WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ถ้ำพระขยางค์

เดิมชื่อถ้ำเขาหยั่ง อยู่ในเทือกเขาเขตตำบลลำเลียง ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระบุรี 18 กิโลเมตร โดยมีทางแยกซ้ายจากถนนเพชรเกษม (ระนอง-ชุมพร) ที่ กิโลเมตร 563-564 เข้าไป 1 กิโลเมตร ถ้ำพระขยางค์เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีตำนานเก่าแก่ที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองกระบุรี จากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 40 เมตร มีบันไดขึ้นสู่ด้านบน สามารถทะลุออกภายนอกซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อกันว่า มีการนำเอาสมุนไพรที่หายากมาปลูกไว้ การเที่ยวชมควรเตรียมเทียนไข หรือไฟฉายพกติดตัวไปด้วย บรรยากาศภายในถ้ำค่อนข้างอับชื้น ส่วนหนึ่งอาจมีผลมาจากมูลของค้างคาว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจะมีการจัดเทศกาลงานปิดทองพระบริเวณ ถ้ำพระขยางค์ เป็นเวลา 3-7 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเข้าชมความสวยงามของถ้ำตลอดจนสมุนไพรต่างๆ ที่อยู่บนเขา


เกาะช้าง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพยาม อยู่ห่างจากเกาะพยามประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชาวบ้านอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 80 ครอบครัว ซึ่งอพยพมาจากเกาะพะงัน เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคกลาง กว่า 30 ปีมาแล้ว ด้านทิศตะวันออกของเกาะไม่มีหาดทราย แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนและมีชาวเล เผ่ามอแกน มาอาศัยอยู่เป็นบางครั้ง


อุทยานแห่งชาติแหลมสน
ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2526 มีเนื้อที่ทั้งหมด 196,875 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ริมทะเลตั้งแต่ ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง ลงไปทางใต้ ผ่านตำบล.ม่วงกลาง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหัน ตำบลนาคา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เลยไปถึง ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และครอบคลุมถึงเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามันคือ เกาะค้างคาว หมู่เกาะกำ สำหรับที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่หาดบางเบน หมู่ที่ 4 ต.ม่วงกลาง ห่างจากจังหวัดระนองไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ระนอง-พังงา) ระยะทาง 45 กิโลเมตร และห่างจาก อำเภอกะเปอร์  6 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 657 จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังประมาณ 10 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว

อยู่ในเขตอำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และอำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อุทยานฯ มีเนื้อที่ประมาณ 417,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2542  มีสภาพป่าสมบูรณ์ สิ่งที่น่าสนใจในอุทยานฯ คือ น้ำตกหงาว เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากสันเขาสูงชัน   สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ช่วงที่มีน้ำมากที่สุดคือเดือนมิถุนายน สัตว์ที่น่าสนใจที่พบได้บริเวณน้ำตกหงาวได้แก่ ปูเจ้าฟ้า  ลักษณะเด่นของปูเจ้าฟ้าคือ ลำตัวและก้ามเป็นสีขาว ขาเดินทั้งสี่คู่ เบ้าตาทั้ง 2 ข้าง และบริเวณปากเป็นสีม่วงดำ อาศัยอยู่ตามใต้ซอกหินหรือใต้ใบไม้บริเวณสองข้างทางลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงจากน้ำตก โดยเฉพาะในฤดูฝน สอบถามข้อมูลได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว  ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 โทร. 0 7784 8181
การเดินทาง  จากตัวเมืองระนองไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (สายระนอง-ราชกรูด) ระยะทางประมาณ  13 กิโลเมตร จากนั้นจะมีทางแยกซ้ายมือไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการฯ


เขาฝาชี
ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางแก้ว เป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายกับฝาชี สูงจากระดับน้ำทะเล 259 เมตร บนยอดเขาเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์สวยงาม พระอาทิตย์อัสดง สามารถมองเห็นแม่น้ำกระบุรีไหลบรรจบกับแม่น้ำละอุ่น เกาะแก่งต่างๆ เป็นภาพที่สวยงามสดใสมีชีวิตชีวา ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นที่ตั้งฐานทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหลักฐานสำคัญคือ ซากเรือรบ อุโมงค์ใต้ดิน แนวทางรถไฟ

