|
|
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ที่มากถึง 52 เกาะ เรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่นๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะรัง ฯลฯ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยมที่ด้านหน้ามีท่าเทียบ เรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อีก 3 จุด ซึ่งล้วนอยู่บนเกาะช้าง คือ บริเวณอ่าวคลองสน บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร
เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย หากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน
เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูง 744 เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ |
|
|
|
|
หมู่เกาะรัง |
เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากเกาะหมาก ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 6 กิโลเมตร บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่คนจะอาศัยอยู่ได้ มีเฉพาะที่ราบหน้าหาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บริเวณรอบๆ หมู่เกาะรังมีเกาะน้อยใหญ่อยู่จำนวนมาก ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลวง เกาะยักษ์ เกาะสามพี่น้อง เกาะมะปริง เกาะตุ๊น และเกาะกำปั่น เป็นต้น ซึ่งเกาะต่าง ๆ เหมาะแก่การดำน้ำดูปะการังท่ามกลางฝูงปลาแหวกว่าย
การเดินทาง ไปหมู่เกาะรัง และหมู่เกาะกระ ไม่มีเรือโดยสารประจำทางที่วิ่งบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมาเรือจากแหลมงอบ ในราคาประมาณ 5,000-8,000 บาท ที่ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือแต่ละลำ |
|
|
|
หมู่เกาะระยั้ง |
ประกอบด้วย เกาะระยั้งใน และเกาะระยั้งนอก สภาพโดยทั่ว ๆ ไปของเกาะระยั้งนอกเป็นเกาะที่เงียบสงบ หาดทรายขาว น้ำใสสะอาด มีที่พักบนเกาะระยั้งนอกเพียงแห่งเดียว
|
|
|
|
เกาะขาม |
เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ใกล้กับเกาะหมาก ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเกาะขาม คือ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม บรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น น้ำทะเล และหาดทรายใสสะอาด ด้านตะวันออกของเกาะยังมีแนวปะการังที่สวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะขาม มีเรือโดยสารประจำทางออกจากท่าเรือแหลมงอบ เที่ยวไป ออกเวลา 15.00 ถึงเกาะขาม เวลา 18.00 น. ใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมง เที่ยวกลับ ออกจากเกาะขาม เวลา 08.00 ถึงท่าเรือแหลมงอบ เวลา 11.00 น. อัตราค่าเรือโดยสารคนละ 210 บาท ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 1212 1814, 0 1303 1229, 0 1916 6536 |
|
|
|
เกาะกูด |
เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออก ของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,625 ไร่ โดยมีขนาดความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร และขนาดความกว้าง 12 กิโลเมตร
|
|
|
|
|
เกาะกระดาด |
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ เกาะหมาก มีพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “เกาะกระดาด” นับเป็นเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีการออกโฉนดถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ และพยายามยึดครองดินแดนของไทย เกาะกระดาดก็เป็นที่หมายหนึ่งของฝรั่งเศสด้วย รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกโฉนดที่ดินของเกาะขึ้น ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะมีหาดทรายยาวขาวสะอาด มีแนวปะการังที่สวยงามตลอดชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะกระดาดยังไม่มีเรือโดยสารประจำทางบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องซื้อแพ็กเกจทัวร์ของเกาะกระดาด รีสอร์ทเพียงแห่งเดียว |
