WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

บ้านปะเสยะวอ

ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปะเสยะวอ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือ กอและ ซึ่งเป็นเรือประมงของชาวปัตตานีและนราธิวาส มีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ระบายสีสันงดงาม การเดินทางไปตามเส้นทางเดียวกับทางที่ไปหาดแฆแฆ แล้วเดินทางต่อไปตามถนนเลียบชายทะเลไปจนถึงบ้านปะเสยะวอ เรือกอและของชาวบ้านปะเสยะวอมีทั้งขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงจริงๆ และขนาดเล็กที่จำลองขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึก ฝีมือการต่อเรือกอและที่นี่ได้รับการยอมรับว่าประณีตงดงามด้วยลวดลายที่ผสม กลมกลืนกันระหว่างศิลปะไทยและมุสลิม นอกจากนี้บ้านปะเสยะวอยังมีชื่อเสียงในการทำน้ำบูดูรสดีอีกด้วย


อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว

ยะลาและสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 68,750 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและประกอบด้วยน้ำตกต่างๆ เช่น

น้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทรายขาว เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 40 เมตร แล้วไหลลงไปตามลำธารลดหลั่นเป็นชั้นๆเกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี – ยะลา ประมาณ 28 กิโลเมตร ถึงสามแยกตำบลนาประดู่ จากนั้นใช้เส้นทางนาประดู่-ทรายขาว ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกทรายขาว บริเวณน้ำตกมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวรวมทั้งมีบริการ บ้านพัก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช โทร. 0 2579 5734, 0 2579 7223 , 0 2561 2919, 0 2561 2921, 0 2561 4292-3 ต่อ 724, 725 
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี โทร. 0 7333 9138  

น้ำตกโผงโผง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลปากล่อ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-ยะลา)และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงบ้านปากล่อ เลี้ยวขวาไปตามทางลาดยางอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็ถึงตัวน้ำตก น้ำตกโผงโผงเป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได จำนวน 7 ชั้น จากที่ราบชั้นล่างสุดมีแอ่งน้ำตกขนาดใหญ่มองขึ้นไปยังผาน้ำตกชั้นบน จะมองเห็นน้ำตกไหลลงมาเป็นสายน้ำคดเคี้ยวตามหน้าผาและโขดหินพื้นที่บริเวณ สองข้างลำธารและบริเวณที่ใกล้น้ำตกมีความร่มรื่นถูกปกคลุมด้วยพันธุ์ไม้นานา ชนิดสภาพร่มรื่นเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน

น้ำตกอรัญวาริน  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งพลา การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะ อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็ถึงตัวน้ำตก รวมระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร น้ำตกอรัญวารินเป็นน้ำตกในเทือกเขาสันกาลาคีรี ลักษณะน้ำตกแบ่งออกเป็นชั้นๆ รวม 7 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 300–500 เมตร ซึ่งในแต่ละชั้นมีลักษณะความสวยงามแตกต่างกันออกไป


หาดวาสุกรี (ชายหาดบ้านปาตาตีมอ)

อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 52กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอสายบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน การเดินทางจากตัวเมืองปัตตานี ใช้เส้นทางหลวงสายปัตตานี-นราธิวาส หรืออาจเลือกเดินทางผ่านหาดแฆแฆไปจนถึงอำเภอสายบุรีหรือเลี้ยวซ้ายตรงทางแยก เข้าสู่อำเภอสายบุรีโดยตรงก็ได้ ลักษณะของหาดทรายเป็นแนวยาวขนานไปกับทิวสน นอกจากนี้ยังมีบังกะโลให้บริการอีกด้วย


หาดชลาลัย

ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ไปตามถนนสายปัตตานี-นราธิวาส เลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอปะนาเระและแยกเข้าสู่ชายหาด จุดเด่นของหาดแห่งนี้อยู่ที่บึงน้ำขนาดใหญ่ใกล้บริเวณทิวสน ซึ่งให้บรรยากาศที่สงบร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ


วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางหลวงสาย 42 (ปัตตานี-โคกโพธิ์) ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) ผ่านชุมชนเทศบาลนาประดู่และศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) ไปจนถึงทางแยกเพื่อเข้าสู่วัดช้างให้อีกประมาณ 700 เมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถา ต่างๆ เล่ากันว่าท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คน เช่นครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดพายุ จนกระทั่งข้าวปลาและอาหารตลอดจนน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก หลวงปู่ทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำในบริเวณนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด และดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซีย แล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้ งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.

