![]() |
![]() |
![]() |
ที่ตั้งและแผนที่ อุทยานแห่งชาติสาละวิน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบริมฝั่งน้ำซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง และมีสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ธรรมชาติ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น แม่น้ำสาละวิน มีเนื้อที่ประมาณ 450,950 ไร่ หรือ 721.52 ตารางกิโลเมตร กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณลำน้ำสาละวิน (ตั้งแต่ใต้ห้วยแม่สามแลบไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสาละวินและป่าแม่ยวมฝั่งขวา ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียม และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามเหมาะที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้ได้ทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของ สภาพพื้นที่จึงให้ นายอัมพร ปานมงคล นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 504/2532 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2532 สำรวจพื้นที่ป่าบริเวณดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาน้อย ตำบลท่าผาปุ้บ อำเภอแม่ลาน้อย ตำบลแม่คง ตำบลบ้านกวด ตำบลแม่ยวม ตำบลสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื้อที่ประมาณ 1,013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 632,125 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายมงคล ชัยดำรงเลิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 หัวหน้าฝ่ายป้องกันรักษาป่า สำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียง และ นายเจน ทาฟอง เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปสำรวจเพิ่มเติมและมีความเห็นว่า สมควรกำหนดขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโครงการสาละวินตอนล่าง (มร.11) เดิม อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2536 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 ได้พิจารณาเห็นชอบในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวา และป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 ขนาดพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ พืชพันธุ์และสัตว์ป่า สัตว์ป่าที่สำคัญมี เลียงผา กวางป่า เก้ง หมูป่า หมี หนูหริ่ง เสือปลา วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง กระต่ายป่า กระรอก กระแต ชะนี อีเห็น และนกชนิดต่าง ๆ การเดินทาง จากบ้านแม่สามแลบ หากต้องการเดินทางต่อไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางได้ทางเรือโดยสาร เรือออกจากท่าเรือบ้านสามแลบ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. (ค่าโดยสาร 1,000 บาทต่อผู้โดยสาร 10 คน : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (บ้านท่าตาฝั่ง) การเดินทางไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้ เริ่มจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ถนนลูกรัง : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง เส้นทางนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัย
|