดได้แก่ พระเจดีย์และพระสังกัจจายน์ เป็นวัดหนึ่งในเส้นทางนั่งสามล้อผ่อวัด ไหว้พระ 9 วัดเมืองเชียงราย

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงหัวแม่คำ    

เป็นศูนย์ฯ ที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านสร้างรายได้โดยการ ปลูกไม้เมืองหนาว เช่น ดอกลิลลี่ ดอกแกลดิโอลัส เยอร์บีรา ทิวลิป ศูนย์ฯ มีบ้านพักและเต็นท์ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และมีสถานที่กางเต็นท์สำหรับผู้ที่จะนำเต็นท์มาเอง สนใจสอบถามข้อมูล โทร. 0 5391 8101 และ 0 1993 0325

การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงราย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ สู่อำเภอแม่จัน เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๑๓๐ไปจนถึงดอยหัวแม่คำ ควรใช้รถที่มีสมรรถนะดี เพราะถนนไม่ดี หรือเช่าเหมารถตู้จากตัวเมืองเชียงราย ไปดอยหัวแม่คำก็ได

 


บ้านเทอดไทย

เดิมเรียกว่า บ้านหินแตก อยู่ห่างจากเชียงราย 66 กิโลเมตร ในปี พ.ศ 2511 ขุนส่าเคยเข้ามาใช้เป็นฐานที่มั่นในฐานะผู้นำกองทัพกู้ชาติไต ขุน เป็นคำที่ประชาชนในรัฐฉานเรียกบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือ แต่ชาวโลกรู้จักขุนส่าดีในชื่อ ราชาเฮโรอีน ระหว่างปี พ.ศ. 2519 - 2525 ขุนส่าได้ใช้บ้านหินแตกเป็นฐานที่มั่นอย่างถาวรและกระทำการผิดกฎหมายจนทาง รัฐบาลไทยต้องใช้กำลังผลักดันให้ออกไปจากประเทศไทยคงทิ้งไว้แต่อดีตที่เหลือ อยู่ เช่น บ้านพักที่ขุนส่าใช้เป็นศูนย์บัญชาการ นอกจากนี้บ้านเทอดไทยยังเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเขาหลายเผ่าซึ่งสามารถพบเห็น ได้ในตลาดยามเช้า


ัหอวัฒนธรรมนิทัศน์     

อยู่ที่ศาลากลางหลังเดิม จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุเอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดเชียงรายและพระราชกรณียกิจสมเด็จย่าที่ดอยตุง เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.30 น. เก็บค่าเข้าชม เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนละ 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท


ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น  
เป็นศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกดอกไม้เมืองหนาว เช่น ดอกทิวลิป ดอกลิลลี่ ดอกซัลเวียสีแดง ต้นคริสต์มาสสีแดง หลากสีหลายพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวดอกไม้จะออกดอกสวยงามเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางมาเที่ยวชม รอบบริเวณยังมีทิวทัศน์สวยงามดูแล้วสดชื่นท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว 3 หลัง ราคา 1,200 บาท/หลัง พักได้หลังละ 10-15 คน ไม่มีร้านจำหน่ายอาหาร ต้องสั่งจองล่วงหน้า สอบถามข้อมูล โทร. 0 5391 8555       

การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงราย ไปตามทางหลวงหมายเลข 1020 สู่อำเภอเทิง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 1155 จนถึงบริเวณด่านผ่อนปรนไทย-ลาวที่บ้านฮวก จากนั้นเดินทางผ่านขึ้นสู่ดอยผาหม่น ด้วยระยะทางอีก 24 กิโลเมตร ศูนย์ตั้งอยู่ริมทางก่อนถึงภูชี้ฟ้าประมาณ 10 กิโลเมตร  สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถออกจากสถานีขนส่ง เวลา 13.00 น. ผ่านบ้านปางค่า ผ่านภูชี้ฟ้า ประมาณ 10 กิโลเมตร ค่าโดยสารราคา 40 บาท ตลอดเส้นทางเป็นทางลาดยางตลอด หรือเช่ารถตู้จากตัวเมือง ราคา 1,500 บาท ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง

การท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาว-พม่า

จุดผ่านแดนจังหวัดเชียงรายมี 3 จุด คือ

1. ด่านอำเภอเชียงแสน ฝั่งตรงข้ามคือด่านเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่บริเวณท่าเรือหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน เป็นจุดเดินทางท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงโดยทางเรือไปถึงเชียงรุ้ง สิบสองปันนาจีนตอนใต้

