WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

 
ฟาร์แกะ ฮักยู ลำปาง(Hug You)


สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ใน จังหวัดลำปางฟาร์มแกะ Hug Youสุดยอดแห่งสถานที่ ที่ท่านต้องแวะพักเมื่อท่านเดินทางมาภาดเหนือ ห่างจากตัวเมืองลำปางเพียง
25 กิโลเมตร (สายลำปาง-ตาก)


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูงและเป็นแหล่งที่ดำเนิน งานตามแนวพระราชดำรัสในการใช้พลังงานน้ำธรรมชาติมาประยุกต์การดำเนิน งานอย่างสอดคล้องเป็นประโยชน์และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการ รักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเมืองปาน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเนื้อที่ประมาณ 768 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลำปางและเชียงใหม่ ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์


ชมเมืองบนรถม้า

นับเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียวที่ได้รับความนิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้ บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปางและยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอนของทางภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียวที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบจนกระทั่งทุก วันนี้


วัดศรีชุม

เป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 31 วัด สร้างในปี     พ.ศ. 2433 โดยคหบดีพม่าชื่อ อูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้นจึงต้องการทำบุญโดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในเขตตำบลสวน ดอก
จุดเด่นของวัดนี้เดิมอยู่ที่ พระวิหาร ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ที่มีศิลปะการตกแต่งแบบล้านนาและพม่า หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระวิหารทั้งหลัง เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 16 มกราคม 2535 คงเหลือเพียงไม้แกะสลักตรงซุ้มประตูทางขึ้นวิหารเท่านั้น เป็นลวดลายพรรณพฤกษาฉลุโปร่ง ปัจจุบันวัดได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และยังมีชิ้นส่วนเครื่องประดับอาคารที่ ถูกไฟไหม้ไปจัดแสดงไว้ด้านหลังวิหาร วัดศรีชุมได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2524
การเดินทาง   วัดศรีชุมตั้งอยู่ที่ถนนศรีชุม-แม่วะ ตำบลศรีชุม จากถนนพหลโยธินเมื่อถึงโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยแล้ว เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าถนนศรีชุมไปประมาณ 100 เมตร จะพบทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย และ สวนป่าทุ่งเกวียน

ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล  อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการ ทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย


วัดเจดีย์ซาวหลัง

ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง 1.5 กิโลเมตร ตามถนนสายลำปาง - แจ้ห่ม คำว่า ซาว แปลว่า ยี่สิบ คำว่า หลัง แปลว่า องค์ ฉะนั้น วัดเจดีย์ซาวหลัง  จึงแปลได้ว่าวัดที่มีเจดีย์ 20 องค์  จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างมานานกว่าพันปี          จุดเด่นของวัดคือ องค์พระธาตุเจดีย์ซาว ที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่า เชื่อกันว่าหากใครนับได้ครบ 20  องค์ถือว่าเป็นคนมีบุญ ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารหลังเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ  ศิลปะเชียงแสน  ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ  พระอุโบสถหลังใหญ่  ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงาม บานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ  เขียนลวดลายรดน้ำละเอียดสวยงาม  เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญเรือนไม้ชั้นเดียว ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑสถานเขลางค์นคร แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย  เมื่อปี พ.ศ. 2526 ชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสองสลึง มามอบให้แก่ทางวัดซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21  ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว  เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ 


วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

ตั้งอยู่ที่ถนนสุชาดา ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1979 เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน 

ปูชนียสถานที่สำคัญในวัดพระแก้วดอนเต้า ได้แก่ องค์พระบรมธาตุดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า วิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับวัดนี้ นอกจากนี้ยังมี วิหารหลวง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วิหารพระเจ้าทองทิพย์ สร้างโดยพระนางจามเทวี อายุกว่า 1,000 ปี เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ ศิลปะสมัยเชียงแสน มณฑปหรือพญาธาตุ ศิลปะแบบพม่า วิหารลายคำสุชาดาราม ฝีมือช่างเชียงแสน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง โดยมีลวดลายทองประดับตามส่วนต่าง ๆ งดงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเชียงแสน และยังมี พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา อันเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัตถุแบบล้านนา เช่นสัตตภัณฑ์ เครื่องถ้วยกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น
การเดินทาง  ข้ามสะพานรัษฎาภิเษกแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นยอดพระธาตุเด่นอยู่บนเนิน


