เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา หรือสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ ส่วนที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ สัตว์ป่าและนกหายากนานาชนิด และเป็นที่อาศัยของคนป่าเผ่าซาไก มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในแนวรอยต่อระหว่างจังหวัดยะลาและนราธิวาส เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำในเขื่อนบางลาง นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมธรรมชาติของขุนเขา ป่าไม้และสายน้ำ โดยติดต่อเช่าเรือได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 ถนนสุขยางค์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจกิจกรรมศึกษาธรรมชาติให้ทำหนังสือล่วงหน้าถึงที่ ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ล่วงหน้า 15 วัน ที่ตู้ ป.ณ.3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อำเภอเบตง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เบตง มาจากภาษามลายู แปลว่า ไม้ไผ่ เป็นอำเภอที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ห่างจากตัวเมืองยะลาเป็นระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 โดยเฉพาะเส้นทางช่วงระหว่างอำเภอธารโต-เบตง เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบ ป่าไม้และสวนยาง ตัวเมืองเบตงตั้งอยู่ในโอบล้อมของขุนเขาอากาศเย็นสบาย มีฝนตกชุก และมักมีหมอกปกคลุมในยามเช้า จนได้รับสมญานามว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม” เป็นอำเภอใหญ่ที่มีความเจริญ ชาวมาเลเซียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกตัวเมืองมากมาย การเดินทางจากอำเภอเมืองยะลาไปเบตง มีบริการรถตู้หรือแท็กซี่ คิวรถตู้อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟยะลา รถออกทุก 1 ชั่วโมงระหว่างเวลา 6.00 - 17.00 น. หากเดินทางจากหาดใหญ่ มีบริการรถตู้ปรับอากาศไปยะลาและเบตง รถออกเวลา 8.00 น. 10.00 น. และ 13.00 น. หากเดินทางจากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปยังยะลาและเบตง ติดต่อสถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำตกธารโต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำตกละอองรุ้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอ ใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขื่อนบางลาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิด กั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน บางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2206 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2209, 2205 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตั้งอยู่บนเนินเขาในตัวเมืองเบตง บริเวณวัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ลักษณะเจดีย์ก่อสร้างแบบศรีวิชัยประยุกต์ สีทองอร่าม สูง 39.9 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา จากเจดีย์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงอีกมุมหนึ่งได้สวยงาม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บ่อน้ำร้อนเบตง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินใน หมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง 5 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 410 มีทางแยกขวาไปอีก 8 กิโลเมตร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน 7 นาที มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรค ผิวหนังได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
้อุทยานแห่งชาติบางลาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง มีเนื้อที่ 163,125ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 พื้นที่อุทยานบางส่วนครอบคลุมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เนื่องจากในอดีตเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ มลายา (จคม.) และขบวนการพูโลในอดีต ผืนป่าจึงยังคงความสมบูรณ์และปราศจากการสำรวจมาเนิ่นนาน ความหลากหลายทางพรรณไม้ในผืนป่าบางลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี คลองโต๊ะโมะ คลองฮาลา และคลองบ้านเจ็ด เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น กระซู่ สมเสร็จ นกเงือกหัวแรด นกขนหิน และสัตว์ป่าอื่น ๆ อีก หลายชนิด อุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น เขื่อนบางลาง น้ำตกฮาลาซะ น้ำตกธารโต และน้ำตกละอองรุ้ง ซึ่งแต่ละแห่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุทยาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมือง ให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุโมงค์ปิยะมิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อยู่ที่บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนและน้ำตกอินทสร แต่อยู่เลยบ่อน้ำร้อนไปอีก 4 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2)อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอุโมงค์คดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 1 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 50-60 ฟุต ใช้เวลาในการขุด 3 เดือน มีทางเข้าออกหลายทาง ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศและสะสมเสบียง บริเวณนี้จัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตภายในป่า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งของเบตง เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 น-16.30 น.
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ.1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตั้งอยู่ถนนพิพิธภักดี หน้าศาลากลางจังหวัดยะลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2505 ภายในศาลประดิษฐานยอดเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 เซนติเมตร วัดโดยรอบที่ฐาน 43 นิ้ว ที่ปลาย 36 นิ้ว พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่น สวยงาม และจะมีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ระหว่างวันที่ 25–31 พฤษภาคม ของทุกปี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มัสยิดกลางจังหวัดยะลา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นมัสยิดใหญ่ประจำจังหวัดยะลา มัสยิดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2527 เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สอดแทรกเส้นกรอบทรงสุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน ด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง สูงประมาณ 30 ขั้น ทอดสู่ลานชั้นบน หลังคาทรงสี่เหลี่ยมมีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|