|
|
แก่งลำดวน |
|
ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ณ ผืนป่าสมบูรณ์ปลายล่างสุดของภาคอีสานในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ใกล้รอยต่อเขตแดน 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและกัมพูชาหรือที่รู้จักกันดีในนาม “สามเหลี่ยมมรกต” จะปรากฏเหตุการณ์ที่แสนมหัศจรรย์เมื่อบรรดากุ้งน้ำจืดนับล้านๆตัวต่างพากัน พร้อมใจเดินพาเหรดผ่าน ลานหินเลียบแก่งน้ำมุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงแห่งสามเหลี่ยมมรกต ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” เกิดขึ้นที่แก่งลำดวน บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี อำเภอน้ำยืน โดยจะเดินขบวนในช่วงกลางคืนหลังฝนตกหนักหรือสายน้ำในแก่งลำดวนมีความเชี่ยว กราก นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
แก่งลำดวน อยู่ห่างจากตัวอำเภอน้ำยืน 16 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 160 กิโลเมตร สามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกห้วยหลวงได้สะดวก
ติดต่อสอบถาม ได้ที่ ที่ว่าการอำเภอน้ำยืน โทร. 0 4537 1089 , 0 4537 1442 สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี หมู่ 5 บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 5491 9848, 0 9286 0935
หมายเหตุ - เนื่องจากในช่วงที่มีกุ้งเดินขบวนอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำป่าไหลหลากได้ จึงควรระมัดระวังอันตรายและรับฟังการเตือนภัยจากสถานีพัฒนาและส่งเสริมการ อนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ทั้งนี้ ทางสถานีฯ ได้ ติดตั้งหอกระจายข่าว บริเวณสถานีฯ และแก่งลำดวน สามารถแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวได้ทันทีที่ได้รับรายงานสภาวะน้ำจากจุดเฝ้า ระวัง และจัดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เผ้าระวังสภาวะน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยมีจุดเฝ้าระวังอยู่เหนือปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนขึ้นไป 7 กิโลเมตร สามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง
่ |
|
|
|
ถ้ำเหวสินธุ์ชัย |
|
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงโขงเจียมประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รอบๆวัดมีก้อนหินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย มีต้นไม้และดอกไม้ตามฤดูกาลสวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำตกไหลจากหน้าผาด้านบนผ่านลงมาบริเวณด้านหน้าพระนอนเป็น ก่อนที่จะตกลงสู่หุบเหวเบื้องล่างสร้างบรรยากาศให้ร่มเย็น จะมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน |
|
|
|
วัดถ้ำคูหาสวรรค์ |
|
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ 6 กิโลเมตร วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย "หลวงปู่คำคนิง จุลมณี" ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบันหลวงปู่ท่านได้มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่าง ชัดเจน
|
|
|
|
แม่น้ำสองสี |
|
แม่น้ำสองสี หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงเกิดเป็นสีของแม่น้ำที่ต่างกันจึง เรียกกันอย่างคล้องจองว่าโขงสีปูน มูลสีคราม จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่งหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่ น้ำ ชมแม่น้ำสองสี 200 บาท / แก่งตะนะ 400 บาท/ บ้านเวินบึก 400 บาท/ ผาแต้ม 800 บาท) โดยสามารถแวะซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อีกด้วย |
|
|
|
ัวัดทุ่งศรีวิไล |
|
อยู่ที่บ้านชีทวน การเดินทางทางเดียวกับวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ วัดนี้มีหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงแกะสลักปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะของชาวบ้านชีทวน นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถและวิหารหลังเก่าไปจน ถึงกำแพงรอบวัดทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ รวมทั้งหอไตรและธรรมาสน์ซึ่งก่อด้วยอิฐในสมัยนั้น
|
|
|
|
วัดป่านานาชาติ |
ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 จะมีป้ายบอกทางขวามือ ทางเข้าเดียวกับวัดป่ามงคล วัดป่านานาชาติเป็นวัดป่าสาขาที่ 19 ของวัดหนองป่าพง ในวัดจะมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระภิกษุชาวต่างประเทศในวัดเกือบทุกรูปสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป |
|
|
|
หาดคูเดื่อ |
|
เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 231(ถนนเลี่ยงเมือง) ประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณหาดคูเดื่อจะมีแพร้านอาหารเป็นจำนวนมากให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักท่องเที่ยว |
|
|
|
วัดใต้ |
|
หรือ “วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” (อ.เมือง) ที่นี่มี “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเมตตรัยสัทโธ” เป็นพระประธาน มีลักษณะเป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว หนักถึง 3,850 กิโลกรัม
|
|
|
|
เขื่อนปากมูล |
|
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้าน หัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร กรณีเขื่อนเปิดทำการสันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอ โขงเจียมไปอำเภอสิรินธรได้ |
|
|
|
วัดบ้านนาเมือง |
|
ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือของสนามบิน เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ประดับตกแต่งด้วยเซรามิค โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง
|
|
|
|
น้ำตกห้วยทรายใหญ่ |
(แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข 2369 ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร ถึงกม.ที่ 29 มีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน
|
|
|
|
ปราสาทบ้านเบ็ญ |
|