อ่างเก็บน้ำแม่มอก     
ตำบลเวียงมอก ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากปากทางแยกที่อำเภอเถิน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในโครงการพระราชดำริ มีเนื้อที่ 10,000 ไร่ กว้าง 2 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 1.9 กิโลเมตร บรรยากาศเป็นธรรมชาติร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยต้นไม้ตลอดทาง อ่างเก็บน้ำแม่มอกเป็นเขื่อนทำนบดินส่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคแก่ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยและอำเภอเถิน บริเวณอ่างเก็บน้ำฯ มีบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยว ผู้สนใจติดต่อ โครงการชลประทานลำปาง โทร. 0 5422 7211-2 หรือ สำนักงานจังหวัดลำปาง โทร. 0 5426 5014  โทรสาร. 0 5426 5070 

อุทยานแห่งชาติแม่วะ        

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเถินประมาณ 19 กิโลเมตร ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกแม่วะ มีเนื้อที่ประมาณ 366,875 ไร่ หรือ 587 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

 

 


อุทยานแห่งชาติดอยจง

มีพื้นที่ประมาณ 207,500 ไร่ อยู่ในท้องที่อำเภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
หากผ่านไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงรอยต่อระหว่างอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กับอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นักเดินทางจะมีโอกาสชื่นชมกับป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่ปกคลุมหนาแน่นสอง ฟากถนนยิ่งช่วงปลายฤดูหนาว ป่าผืนนี้จะยิ่งงดงามด้วยต้นไม้ที่พากันเปลี่ยนสีก่อนทิ้งใบร่วงในหน้าแล้ง ป่าผืนนี้เป็นป่าผลัดใบที่ยังคงความสมบูรณ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่ราบกว้างซึ่งมีป่าสนเขาขึ้นกระจายเป็นกลุ่ม ๆ และมีหน้าผาเป็นจุดชมทิวทัศน์อยู่หลายแห่งสามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งยามดวง อาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าในยามเช้าและลับขอบฟ้าในยามเย็น  นอกจากนี้บนดอยจงยังพบกล้วยไม้จำนวนมาก โดยเฉพาะ กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ซึ่งมีสีงดงามแปลกกว่าฟ้ามุ่ยในพื้นที่อื่น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีเส้นทางเดินขึ้นสู่ยอดดอยจงระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร สภาพทางค่อนข้างชัน ใช้เวลาเดินขึ้นราวครึ่งวัน ผู้สนใจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง


วัดพระธาตุจอมปิง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 26 กิโลเมตร ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย  วัดพระธาตุจอมปิงเป็นวัดโบราณ วัดนี้มีความมหัศจรรย์ของการเกิดเงาสะท้อนเป็นภาพสีธรรมชาติขององค์พระธาตุ ผ่านรูเล็กบนหน้าต่างมาปรากฏบนพื้นภายในพระอุโบสถตลอดเวลาที่มีแสงสว่างทั้ง กลางวันและกลางคืน และทางวัดยังจัดที่สำหรับแสดงโบราณวัตต่าง  ๆ ที่ขุดพบในบริเวณนี้ด้วย และภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิง จัดแสดงเศียรพระพุทธรูป กำไลลูกปั้นหิน ชามตราไก่ ถ้วยที่ทำจากกระดูกสัตว์
การเดินทาง นั้นใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แยกซ้ายตรงที่ว่าการอำเภอไปอีก 17 กิโลเมตร


วัดเสลารัตนปัพพตาราม

วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)ตั้งอยู่ที่ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา มีพระวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุงเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง โดยเฉพาะส่วนหน้าบัน และซุ้มประตูที่มีการก่ออิฐถือปูนประดับรูปปั้นสัตว์ศิลปะล้านนาแท้ ภายในวิหารนอกจากจะมีพระประธานแล้วยังมี รูปปั้นพระมหาเกสระปัญโญภิกขุขนาดเท่าตัวจริงซึ่งปั้นด้วยฝีมือของท่านเอง พระเจดีย์ของวัดไหล่หินก่อสร้างแบบศิลปะล้านนาที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คันทวยที่โรงธรรมเป็นแบบล้านนา คือเป็นรูปคล้ายแผ่นไม้สามเหลี่ยมขนาดใหญ่แล้วฉลุลายให้โปร่งลอยตัวเป็นรูป ต่าง ๆ กันออกไป เช่น รูปนาค รูปหนุมาน รูปลายเครือเถา
นอกจากนั้นทางวัดได้จัด หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนาวัดไหล่หิน เป็นที่เก็บหอพระแก้ว ซุ้มพระพิมพ์ อาวุธโบราณ  และที่โรงธรรมมีใบลานเก่าแก่ของล้านนาไทยมีอายุเกินกว่า 500 ปี จาร (การใช้เหล็กแหลมเขียน) เป็นภาษาบาลีด้วยอักษรไตเหนือ