ศิลาสลักพระปรมาภิไธย

เป็นสถานที่สำคัญด่านแรกของจังหวัดระนอง ตามเส้นทางจากกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในเขตตำบลปากจั่น (ตรงข้ามโรงเรียนบ้าน จปร.) กิโลเมตรที่ 525 ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ห่างจากตัวเมืองระนอง 86 กิโลเมตร อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “หินสลักพระปรมาภิไธย จปร.” ของรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงจารึกไว้ ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาส โดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้หมู่ที่ 1 ตำบลปากจั่น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2433 และหินสลักพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ สก. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมทั้งพระนามาภิไธยย่อ สธ. ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงจารึกไว้ครั้งที่เสด็จประพาสจากชุมพรโดยรถยนต์มาทรงเยี่ยมประชาชน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2502


ภูเขาหญ้าหรือเขาหัวล้าน หรือเขาผี
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว จากเขตเทศบาลเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ระนอง-พังงา) ประมาณ 13 กิโลเมตร เขาหัวล้านหรือเขาผีนี้ เป็นภูเขาที่ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้น ในฤดูฝนมีหญ้าสีเขียวขึ้นปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ บางครั้งจึงเรียกว่า ภูเขาหญ้า ที่ราบเชิงเขามีทางเดินเท้าสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นสู่บนสันเขาเพื่อชม ทิวทัศน์โดยรอบ


สวนรุกขชาติป่าชายเลน
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองลำเลียง-ละอุ่น รัฐบาลให้เอกชนเป็นผู้รับสัมปทาน มีกำหนด 15 ปี ป่าชายเลนโครงการคลองละอุ่น เริ่มดำเนินการปลูกพรรณไม้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2526 ในปี 2528 ได้ปรับปรุงให้เป็นสวนรุกขชาติป่าชายเลน สร้างทางเดินเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาทัศนศึกษา ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร พรรณไม้ป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าว มีประมาณ 25 ชนิด

วิคตอเรียพอยท์ หรือเกาะสอง 
เป็นดินแดนในฝั่ง สหภาพพม่า ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับประเทศไทย โดยมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางตรงตัวจังหวัดระนองพอดี นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปชมหรือซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น พลอย เครื่องหวาย เครื่องเขินพม่า เครื่องประดับทำจากเปลือกหอยและงาช้าง ฯลฯ สามารถเช่าเรือหางยาวจากท่าสะพานปลาในอัตราลำละ 200-300 บาท ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 20 นาที อนุญาตให้ข้ามไปเที่ยวได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ต้องทำบัตรผ่านแดนก่อน โดยติดต่อด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง ถนนสะพานปลา โทร. 0 7782 2016, 0 7781 2331 โทรสาร 0 7782 1216 หรือจะเดินทางไปกับทัวร์ของจันทร์สมแทรเวิล โทร. 0 7783 5317-8 หรือติดต่อที่ อันดามัน คลับ โทร. 0 7783 0461-3, 0 77831227-30  โปรแกรมทัวร์เกาะสองใช้เวลาครึ่งวัน ราคาประมาณ 800 บาท ต้องเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 3 รูปและสำเนาบัตรประชาชน 1 ชุดไปด้วย

พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง)
เป็นพระราชวังที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จประทับแรมจังหวัด ระนองของพระมหากษัตริย์ ๓ พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๓) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๒) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๗๑) และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดระนอง ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขารัตนรังสรรค์ (ใกล้ศาลากลางจังหวัดระนอง) ตำบลเขานิเวศน์ เป็นพระราชวังที่ทำด้วยไม้สักและไม้ตะเคียนทอง

