|
|
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก 11 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า เมืองเชลียง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีสัชนาลัย ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง
อัตราค่าเข้า : นักท่องเที่ยวชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท รถรางนำชมโบราณสถานคนละ 10 บาท เช่าจักรยาน 20 บาทต่อวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5567 9211 |
|
|
|
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย |
|
เดิมชื่อ ป่าคา หมายถึงป่าคาหลวง หรือสันกลางแม่วังช้าง ตั้งอยู่ที่บ้านป่าคา หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแก่ง ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชฯ เพื่อรักษาสภาพป่าที่เป็นต้นน้ำลำธาร และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยม มีพื้นที่ประมาณ 213 ตารางกิโลเมตร และต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการผนวกพื้นที่เพิ่มเติมในท้องที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 106 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 319 ตารางกิโลเมตร อุทยานฯ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าคาขนาดใหญ่ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำท่าแพ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขา ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบเขา สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระแต เสือไฟ อีเห็นข้างลาย เลียงผา เต่าปูลู เป็นต้น และได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 |
|
|
|
วัดช้างล้อม |
|
เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง |
|
(เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย) ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่าน ลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 213,215 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจ และน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้ พร้อมกับธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า ป่าเขาหลวง แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า รามคำแหง ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ครองกรุงสุโขทัย เพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ ป่าเขาหลวง ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ |
|
|
|
ศูนย์ศึกษา และอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง) |
|
ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเตาเผาที่ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า 500 เตา ในระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์ และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7 - 8 เมตร
ศูนย์ศึกษาฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีอยู่ 2 อาคาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเตาที่ใช้เป็นที่ศึกษา มีหมายเลขเตาที่ใช้เรียกในการศึกษา คือ เตาที่ 42 เป็นเตาบนดิน และเตาที่ 61 เป็นเตาใต้ดิน ภายในตัวอาคารจะมีการตั้งแสดงโบราณวัตถุ เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนวิวัฒนาการเครื่องถ้วยสมัยโบราณให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย ศูนย์ฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
การเดินทาง จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ทางประตูเตาหม้อไปถึงบ้านเกาะน้อยประมาณ 6.5 กิโลเมตร จะเห็นซากเตาเผาโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หรือจะเดินทางจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1201 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร ลงมาที่บ้านเกาะน้อย จะเห็นอาคารศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ |
|
|
|
สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) |
|
ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลป่ากุมเกาะ แต่เดิมเคยเป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 830 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นน้ำ 645 ไร่ พื้นดิน 185 ไร่ ลักษณะของสวนนี้เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบมองเห็นทิวทัศน์ได้ เหมาะสำหรับที่จะพักผ่อน ภายในบริเวณมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ สะพานไม้โบราณ ที่ข้ามอ่างน้ำเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง มีความยาว 300 เมตร สักการะบูชาพระร่วง ณ วงเวียนประดิษฐานรูปพระร่วง อยู่ปากทางเข้าเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง สักการะบูชาพระมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม และนมัสการศาลปู่ก๊อก ข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ พักผ่อนศาลาที่พักริมทาง ชมวิวทิวทัศน์รอบเกาะ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานหลายด้าน เช่น โครงการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงไก่ พิพิธภัณฑ์ชาวนาแหล่งรวบรวมอุปกรณ์ชาวนาโบราณแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวนาสมัย สุโขทัย แปลงสวนสมุนไพรสาธิต เรือนเพาะชำกล้าไม้
นอกจากนั้นภายในบริเวณสวนแห่งนี้มีอาคารเอนกประสงค์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของดีจังหวัดสุโขทัย สอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ โทร. 0 5564 2100 |
|
|
|
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย |
|
เป็นดินแดนแห่งยุคทองที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ไทยในอดีต ที่ยังคงร่องรอยแห่งอารยธรรมอันรุ่งเรือง สถาปัตยกรรมอันงดงามวิจิตรบรรจง และที่สำคัญเป็นร่องรอยอดีตแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย และของคนทั้งโลกจนได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อ พ.ศ. 2534 |
|
|
|
กำแพงเมืองสุโขทัย |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800 เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง 2 ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีก ด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย |
|
|
|
วัดมหาธาตุ |
|
ุ ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า พระอัฎฐารศ |
|
|
|
วัดชนะสงคราม |
|
ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ
|
|
|
|
ัเนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย |
|
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐาน ปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50X51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง |
|
|
|
วัดตระพังเงิน (คำว่า ตระพัง หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) |
เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ 300 เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา (จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน) วิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ
|
|
|
|
วัดสระศรี |
|
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม |
|
|
|
วัดศรีสวาย |
|
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ 350 เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง
|
|
|
|
ศาลตาผาแดง |
|
มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. 1650-1700) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง |
|
|
|
วัดพระพายหลวง |
|
เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานที่ เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน |
|
|
|
วัดศรีชุม |
|
ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระ ร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม |
|
|
|
วัดช้างรอบ |
|
อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.4 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์
|
|
|
|
วัดสะพานหิน |
|
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200 เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็น ระยะทาง 300 เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า พระอัฏฐารศ
|
|
|
|
เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง |
|
ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านใต้ |
|
|
|
วัดเชตุพน |
|
ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือนั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ และหนา โดยมีการสกัด และบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้หลักที่ 58 จารึกในปี พ. ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้
|
|
|
|
วัดเจดีย์สี่ห้อง |
|
ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ 100 เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง |
|
|
|
วัดตระพังทองหลาง |
|
ุอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ริมซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย |
|
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง |
|
ตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย และที่ประชาชนมอบให้
บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ
1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ
2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย ฯลฯ
3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา เป็นต้น
เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยว ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0 5569 7367
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคเหนือดีเด่น |
|
|
|
ศาลพระแม่ย่า |
|
ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรเกษม ริมแม่น้ำยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย ศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเทวรูปพระแม่ย่า ที่ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญา มีความสูง 1 เมตร ศาลพระแม่ย่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่ออุทิศให้กับพระมารดา คือนางเสือง เหตุที่เรียกว่า พระแม่ย่า นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า พระแม่ และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา จึงเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า พระแม่ย่า
ผู้ที่มาสักการะพระแม่ย่า มีความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าเรื่องที่เป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ประดุจเป็น "แม่ย่า" ที่คอยดูแล ปัดเป่าทุกข์โศก และคอยดูแลความเป็นอยู่ของลูกหลาน
แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่า บริเวณยอดเขามีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดด และกันฝนได้ ต่อมาชาวจังหวัดสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน และประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ศาลพระแม่ย่าทุกปี เรียกว่า งานพระแม่ย่า การเดินทาง จากตัวเมืองในเขตเทศบาลมีรถโดยสารประจำทางผ่านไปศาลพระแม่ย่าทุกวัน
บทสวนบูชา ตั้งนะโม 3 จบ (มนต์กำจัดภัย) อะหัง วันทามิ ขะพุงผีมะหาเทวะดา สัพพะอุปาทา สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค อุปาทา วิสาสายะ สัพพะสะตรู ปะมุจจะติ โอม ขุพุงผีมะหาเทวะตา สะทา รักขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ (มนต์ขอลาภ-มงคล) อะหัง วันทามิ ขะพุงผีมหาเทวะตา รักขันตุ สะทาตุมเห อะนุรักขันตุ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะลาภัง สะทาโสตถี ภะวันตุเม |
|
|
|
หลวงพ่อศิลา |
|
แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเจ้าราม กลางป่าลึกในเขตติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย ต่อมาชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม เมื่อราวปี พ. ศ. 2472 - 2475 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2520 ได้มีคนร้ายขโมยหลวงพ่อศิลาไป และได้มีการนำไปประมูลขายที่ประเทศอังกฤษ แต่ภายหลังก็สามารถติดตามกลับคืนมาได้ และนำมาประดิษฐานยังวัดทุ่งเสลี่ยมตามเดิม |
|
|
|
วัดพิพัฒน์มงคล |
|
เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ หรือพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง หล่อด้วยทองคำหนัก 9 กิโลกรัม ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยที่มีความงดงาม |
|
|
|
บ้านทุ่งหลวง |
|