      การเดินทาง จากที่ว่าการอำเภอเกาะคาเข้าทางเดียวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง 1 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีก 6 กิโลเมตร


วัดปงยางคก  

ตั้งอยู่ที่ตำบลปงยางคก มีวิหารพระแม่เจ้าจามเทวีซึ่งเป็นวิหารไม้เก่าแก่ ภายในประดิษฐานมณฑปปราสาทเก่าที่มีตำนานสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระนางจาม เทวี เมื่อ พ.ศ. 1253

การเดินทาง   จากอำเภอเมืองเข้าสู่ถนนสายห้างฉัตร-เกาะคา ประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปประมาณ 100 เมตร


น้ำตกวังแก้ว     

      เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติดอยหลวงซึ่งได้รับการประกาศให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2533 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยา เชียงรายและลำปาง รวมเนื้อที่ประมาณ 731,250 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิด ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกวังแก้ว
น้ำตกวังแก้ว เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดลำปาง เกิดจากการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ มีชั้นน้ำตกประมาณ 102 ชั้น แต่เป็นชั้นใหญ่ 9 ชั้น เมื่อขึ้นไปถึงชั้นบนสุดของน้ำตกจะพบหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้าที่บ้านป่าคา หลวง และบ้านส้านซึ่งมีทางขึ้นค่อนข้างชัน ที่น้ำตกวังแก้วยังมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1.4 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำทาง  นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมี  น้ำตกวังทอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำตกวังแก้ว ค่าธรรมเนียมเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท  สามารถกางเต็นท์ได้แต่ต้องเตรียมอาหารไปเอง
สถานที่พัก   มีบ้านพักจำนวน 7 หลัง ราคา 1,000 บาท ทางอุทยานฯ มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ 2 คน ราคา 50 บาท/คืนเต็นท์ หรือจะนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ 20 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. 0 5360 9042, 0 2562 7060 หรือ www.dng.or.th
การเดินทาง  จากอำเภอเมืองใช้ถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ ไปประมาณ 110 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่อำเภอวังเหนือ  เข้าทางหลวงหมายเลข 120 สายวังเหนือ-พะเยา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1303  ไปประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงน้ำตก ถนนเป็นทางลาดยางตลอดสาย ส่วนทางเข้า น้ำตกวังทอง จากปากทางใหญ่ที่เข้ามาจะถึงก่อนน้ำตกวังแก้วประมาณ 9 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางสามารถนั่งรถสองแถวสีฟ้าสายลำปาง-วังเหนือมาลง หน้าที่ว่าการอำเภอ จากนั้นต้องเช่ารถเข้าไปยังน้ำตก


วัดอักโขชัยคีรี

ตั้งอยู่ที่ตำบลวิเชตนคร บนเนินเขาริมถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม เส้นทางหลวงหมายเลข 1035 บริเวณกิโลเมตรที่ 50-51 ด้านซ้ายมือ มีทางขึ้น 2 ทางคือ ทางเดินขึ้นบันไดด้านหน้าหรือขับรถขึ้นทางถนนด้านหลัง โบสถ์และเจดีย์เป็นแบบล้านนาอยู่ใกล้เคียงกัน ที่วัดนี้มีปรากฏการเงาสะท้อนพระเจดีย์เป็นภาพสีเช่นเดียวกับวัดพระธาตุจอม ปิง เงาพระเจดีย์จะปรากฏอยู่ตรงที่เดิมไม่เคลื่อนย้ายตลอดทั้งวันตราบเท่าที่ยัง มีแสงสว่าง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่เรียกว่า พระศากยะมุณีคีรีอักโข มีความสูง 5 วา 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ เป็นที่นับถือของชาวแจ้ห่มมาก โบสถ์เปิดเวลา 07.00-17.00 น. หากใครสนใจงานศิลปะท้องถิ่นมีสัตตภัณฑ์ไม้ไผ่พุทธศตวรรษที่ 25 สำหรับจุดเทียนบูชาพระประธาน และธรรมมาสน์ไม้ไผ่ศิลปะล้านนา ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังโบสถ์ 


ศูนย์ศิลปะชุมชนเมืองงาว หรือ บ้านจ้างหลวง(ช้างหลวง)