บ่อน้ำร้อน-สวนสาธารณะรักษะวาริน  

อยู่ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4005 ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 2 กิโลเมตร ในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสเมืองระนอง ได้พระราชทานชื่อถนนที่จะไปยังบ่อน้ำร้อนว่า “ถนนชลระอุ” บ่อน้ำร้อนซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินี้มีอยู่ 3 บ่อ คือ บ่อพ่อ บ่อแม่และบ่อ ลูก ทั้ง 3 บ่อมีอุณหภูมิสูงประมาณ 65 องศาเซลเซียส สามารถใช้ดื่มและอาบได้ มีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่การบำบัดรักษาสุขภาพ นอกจากนี้ยังถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ จึงเป็นแหล่งหนึ่งที่นำไปผ่านพิธีพุทธาภิเษก ทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้เป็นน้ำพระพุทธมนต์ในคราวพระราชพิธีฉลองพระ ชนมพรรษา ครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นบริเวณใกล้ ๆ บ่อน้ำร้อนได้จัดเป็นสวนสาธารณะ “รักษะวาริน” มีศาลาที่พักและห้องอาบน้ำร้อนไว้บริการด้วย


น้ำตกปุญญบาล

เดิมชื่อน้ำตกเส็ดตะกวด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน ริมทางหลวงหมายเลข 4 ทางไปจังหวัดชุมพร กิโลเมตรที่ 597 จะเห็นน้ำตกอยู่ด้านขวามือ สูงประมาณ 20 เมตร เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวแวะพักผ่อน มีบริเวณที่จอดรถ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก

 

 

 


หาดชาญดำริ

อยู่ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนองไปตามทางหลวงหมายเลข 4004 (ระนอง-ปากน้ำ) ระยะทาง 9 กิโลเมตร หรือห่างจากสุสานเจ้าเมืองระนอง 8 กิโลเมตร ก่อนถึงหาดชาญดำริประมาณ 200 เมตร จะเป็นเนินเขาสูง สามารถชมทิวทัศน์ของชุมชนปากน้ำระนอง และเกาะสองหรือวิคตอเรียพอยท์ของฝั่งพม่า ตลอดจนเกาะแก่งอื่นๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำกระบุรีและยังเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถชมพระ อาทิตย์ตกได้อย่างดี หาดชาญดำริมีท่าเทียบเรือสำหรับเรือท่องเที่ยวซึ่งบริการนำเที่ยวไปยังเกาะ แก่งต่างๆ ของระนองในทะเลอันดามันด้วย


คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ

อยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลละมุ กิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงหมายเลข 4 ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยมีระยะจากฝั่งทะเลทางตะวันตกจรดตะวันออก กว้างเพียง 44 กิโลเมตร มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลองแผนที่แสดงจุดที่ตั้งของคอคอดกระ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมากแห่งหนึ่งของจังหวัด ระนอง และยังสามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ซึ่งแบ่งพรมแดนไทย-พม่า ได้อย่างชัดเจน


อนุเสาวรีย์เจ้าเมืองระนอง

ตั้งอยู่บริเวณสนามฝั่งตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองระนอง จัดสร้างเสร็จเมื่อปี 2543 โดยเทศบาลเมืองระนอง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวระนองมาก ควรจะไปเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อมาเยือนเมืองระนอง

 


เกาะพยาม  

ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพยาม ห่างจากปากน้ำระนองประมาณ 33 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือ 1-2 ชั่วโมง เกาะพยามเป็นแหล่งปลูกมะม่วงหิมพานต์ หรือกาหยู ที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด บนเกาะมีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร มีป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของนกเงือกที่พบเห็นได้ง่าย  มีชายหาดที่สวยงามขาวสะอาดหลายแห่ง ได้แก่ อ่าวใหญ่ และอ่าวเขาควาย ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ และเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทหลายแห่ง ส่วนอ่าวแม่ม่ายซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นท่าเทียบเรือ มีร้านค้าต่าง ๆ และเกสท์เฮ้า  บนเกาะมีมอเตอร์ไซค์ให้เช่า และมีเรือเช่าเที่ยวรอบเกาะ ไปดำน้ำเกาะขามซึ่งอยุ่ใกล้กัน รวมทั้งสามารถเช่ามอร์เตอร์ไซค์ให้ไปส่งตามรีสอร์ทที่หาดต่าง ๆ ได้ 

