![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
วัดสุทธิวาตวราราม หรือ วัดช่องลม |
ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทาง |
||
![]() |
![]() |
วัดโกรกกราก์ |
ตั้งอยู่ที่ตำบลโกรกกราก ฝั่งมหาชัย อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ริมแม่น้ำท่าจีน สมัยรัตนโกสินทร |
||
![]() |
![]() |
ป้อมวิเชียรโชฎก |
ตั้งอยู่ตำบลมหาชัย ห่างจากศาลากลางจังหวัด 200 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2371 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ เนื่องจากในสมัยนั้นได้เกิดกรณีพิพาทกับญวณเรื่อง |
||
![]() |
![]() |
อุทยานการเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์ |
ตั้งอยู่ในโรงเรียนพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การศึกษาเรียนร ู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตผู้คน และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสาคร บนพื้นที่ 7 ไร่ ภายในประกอบด้วย อาคารพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการตั้งถิ่นฐานของ จังหวัดสมุทรสาคร สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ บุคคลสำคัญของจังหวัด ตลอดจนมรดกธรรมชาติป่าชายเลน เป็นต้น ด้านนอกอาคารมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน จัดเป็นห้องเรียนศึกษาธรรมชาติกลางแจ้ง ให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน สัตว์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม ปูก้ามดาบ ปลาตีน หอยพิม หอยแครง ฯลฯ และยังมี สถานีโครงกระดูกปลาวาฬ ซึ่งขุดพบบริเวณบ่อกุ้งเก่าของนายประสิทธิ์ เจริญชนม์ บริเวณหมู่ 8 ตำบลโคกขาม และได้ขอนำมาเก็บไว้ศึกษาเรียนรู้ที่โรงเรียน นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ และการใช้ไม้ไผ่ตงปักชายฝั่งเพื่อใช้ชลอคลื่นสร้างแผ่นดิน ผู้สนใจเข้าชมหรือร่วมทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียด โทร. 08 1555 1653 (อาจารย์ประสาน), 08 9491 6011 (คุณนรินทร์), 08 1443 6425 (คุณวรพล) หรือ www.phanthai.ac.th |
||
![]() |
![]() |
วัดนางสาว |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าทางหลวง หมายเลข 3091 ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดนางสาว 2 ประมาณ 1 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของวัดมีเรื่องเล่ากันว่า เมืองสาครบุรี คือ เมืองชายทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในพม่าชาวไทยกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีมาตามริมแม่น้ำท่าจีน คนชราและผู้หญิงได้พากันไปหลบซ่อนในโบสถ์เก่า ต่อมาคนไทยได้ช่วยกันต่อสู้กับทหารพม่าจนได้รับชัยชนะ และผู้ที่อพยพมาได้ตั้งบ้านเรือนอย ู่บริเวณนั้น ในกลุ่มนี้มีสองพี่น้องที่เคยอาศัยโบสถ์หลบหนีภัย ทั้งสองมีความคิดที่จะบูรณะโบสถ์ใหม่ แต่พี่สาวเห็นว่าโบสถ์ทรุดโทรมมากจึงไปสร้างวัดใหม่แทน น้องสาวต้องการทำตามสัจจาธิษฐานของตนว่าถ้ารอดตายจะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ จึงดำเนินการบูรณะจนเสร็จและตั้งชื่อว่า "วัดพรหมจารีย์" ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "วัดน้องสาว" จนปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น "วัดนางสาว" โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ คือ โบสถ์ที่มีฐานโค้งเป็นรูปเรือสำเภาก่ออิฐ มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียวชาวบ้านเรียกว่า "โบสถ์มหาอุด" หลังคามุงกระเบื้องดินเผาแบบเก่า ขื่อข้างบนใช้ไม้ซุงทั้งต้น มีเสมาคู่เป็นหินทรายขนาดเล็กอยู่รอบๆ โบสถ์ นอกจากนี้บริเวณหน้าวัดซึ่งติดกับแม่น้ำท่าจีน ยังมีอุทยานมัจฉาประกอบด้วยฝูงปลาสวายจำนวนมากอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารแก่ฝูงปลาและเที่ยวชมอยู่เสมอ |
||
![]() |
![]() |
พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย |
ตั้งอยู่ตำบลบางหญ้าแพรก บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา เดินทางไปตามถนนสุทธิวาตวิถี |
||
![]() |
![]() |
นากุ้งนาเกลือ |
จังหวัดสมุทรสาครมีชายฝั่งที่เหมาะกับการทำนาเกลือนา กุ้งหลายแห่งโดยเฉพาะที่ตำบลกาหลง |
||
![]() |
![]() |
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง |
หรือเจ้าพ่อวิเชียรโชติ สร้างแบบเก๋งจีน ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับป้อมวิเชียรโชฎก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนเคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวประมงในจังหวัด โดยก่อนออกเรือเพื่อไปหาปลาทุกครั้งชาวประมงจะต้องไปทำพิธีสักการบูชา และจุดประทัดบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ใกล้กันเป็นยังมี |
||
![]() |
![]() |
วัดป่าชัยรังสี |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบ้านเกาะ จากมหาชัยเดินทางไปตามถนนเศรษฐกิจ |
||
![]() |
![]() |
ตลาดสดมหาชัย |
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกและศาลหลักเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัด |
||
![]() |
![]() |
วัดบางปลา |
ตั้งอยู่ตำบลบ้านเกาะ ริมแม่น้ำท่าจีนเดินทางจากมหาชัยไปตามถนนสายเศรษฐกิจประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางเดียวกับวัดป่าชัยรังสีประมาณ 4 กิโลเมตร วัดบางปลาเป็นวัดที่สำคัญของคนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ตามธรรมเนียมมอญจะต้องมีวัด ๆ หนึ่งที่เป็นหลักของชุมชน เมื่อมีเทศกาลสำคัญ เช่น วันปวารณาออกพรรษา พระสงฆ์จากวัดอื่น ๆ ในเมืองจะต้องมาร่วมกันทำพิธี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดบาง ปลา เมื่อครั้งหลวงปู่เฒ่าเก้ายอดเป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ยังทรงสร้างซุ้มศาลายาว เชิงชายแกะสลักอย่างงดงามไว้ตรงทางเดินของวัดไว้อีกด้วย |
||
![]() |
![]() |
วัดใหญ่จอมปราสาท |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าจีน ห่างจากตัวจังหวัด 4 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 31 เชิงสะพานท่าจีน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ 400 ปี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดใหญ่สาครบุรี” รวมทั้งได้พระราชทานพระไตรปิฎก และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระวิหารเก่าแก่ก่ออิฐถือปูนฐานแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา ที่ซุ้มประตูและหน้าต่างมีการประดับลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้ยังมีงานแกะสลักไม้ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นลายพันธุ์พฤกษา ต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์ และบุคคล เป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นลวดลายแกะสลักลึกเข้าไปในเนื้อไม้ที่งดงามมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479 |
||
![]() |
![]() |
พระโพธิสัตว์กวนอิม |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง สมุทรสาคร พระโพธิสัตว์กวนอิม รูปหล่อพระโพธิสัตว์กวนอิมปางเมตตา หล่อจากทองเหลืองปิดด้วยทางคำเปลวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหลังวัดสุทธิวาตวราราม สร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงครองราชย์ครบรอบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติ องค์เจ้าแม่กวนอิมสูง 9.98 เมตร หล่อด้วยโลหะแล้วทาสีสวยงามมากพระหัตถ์ขวาเทน้ำจากคนโทเป็นน้ำมนต์ ประทับอยู่บนฐานดอกบัวมีมังกรโอบโดยรอบอยู่บนภูเขาจำลอง สูง 8 เมตร และมีถ้ำอยู่ภายในด้วย และในทุก ๆ ปีของช่วงเดือนพฤศจิกายนมีงานประเพณี นมัสการเจ้าแม่กวนอิม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3449 7099 |
||
![]() |
![]() |