ตั้งอยู่ที่ 33 หมู่ 9 บ้านข่อย ตำบลบ้านร้อง ก่อตั้งโดย ครูคำอ้าย เดชดวงตา เป็นที่รวบรวมงานไม้แกะสลักซึ่งเป็นผลงานของผู้ก่อตั้ง เรือนเก็บงานแกะสลักเป็นเรือนไม้หลังใหญ่ดูคล้ายช้าง แทบทุกส่วนของอาคารออกแบบตกแต่งด้วยศิลปะที่กลมกลืน และเคยใช้เป็นที่จัดแสดงผลงานไม้แกะสลักของครูคำอ้าย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้ถูกไฟไหม้ไป ทำให้ผลงานถูกไหม้ไฟไปประมาณ 50-60 ชิ้น
ครูคำอ้ายตั้งใจจะใช้ที่นี่เป็นโรงเรียนฝึกอบรมและสอนงานศิลปะ โดยเฉพาะงานประติมากรรมไม้แกะสลัก เพื่อสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น  โดยศูนย์ได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสถาบันจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้สนใจติดต่อ โทร. 08 1507 5782, 08 6420 4096 E-mail: salakhanyi@yahoo.com
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 สายงาว-พะเยา เลยตัวอำเภองาวไปประมาณ 20 กิโลเมตร ศูนย์ฯ อยู่ทางขวามือ หากเดินทางจากตัวเมืองลำปางประมาณ 103 กิโลเมตร 


อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท            

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท  มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์ในอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอเมือง งาว  แม่เมาะ และแจ้ห่ม จุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,253 เมตร พื้นที่อุทยานฯ นี้ยังเป็นทางน้ำไหลลง ทางด้านตะวันตกสู่แม่น้ำวัง ทางด้านตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำงาว ซึ่งไหลไปสมทบแม่น้ำยมทางตอนเหนือของอำเภอสอง จังหวัดแพร่
มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส อากาศเย็นที่สุดในเดือนมกราคม ฝนตกหนักในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดีด เป็นต้น


แหล่งโบราณคดีค่ายประตูผา

อยู่บริเวณเดียวกับศาลเจ้าพ่อประตูผา เส้นทางลำปาง-งาว กิโลเมตรที่ ๔๘ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณหน้าผาเทือกเขาหินปูนด้านทิศตะวันออก อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อประตูผา มีภาพเขียนสีที่กล่าวกันว่ายาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุกว่า ๓,๐๐๐ ปี แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม ภาพบางส่วนค่อนข้างลบเลือนหมดแล้ว หลงเหลือพอให้เห็นได้เพียง ๑,๘๗๒ ภาพ ส่วนมากเป็นภาพมือ คน สิ่งของ เครื่องใช้ สัตว์ พืช และภาพเชิงสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการขุดพบหลุมศพ โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ภาชนะดินเผา ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับทางเดินเท้าให้นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมได้ พื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา 


่ศาลเจ้าพ่อประตูผา    
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปางตามเส้นทางสายลำปาง - งาว ประมาณ 50 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 649 - 650 ศาลตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ด้านขวามือ เป็นศาลเล็กๆ ก่ออิฐถือปูน ภายในมีรูปปั้นเจ้าพ่อประตูผาและเครื่องบูชามากมาย บริเวณใกล้เคียงมีศาลพระภูมิเล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ ศาลเจ้าพ่อประตูผานี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สัญจรไปมาบนเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและจุดประทัดถวายเจ้าพ่อประตูผา เดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็ก เป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน เป็นทหารเอกของเจ้าผู้ครองนครลำปาง ครั้งหนึ่งได้ทำการต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูผาจนกระทั่งถูกรุมแทงตายใน ลักษณะถือดาบคู่ยืนพิงเชิงเขา ทหารพม่ากลัวจึงไม่กล้าบุกเข้าไปตีนครลำปาง ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธาและเคารพสักการะโดยตั้งศาลขึ้นบูชาเป็นที่นับถือของชาว ลำปาง

วัดไชยมงคล

ตั้งอยู่ที่ถนนสนามบิน ตำบลหัวเวียง เยื้องกับวัดป่าฝาง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดจองคา พุทธสถานที่เด่นของวัดคือ วิหารเป็น อาคารสีขาว หลังคาเครื่องไม้แบบพม่า หน้าบันประดับกระจกเป็นรูปเทวดา เสาประดับด้วยลวดโลหะสีทองขดเป็นลายเครือเถา ประดับกระจกสีสวยงาม ม่านและระเบียงโดยรอบทำด้วยแผ่นไม้ฉลุฝีมือประณีต ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด มีลักษณะงดงามสร้างจากเมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า