การเดินทาง จากท่าเรือไปเกาะพยาม ตำบลปากน้ำ ใกล้กับสะพานปลา มีบริการเรือโดยสารขนาด 60 คน ไปยังเกาะพยามวันละ 2 เที่ยว เที่ยวเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. ส่วนเที่ยวบ่ายเรือออกเวลา 14.00 น. ค่าเรือโดยสารคนละ 150 บาท เที่ยวกลับเรือออกจากท่าเรืออ่าวแม่ม่ายบนเกาะพยามเวลา 9.30 น. และ 14.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีเรือเร็วบริการใช้เวลาประมาณ 30 นาที ติดต่อเรือเร็วของเกาะพยามรีสอร์ท ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. 0 7781 2297, 0 1219 2677 หรือติดต่อบริการนำเที่ยวเป็นหมู่คณะของโรงแรมจันทร์สมธารา สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 0 2946 3639, 0 2946 3720 สำนักงานระนอง โทร. 0 7782 1511   ส่วนการคมนาคมบนเกาะมีเพียงเส้นทางสำหรับมอร์เตอร์ไซค์เท่านั้น

นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะพยามยังมีเกาะอีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งตกปลา เช่น เกาะสินไห เกาะช้าง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเช่าเหมาเรือจากปากน้ำระนอง ท่าเรือสะพานปลาได้เช่นเดียวกัน


สุสานเจ้าเมืองระนอง  
ตั้งอยู่ด้านขวามือของทางหลวงหมายเลข 4004 (ระนอง-ปากน้ำ) ห่างจากเขตเทศบาลเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสุสานแบบจีนฝังศพของพระยารัตนเศรษฐี(คอชู้เจียง) เจ้าเมืองระนองคนแรก บริเวณสุสานซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 บริเวณสุสานปูด้วยศิลา 3 ชั้น สองข้างมีตุ๊กตาแกรนิตโบราณนำมาจากประเทศจีน ประกอบด้วยรูปขุนนางจีนฝ่ายบู๊ฝ่ายบุ๋นรูปม้า รูปแพะ รูปสิงห์โต

ิน้ำตกชุมแสง หรือ น้ำตกสายรุ้ง  
อยู่ ที่บ้านปากจั่น ตำบลปากจั่น ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนองและตัวอำเภอกระบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ทางไปจังหวัดชุมพร) เป็นระยะทาง 80 และ 16 กิโลเมตร ตามลำดับ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 529-530 (ด้านตรงข้ามกับทางเข้าสู่นิคมสร้างตนเองบ้านปากจั่น) จะมีทางแยกซ้ายมือเป็นถนนลูกรังเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกชุมแสง จะมีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน น้ำจะไหลกระแทกกับโขดหินแล้วกระจายออกเป็นสายดูคล้ายสายรุ้ง จึงทำให้ชาวบ้านมักจะเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกสายรุ้ง”น้ำตกชุมแสง หรือ น้ำตกสายรุ้ง อยู่ที่บ้านปากจั่น ตำบลปากจั่น ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนองและตัวอำเภอกระบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ทางไปจังหวัดชุมพร) เป็นระยะทาง 80 และ 16 กิโลเมตร ตามลำดับ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 529-530 (ด้านตรงข้ามกับทางเข้าสู่นิคมสร้างตนเองบ้านปากจั่น) จะมีทางแยกซ้ายมือเป็นถนนลูกรังเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกชุมแสง จะมีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน น้ำจะไหลกระแทกกับโขดหินแล้วกระจายออกเป็นสายดูคล้ายสายรุ้ง จึงทำให้ชาวบ้านมักจะเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกสายรุ้ง”

น้ำตกบกกราย   

ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำจืด ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ระนอง-ชุมพร) ประมาณ 54 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 556-557 จะมีป้ายชี้ทางไปน้ำตกบกกราย ประมาณ 13 กิโลเมตร สภาพถนนไม่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และจากบริเวณสุดทางของถนนต้องเดินเท้าต่อ ผ่านพื้นที่ทำไร่และป่าชื้น ระยะทางประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตก น้ำตกบกกรายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา 

