WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ถ้ำสุมโน

อยู่ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษม (สายพัทลุง-ตรัง) ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำห่างจากถนนประมาณ 500 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยและมีห้องโถงกว้างขวางใหญ่โตและร่มเย็นวิจิตร ตระการตาตามธรรมชาติซึ่งมีทั้งหมด 18 ถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์ บริเวณถ้ำยังเป็นสถานที่วิปัสสนาและปฏิบัติธรรมอีกด้วย

 

 


ทะเลบัวแดง ทะเลน้อย

อยู่ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษม (สายพัทลุง-ตรัง) ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำห่างจากถนนประมาณ 500 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยและมีห้องโถงกว้างขวางใหญ่โตและร่มเย็นวิจิตร ตระการตาตามธรรมชาติซึ่งมีทั้งหมด 18 ถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์ บริเวณถ้ำยังเป็นสถานที่วิปัสสนาและปฏิบัติธรรมอีกด้วย


น้ำตกไพรวัลย์ 

ตั้งอยู่ในหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลคลองเฉลิม เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เงียบสงบร่มเย็นด้วยพรรณไม้นานาชนิด บริเวณน้ำตกมีร้านอาหารบริการ การเดินทาง จากตัวเมืองพัทลุง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงสามแยกกงหราเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4122 ประมาณ 29 กิโลเมตร และจะมีป้ายบอกทางไปน้ำตกอีก 3 กิโลเมตร หรือถ้านักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวเองสามารถขึ้นรถสองแถวสายน้ำตกไพรวัลย์ -พัทลุง ซึ่งคิวรถจะจอดอยู่เยื้องสถานีรถไฟพัทลุงเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น.และจากน้ำตกไพรวัลย์มาพัทลุงคันสุดท้ายหมดเวลา 15.00 น. รถออกทุก 15 นาที ทุกวัน


วัดเขียนบางแก้ว

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างพ.ศ. 2533 เป็นวัดเก่าแก่ที่มีพระธาตุบางแก้ว สร้างแบบเดียวกับพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชแต่ขนาดเล็กกว่า เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ของชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมพระพุทธรูป เครื่องใช้ถ้วยชาม การเข้าชมต้องขอกุญแจจากเจ้าอาวาส การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4081 เลยอำเภอเขาชัยสนไปประมาณ 7 กิโลเมตร ในเขตบ้านบางแก้วใต้บริเวณกิโลเมตรที่ 14 จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือประมาณ 2.5 กิโลเมตร

 


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2518 แต่ประชาชนมักเรียกกันว่า “อุทยานนกน้ำทะเลน้อย” ซึ่งนับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอบๆทะเลน้อย บริเวณพรุควนขี้เสียน เป็นแรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทย เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ (ทะเลน้อย) ประมาณ 17,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลน้อยเป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบ ประกอบด้วย นาข้าว ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ตัวทะเลน้อยกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร มีพืชน้ำปกคลุม เช่น ผักตบชวา กง กระจูดหนู บัวต่างๆ และพืชลอยน้ำ ความลึกเฉลี่ย 1.25 เมตร
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่แบ่งออกเป็น นกน้ำ 287 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 6 ชนิด นกน้ำมีทั้งนกที่ประจำถิ่นและนกอพยพ เช่นนกกาบบัว นกกุลา นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจในการเที่ยวชมอุทยานนกน้ำทะเลน้อยคือ พระตำหนักทะเลน้อย ทะเลบัวยามเช้า ฝูงนกน้ำนานาชนิด แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณอ่าวหม้อ หน่วยพิทักษ์ป่าควนขี้เสียน แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณควนทะเลมอง และจุดชมธรรมชาติบริเวณศาลานางเรียม
การเดินทาง  จากตัวเมืองพัทลุงใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4048 (พัทลุง-ควนขนุน) ประมาณ 32 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสายมีป้ายบอกตลอดทาง หรือทางรถไฟ ลงที่สถานีปากคลอง จากนั้นต่อรถโดยสารไปทะเลน้อย ประมาณ 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านค้าสวัสดิการ บ้านพักรับรอง 5 หลัง และเรือนำเที่ยว 60 ลำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 7468 5230

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ 

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหรือที่เรียกกันว่า “พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และปูชนียวัตถุคู่เมืองของพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัด กับศาลจังหวัดพัทลุง เป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางสมาธิ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2511

 


อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย)

ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ตามประวัติกล่าวว่าพระยาทุกขราษฎร์ เดิมเป็นพระ ชื่อพระมหาช่วย จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ช่วยพระยาพัทลุงนำชาวบ้านเข้าต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงลาสิกขาบทแล้วได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทำราชการเมืองพัทลุง มีตำแหน่ง “พระยา” เทียบเท่าเจ้าเมือง

 

 


วัดคูหาสวรรค์
ตั้งอยู่เชิงเขาคูหาสวรรค์ ใกล้ๆ ตัวตลาดพัทลุง เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ พระเจดีย์ พระพุทธรูปและยังพบพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย บริเวณหน้าถ้ำมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีถ้ำนางคลอด ซึ่งภายในถ้ำตกแต่งด้วยภาพปูนปั้นเกี่ยวกับเรื่องราวพื้นบ้านอีกด้วย 


วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่)

ตั้งอยู่ใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมาวังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุงซึ่งเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันทายาทตระกูล “จันทโรจวงศ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติและกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และวังใหม่ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 

เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. 

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท


เขาอกทะลุ  

จากวัดคูหาสวรรค์ไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 จะพบเขาอกทะลุ ตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านตะวันออกของสถานีรถไฟ เขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง มีความสูงประมาณ 250 เมตร มีบันไดสำหรับขึ้นยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ ลักษณะพิเศษของภูเขาลูกนี้คือ มีโพรงทะลุมองเห็นอีกด้านหนึ่ง อยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขา  


อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า
เป็นอุทยานฯลำดับที่ 42 ของประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 ครอบคลุมจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 433,750 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเทือกเขาบรรทัด มีภูเขาสลับซับซ้อนมากมายมี “เขาหินแท่น” เป็นยอดเขาสูงสุด พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นต้นน้ำของแม่น้ำตรังและแม่น้ำปากพนัง โดยในฝั่งจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดคลองลาไม คลองไม้เสียบ คลองน้ำใส ซึ่งจะไหลรวมเป็นคลองชะอวดและแม่น้ำปากพนัง และสภาพพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น มีพรรณไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเช่น ไม้ยาง ตะเคียน หลุมพอ กระบาก จำปาป่า พิกุล เป็นต้น

หาดแสนสุขลำปำ  

อยู่เลยวัดวังไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 อีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีทิวสนร่มรื่นริมฝั่งทะเลสาบสงขลา มีศาลากลางน้ำ ชื่อ “ศาลาลำปำที่รัก” สำหรับชมทิวทัศน์บริเวณทะเลสาบ และจากบริเวณชายหาดมีสะพานเชื่อมไปยังเกาะลอย ซึ่งเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของตะกอนปากน้ำลำปำ


วัดวัง
อยู่ตำบลลำปำ ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวง หมายเลข 4047 ประมาณ 6 กิโลเมตร (ใช้เส้นทางเดียวกับเขาอกทะลุ) เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาได้สร้างขึ้นใหม่โดยพระยาพัทลุง (ทองขาว) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และเคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อย้ายเมืองพัทลุงไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ วัดวังก็ชำรุดทรุดโทรมลง และได้มีการบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2512 สิ่งสำคัญของวัดวังคือ พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีมุขเด็จยื่นออกมาภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวกันว่าเป็นฝีมือช่างคณะเดียวกับที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและเทพชุมนุม บริเวณระเบียงคดโดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้น 108 องค์ นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ วิหารและธรรมาสน์ลายทองสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับพระอุโบสถ เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย

แอ่งน้ำหูแร่

อยู่ตำบลท่า มะเดื่อ ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 33 กิโลเมตร จากถนนเพชรเกษมประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายเขาชัยสน-จงเก (หมายเลข 4081) และเลี้ยวขวาบริเวณหน้าที่ทำการอำเภอเขาชัยสนอีกประมาณ 5 กิโลเมตร หน้าที่ว่าการอำเภอจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างบริการนักท่องเที่ยว คลองหูแร่ มีสภาพเป็นคลองขนาดใหญ่ น้ำใสสะอาด พื้นคลองเป็นทรายและโขดหิน บริเวณน้ำลึก เหมาะแก่การพักผ่อนหรือลงเล่นน้ำ มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว


น้ำตกลานหม่อมจุ้ย

เป็นน้ำตกที่อยู่ท่ามกลางป่าที่ร่มรื่น อยู่ในบริเวณหน่วยพิทักษ์สัตว์ป่าบ้านตะโหมด ลักษณะของน้ำตกจะแบ่งเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีชื่อต่างกัน มีแอ่งน้ำสามารถเล่นน้ำได้ การเดินทาง จากอำเภอตะโหมด ใช้เส้นทางหมายเลข 4121 และต่อด้วยเส้นทางหมายเลข 4237 ประมาณ 18 กิโลเมตร จนถึงวัดตะโหมด น้ำตกจะอยู่เลยวัดตะโหมดไป ประมาณ 4-5 กิโลเมตร


หมู่เกาะสี่ เกาะห้า

เกาะสี่ เกาะห้า เป็นหมู่เกาะหินปูนซึ่งตั้งอยู่ในทะเลสาปสงขลาตอนใน ตำบลเกาะหมาก  อยู่ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1.6 กม. สาเหตุที่เรียกว่า "เกาะสี่เกาะห้า" เนื่องจากเมื่อมองจากทิศใต้และทิศเหนือจะเห็นเป็นเกาะสี่เกาะ  แต่ถ้ามองจากทิศตะวันตกจะเห็นเป็นเกาะห้าเกาะ  จึงเรียกว่า เกาะสี่เกาะห้า 
หมู่เกาะสี่เกาะห้า  ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะใหญ่มากมาย เช่น เกาะท้ายถ้ำดำ เกาะร้านไก่ เกาะรูสิม เกาะหน้าเทวดา หรือเกาะมวย เกาะกันตัง เกาะป้อย เกาะตาใส เกาะยายโส เกาะกระ เกาะราบ ซึ่งเป็นดินแดนประวัติศาสคร์ ธรรมชาติสมบูรณ์ บริเวณทะเลสาบพัทลุง-สงขลา-นครศรีธรรมราช เป็นที่ก่อกำเนิดชุมชน อารยธรรม ศิลปวัฒนธรรมนับพันปี และสืบเนื่องมาเป็นวิถึชีวิตปัจจุบัน  ผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมถ้ำรังนกนางแอ่นธรรมชาติได้ และมีเรือนำชมเกาะต่างๆ และมีที่พักรองรับนักท่องเที่ยวบนเกาะ ติดต่อที่โทร. 0 9812 1276, 0 1599 7778


เแหลมจองถนน
เป็นหมู่บ้านชาวประมง อยู่ตำบลจองถนน จากตัวเมืองพัทลุงไปตามเส้นทางสายเพชรเกษม เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอเขาชัยสนไปประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากตัวเมือง 39 กิโลเมตร อยู่บนเนินดินและลาดชันลงไปยังชายหาดทะเลสาบสงขลา สามารถมองเห็นทิวทัศน์ เกาะแก่งต่างๆ และยังมีร้านอาหารบริการแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย

ศูนย์รวมหัตถกรรมกะลามะพร้าวเมืองพัทลุง
อยู่ที่หมู่ 1 ตำบลชัยบุรี ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางที่แยกไสยวน ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมผลิตภัณฑ์กะลาที่มีชื่อเสียง จนได้ชื่อว่า “หมู่บ้านกะลาเงินล้าน” จากแนวความคิดของนายปลื้ม ชูคง ผู้นำชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม โดยมีการนำกะลามะพร้าวมาออกแบบเป็นภาชนะสำหรับใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ เช่น ช้อน ถ้วยกาแฟ ถ้วยน้ำ กระบวยตักน้ำ ทัพพี โคมไฟและเครื่องประดับ ซึ่งจะส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนใจชมวิถีชีวิตชาวบ้านและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ติดต่อนายปลื้ม ชูคง โทร. 0 7461 4512, 0 1465 5751

ศูนย์ศิลปหัตถกรรมรูปหนังบางแก้ว

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบางแก้ว ตำบลท่ามะเดื่อ ห่างจากตัวเมือง 36 กิโลเมตร จากสามแยกถนนเพชรเกษม-ทางรถไฟ ประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากทางรถไฟ 200 เมตร หมู่บ้านหัตถกรรมรูปหนังบางแก้วมีสมาชิกจำนวน 25 คน แกะรูปหนังตะลุง หนังใหญ่ และรูปแบบใหม่ ๆ ตามผู้สั่งซื้อ ฝีมือประณีต งดงาม ส่งจำหน่ายทั่วประเทศและต่างประเทศ กว่า 15 ประเทศ สนใจเที่ยวชมและเลือกซื้อรูปหนัง ติดต่อ นายอิ่ม จันทร์ชุม โทร. 0 7469 7160 ประธานหมู่บ้าน หรือสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอบางแก้ว โทร. 0 7469 7380