วัดป่าฝาง หรือ วัดศาสนโชติการาม

ตั้งอยู่ที่ถนนสนามบิน ตำบลหัวเวียง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวพม่าที่มาประกอบอาชีพการป่าไม้ในจังหวัดลำปาง งดงามด้วยพระเจดีย์ใหญ่สีทองสุกปลั่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจาก พม่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2449 วิหารเป็นเรือนไม้ทั้งหลังขนาดใหญ่ หลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ แบบพม่า และพระอุโบสถขนาดเล็กหลังคาเครื่องไม้แบบพม่า มีลวดลายเครือเถาปูนปั้นเหนือประตูสวยงาม วัดนี้มีพระสงฆ์พม่าจากเมืองมัณฑะเลย์มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่เสมอ 

 


วัดศรีรองเมือง    

ตั้งอยู่ที่บ้านท่าคร่าวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตเทศบาลเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นวัดพม่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยคหบดีที่ร่ำรวยจากการทำไม้สมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการทำ ป่าไม้ สถาปัตยกรรมที่สำคัญได้แก่ วิหารไม้ซึ่งมีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม 9 ยอด แบบศิลปะพม่า เพดานเป็นลายไม้แกะสลัก และเสากลมใหญ่จำหลักลวดลายประดับด้วยกระจกสี ฝีมือประณีต วิจิตรสวยงาม 


วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่

 

 


สะพานรัษฎาภิเศก

สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลอง      รัษฎาภิเศก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น เป็นสะพานไม้เสริมเหล็กที่ชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่ เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ที่บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน และก่อนถึงสะพานรัษฎาภิเศกมีตลาดรัษฎาเป็นตลาดเช้าที่ใหญ่ที่สุดในลำปาง


สถานีรถไฟนครลำปาง  

สถานีแห่งนี้เปิดรับขบวนรถไฟโดยสารครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ไทยในยุคนั้น สมัยนั้นมีเจ้ากรมรถไฟเป็นวิศวกรชาวเยอรมัน เมื่อแรกเริ่มมีรถไฟสายเหนือ สถานีรถไฟนครลำปางคือจุดสิ้นสุดของเส้นทาง สถานีนี้ตั้งอยู่สุดถนนสุเรนทร์ บริเวณสี่แยกบ้านสบตุ๋ย อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสามสายแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง พื้นที่นาบริเวณชานเมืองมาเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับความเจริญที่เพิ่มทวีมากขึ้น เมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลผ่านภูเขาและไปถึง นครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2464 นครลำปางจึงเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า จากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือ และลำเลียงสินค้าที่จำเป็นจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ส่งผลให้ย่านการค้าสบตุ๋ยแห่งนี้มีการความเจริญอย่างมาก อาคารโบราณเหล่านี้ยังคงหลงเหลือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่คงรายละเอียดของ ความสวยงามไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปางโดยแท้ 


ลำปางรักษ์สมุนไพร   

เลขที่ 177 หมู่ 12 บ้านเขลางค์ทอง ถนนคันเหมือง ตำบลบ่อแฮ้ว จำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอดสารพิษกว่า ๑๕๐ ขนาน ผลิตและบรรจุเอง บริการอบไอน้ำสมุนไพร แช่น้ำสมุนไพร ขัดผิวด้วยสมุนไพร นวดแผนไทย เปิดเวลา 08.00-20.00 น. โทร. 0 5435 0787, 0 5431 3128
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1030 สายลำปาง-ห้างฉัตร ประมาณ กม.ที่ 4 เลี้ยวเข้าซอยโรงเรียนเขลางค์นคร ประมาณ 200 เมตร


อ่างเก็บน้ำวังเฮือ

อยู่ห่างจากตัวเมือง 18 กิโลเมตร บนถนนสายลำปาง-เด่นชัย แล้วเลี้ยวขวาตามถนนเข้าตัวเมืองอีกราว 300 เมตร อ่างเก็บน้ำอยู่ริมถนน เหมาะแก่การแวะพักผ่อนหย่อนใจ ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวเขา มีทิวทัศน์สวยงามโดยเฉพาะยามพระอาทิตย์ตกดิน

 


สวนสาธารณะหนองกระทิง        

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อแฮ้ว จากตัวเมืองข้ามลำน้ำวังไปตามเส้นทางสายลำปาง- ห้างฉัตร ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ใกล้ตัวเมือง ชาวลำปางนิยมมาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเรือถีบ และมีสวนหย่อมสำหรับ  พักผ่อน มีร้านอาหารและเครื่องดื่มบริการ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.