เมืองโบราณยะรัง
เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่ง หนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยและเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า “ลังกาสุกะ” หรือ “ลังยาเสียว” ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า มีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน ประกอบไปด้วย

- เมืองโบราณบ้านวัด มีศูนย์กลางเป็นลานจัตุรัสกลางเมือง ล้อมรอบด้วยคูน้ำและมีซากเนินดินโบราณสถานกระจายอยู่โดยรอบกว่า 25 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือในบริเวณพื้นที่บ้านจาเละ

- เมืองโบราณบ้านจาเละ มีศูนย์กลางอยู่ที่สระน้ำ โอบล้อมด้วยคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมถัดจากกลุ่มโบราณสถานบ้านวัดขึ้นไปทางทิศ เหนือประมาณ 1 กิโลเมตร

- เมืองโบราณบ้านปราแว เป็นเมืองคูน้ำ คันดินขนาดเล็กที่มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีป้อมดินทั้ง 4 มุมเมือง และมีคลองส่งน้ำต่อเชื่อมกับคูเมืองโบราณบ้านจาเละสี่มุมเมืองด้านทิศเหนือ ทั้ง 2 ด้านนอกจากร่องรอยของคูน้ำ  คันดินคูเมืองโบราณทั้ง 3 แห่งแล้วภายในกลุ่มเมืองโบราณนี้ ยังปรากฎซากโบราณสถานเนินดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 แห่ง  การเดินทางไปสู่แหล่งเมืองโบราณสามารถใช้เส้นทางสิโรรส (ทางหลวงหมายเลข 410) จากจังหวัดปัตตานีลงไปทางจังหวัดยะลาประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือสายยะรัง-มายอ (ทางหลวงหมายเลข 4061) ประมาณ 1.2 กิโลเมตร เข้าสู่เขตเมืองโบราณและเลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ  400 เมตร ถึงเขตโบราณสถานบ้านจาเละ
นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานโครงการ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันและเวลาราชการ โทร. 0 7343 9093

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง
ตั้งอยู่บริเวณริมคลองยามู ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนยะหริ่ง มีพื้นที่โครงการรวม 500 ไร่ ศูนย์ฯนี้มีทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้ตะเคียน ทอง (Hopea Odorata) เป็นระยะทางยาวโดยรอบ 1,250 เมตร ตลอดเส้นทางเดินโดยรอบจะเห็นกลุ่มไม้ในสังคมป่าชายเลนทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เถาและไม้พื้นล่าง ซึ่งพันธุ์ไม้แต่ละชนิดมีความสามารถขึ้นอยู่ได้ในบริเวณที่มีลักษณะแตกต่าง กันโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลต่ำสุดและระดับน้ำทะเลสูงสุด เช่น กลุ่มไม้ถั่วขาว กลุ่มไม้ตะบูนดำ กลุ่มไม้ตาตุ่มทะเล ฝาดดอกขาว เหงือกปลาหมอดอกขาว เป็นต้น ตามเส้นทางจะมีระเบียงพักและมีซุ้มสื่อความหมายอธิบายเกี่ยวกับป่าชายเลน พร้อมมีรูปภาพประกอบและยังมีสะพานทางเดินไม้ยกระดับ ศาลาพักผ่อน และหอชมนก เพื่อชมทัศนียภาพเหนือยอดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนซึ่งหอนี้มีความสูงถึง 13 เมตร
นอกเหนือจากการเดินศึกษาป่าชายเลนตามเส้นทางเดินแล้วยังมีการล่องเรือชมป่า ชายเลนซึ่งจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ฯ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติป่าชายเลนตามลำคลองน้อยใหญ่ซึ่งแบ่ง เป็น 3 สายคือคลองบางปู  คลองกลาง  คลองกอและ ตลอดสองฝั่งคลองจะเห็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ นกนานาชนิด วิถีชีวิตของชาวบ้านกับป่าชายเลนและความสวยงามของสวนป่าโกงกาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง โทร. 08 1368 3104