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 63 กิโลเมตร บนเส้นทางเดชอุดม-น้ำยืน ปราสาทบ้านเบ็ญเป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อมประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2533 ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง 9 องค์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบอาจกำหนดอาย
ปราสาท หลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16่ |
|
|
|
วัดภูเขาแก้ว |
|
อยู่บนเนินเขา ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย |
|
|
|
้ธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน |
|
ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี (กม.268) มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก 5 กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง |
|
|
|
วัดหนองป่าพง |
|
ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 หลวงปู่ชา (พระโพธิญาณเถร) ได้ทำการบุกเบิกปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมและได้จัดตั้ง เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีนั้น และเปลี่ยนสภาพเป็นวัดในโอกาสต่อมา วัดแห่งนี้เป็นต้นแบบของวัดป่าสายหลวงปู่ชาอีกกว่า 100 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ บริเวณวัดสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นอาคารที่จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท เปิดให้เข้าชม ตอนเช้า เวลา 10.30-12.00 น. ตอนบ่าย เวลา 14.00-18.00 น. และภายในมีเจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชา การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2178 (สายอุบล-กันทรลักษ์)ประมาณ 6 กิโลเมตรมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร |
|
|
|
พิพิธภัณฑ์บ้านก้านเหลือง |
|
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลืองจากตัวเมืองไปตามทาง หลวงหมายเลข 212 ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 231 (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปอีก 2 กิโลเมตร วัดบ้านก้านเหลืองอยู่ทางซ้ายมือ กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2539 พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และแกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่าง 1,500-2,500 ปีมาแล้ว |
|
|
|
ทุ่งศรีเมือง |
|
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ทุ่งศรีเมืองมีประตูทางเข้า 4 ทิศ คือ ประตูอุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในทุ่งศรีเมือง มีปฏิมากรรมจำลองเทียนพรรษาแกะสลักที่งดงาม สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น เปิดตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองมีสถานที่น่าสนใจที่สำคัญคือ
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือนซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515 เปิดระหว่างเวลา 05.00-19.00 น.
อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีปกครองเมืองระหว่าง พ.ศ. 2321-2338
ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
อนุสาวรีย์แห่งความดี เป็นอนุสาวรีย์ที่เชลยศึกชาวต่างประเทศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณีและคุณงามความดีของชาวเมือง อุบลราชธานี
ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึงความ |
|
|
|
วัดทุ่งศรีเมือง |
ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสังฆปาโมก(สุ้ย) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้นท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสระเกศ ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านจึงได้นำพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศฯ มายังอุบลราชธานี และได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้นเป็นที่ประดิษฐาน หอพระพุทธบาทหลังนี้คือ พระอุโบสถที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมมีลักษณะของศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศิลปะเวียงจันทน์ผสมกันอยู่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้านเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อาคารที่สำคัญอีกหลังหนึ่งคือ หอพระไตรปิฎก เป็นหอไตรที่สร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำเพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้มดปลวกไปกัดทำลาย มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว กล่าวคือ ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยเป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง ภายในห้องที่เก็บตู้พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทอง ส่วนของหลังคามีลักษณะศิลปะไทยผสมพม่าคือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้นแสดงถึงอิทธิพลศิลปกรรมพม่าที่ส่งผ่านมายังศิลปะ ลาวล้านช้าง ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้ง 2 ด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว ตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างแกะเป็นรูปสัตว์ประจำราศีต่างๆ และลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นช่องๆโดยรอบ นับเป็นหอไตรที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง |
|
|
|
วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) |
|
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด ถนนอุปราช สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ “พระแก้วบุษราคัม” เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุศราคัม ตามตำนานเล่ากันว่า พระวรราชภักดี(พระวอ) พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตาคือ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหมและท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมทีพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ทางราชการได้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเป็นองค์ประธานในพิธี โดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลราชธานีจะร่วมใจกันอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า