เขื่อนกิ่วลม          

อยู่ที่ตำบลบ้านแลง ห่างจากตัวเมืองไป 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลำปาง -งาว โดยแยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 623 - 624 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 14 กิโลเมตร เขื่อนกิ่วลมอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท แต่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน มีความสูง 26.50 เมตร ยาว 135 เมตร สันเขื่อนกว้าง 5.35 เมตร กักเก็บน้ำได้ 3,600 ลูกบาศก์เมตร/วินาที บริเวณเหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำเหมาะแก่การล่องเรือหรือแพ เพราะมีทัศนียภาพสวยงาม การล่องแพใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวัน มีสถานที่น่าสนใจ เช่น แหลมชาวเขื่อน ผาเกี๋ยง ผางาม ทะเลสาบสบพุ หมู่บ้านชาวประมงบ้านสา ฯลฯ ติดต่อบริการล่องแพได้ที่บริเวณเขื่อน
หน่วยงานราชการสามารถเข้าพักที่บ้านพักรับรองของกรมชลประทาน  โดยมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน สอบถามรายละเอียดติดต่อโครงการบริหารเขื่อนกิ่วลม โทร. 0 5422 3772

สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปหากต้องการพักค้างคืนสามารถทำได้สองลักษณะ คือ
1.   ล่องแพไปพักที่แพชาวเขื่อน-กิ่วลมรีสอร์ท ซึ่งมีที่พักเป็นบังกะโลตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลสาบ  โทร. 0 9263 6897, 0 5433 4393 (หลัง 18.00 น.), 0 5422 3772 ต่อ 120   (ค่าเช่าเรือทั้งวัน 2,000 บาท จุได้ 10 คน)
2.   ล่องแพและค้างคืนบนแพวังแก้ว ซึ่งเป็นแพติดเครื่องยนต์ หรือค้างคืนที่เกาะวังแก้วรีสอร์ท ติดต่อได้ที่  โทร. 0 5422 3733, 0 5421 9355, 08 9854 1293

รถประจำทาง ขึ้นรถประจำทางได้ที่ท่ารถประตูชัยโดยรถเข้าไปจอดถึงในตัวเขื่อน ค่าโดยสารคนละ ๓๐ บาท หรือหากจะต้องเช่าเหมามาจากอำเภอเมืองลำปาง ราคา ๓๐๐-๔๐๐ บาท


พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง อยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง อยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรงไทยแบบจตุรมุข ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง อยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะผสมรมดำทั้งองค์ ปางสมาธิ ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อดำ จัดสร้างโดยกรมการรักษาดินแดนเมื่อปี พ.ศ. 2511 มี 4 องค์ เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ 4 ทิศของประเทศ โดยทางทิศเหนือได้นำมาประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดลำปาง นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ปิดทองเกือบทั้งองค์โดยสาธุชนที่มานมัสการ 


วัดพระธาตุเสด็จ 
ตั้งอยู่ที่บ้านเสด็จ ตำบลเสด็จ ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางลำปาง-งาว ประมาณ 19 กิโลเมตร แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 617-618 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร วัดพระธาตุเสด็จเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี อุโบสถและวิหารต่าง ๆ เช่น วิหารโคมคำ (วิหารพระพุทธ) วิหารจามเทวี ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมดแต่ยังคงสภาพศิลปะโบราณให้เห็นได้อยู่จนปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว
พุทธสถานที่สำคัญคือ องค์พระธาตุเสด็จ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์แบบล้านนา ลักษณะคล้ายพระธาตุลำปางหลวงแต่องค์เล็กกว่า นอกจากนี้ยังมีวิหารใหญ่ เรียกว่า “วิหารกลาง” ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางลีลาองค์ใหญ่มีพุทธลักษณะงดงามนามว่า “หลวงพ่อห้ามญาติ” วิหารหลวง เรียกว่า “วิหารจามเทวี” ประดิษฐานพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน และวิหารพระพุทธประดิษฐาน “พระเจ้าดำองค์อ้วน” พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
นอกจากนี้ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุ จัดแสดงพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ พระคำภีร์ใบลาน