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง
ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมืองปัตตานีทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุก

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 7
ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 26 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 42 ตั้งอยู่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นศาลาทรงไทยที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อ พ.ศ. 2472

หาดแฆแฆ

ยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 43 กิโลเมตร คำว่า “แฆแฆ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น (ภาษายาวี) มีความหมายว่า อึกทึกครึกโครม อยู่ในท้องที่ตำบลน้ำบ่อ ตั้งอยู่ห่างจากหาดราชรักษ์ประมาณ 2 กิโลเมตร จุดเด่นของหาดแฆแฆคือเป็นชายหาดที่มีโขดหินแกรนิตขนาดใหญ่ ลักษณะแปลกตาสวยงาม บนเนินเขามีศาลาพักผ่อนและเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยแห่งหนึ่งของอำเภอปะนาเระ                   


หาดราชรักษ์
เป็น หาดทรายต่อเนื่องกับหาดชลาลัย หาดมะรวดและหาดแฆแฆ โดยอยู่ถัดจากหาดมะรวดไปเพียง 1 กิโลเมตร และอยู่ก่อนถึงหาดแฆแฆประมาณ 2 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางเดียวกับที่ไปหาดชลาลัย และหาดมะรวด ลักษณะเด่นของหาดราชรักษ์คือเป็นหาดทรายกว้างล้อมรอบด้วยโขดหิน และหุบเขาเตี้ยๆ บนเนินเขา นับได้ว่าเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

วัดทรายขาว(อาจาร์ยนอง)

ตั้งอยู่ ตำบลทรายขาวดั้งเดิมเป็นภูเขาป่าดงดิบ  มีน้ำตกไหลผ่านสู่ที่ราบ  จึงมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การหาของป่าปลูกไม้ผลและทำนาข้าว ท่านโต๊ะขุนและพวกจึงได้อพยพจากไทรบุรีประเทศมาเลเซียมาตั้งถิ่นฐาน  ประมาณ 400 กว่าปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าบริเวณหมู่บ้านทรายขาวปัจจุบันมีเส้นทางโบราณ เดินทางเชื่อมรัฐไทรบุรีได้  แม้แต่องค์สมเด็จหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ก็มี ประวัติที่มาพักและธุดงค์ระหว่างเดินทางผ่านที่นี่ และมีประวัติประชุมเพลิงของท่านจากไทรบุรีมาวัดช้างไห้ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ต่อมาจึงมีผู้อพยพจากท้องที่ใกล้เคียง ทั้งไทยพุทธและอิสลามติดตามมาอยู่เพิ่มขึ้นเกิดเป็นหมู่บ้านย่อย  ๆ โดยมีชุมชน บริเวณวัดทรายขาวปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเนื่องจากความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยพุทธ

และอิสลาม  คนในชุมชนจึงได้ช่วยกันสร้างวัดทรายขาวและมัสยิดบ้านควนไปพร้อม  ๆกัน ทำให้รูปทรงมัสยิด มีลักษณะเป็นหลังคากระเบื้องทรงไทย รูปแบบการก่อสร้างทั้งภายนอกและภายในจึงแตกต่างจากมัสยิดทั่วไปในประเทศไทย


วัดมุจลินทวาปีวิหาร
งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ริมเส้นทางหลวงสายปัตตานี-โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิก เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามย้ายที่ว่าการอำเภอหนอง จิกจากที่เก่า มาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ. 2388 เดิมมีชื่อว่า "วัดตุยง" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิก และมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมุจลินทวาปีวิหาร” ปัจจุบันเป็นอารามหลวงและมีการบูรณะพระอุโบสถให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสวยงาม

จุดเด่นของวัด คือ วิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 3 องค์ โดยเฉพาะพระราชพุทธรังษีหรือหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ซึ่งประชาชนที่เคยได้ยินคุณความดีของหลวงพ่อ ต่างเลื่อมใสศรัทธาเดินทางมานมัสการสักการะบูชาอยู่เสมอ

มัสยิดบ้านดาโต๊ะหรือมัสยิดดาโต๊ะ

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอยะหริ่งประมาณ 10 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับทางไปหาดตะโละกาโปร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในประวัติศาสตร์ด้านศาสนาซึ่งกรมศิลปากรได้ทำ การสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2478