วัดโคกขาม |
ตั้งอยู่ริมคลองโคกขาม หมู่ 1 ตำบลโคกขาม เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายเข้าทางวัดพันท้ายนรสิงห์ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ พระอุโบสถหลังเก่ามีใบเสมารอบๆ ด้านหน้ามีพระเจดีย์ที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซม เป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ลวดลายการแกะสลักไม้ที่หน้าบันนั้นงดงาม นอกจากนั้นยังมีศาลพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นศาลเพียงตาเดิม และเป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่เล่ากันว่าเกี่ยวพันกับเรื่องของพันท้ายนรสิงห์ เช่น ชิ้นส่วนของเรือพระที่นั่งเอกชัย และบุษบก เป็นต้น | ||
![]() |
![]() |
สะพานปลา |
เป็นสะพานปลาที่ใหญ่ และทันสมัยแห่งหนึ่งรองจากกรุงเทพฯ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ทันสมัยที่ใช้ในการลำเลียงขนถ่ายผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำทางทะเลทุกอย่างเป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางการค้าส่งปลาทะเล |
||
![]() |
![]() |
ปล่องเหลี่ยม |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 ตำบลท่าไม้ ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้สนามบาสในโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม "ปล่องเหลี่ยม" เป็นปล่องเตาไฟโรงงานผลิตน้ำตาลทรายของชาวโปรตุเกส ชื่อกัปตันฮิท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2367 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะของปล่องเป็นปล่องก่ออิฐถือปูนบนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 4 เมตร สูง 4 เมตร ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นปล่องทรงแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วค่อยๆ เรียวขึ้นไปจนถึงปลายสูงประมาณ 30 เมตรเข้าใจว่าชาวโปรตุเกสที่มาอาศัยบนแผ่นดินไทยในสมัยนั้น คงจะสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงาน เพราะสมัยก่อนพื้นที่ปลูกอ้อยได้ดี ดังจะเห็นได้จากโรงงานหีบอ้อยหลายแห่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “โรงหีบ” ต่อมาสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง คลองบางแห่งทะลุถึงกัน กระแสน้ำไหลถึง 3 แห่ง คือ ลัดท่าปลา ลัดหางปลาและลัดเกาะ ทำให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเชี่ยวท่วมถึงไร่อ้อย คนจีนจึงอพยพทิ้งไร่อ้อย เมื่อไม่มีอ้อยส่งโรงงาน โรงหีบอ้อยและโรงงานผลิตน้ำตาลของชาวโปรตุเกสจึงหยุดกิจการและปล่อยทิ้งร้าง มาจนถึงทุกวันนี้ การเดินทาง |
||
![]() |
![]() |
วัดเจษฎาราม |
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมเรียกว่า วัดธรรมสังเวช พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย เรียกกันโดยทั่วไปว่า " หลวงพ่อโต " ภายในโบสถ์มีรูปหล่อพระครูมหาชัยบริรักษ์ ( เชยญานวฑฺฒโน ) ซึ่งชาวมหาชัยและชาวตำบลใกล้เคียงเคารพบูชา ให้ความนับถือมาช้านาน |
||
![]() |
![]() |
บ้านศิลาสุวรรณ |
บ้านไม้สักทองโบราณอันทรงคุณค่า ตั้งอยู่บริเวณถนนถวายตำบลท่าฉลอม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้แบบบ้านมาจากเรือนไม้สักแถวถนนตกในสมัยนั้น
|
||
![]() |
![]() |
ศาลพันท้ายนรสิงห์ |
ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม เดินทางจากถนนเอกชัย เข้าทางหลวงหมายเลข 3423 |
||
![]() |
![]() |
ถนนถวาย |
ประวัติความเป็นมาของถนนถวายมีอยู่ว่า เมือ รศ. 124 ( พ.ศ. 2448 ) ชาวตำบลท่าฉลอม ได้สละที่ดินภายในเนื้อที่บ้านของตนบางส่วนอุทิศให้ทำเป็นถนน โดยทำถนนแบบปูอิฐแผ่นที่มีความยาวอย่างสวยงามความทราบถึงพระกรรณพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้เสด็จมาทรงเปิดถนนสายดังกล่าว เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448 และได้พระราชทานชื่อว่า " ถนนถวาย " สืบมาจนทุกวันนี้ |