2. ด่านอำเภอเชียงของ ฝั่งตรงข้ามคือด่านเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย 114 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือบั๊ก เป็นจุดข้ามไปท่องเที่ยวเมืองห้วยทราย และเดินทางตามลำน้ำโขงโดยทางเรือไปถึงหลวงพระบางและเวียงจันทน์ สปป.ลาว แล้วกลับเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย (เรือเร็วออกเดินทางช่วงเช้า นั่งได้ 5 คน ๆ ละ 800 บาท ใช้เวลา 5 ชั่วโมง เรือสินค้าออกเดินทางช่วงบ่ายคนละ 300 บาท ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน)

3. ด่านอำเภอแม่สาย ฝั่งตรงข้ามคือด่านท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ตั้งอยู่เชิงสะพานข้ามแดนไทย-พม่า เป็นตลาดชายแดนไทย-พม่า และเป็นจุดเดินทางท่องเที่ยวไปเชียงตุงได้ โดยทางรถยนต์ หนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในลาว-พม่า
1. หนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับประชาชนทุกสัญชาติที่มีวีซ่า สปป.ลาว-สหภาพพม่า สามารถเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศทั้งสองได้เป็นเวลา 15 วัน
2. หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) สำหรับประชาชนสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยใช้ผ่านแดนได้เพียง ครั้งเดียว รวมทั้งให้บุตรที่อายุไม่เกิน 12 ปี มีชื่อร่วมอยู่ในหนังสือผ่านแดนนี้ได้ด้วย อนุญาตให้พำนักอยู่ในพื้นที่ชายแดน แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ได้ 3 วัน และเข้าเมืองท่าขึ้เหล็ก สหภาพพม่าได้ 7 วัน (เข้าจุดไหนต้องออกจุดนั้นและหากเดินทางออกนอกพื้นที่ชายแดนตามที่ได้ระบุ ไว้นี้ จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายของ สปป.ลาวและสหภาพพม่า) 2.1 เอกสารที่ต้องใช้ สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือบัตรอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ ถ้าเข้าสปป.ลาว ต้องใช้รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป และค่าแบบฟอร์ม 15 บาท สำหรับสหภาพพม่าไม่ต้องใช้รูป
2.2 สถานที่ขอหนังสือฯ ขอได้ที่ ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และสถานที่ที่จังหวัดกำหนด สำหรับอำเภอแม่สายขอได้ที่ทำการเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากอำเภอแม่สายแล้ว หรือติดต่อชมรมบัตรผ่านแดนอำเภอแม่สาย โทร. (053) 642636


พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขา      

จัดตั้งโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนชาวเขาเพื่อเป็นสถานที่แสดงวิถีชีวิต ของชาวเขาหกเผ่าในประเทศไทย ได้แก อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ และม้ง มีการฉายสไลด์เกี่ยวกับความเป็นมาของชาวไทยภูเขาในประเทศไทยให้นักท่อง เที่ยวได้เลือกชมถึง 5 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมัน และฝรั่งเศส นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวชุมชนชาวไทยภูเขารวมทั้งแหล่ง ท่องเที่ยวอื่นๆภายในเชียงราย บริเวณชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ยังมีร้านอาหารบริการ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-20.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท


อำเภอแม่สาย         

อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยังท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูกอื่นๆ เช่น ตะกร้า เครื่องทองเหลือง สบู่พม่า สมุนไพร การข้ามไปท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.30 - 18.30 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ ค่าบริการคนละ 15 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ 5 เหรียญสหรัฐ โดยนำหนังสือเดินทางไปติดต่อกับด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย


สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย

ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตร บนเส้นทางเชียงราย - แม่จัน เข้าไปทางด้านหลังสถาบันราชภัฏเชียงราย ภายในสวนมีทัศนียภาพสวยงาม บรรยากาศร่มรื่น มีหนองบัวที่กว้างถึง 223 ไร่ เป็นสถานที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ เพราะน้ำในหนองบัวใสเย็นและเต็มเปี่ยมตลอดปี บนพื้นที่รอบหนองบัวเป็นที่ตั้งของพลับพลา ศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนและมีสวนปาล์ม สวนไผ่อยู่บนที่ลาดเนินเขา


บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ     

อยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ถนนสายเชียงราย - เชียงใหม่ กม. ที่ 64 - 65 มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ 3 บ่อ บริเวณบ่อน้ำร้อนมีชาวบ้านนำไข่มาขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวทดสอบต้มในบ่อน้ำ ร้อน