เป็นชุมชนโบราณแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ในต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ราษฎรทำนา เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ชาวบ้านจะนำดินเหนียวที่มีอยู่ในพื้นที่มาทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ เช่น กระถาง โอ่งน้ำ หม้อดิน ฯลฯ เมื่อเหลือใช้แล้ว จึงหาบไปแลกเปลี่ยนกับของกินของใช้อื่นๆ กับหมู่บ้านใกล้เคียง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ เมื่อครั้งเดินทางมาสำรวจมณฑลพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444 ความตอนหนึ่งว่า "...วันที่ 18 เวลาตื่นตอนเช้า พระยาสุโขทัยเอาหม้อกรันมาให้ 3 ใบ เป็นหม้อที่ตั้งใจทำอย่างประณีตภาษาบ้านนอก เขาทำที่บ้านทุ่งหลวง อยู่ใต้เมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตก..." หม้อกรันที่กล่าวถึงนั้นคือ หม้อน้ำในสมัยโบราณ รูปแบบเฉพาะของบ้านทุ่งหลวงที่ยังคงมีการผลิตอยุ่กระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยใช้กรรมวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย
เมื่อรัฐบาลจัดทำโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้น ในปีพ.ศ. 2545 ชาวบ้านทุ่งหลวงได้มีแนวคิดที่จะรวบรวมงานฝีมือชั้นยอดของชุมชนตั้งเป็น "กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง" ขึ้น เพื่อให้เป็นที่รวมของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นศูนย์รวมของวิชาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณของทุ่งหลวง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้การช่วยเหลือพัฒนากรรมวิธีในการผลิต ทั้งวัตถุดิบที่ใช้และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ จนเป็นที่เลื่อลือในคุณภาพและงานฝีมือ
เครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง เป็นงานฝีมือที่ประณีตงดงามเป็นที่ยอมรับของตลาด มีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งประเภท เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับตกแต่ง เช่น คนโทน้ำ หม้อดิน แจกัน รูปปั้น โคมไฟ ฯลฯ
กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง ได้จัดเส้นทางการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชุมชน ชมกรรมวิธีผลิตเครื่องปั้นดินเผา และกิจกรรมต่างๆ โดยมีค่าบริการในการจัดการ ควรติดต่อล่วงหน้า ที่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง 238 หมู่ 2 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย 64160 โทร. 0 5569 3451
การเดินทาง จากจังหวัดสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 สุโขทัย-กำแพงเพชร ก่อนถึงอ.คีรีมาศประมาณ 5 กม. จะมีทางแยกซ้ายเข้าวัดลาย เข้าไปประมาณ 1 กม. |
|
|
|
ิพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ |
|
ตั้งอยู่เลขที่ 477/2 ต.หาดเสี้ยว จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของผ้าทอมือลายโบราณ ชาวไทพวน บ้านหาดเสี้ยวได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น จก9ลาย ผ้าที่ใช้ในพิธีบวชนาคด้วยขบวนช้าง ผ้าที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งล้วนเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยวที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยปี นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นทองคำ (ซิ่นไหมคำ) ผืนเก่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี และมผืนใหม่ ซึ่งจัดทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีแต่งงาน
ผ้าซิ่นทองคำนี้เป็นผ้าที่มึความประณีตงดงาม ตามแบบฉบับของราชวงศ์ทางเหนือ และร้านยังได้มีการจัดแสดงเรือนไทยของชาวไทยพวนในสมัยโบราณ พร้อมทั้งมีการสาธิตกรรมวิธีในการทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-18.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียด โทร. 0 5567 1143, 0 1042 7542 โทรสาร 0 5563 0058
การเดินทาง จากกรุงเทพ จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยก่อน ระยะทางประมาณ 550 กม. และจากอุทยานฯ ไปอีก 11 กม. |
|
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองสวรรคโลก หลังวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) ห่างจากตัวเมืองสุโขทัย 38 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1.6 กิโลเมตร ถึงพิพิธภัณฑ์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นบน จัดแสดงประติมากรรมสมัยต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นสมบัติที่มาจากวัดสวรรควรนายก และพระ สวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนบริเวณ ชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งขุดพบมากที่แหล่งโบราณคดีเครื่องถ้วยสังคโลกบ้านเกาะน้อย และบ้านป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยชามสมบัติใต้ทะเลที่งมได้มาจากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย
เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
ในกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่พิพิธภัณฑ์สวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110 โทร. 0 5564 1571, 0 5564 3166 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.thailandmuseum.com |
|
|
|
หลวงพ่อปี้ |
|
รูปหล่อของท่าน ประดิษฐาน ณ วัดลานหอย ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2517 ท่านนับเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของภาคเหนือ โดยวัตถุมงคลของท่านมีชื่อเสียงทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง และทำงานเสี่ยงภัยต่างๆเป็นอย่างยิ่ง |
|
|
|
พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ |
|
ตั้งอยู่ภายใน สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย - พิษณุโลก พิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ทางขวามือ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในวรรณคดีมากมาย อาทิ ปลาจากกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) นิราศอิเหนา ฯลฯ พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทางสามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางได้ที่ สถานีขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง (บขส.) สายพิษณุโลก-สุโขทัย มาลงที่สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ |
|
|
|
พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย |
|
ตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลา ซ่า ถนนบายพาส ห่างจากเมืองเก่าประมาณ 12 กิโลเมตร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า 2,000 ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศ และต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักเรียนในเครื่องแบบ 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5561 4333
การเดินทางสามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือรถสามล้อจากตลาดในตัวเมืองไปพิพิธภัณฑ์ได้ทุกวัน |
|