|
|
|
เกาะหมาก |
เป็นเกาะขนาดใหญ่ อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,000 ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงาม และน้ำใสสะอาดหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวแดง อ่าวส่วนใหญ่ บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย ช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคมชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมาก ส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประ จันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุล เป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย |
|
|
|
บ้านน้ำเชื่ยว |
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางสาย ตราด-แหลมงอบ ประมาณ 8 กิโลเมตร มีชื่อเสียงในการทำงอบ เรียกว่า “งอบน้ำเชี่ยว” เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดตราดที่สืบทอดมาแต่โบราณ นอกจากการทำงอบแล้วที่บ้านน้ำเชี่ยวยังมีผลิตผลจากการประมง เช่น กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ฯลฯ ไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย
|
|
|
|
เกาะช้างน้อย และ แหลมช้างน้อย |
อยู่ทางด้านเหนือของเกาะช้าง ท้องน้ำระหว่างแหลมช้างน้อยกับเกาะช้างน้อยจะมีแนวปะการังอยู่ด้วย
|
|
|
|
เกาะง่าม |
อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้าง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาแฝด 2 เกาะติดกัน โดยมีสันทรายขนาดใหญ่เชื่อมตรงกลาง มีอ่าวขนาดเล็กที่เกิดจากแนวเขาที่โอบล้อมน้ำทะเลไว้ จึงเป็นบริเวณที่คลื่นลมสงบ และสวยงาม การเดินทาง จากแหลมงอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
|
|
|
|
หาดทรายงาม |
เป็นหาดทรายขาวละเอียด มีความยาวประมาณ 200 เมตร ขนานไปกับทิวสนทะเล
การเดินทาง ใช้เส้นทางเข้าทางเดียวกับแหลมกลัด บริเวณกิโลเมตรที่ 37 และการเดินทางไปชายหาดจะต้องเดินข้ามสะพานไม้ เล็ก ๆ ยาวประมาณ 15 เมตร จึงถึงชายหาด
|
|
|
|
หาดบานชื่น (หาดมะโร) |
ตั้งอยู่ก่อนถึงอำเภอคลองใหญ่ เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ระหว่างกิโลเมตรที่ 59-60 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหาดที่มีทรายเม็ดละเอียดน้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าบริเวณชายหาด
|
|
|
|
เกาะเหลายา |
อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง เป็นเกาะเล็กๆ 3 เกาะ ตั้งเรียงกันอยู่ใกล้กับเกาะช้าง อยู่กลางอ่าวสลักเพชร ประกอบด้วยเกาะเหลายาใน เกาะเหลายากลาง และเกาะเหลายานอก เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส และแมกไม้เขียวครึ้ม ที่นี่ยังมีจุดดำน้ำที่สมบูรณ์ไปด้วยปะการังสวยงามมาก เป็นที่พักผ่อนตากอากาศที่มีธรรมชาติสวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะเหลายาในและเกาะเหลายากลาง
|
|
|
|
เกาะหวาย |
เป็นเกาะขนาดใหญ่เกาะหนึ่ง มีแนวชายหาดที่สวยงามแต่ไม่ยาวมากนัก รอบเกาะส่วนใหญ่เป็นแนวหิน ประกอบด้วยอ่าวใหญ่ๆ มีแนวปะการังที่สวยงามสมบูรณ์ อยู่ในอ่าวด้านเหนือของเกาะ ซึ่งความยาวถึง 2 กิโลเมตร จึงนับได้ว่าเป็นจุดดำน้ำตื้นที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง
|
|
|
|
อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง |
|
จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบ มีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง มีการจัดบริเวณ และอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดม ศักดิ์ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส เป็นอนุสาวรีย์ที่เคารพสักการะ และรอบ ๆ บริเวณอนุสรณ์สถานได้จัดเป็นสวนสำหรับพักผ่อนของชาวจังหวัดตราด และจังหวัดใกล้เคียง และจะมีงานฉลองเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม ของทุกปี |
|
|
|
หาดมุกแก้ว และ หาดทรายแก้ว |
|
บริเวณหาดมุกแก้ว และหาดทรายแก้วมีบรรยากาศที่เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ชายหาดมุกแก้วเป็นหาดทรายขาวที่ยาวต่อเนื่องกันตลอดเริ่มจากหาดทรายเงินไปจน ถึงหาดทรายแก้วตลอดชายหาดมีทิวสน และต้นมะพร้าวที่ขนานไปกับชายหาด ที่บริเวณหาดมุกแก้วสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ |
|
|
|
สวนสวรรค์ตะวันออก |
|
สวนสวรรค์ตะวันออก หรือ ORIENTAL GARDEN เป็นสถานที่ศึกษาดูงานผลิตภัณฑ์ OTOP สู่การส่งออกของจังหวัดตราด ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท (สายเข้าเมืองตราด) เลยทางสามแยกบางกระดานประมาณ 2 กิโลเมตร ซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนบ้านดงกลาง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
หรือห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 17 กิโลเมตร กิจกรรมที่เปิดให้ผู้สนใจเป็นหมู่คณะเข้าชม ได้แก่
- ชมโรงงานแปรรูปผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนทอด ทุเรียนกวน สับปะรดทอด ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าภายใต้ยี่ห้อ DURIO ซึ่งเป็นการพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับ 5 ดาว (OTOP 5 ดาว) จากกรมพัฒนาชุมชน อีกทั้งยังได้รับคัดเลือกเป็นสินค้า OTOP Premium เกรด A จากกรมส่งเสริมการส่งออก และได้รับรางวัล จากนายกรัฐมนตรี Prime Minister Award 2006 เป็นผู้ส่งออกทุเรียนทอดอันดับ 1 ของไทย
- ชมแปลงผักปลอดสารพิษ Organic Farm ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันโรงงานกับแปลงเกษตร โดยใช้ปุ๋ยจากเปลือกทุเรียน อาทิเช่นข่า ตะไคร้ ใบมะกูด ผลผลิตที่ได้จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำ ทุเรียนทอดรสต้มยำกุ้ง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจแบบพอเพียง
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าชุมชนและสินค้าจากโรงงานในราคา ผู้ผลิต จากร้านของฝากของสวนสวรรค์..ตะวันออก อาทิ ผลไม้แปรรูปยี่ห้อ DURIO (ดูริโอ้) ซึ่งบางสินค้าไม่มีขายในท้องตลาดเมืองไทยเนื่องจากผลิตส่งออก สบู่ผลไม้ Oriental Garden เป็นสบู่ที่ช่วยให้ผิวใสด้วยธรรมชาติ เพราะมี AHA จากผลไม้จริง เช่น สบู่มังคุด สบู่สับปะรด หรือสบู่ส้ม สบู่เฉพาะผู้หญิง ทำจากกวาวเครือขาว ช่วยให้บริเวณหน้าอกหรือ ใต้ท้องแขนกระชับ เต่งตึง สบู่เฉพาะผู้ชาย ทำจากกวาวเครือแดง ช่วยให้ผิวเฉพาะที่นั้น สุขภาพแข็งแรง และผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆในพื้นที่อีกมากมาย เช่น น้ำปลา กะปิเกาะช้าง น้ำมันเหลืองเมืองตราด งอบใบจาก เป็นต้น
โอเรียนทอล การเด้น (Oriental Garden) ตั้งอยู่ที่ 87 หมู่ 5 ถนนสุขุมวิท ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โทร. 0 3953 7300, 08 5982 7770 |
|
|
|
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรห้วงน้ำขาว |
ชมการเลี้ยงปูนิ่ม และเทคนิคการเก็บรักษาไม่ให้กระดองปูแข็ง
ชมลานปูใบ้ สนุกกับการจับปูใบ้และเก็บหอยนานาชนิดเมื่อยมน้ำทะเลลง
เดินเที่ยวชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน และปูแสมล้างไข่ (ต.ค.)
นั่งเรือศึกษาชายทะเล ตกปลาทะเล (ต.ค.-พ.ค.)
ชม/ชิม ไม้ผลนานาชนิดถึงสวน เช่น สละ เงาะ มังคุด ทุเรียน (เม.ย.-ก.ค.)
