ผามออีแดง | |||
ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และกิ่งอำเภอน้ำขุ่น กับอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 สภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรักกั้นชายแดน ไทย-กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหากินข้ามไปมาในผืน ป่าระหว่างสองประเทศได้แก่ หมูป่า กวาง เก้ง กระต่าย กระรอก ชะนี ชะมด เป็นต้น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ |
|||
ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน) | |||
ตั้ง อยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิฐแซมบางส่วน มีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบันและกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่ออิฐอีก 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยระเบียงคตก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศ ส่วนวิหารที่ก่อด้วยอิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราชท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐทางด้านทิศใต้มีทับหลังรูปพระอิศวรกับพระอุมาประทับนั่ง เหนือนนทิปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช, พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะและยังพบพระพุทธรูปนาคปรก, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯจากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบัน ทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่หลืบประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สรุปได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร |
|||
ปราสาทวัดสระกำแพงน้อย | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง ตำบลขยง ห่างจากตัวจังหวัด 8.7 กิโลเมตร อยู่ด้านขวามือ ติดเส้นทางสายศรีสะเกษ-อุทุพรพิสัย (ทางหลวง 226) ปราสาทหินสระกำแพงน้อยประกอบด้วยปรางค์และวิหารก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าปรางค์มีสระน้ำใหญ่ ทั้งปรางค์ วิหาร และสระน้ำ ล้วนล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง เคยมีทับหลังประตูสลักเป็นพระวรุณเทพเจ้าแห่งฝนประทับบนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัว อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข เป็นศิลปะแบบบาปวนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่าปราสาทหินแห่งนี้เดิมเป็นศาสนสถานมาก่อน แล้วต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการบูรณะหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ สังเกตได้จากมีสถาปัตยกรรมแบบบายนอยู่ด้วย สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเรียกกันในสมัยนั้นว่า “อโรคยาศาล” หมายถึง สถานพยาบาล หรือสุขศาลาประจำชุมชนนั่นเอง |
|||
ปราสาทปรางค์กู่ | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ อยู่ห่างจากศรีสะเกษเป็นระยะทาง ประมาณ 70 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงได้สองเส้นทางคือ ใช้เส้นทางศรีสะเกษ-สุรินทร์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง 2234 หรือใช้เส้นทางศรีสะเกษ-ขุขันธ์ แล้วแยกขวาเข้าเส้นทาง 2167 ปรางค์กู่อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 10 กิโลเมตร ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นโตๆ เหมือนปราสาทศรีขรภูมิที่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่ มาก มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว ด้านหน้าปรางค์กู่มีสระน้ำขนาดใหญ่ เป็นทำเลพักหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป |
|||
พระธาตุเรืองรอง | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง ห่างจากเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 สายศรีสะเกษ-ยางชุมน้อย ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยผสมศิลปอีสานใต้สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว พระธาตุมีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นที่ 1 ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ชั้นที่ 2-3 เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ และชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ | |||
ู่น้ำตกห้วยจันทร์ (น้ำตกกันทรอม) | |||
อยู่ห่างจากอำเภอขุนหาญ 24 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 85 กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข 2236 เส้นทางกันทรอม-บ้านสำโรงเกียรติ เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นมาตามชั้นหิน มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ บริเวณร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ | |||
ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิฐแซมบางส่วน มีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบันและกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่ออิฐอีก 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยระเบียงคตก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศ ส่วนวิหารที่ก่อด้วยอิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราชท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐทางด้านทิศใต้มีทับหลังรูปพระอิศวรกับพระอุมาประทับนั่ง เหนือนนทิปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช, พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะและยังพบพระพุทธรูปนาคปรก, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯจากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบัน ทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่หลืบประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สรุปได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร |
|||
้ปราสาทโดนตวล | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู ห่างจากหมู่บ้าน 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทาง อำเภอกันทรลักษ์-ผามออีแดง เป็นปราสามขอมโบราณขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลา และมีรูปสิงโตจำหลักอยู่หน้าปราสาท | |||
ปราสาทตาเล็ง | |||
ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านปราสาท ตำบลกันทรารมย์ การเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ตามทางหลวงสาย 220 จนถึงอำเภอขุขันธ์เลี้ยวขวาผ่านสถานีตำรวจไป 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวซ้าย 300 เมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร จนถึงบ้านปราสาท แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้ง ปราสาทตั้งอยู่ด้านขวามือ ปราสาทตาเล็งลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวตั้งอยู่บนฐานองค์ปรางค์มีผังเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงผนังด้านหน้าและผนังด้านข้างบางส่วน มีประตูเข้าได้เพียงประตูเดียวด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่สำคัญคือเสาติดผนังของประตูหน้าทั้งสองข้างยังคงมีลวดลายก้านขดสลักเต็ม แผ่นอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16–17นอกจากนี้บนพื้นรอบๆ ยังมีทับหลังวางอยู่หลายชิ้น ชิ้นหนึ่งวางอยู่หน้าประตูด้านทิศเหนือ สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล ซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาจากปากและยึดท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ด้วยมือทั้งสอง ข้าง ทับหลังชิ้นอื่นๆ ลักษณะคล้ายกัน ทับหลังชิ้นหนึ่งมีแนวภาพตอนบนสลักเป็นรูปฤาษีนั่งเรียงกันในท่าสมาธิ 7 ตอน จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่ปรากฏกล่าวได้ว่าปราสาทตาเล็ง สร้างขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1560–1630 การเดินทาง จากจังหวัดศรีสะเกษ ตามทางหลวงหมายเลข 220 จนถึงอำเภอขุขันธ์เลี้ยวขวาผ่านสถานีตำรวจไป 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวซ้าย 300 เมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร จนถึงบ้านปราสาท แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้ง ปราสาทตั้งอยู่ด้านขวามือ |
|||
ัเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่น้ำตกภูละออ | |||
อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลเสาธงชัย การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ถึงบ้านภูมิซรอล-น้ำตกสำโรงเกียรติ ประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย |
|||
วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) | |||
ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ ช่วยกันบริจาค เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโม มหาเจดีย์แก้ว และนอกจากนี้ยังมีสิม (โบสถ์) อยู่กลางน้ำภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว ซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก |
|||
วัดมหาพุทธาราม | |||
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองศรีสะเกษ มีวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองและเป็นที่เคารพ สักการะของชาวศรีสะเกษ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย มีความสูงจากฐานถึงยอดเกศ 6.85 เมตร หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร |
|||
น้ำตกสำโรงเกียรติ (น้ำตกปีศาจ) | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านสำโรงเกียรติ มีต้นกำเนิดจากภูเขากันทุง ในเทือกเขาบรรทัด เป็นน้ำตกขนาดกลาง ตกจากหน้าผาสูง 8 เมตร มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เหนือน้ำตกเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน จะมีความสวยงามในฤดูฝน การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2111 เมื่อถึงเขตอำเภอขุนหาญ มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตร | |||
ูตึกขุนอำไพพาณิชย์ | |||
ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองฯ ที่ถนนอุบล เป็นตึกเก่าของขุนอำไพพาณิชย์ (อินทร์ นาคสีหราช) คหบดีชาวศรีสะเกษ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวจีนและชาวมอญ ตัวอาคารมีรูปทรงและลวดลายปูนปั้นที่งดงามตามคติความเชื่อของชาวจีน ได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการดี เด่นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบันกรมศิลปากรไก้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาณ | |||
เส้นทางเที่ยวชมสวนชิมผลไม้ศรีสะเกษ | |||
ห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ทางด้านขวามือมีเส้นทางที่ตัดผ่านหมู่บ้านทุ่งใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านร่องตาชุน บ้านชำม่วง และบ้านหนองเก่า รวมระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร (ทางลาดยางประมาณ 16 กิโลเมตร) นับเป็นแหล่งสวนเกษตร-สวนผลไม้ ที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษที่ให้ผลผลิตหลากหลายประเภท เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด สะตอ และยางพารา เป็นต้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีสวนเกษตรดังกล่าวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด และเป็นช่วงที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวในลักษณะชมสวนชิมผลไม้ และซื้อผลผลิตจากสวนโดยตรง ซึ่งสวนเกษตรที่น่าสนใจ ได้แก่ สวนเงาะบ้านชำม่วง สวนทุเรียน บ้านซำขี้เหล็ก และสวนสะตอ สวนมะม่วงนอกฤดูบ้านหนองเก่า | |||
สวนสมเด็จศรีนครินทร์ | |||
ตั้งอยู่ในวิทยาลัยเกษตรกรรม จังหวัดศรีสะเกษ ถนนกสิกรรม ตำบลหนองครก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 237 ไร่ ลักษณะเป็นสวนป่าในเขตเมือง มีต้นลำดวนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นดงใหญ่จำนวนกว่าสี่หมื่นต้น เหมาะแก่การทัศนศึกษาในเชิงพฤกษศาสตร์ ต้นลำดวนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หอมนี้จะผลิดอกหอมอบอวลไปทั่วในราวเดือนมีนาคมของ ทุกปี และเนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีความเกี่ยวพันกับชื่อ ศรีนครลำดวน ในอดีด จึงได้นำเอาต้นลำดวนมาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีสวนสัตว์ และสวนสาธารณะตกแต่งสวยงามร่มรื่นเป็นแหล่งพักผ่อนของประชาชนทั่วไป มีบึงน้ำสำหรับพายเรือเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ | |||
ปราสาทตำหนักไทร (ปราสาททามจาน) | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง ริมทางหลวงหมายเลข 2127 (ขุนหาญ-บ้านสำโรงเกียรติ) ห่างจากอำเภอขุนหาญ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตรปราสาทตำหนักไทร เป็นปราสาทอิฐหลังเดียวบนฐานศิลาทราย พื้นที่รอบๆ มีการปรับสภาพจนราบเรียบ ปราสาทก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดกว้าง-ยาว 4 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเข้าออกได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้า อีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก คือ สลักเป็นรูปบานประตูลงในเนื้ออิฐ บริเวณทางเข้ามีสิงห์จำหลักสองตัว เฉพาะด้านหน้ากรอบประตูเป็นหินทราย แต่เดิมเคยมีทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ มีพระชายาลักษมีนั่งอยู่ที่ปลายพระบาท และมีพระพรหมผุดมาจากพระนาภี สองข้างพระพรหมเป็นรูปฤาษีและบุคคลนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ปราสาทตำนักไทรเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 |
|||
ปราสาทบ้านสมอ | |||
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านทามจาน ตำบลสมอ ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 220 และ 2167 ประมาณ 52 กิโลเมตร ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมโบราณขนาดเล็ก ภายในขององค์ปรางค์มีรูปประติมากรรมจำหลัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 |
|||
|