||
![]() |
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร | |
ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม ห่างจากวัดโคกขามประมาณ 1 กิโลเมตรขึ้นอยู่กับสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี |
||
![]() |
ท่าฉลอมเมืองเก่า | |
สัมผัสวิถีชีวิตชาวประมง ลิ้มลองอาหารทะเลชมกิจการต่อเรือประมง ณ ตำบลท่าฉลอม เมืองโบราณ สุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย เรื่องราวของฝั่งมหาชัยกับฝั่งท่าฉลอม ที่มาของบทเพลงที่โด่งดังในอดีตและยังคงเป็นบทเพลงอมตะมาจนปัจจุบัน คือ เพลง "ท่าฉลอม" |
||
![]() |
จุดชมปากอ่าว | |
บริเวณริมเขื่อนเทศบาล นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมกับความงดงามของกลุ่มน้ำท่าจีนสายเลือดหลักของชาวลูกน้ำเค็มที่มาก |
||
![]() |
ศาลเจ้าแม่บ๋วยเนี้ย หรือศาลเจ้าแม่ทับทิม | |
ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร ไม่ปรากฏว่าก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีผู้สักการะศาลเจ้าแห่งนี้เป็นจำนวนมาก และหนึ่งพิธีกรรมของศาลเจ้าแห่งนี้คือ พิธีลุยไฟ ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นทุกปี จะทำเฉพาะร่างทรงทำนายทายทักว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น และผู้ที่ให้ความเคารพสักการะศาลเจ้าแห่งนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวประมง และชาวไทยเชื้อสายจีน และในทุก ๆ ปีของช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีงานประจำปี และลุยไฟ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ |
||
![]() |
ชมสวนผลไม้ – ดอกไม้ |
|
ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้วชาวบ้านทำสวนทั้งผลไม้ สวนผัก สวนกล้วยไม้ |
||
![]() |
โรงเจเชงเฮียงตั๊ว | |
ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร ศาลเจ้าแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาคือ ชาวจีนที่อพยพมาอยู่ที่ท่าฉลอมมีจำนวนมากเพราะเป็นเมืองที่อยู่ติดแม่น้ำ เป็นเมืองแรก ๆ ที่สามารถขึ้นฝั่งเพื่อเข้าสู่ประเทศสยาม เมื่อชาวจีนมาตั้งรกรากกันมากขึ้นก็เกิดการรวมตัวกันเพื่อสร้างศาลเจ้า เพื่อเป็นศูนย์รวมเป็นที่พบปะสังสรรค์ สำหรับศาลเจ้าโรงเจก็กลายเป็นที่ถือศีลของชาวจีน ส่วนการก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบเพียงว่าแต่ก่อนก็เป็นแค่เพิงหลังคาจากเล็ก ๆ เท่านั้น แต่เมื่อชาวบ้านเริ่มมีธุรกิจมั่นคงขึ้นเขาก็นำเงินมาบริจาคเพื่อปรับปรุง ศาลให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นศาลเจ้าโรงเจอย่างที่เห็นในปัจจุบัน และในทุก ๆ ปีของช่วงเดือนตุลาคมมีงานประเพณีถือศีลกินเจ 10 วัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3449 8498, 08 7060 5671 |
||
![]() |
ศาลเจ้าพ่อกวนอู | |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร มีการก่อสร้างมานานนับร้อยปีแล้ว ในอดีตศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวจีนในตำบลท่าฉลอมที่มีความเคารพ สักการะเจ้าพ่อกวนอูที่มีความซื่อสัตย์ได้บูชากัน โดยจัดสร้างเป็นศาลไม้หลังเล็ก ๆ มุงหลังคาด้วยจาก และภายหลังได้บูรณะใหม่ใช้กระเบื้องในการมุงหลังคา จากนั้นได้มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่โดยสร้างแบบก่ออิฐถือปูนเพื่อความแข็งแรงทน ทาน โดยปกติผู้คนจะเข้ามากราบไหว้อยู่เป็นประจำ และในทุก ๆ ปีของช่วงเดือนเมษายนมีงานฉลองวันเกิด เดือนกรกฏาคมมีงานประจำปีวันเกิดเจ้าพ่อกวนอู เดือนสิงหาคมมีงานวันเกิดเทพเจ้า 5 พระองค์ และเดือนธันวาคมมีงานเผ่งอั่งฮี่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 1763 1492 |
||
![]() |
ศาลเจ้าปุนเถ้ากง | |
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง สมุทรสาคร ศาลแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2382 |
||
![]() |
![]() |