โครงกระดูกปลาวาฬที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราด
การแปรรูปปูแสมสามรส เงาะอบแห้งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเปร็ดใน
สนใจติดต่อ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร 0 9542 8925, 0 1704 1407 , สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง โทร 0 3951 2322 , สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โทร 0 3952 0249, 0 3951 1008 |
|
|
|
ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก |
ตั้งอยู่บ้านหาดเล็ก ที่เป็นหมู่บ้านสุดชายแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา อยู่ปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 เมื่อสงครามสู้รบในกัมพูชาสิ้นสุดลงราวปี พ.ศ. 2529 ตลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวกัมพูชาเพื่อไปขาย ต่อที่เกาะกง ตลาดที่บ้านหาดเล็กจะมีเฉพาะในช่วงเช้า เวลาประมาณ 07.00–08.30 น. และยังมีสินค้าราคาถูกที่มาจากประเทศกัมพูชา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น จากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยนั่งรถแท็กซี่จากชายแดนบริเวณบ้าน หาดเล็กฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะไปเกาะกงได้ อัตราราคาค่าโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน และสำหรับการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปเกาะกงสามารถนั่งรถตู้จากตัวเมืองตราด ไปหาดเล็ก โดยจะมีรถออกทุก ๆ ชั่วโมง อัตราราคาค่าโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
การเดินทาง ไปบ้านหาดเล็กมีรถตู้บริการนักท่องเที่ยวที่ตัวเมืองตราดไปหาดเล็กทุกวัน รถออกทุก ๆ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 100 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง และนักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินทางต่อจากบริเวณด่านถาวร บ้านหาดเล็กข้ามไปนั่งรถแท็กซี่ของฝั่งประเทศกัมพูชาข้ามสะพานไปยังเกาะกง ได้ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที สำหรับประชาชน ชาวไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอคลองใหญ่ สามารถทำบัตรผ่านแดนชั่วคราวได้ที่ ที่ว่าการอำเภอคลองใหญ่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ ที่ทำการอำเภอคลองใหญ่ โทร. 0 3953 4572 หรือที่สำนักงานจังหวัดตราด ฝ่ายข้อมูล โทร. 0 3951 2081
หมายเหตุ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางข้ามไปกัมพูชาควรนำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และวีซ่า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเดินทางได้ที่ จุดตรวจชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. 0 3958 8084 สำหรับนักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศ ที่ต้องการเดินทางข้ามไปประเทศกัมพูชาต้องนำหนังสือเดินทาง (PASSPORT) วีซ่า มาแสดงที่จุดตรวจชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. 0 3958 8084 หรือที่สถานทูตกัมพูชา กรุงเทพฯ โทร. 0 2253 7967, 0 2254 6630 |
|
|
|
น้ำตกเขาสลัดได |
|
ไปตามถนนสายจินตกานนท์ (แสนตุ้ง-บ่อไร่) ประมาณกิโลเมตรที่ 25 มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกเขาสลัดได ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณรอบ ๆ น้ำตก มีป่าเขา และธรรมชาติสวยงามเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ไปตามถนนสายจินตกานนท์ (แสนตุ้ง-บ่อไร่) ประมาณกิโลเมตรที่ 25 มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกเขาสลัดได ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณรอบ ๆ น้ำตก มีป่าเขา และธรรมชาติสวยงามเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ |
|
|
|
ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย เขาล้าน |
ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย เขาล้าน เดิมชื่อว่า ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน ตั้งอยู่ถนนตราด-คลองใหญ่ กิโลเมตรที่ 48 ริมทางหลวงหมายเลข 318 ในอดีตสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน เพื่อช่วยเหลือชาวเขมรอพยพ จนเมื่อชาวเขมรอพยพแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา ศูนย์นี้จึงปิดไปเมื่อ พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภา กาชาดไทยเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา จึงได้จัดสร้างศาลาราชการุณย์ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย (เปิดเวลา 8.30-12.00 และ 13.00-16.00 น.) ภายในศาลาราชการุณย์ประกอบไปด้วยนิทรรศการพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากนั้นยังมีหุ่นจำลองชาวเขมรอพยพในขณะทำภาระกิจประจำวัน เช่น หุงหาอาหาร เย็บปักถักร้อย เป็นต้น สวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด 76 จังหวัด สวนสมุนไพร พระพุทธรูปแบบสุโขทัย ปางมารวิชัย สร้างขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อยึดเหนี่ยว และเป็นที่พึงทางใจแก่ผู้ที่อพยพชาวกัมพูชาที่หนีภัยสงคราม และเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดตราด และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนด้านหลังเป็นหาดทรายบรรยากาศเงียบสงบ ทางศูนย์ฯ มีที่พักไว้รองรับสำหรับผู้ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 3952 1621, 0 3952 1624, 0 3952 1838 โทรสาร 0 3952 1621 haolan@tr.ksc.co.th |
|
|
|
หาดไม้รูด (หาดสำราญ) |
|
แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 31 ตรงกิโลเมตรที่ 57–58 เข้าไปทางบ้านไม้รูด 5 กิโลเมตร ไปสุดที่สะพานคอนกรีตทางลงหาดอยู่หน้าศาลาประชาคม และเดินต่อไปอีก 200 เมตร บริเวณหาดมีบังกะโลให้เช่าอยู่แห่งเดียว
|
|
|
|
|
ตลาดพลอย |
|
ที่ผ่านมาตลาดพลอยในอำเภอบ่อไร่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตพลอยแดง หรือทับทิมสยาม ตลาดพลอยที่น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดพลอยหัวทุ่ง ตลาดพลอยบ้านสระใหญ่ ตลาดพลอยหนองบอน ฯลฯ โดยในแต่ละวันตลาดพลอยแต่ละแห่งจะเริ่มเปิดให้มีการซื้อขายในช่วงเช้าตรู่จน ถึงเวลา 10.00 น.
ปัจจุบันตลาดพลอยในเขตอำเภอบ่อไร่ประสบปัญหาในเรื่องหาแหล่งพลอยได้ยาก จึงทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายพลอยซบเซาลง ถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจจะไปซื้อพลอย หรือชมสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของตลาดพลอยนั้น ยังพอมีเหลือให้ชม และซื้ออยู่บ้าง |
|
|
|
อ่าวตาลคู่ |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปิด ห่างจากอำเภอแหลมงอบประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกแหลมงอบ-บ้านแสนตุ้งประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ชายหาดอ่าวตาลคู่มีลักษณะเด่น คือ หาดทรายเป็นสีแดงละเอียด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนเพราะมีความสวยงามอากาศดี และในบริเวณมีร้านอาหาร ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด |
|
|
|
แหลมงอบ |
|
เป็นอำเภอเลียบชายหาดอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 สายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 17 กิโลเมตร ที่อำเภอแหลมงอบมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่า ท่าเรือแหลมงอบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแหลมงอบประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือโดยสารประจำทาง หรือเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ ได้ เช่น เกาะช้าง เกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่าง ๆ ด้วย |
|
|
|
วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม และโบราณสถานเขาโต๊ะโมะ |
เป็นอำเภอเลียบชายหาดอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 สายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 17 กิโลเมตร ที่อำเภอแหลมงอบมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่า ท่าเรือแหลมงอบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแหลมงอบประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือโดยสารประจำทาง หรือเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ ได้ เช่น เกาะช้าง เกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่าง ๆ ด้วย |
|
|
|
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง |
ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน เมื่อครั้งมารวบรวมรี้พลกอบกู้เอกราชที่ตราด สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีนเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้น จากอันตราย ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี มีงานฉลองที่เรียกว่า “วันงานพลีเมือง” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “วันเซี่ยกงแซยิด” หมายถึง วันเกิดเจ้าพ่อหลักเมืองมีพิธีทำบุญตักบาตรแบบไทย และมีงานประจำปีศาลปุงเถ้าม้าแบบจีน ช่วงก่อน และหลังตรุษจีน 1 เดือน
มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองตราดนั้นสังเกตเห็นชาวเมืองตราดพา กันไปไหว้เจ้าพ่อหลักเมืองอยู่เป็นประจำ จึงจะถอนเสาหลักเมืองทิ้งโดยให้คนไปขุดแต่ถอนเสาหลักเมืองไม่ขึ้น ครั้นเอาช้างมาดึงเสาหลักเมืองก็ไม่ล้มเพียงแต่เอนไปเล็กน้อยซึ่งต่อมาชาว เมืองตราดได้บูรณะให้คงสภาพดี |
|
|
|
วัดคีรีวิหาร |
เดิมชื่อว่า วัดท่าเลื่อน หรือวัดภูเขายวน ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเลื่อน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุมากกว่า 110 ปี แต่ได้รับการบูรณะจนดูใหม่ทั้งวัด ที่ตั้งอยู่บนภูเขาทำให้มองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านล่างที่เป็นป่า เขา และทะเล มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เป็นสวนป่าขนาดย่อม ๆ มีต้นสักปลูกอย่างเป็นระเบียบ ลักษณะเด่นของวัด คือ การก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม และมีการผสมผสานศิลปกรรมสมัยใหม่เข้าไว้ด้วย
ศาสนสถานที่สำคัญภายในบริเวณวัดประกอบด้วย อุโบสถหลังใหญ่ พระเจดีย์ เรือนรับรองสมเด็จพระเทพฯ กุฏิธรรมสารอุทิศ และกุฏินิรมิตสามัคคี ศาลาการเปรียญ วิหารจีนที่ประดิษฐานพระพุทธอุดมสมบูรณ์ พระอวโลกิเตศวร และพระสังกัจจายน์
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวง 318 สายตราด-คลองใหญ่-บ้านหาดเล็ก ไปประมาณ 20 กิโลเมตร |
|
|
|
วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง |
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2191) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด จวบจนปัจจุบันท่านพระครูสุวรรณสารวิบูลพร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่
พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านเมือง มีพระพุทธรูปทองบุเงิน พระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป กลองมโหรทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่งตะวันออก กับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซีกโลกตะวันตก
ภาพจิตรกรรม ที่ปรากฏในโบสถ และวิหารพระพุทธไสยาสน์เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นฝีมือช่างทองถิ่นแต่ ล้วนแล้วผสมกลมกลืนด้วยศิลปจีน และวรรณคดีจีน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชาย ฝั่งทะเลตะวันออก (พ่อค้าชาวจีนอพยพทางเรือมาที่เมืองตราดตั้งแต่สมัยอยุธยา บ้างอพยพจากอยุธยา กรุงเทพฯ เวียดนาม บ้างก็มาจากมาเลเซีย สิงคโปร์)
นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่น่าชมภาายในวัด คือ หมู่กุฏิเล็กทรงไทย ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติมีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่า นั้น คนในท้องถิ่นเมื่อให้ลูกหลานบวชเรียนที่วัดก็จะสร้างกุฏิให้พร้อม เสร็จแล้วช่วยกันหามแห่มาที่วัดในวันทำพิธีบวช หอสวดมนต์ เป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องเคลือบชั้นเดียว ชายคาปีกนก หน้าบันไม้จำหลักปิดทองลายเทพนม ฝาประกน เสาไม้แปดเหลี่ยม เจดีย์ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส วิหารฝากระดาน ก่ออิฐถือปูน รูปเรือสำเภา เช่นเดียวกับฐานโบสถ์วิหาร สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลังคาชั้นเดียว ฝาผนังไม้ เป็นต้น
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร |
|
|
|
แหลมกลัด |
|
สิ่งที่เป็นจุดเด่น คือ หาดลานทราย เป็นชายหาดที่มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล มีเม็ดทรายขาวละเอียด บริเวณหน้าหาดน้ำไม่ลึกมาก สามารถลงเล่นน้ำได้ บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน และสามารถชมปลาโลมา อีกด้วย จากแหลมกลัดสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแหลมศอกได้
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 318 แล้วเลี้ยวขวาเข้าบ้านแหลมกลัด
|
|
|
|
วัดไผ่ล้อม |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นวัดที่มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการศึกษาของจังหวัดตราด โดยวัดแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักของบิดาแห่งการศึกษาจังหวัดตราด คือท่านเจ้าคุณพระวิมลเมธาจารย์ วรญาณนุรักษ์ สังฆปราโมก ภายในบริเวณวัดยังมีสวนพุทธธรรมสำหรับให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์สามท่านเจ้าคุณซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนในจังหวัด ตราด นอกจากนี้ยังเป็นที่พึ่งของชาวบ้านมาทุกยุคสมัยที่มีการพัฒนาอย่างสอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของสังคม สำหรับสภาพแวดล้อมภายในคือ วัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดของภิกษุ สามเณรควรแก่การเคารพศรัทธา นอกจากนั้นยังยึดมั่นแนวทางแห่งความกตัญญู ซึ่งเป็นรากฐานที่มั่นคงในการดำรงชีวิตของพุทธศาสนิกชน
|
|
|
|
อุทยานแห่งชาติ น้ำตกคลองแก้ว |
|
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 65,525 ไร่ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกคลองแก้ว มีทั้งหมด 7 ชั้น ในแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป มีลำธารน้ำไหลผ่านจากชั้นบนลงมาสู่ชั้นล่างตลอดสายโดยเฉพาะชั้นที่ 4 สามารถมองเห็นทัศนียภาพของบ่อไร่ นักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่นิยมเที่ยวกันเพียง 4 ชั้นเท่านั้น หากต้องการเที่ยวให้ครบทุกชั้นต้องใช้เวลานานร่วมวัน นอกจากนั้นยังมี น้ำตกสลัดได น้ำตกคลองใจ และ ผาลานหิน
สถานที่พัก ทางอุทยานฯ ไม่มีบริการบ้านพัก แต่นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์ไปกางเต็นท์ได้ ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติ น้ำตกคลองแก้ว หมู่ 2 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด 23140
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ถึงตลาดแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3157 สายแสนตุ้ง-บ่อไร่ ไปประมาณ 33 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 116 ไปอีก 8 กิโลเมตร ถึงน้ำตกคลองแก้ว
|
|
|
|
|
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรห้วงน้ำขาว |
|
ชมการเลี้ยงปูนิ่ม และเทคนิคการเก็บรักษาไม่ให้กระดองปูแข็ง
ชมลานปูใบ้ สนุกกับการจับปูใบ้และเก็บหอยนานาชนิดเมื่อยมน้ำทะเลลง
เดินเที่ยวชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน และปูแสมล้างไข่ (ต.ค.)
นั่งเรือศึกษาชายทะเล ตกปลาทะเล (ต.ค.-พ.ค.)
ชม/ชิม ไม้ผลนานาชนิดถึงสวน เช่น สละ เงาะ มังคุด ทุเรียน (เม.ย.-ก.ค.)