วัดม่อนพญาแช่ หรือพระยาแช่   
ตั้งอยู่ที่ตำบลพิชัย บนเส้นทางสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร   ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 และเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 605 เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร มีพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดลำปางได้ อย่างชัดเจน ทางวัดได้พัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและร่วมกับสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง จัดให้เป็น วนอุทยานม่อนพญาแช่  อยู่ก่อนถึงวัดม่อนพญาแช่ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งที่ทำการวนอุทยานฯ เป็นจุดชมวิว และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางอุทยานได้จัดให้มี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้จัดเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะพบเฟริน์ชนิดต่าง ๆ และสามารถพักแรมได้ แต่ต้องไปเป็นหมู่คณะ โดยติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. 0 5422 6828 

บ่อน้ำแร่บ่อน้ำร้อน

ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านโป่งร้อน ตำบลใหม่พัฒนา  ห่างจากตัวอำเภอเกาะคา 12 กิโลเมตร  ตามถนนสายเกาะคา-ห้างฉัตร  มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ น้ำร้อนอุณหภูมิสูงสามารถต้มไข่สุกได้ อยู่ในความดูแลของ อบต. มีการจัดระบบสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงภูมิทัศน์สวยงาม บริการห้องอาบน้ำแร่และห้องแช่น้ำร้อน เป็นสัดส่วนถูกสุขลักษณะ เปิดเวลา 08.00 - 20.00 น. ห้องอาบน้ำแร่ 1 ห้อง อาบได้จำนวน 5 คน ราคา 40 บาท


วัดประตูป่อง

ตั้งอยู่ที่ถนนป่าไม้ ตำบลเวียงเหนือ เจดีย์วิหารสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยเจ้าญาณรังษี ผู้ครองนครลำปาง โบสถ์เป็นฝีมือช่างสิบสองปันนา มีศิลปะลายจีนผสม วัดนี้มีสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ประตูเมืองโบราณ (ประตูป่อง) มีซากหอรบสมัยพระยากาวิละครองนครลำปาง เป็นปราการต่อสู้ทัพพม่าครั้งสำคัญ เมื่อ พ.ศ.2330 ในฝั่งเมืองด้านเหนือนี้เป็นที่ตั้งค่ายพม่าที่ยกพลมาล้อมเมือง ห่างจากที่ตั้งเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร


ถนนตลาดเก่า หรือ ถนนตลาดจีน        

ถนนตลาดเก่า หรือ ถนนตลาดจีน หรือ กาดกองต้าถนนคนเดิน  เป็นตลาดตรอกท่าน้ำวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตลาดมีความรุ่งเรืองมาก ชุมชนที่เข้ามาทำธุรกิจ เช่น อังกฤษ พม่า และจีน โดยเฉพาะชาวจีนทำการค้ามากที่สุดจนกลายเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหย่ จึงมีชื่อเรียกว่า ถนนตลาดจีน ร้านค้าบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างยุโรป และจีน ทั้งอาคารไม้และอาคารตึกปนไม้ที่สวยงามยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่ 


ตลาดรัษฎา

อำเภอเมือง จ.ลำปาง หรือตลาดหัวขัว อยู่ตีนสะพานรัษฎา เป็นตลาดเช้าที่คึกคักและใหญ่ที่สุดในลำปาง ติดตลาดกันแต่เช้ามืดจนถึงเก้าโมงเช้า มีของขายมากมายทั้งกับข้าวพื้นเมือง ขนมพื้นบ้าน ผลไม้ ของสดตามฤดูกาล เช่น ผักแปลกๆ แมลง เห็ด รวมทั้งของฝากไม่ว่าจะเป็นไส้อั่ว ข้าวแต๋น แคบหมู หมูยอ ตอนเย็นจะมีร้านมาขายบ้าง ส่วนใหญ่เป็นขนม และกับข้าวสำเร็จรูป


บ้านเสานัก   

ตั้งอยู่ที่เลขที่ 6 ถนนป่าไม้ เป็นบ้านไม้ที่มีเสาไม้สักมากถึง 116 ต้น จึงเรียกว่าบ้านเสานัก (ตามภาษาพื้นเมือง นัก มีความหมายว่า มาก) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 โดยหม่องจันโอง ต้นตระกูลจันทรวิโรจน์ ลักษณะศิลปะพม่าผสมล้านนาเป็นบ้านไม้สักทรงไทย หลังคาและดครงสร้างเป็ฯแบบล้านนา ส่วนพาไลย์ (ระเบียง) รอบบ้านแสดงความเป็นพม่า ประกอบด้วยเรือนใหญ่ ซึ่งเป็นเรือนหมู่ มีเสาไม้สักรองรับน้ำหนักบ้านถึง 116 ต้น หน้าบ้านมีต้นสารภี อายุ 140 ปี แต่เดิมบ้านเสานักเป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  และใช้เป็นสถานที่จัดขันโตกและงานพิธีมงคล ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมบ้านและของสะสมต่าง ๆ ให้เข้าชมได้ทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชมพร้อมเครื่องดื่ม 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.     0 5422 4636, 0 5422 7653, 08 6910 7428