นอกจากนี้ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม เป็นอาคาร 2 ชั้นขนาดใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาหอแจก ซึ่งหมายถึงสถานที่ในการทำบุญทำทานของคนในสมัยก่อน ปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุและการตกแต่งแบบเดิม และได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่ปี 2549 โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นที่เก็บและจัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น ตู้เก็บพระไตรปิฎก ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ตู้เก็บคำภีร์ไบลาน ถุงผ้าใหมสำหรับเก็บคัมภีร์ บาตรและเชิงบาตรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมทั้งฮางฮด (รางน้ำทำจากไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาค) ที่ใช้ในการสรงน้ำพระแก้วบุษราคัมของวัดศรีอุบลรัตนาราม พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าช |
|
|
|
วัดแจ้ง |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ ตามประวัติเล่ากันว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการดำริของเจ้าราชบุตร(หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น โบราณสถานที่สำคัญคือ พระอุโบสถที่สร้างเสร็จในราวปี 2455 หรือหลังจากการตั้งวัด 24 ปี ได้รับการยกย่องว่ารูปทรงสวยงาม และมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นฐานโดยแท้ ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างได้ยาก อุโบสถมีลักษณะไม่ใหญ่มาก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร ฐานเตี้ยหลังคาชั้นเดียวเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีบันไดอยู่ด้านหน้า ราวบันไดปั้นเป็นรูปจระเข้หมอบ ส่วนหน้าบันหน้าอุดปีกนก และรวงผึ้งสลักไม้เป็นลายดอกบัว กอบัวอย่างสวยงาม โดยเฉพาะหางหงส์ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ทำเป็นรูปหัวนาคตรงหงอนสะบัดปลายเป็นนกเปลว อุโบสถวัดแจ้งได้รับการบูรณะเรื่อยมาโดยพยายามให้คงสภาพเหมือนเดิมที่สุด ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เคยได้รับเกียรติบัตรในงานนิทรรศการ “สถาปนิก 30” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
|
|
|
วัดมหาวนาราม |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง ถนนสรรพสิทธิ์ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดป่าใหญ่” เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการ สร้างเมืองอุบลราชธานี ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์(ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย จึงให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสมัยนิยมเป็นวัดมหาวนาราม จากหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงปูชนียวัตถุ ที่สำคัญของวัดระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับพ.ศ. 2350 โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป พระอินทร์แปง หรือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะศิลปะแบบลาว ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้ |
|
|
|
หาดสลึง |
|
เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) ในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม-มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกัน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ปากบ้อง ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง กว้างประมาณ 56 เมตร, หินหัวพะเนียง, แก่งสองคอน, หาดหงษ์และสวนเกษตร (สวนลำไย สวนมะขามหวาน) นอกจากนี้ ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ คือ ประเพณีตักปลาในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และประเพณีสงกรานต์ |
|
|
|
วัดบูรพาราม |
|
ตั้งอยู่ถนนบูรพาใน เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของอาจารย์ชื่อดังทาง วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ อาจารย์สี ทาชยเสโน อาจารย์มั่น ภูริทัตโต อาจารย์ลี ธัมมธโร อาจารย์เสาร์ กันตสีโล และอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ปัจจุบันคงมีแต่รูปเหมือนทำจากหินบริสุทธิ์จากลำน้ำต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมือง
|
|
|
|
ช่องเม็ก |
|
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 90 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 เป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว ที่มีถนนเชื่อมต่อสู่แขวงจำปาสักซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางภาคใต้ ของประเทศลาว ในบริเวณด่านนอกจากจะเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการแล้วยังมีตลาดสินค้าชายแดน ร้านค้าปลอดภาษีในเขตประเทศลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมและจับจ่ายสินค้าได้ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแขวงจำปาสัก ได้แก่ เมืองปากเซ ปราสาทขอมวัดพู มหานทีสีทันดอน หรือสีพันดอน ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงแผ่กว้างกว่า 7 กิโลเมตร ทำให้มีเกาะแก่งจำนวนมาก และจุดที่น่าสนใจมากคือ น้ำตกหลี่ผี และน้ำตกคอนพะเพ็ง
การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศลาวผ่านด่านช่องเม็กนั้นในส่วนของชาว ต่างประเทศจะต้องใช้หนังสือเดินทาง และทำวีซ่า สำหรับคนไทยทำใบอนุญาตผ่านแดนที่สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีหรือที่ว่าการ อำเภอสิรินธรได้โดยใช้สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4525 5507 ที่ว่าการอำเภอสิรินธร โทร. 0 4536 6092 หรือนักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวแบบ 3 วัน 2 คืน สามารถติดต่อบริษัทนำเที่ยวภายในตัวเมืองอุบลได้ |
|
|