มัสยิดกรือเซะ

ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐปูนแบบศิลปะทางตะวันออก กลาง ส่วนที่สำคัญที่สุดคือหลังคาโดมซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จมัสยิดเก่าแห่งนี้ มีตำนานเล่าว่าเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสาปแช่งไว้ไม่ให้สร้างเสร็จ บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมัสยิดแห่ง นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2121–2136)


หาดทราย ชายบึงบ้านละเวง

จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส ) เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ทางแยกเข้าอำเภอไม้แก่นอยู่ทางซ้ายมือ เมื่อข้ามสะพานกอตอไปประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงหาดทราย ชายบึงบ้านละเวง มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติงดงามแปลกตาแก่ผู้ที่พบเห็น ลักษณะของหาดทรายแห่งนี้ คือ มีบึงขนาดใหญ่เคียงข้างหาดทรายขาวสะอาด ให้บรรยากาศแตกต่างจากหาดทรายอื่น นอกจากนี้บริเวณนั้นยังมีศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ (กลุ่มทอผ้าบ้านละเวง) นักท่องเที่ยวสามารถไปดูการทอผ้าฝ้าย และยังมีโครงการทดลองเลี้ยงปลาน้ำกร่อยอีกด้วย


ตลาดนัดปาลัส

อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 เข้าสู่อำเภอปะนาเระ ในช่วงเวลาเช้าของทุกวันพุธและวันอาทิตย์ จะมีตลาดนัดริมทาง ซึ่งชาวไทยมุสลิมจะแต่งกายแบบพื้นเมืองโพกศีรษะด้วยผ้าบาติกสีฉูดฉาดเดิน ซื้อของในตลาด เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นชีวิตชนบทของชาวไทยมุสลิมที่มีบรรยากาศเมืองใต้ อย่างแท้จริง


หาดปะนาเระ

อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับหาดตะโละกาโปร์ เป็นหมู่บ้านชาวประมงหลายร้อยหลังคาเรือน บนหาดทรายมีเรือกอและ และเรือประมงนานาชนิดจอดเรียงรายอยู่ทั่วทั้งหาด หาดทรายไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะเป็นหมู่บ้านชาวประมงและที่จอดเรือ


เขาฤาษี
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลมายอ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นโขดหินธรรมชาติ มีบ่อน้ำก่อด้วยอิฐกว้าง 2 ศอก ลึกประมาณ 5 ศอก ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทางราชการเคยนำไปใช้ในพิธีราชาภิเษกหลายรัชกาลและได้สร้างโบสถ์ครอบบ่อ น้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ไว้ บนเขาฤาษีนี้ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดเขาฤาษีแปลงสาสน์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวปัตตานีและจังหวัดใกล้เคียง

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ตั้งอยู่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสวนสาธารณะที่อยู่ติดชายทะเล จัดสร้างขึ้นบริเวณริมแม่น้ำปัตตานีฝั่งซ้าย ไปจนติดกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สภาพเป็นสวนป่าชายเลนที่ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของสวนแห่งนี้ คือต้นสารภีทะเล ทิวทัศน์สวยงามร่มรื่น มีผู้นิยมไปพักผ่อนกันมาก พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณติดกับสวนสมเด็จศรีนครินทร์ ได้มีการจัดสร้าง สวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพลับพลาที่ประทับ สระน้ำขนาดใหญ่ ศาลาพักผ่อนและหอคอยชมวิว จึงได้มีการเรียกขานสวนทั้งสองแห่งที่อยู่เคียงกันนี้ว่า สวนแม่ สวนลูก

หาดรัชดาภิเษก
ตั้งอยู่ที่บ้านสายหมอ ตำบลสายหมอ ห่างจากตัวจังหวัดปัตตานีประมาณ 15 กิโลเมตรหรือห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองจิกประมาณ 2 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสนเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน

หาดบางสาย

จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส ) เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ทางแยกเข้าอำเภอไม้แก่นอยู่ทางซ้ายมือ เมื่อข้ามสะพานกอตอไปประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงหาดทราย ชายบึงบ้านละเวง มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติงดงามแปลกตาแก่ผู้ที่พบเห็น ลักษณะของหาดทรายแห่งนี้ คือ มีบึงขนาดใหญ่เคียงข้างหาดทรายขาวสะอาด ให้บรรยากาศแตกต่างจากหาดทรายอื่น นอกจากนี้บริเวณนั้นยังมีศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ (กลุ่มทอผ้าบ้านละเวง) นักท่องเที่ยวสามารถไปดูการทอผ้าฝ้าย และยังมีโครงการทดลองเลี้ยงปลาน้ำกร่อยอีกด้วย


แหลมตาชี หรือ แหลมโพธิ์
เป็นหาดทรายขาวต่อจากหาดตะโละกาโปร์ เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย (Sand Spit) ไปในทะเลอ่าวไทยทางทิศเหนือ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางไปแหลมตาชีไปได้ 2 ทาง คือ
ทางน้ำ นั่งเรือจากปากแม่น้ำปัตตานีตรงไปยังแหลมตาชีเลย ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษ หรือ นั่งเรือจากท่าด่านอำเภอยะหริ่ง ออกมาตามคลองยามู จนถึงทะเลในไปจนถึงแหลมตาชี
ทางบก จากอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูมาตามสะพานไม้ มีถนนตัดเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร จนถึงปลายแหลมตาชี

หาดป่าไหม้
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลไทรทอง เป็นหาดรายต่อจากหาดบางสาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

หาดมะรวด

อยู่ถัดจากหาดชลาลัยไปประมาณ 2 กิโลเมตร การเดินทางเช่นเดียวกับทางไปหาดชลาลัยแต่ไปต่อจนถึงทางแยกจากถนนปะนาเระ -สายบุรีและเลี้ยวซ้ายไปสู่หาด ลักษณะเด่นของหาดมะรวดได้แก่ ภูเขาหินที่มีขนาดเล็กตั้งซ้อนทับกันอยู่ดูแปลกตา และมีทางเดินทอดยาวให้ขึ้นไปเดินเล่นบนยอดเขาได้อีกด้วย


แหลมตาชี หรือ แหลมโพธิ์
เป็นหาดทรายขาวต่อจากหาดตะโละกาโปร์ เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย (Sand Spit) ไปในทะเลอ่าวไทยทางทิศเหนือ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางไปแหลมตาชีไปได้ 2 ทาง คือ
ทางน้ำ นั่งเรือจากปากแม่น้ำปัตตานีตรงไปยังแหลมตาชีเลย ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษ หรือ นั่งเรือจากท่าด่านอำเภอยะหริ่ง ออกมาตามคลองยามู จนถึงทะเลในไปจนถึงแหลมตาชี
ทางบก จากอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูมาตามสะพานไม้ มีถนนตัดเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร จนถึงปลายแหลมตาชี

สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าว่าลิ้มกอเหนี่ยวได้ลงเรือสำเภามาตามพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งมาแต่งงานกับธิดาพระยาตานี และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกลับประเทศจีนไม่สำเร็จ จึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงได้ฝังศพลิ้มกอเหนี่ยวไว้ที่นี่ ต่อมาชาวปัตตานี นำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้า ขึ้น                               


สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายในพิพิธภัณฑ์เแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติ ผลงานและสิ่งของเครื่องใช้ของพระธรรมโมลี พระพุทธรูป เทวรูปปางต่างๆ พระพิมพ์ พระเครื่อง โบราณวัตถุที่สำคัญ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป เครื่องถ้วยไทย-จีน เหรียญที่ระลึก เงินตราและธนบัตรต่างๆ เป็นต้น
2. พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา จัดแสดงเรื่องราวให้ความรู้และให้การศึกษาเฉพาะเรื่อง แบ่งเป็นส่วนๆได้แก่ เรื่องเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือและเครื่องใช้พื้นบ้าน ศิลปการแสดงพื้นบ้าน โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากแหล่งชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย ความเชื่อพื้นถิ่นและเทคโนโลยี
การเข้าชม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 09.00-11.30 น. และ 13.00-16.00 เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม สำหรับการเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือต้องการวิทยากรนำชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ ที่ งานบริการทางการศึกษา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 โทร. 0 7331 3930-50 ต่อ 1472 , 1473 ,1476 และ 0 7333 1250 โทรสาร 0 7333 1250