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตั้ง

อยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ลำปางด้านตะวันตกเฉียงใต้ หลักเมืองทำด้วยไม้สัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยหลักที่หนึ่งสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2400 หลักที่สอง พ.ศ. 2416 และหลักที่สาม พ.ศ. 2429 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 เมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น ได้นำหลักเมืองมาไว้ที่บริเวณหน้าศาลากลาง และได้มีการสร้างมณฑปครอบหลักเมืองทั้งสามในปี พ.ศ. 2511 เปิดทุกวันเวลา 06.00 - 17.00 น.


เหมือง ลิกไนต์     
เป็นแหล่งถ่านหินซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2460 มีปริมาณถึง 630 ล้านตัน และมีอายุประมาณ 40 ล้านปี พื้นที่เหมืองทั้งหมดเป็นของกรมป่าไม้ มีประมาณ 20,000 ไร่ สามารถใช้ได้อีกประมาณ 50 ปี บริเวณเหมืองมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงตั้งอยู่หลายโรง ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปบริเวณขุดเจาะถ่านหินเพราะมี อันตรายจากวัตถุระเบิดที่ใช้ทำเหมือง แต่ กฟผ. ได้จัดทำจุดชมวิวซึ่งเป็นสวนหย่อม ตกแต่งปลูกไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ บริเวณด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ และด้านหลังอาคารนันทนาการ สามารถมองเห็นการทำงานของรถขุดตักแร่ซึ่งอยู่ห่างออกไปเบื้องล่างได้เป็นมุม กว้าง  
พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านลิกไนท์ศึกษา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ผู้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สงวนแหล่งถ่านลิกไนท์ที่แม่เมาะไว้ในราชการ ยังประโยชน์ต่อประเทศชาติจนถึงปัจจุบัน  เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ เวลา 8.30 – 16.30 น. ภายในมีห้องจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 7  ห้องจัดแสดงการกำเนิดถ่านหิน  ความรู้ทางธรณีวิทยาและซากบรรพชีวินที่ขุดพบในเหมืองแม่เมาะ นิทรรศการประวัติความเป็นมาของเหมืองแม่เมาะ เทคโนโลยีการทำเหมืองและการผลิตกระแสไฟฟ้านำเสนอด้วยรูปแบบเทคโนโลยีที่น่า สนใจ จัดแสดง 4 รอบ ตั้งแต่เวลา 09.00 น., 10.30 น., 13.00 น. และ 14.30 น.  ติดต่อเข้าชม โทร. 0 5425 9305 
ส่วนบริเวณด้านตะวันออกของเหมืองซึงเป็นพื้นที่ทิ้งดินจากการทำเหมืองทำเป็น ทุ่งบัวตองบริเวณกว้างจะบานในช่วงราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ในบริเวณเหมือง มีบ้านพักรับรองของ กฟผ.แบบบังกะโล จำนวน 14ห้อง ราคา 600 บาท และแบบห้องพัก จำนวน 20 ห้อง ราคา 400 บาท สนามซ้อมกอล์ฟ สนามกอล์ฟ ขนาด 18 หลุม และสโมสร สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โทร. 0 5525 2730-1, 0 5525 2724 และที่ฝ่ายโรงจักร โทร. 0 5425 5311  
การเดินทาง ไปตามถนนสายลำปาง-เด่นชัย เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ไปจนถึงแยกผาลาดแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร สามารถเช่ารถสองแถวซึ่งจอดอยู่บริเวณตลาดบริบูรณ์ในตัวเมือง หรือที่สี่แยกร้านขายยาไทยโอสถ ถนนทิพวรรณ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที

 
 
 
 
   

ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ

ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา

ไหว้พระ 9 วัด อ่างทอง

ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

ไหว้พระ 9 วัด นครปฐม

ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี

ไหว้พระ 9 วัด สิงห์บุรี

ไหว้พระ 9 วัด เพชรบุรี

ไหว้พระ 9 วัด น่าน

ไหว้พระ 9 วัด ลำปาง

ไหว้พระ 9 วัด ลำพูน

ไหว้พระ 9 วัด เชียงใหม่

ไหว้พระ 9 วัด แม่ฮ่องสอน