 จากอำเภอกะเปอร์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ทางไปพังงา) ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 685-686 เลี้ยวซ้ายตามป้ายอีก 200 เมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และมีน้ำตกสวยงามคือ น้ำตกพันเมตร เนื่องจากมิได้เปิดให้ท่องเที่ยวเหมือนอุทยานแห่งชาติ การทัศนศึกษาจะต้องทำจดหมายขออนุญาตเข้าพักแรมในพื้นที่ ถึงผู้อำนวยการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2579 9446 และเมื่อได้รับจดหมายตอบอนุมัติ จากนั้นนำจดหมายแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำที่ป่าคลองนาคา ควรติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน


อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี

130/1หมู่ 3 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัด ระนอง โทร. 08-6120-6970 0-7787-0238 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ
: นายวิรัตน์ จันทโชติกุล อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งทะเลอันดามัน ในท้องที่อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 29 ก ลงวันที่ 21 เมษายน 2542
ครอบคลุมพื้นที่ 160 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับประเทศสหภาพพม่าทางด้านทิศตะวันตก
โดยมีแม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นแบ่งกั้นของประเทศทั้งสอง พื้นที่ประมาณ 64 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 40 ของพื้นที่ ในแม่น้ำมีเกาะจำนวน 6


ตำหนักเขาน้อย  
ตั้งอยู่เชิงเขาน้อยทางทิศใต้ ถนนสะเดา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ายุคลฆัมพร (กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) เมื่อครั้งมาดำรงตำแหน่งสมเด็จอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรม ราชินีนาถฯ ในคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้ เมื่อเดือนมีนาคม 2502 ปัจจุบันใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัด

บ้านทะเลนอก  
เป็นชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลาม มีวิถีชีวิตความเป็น อยู่ที่พึ่งพิงธรรมชาติในป่าชายเลนและอยู่อย่างพอ เพียง โดยชุมชนสามารถบริหารจัดการแหล่งท่อง เที่ยวได้เป็นอย่างดี มีการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ นัก ท่องเที่ยวสามารถศึกษาเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตชุมชน ศึกษา ระบบนิเวศป่าชายเลน และประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงนิเวศได้หลากหลาย ทำให้ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากโครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ติดต่อ 2/5 หมู่ที่ 1 ต.กำพวน  อ.สุขสำราญ จ.ระนอง โทรศัพท์ 08 7384 8437

วัดสุวรรณคีรี (วัดหน้าเมือง)  
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง ไปตามถนนหมายเลข 4004 (สายระนอง-ปากน้ำ) เป็นวัดเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี ในวัดมีเจดีย์ศิลปะพม่าสูง 10 เมตร มีอายุกว่า 70 ปี สร้างโดยชาวพม่า ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องลวดลายงดงามมาก และมีหอระฆังลายแมว

ุวัดหาดส้มแป้น  

ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลหาดส้มแป้น ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนองไปตามทางหลวงหมายเลข 4005 (ถนนชลระอุ) เป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร หรือห่างจากสวนสาธารณะรักษะวาริน 6 กิโลเมตร สิ่งน่าสนใจภายในวัดหาดส้มแป้นคือ ปลาพลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ในคลองหาดส้มแป้น ไม่มีผู้ใดจับปลาดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ ในบริเวณวัดมีศาลาริมน้ำสำหรับให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลา และวัดหาดส้มแป้นยังเป็นที่ตั้งของศาลาที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระภิกษุที่ประชาชนในภาคใต้ให้ความเคารพนับถือมาก ซึ่งได้มรณะภาพที่วัดหาดส้มแป้นนี้


ศูนย์วิจัยป่าชายเลน  
 อยู่ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ 15 กิโลเมตร ป่าชายเลนหงาวเป็นแหล่งเกิดและเติบโตของสัตว์ทะเลนานาชนิด ก่อนที่จะแข็งแรงและอาศัยหากินในทะเล ที่ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาวได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้นำชมธรรมชาติ ทั้งพรรณไม้ป่าและสัตว์ป่า การทัศนศึกษาในเขตป่าชายเลนนี้ ต้องทำจดหมายถึงหัวหน้าศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว หมู่ที่ 4 บ้านล่าง ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 หรือสำนักงานป่าไม้จังหวัด โทร. 0 7784 8392