โครงกระดูกปลาวาฬที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราด
การแปรรูปปูแสมสามรส เงาะอบแห้งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเปร็ดใน
สนใจติดต่อ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร 0 9542 8925, 0 1704 1407 , สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง โทร 0 3951 2322 , สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โทร 0 3952 0249, 0 3951 1008 |
|
|
|
หาดทรายดำ |
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปิด ห่างจากอำเภอแหลมงอบประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกแหลมงอบ-บ้านแสนตุ้งประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ชายหาดอ่าวตาลคู่มีลักษณะเด่น คือ หาดทรายเป็นสีแดงละเอียด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนเพราะมีความสวยงามอากาศดี และในบริเวณมีร้านอาหาร ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด |
|
|
|
หาดลานทราย |
|
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีบรรยากาศที่เงียบสงบนักท่องเที่ยวนิยมมา พักผ่อนกัน การเดินทาง แยกขวาตามเส้นทางไปคลองใหญ่ ทางหลวงหมายเลข 318 ถนนตราด-คลองใหญ่ ตำบลแหลมกลัด เข้าไปประมาณ 11 กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าทางหลวง 3292 บริเวณหาดมีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียว ได้แก่ หาดลานทราย รีสอร์ท |
|
|
เกาะปุย |
|
เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ฝั่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเหมาะที่จะพักผ่อน แวดล้อมด้วยธรรมชาติงดงาม บรรยากาศร่มรื่น การเดินทางสะดวกปลอดภัยทุกฤดูกาล บนเกาะมีสวนมะพร้าว สมุนไพรนานาชนิด และบ่อดินสอพองที่ได้รับการกล่าวถึงเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตราด หาดที่เกาะปุยมีลักษณะเป็นเลนปนทราย จึงไม่เหมาะสำหรับว่ายน้ำ แต่เหมาะสำหรับผู้ที่รักสงบ และต้องการพักผ่อนเงียบ ๆ
เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ฝั่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเหมาะที่จะพักผ่อน แวดล้อมด้วยธรรมชาติงดงาม บรรยากาศร่มรื่น การเดินทางสะดวกปลอดภัยทุกฤดูกาล บนเกาะมีสวนมะพร้าว สมุนไพรนานาชนิด และบ่อดินสอพองที่ได้รับการกล่าวถึงเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตราด หาดที่เกาะปุยมีลักษณะเป็นเลนปนทราย จึงไม่เหมาะสำหรับว่ายน้ำ แต่เหมาะสำหรับผู้ที่รักสงบ และต้องการพักผ่อนเงียบ ๆ การเดินทาง ควรไปเช่าเรือจากท่าเรือแหลมงอบ หากมีรถไปเองควรไปขึ้นเรือที่แหลมอวน โดยใช้เส้นทางตราด-แหลมงอบ 15 กิโลเมตร จะมีปั๊มน้ำมัน ปตท. อยู่ทางขวามือแล้วมีทางแยกเข้าทางลูกรังประมาณ 5 กิโลเมตร มีป้ายบอกชื่อแหลมอวนอยู่ทางซ้ายเข้าไป 500 เมตร สามารถหาเรือข้ามฟากไปยังเกาะปุย และมีบริการรับฝากรถ ค่าเช่าเรือไป-กลับ แหลมอวน-เกาะปุย ในราคา เหมาลำประมาณ 200-300 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 10 นาที |
|
|
|
อ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 |
|
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.ด่านชุมพล ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดจนถึงอ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 สร้างขึ้นมาตามโครงการหมู่บ้านทับทิมสยาม ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ บริเวณอ่างเก็บน้ำมีสภาพพื้นที่โอบล้อมด้วยภูเขามีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ศูนย์ฝึกอบรมทับทิมสยาม สปอร์ตแคมป์ ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านด่านชุมพล สามารถใช้เป็นที่เข้าค่ายฝึกอบรม ทำกิจกรรมพายเรือแคนู คายัค จักรยานเสือภูเขา ไต่หน้าผาจำลอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต.ด่านชุมพล โทร. 0 3952 1683 |
|
|
|
วัดสะพานหิน |
|
ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 31-32 ถนนตราด-คลองใหญ่ ทางหลวงหมายเลข 318 ตามเส้นทางไปคลองใหญ่ มีทางแยกทางซ้ายมือจากถนนเข้าสู่วัด วัดนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี กลางสระน้ำมีโบสถ์เก่าแก่ อยู่ห่างจากวัดประมาณ 1 กิโลเมตร มีแนวหินเชื่อมสองฝั่งคลองใช้เป็นเส้นทางคมนาคม |
|
|
|
โบราณสถานจวนเรสิดังกัมปอร์ต |
ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยาลดชั้น เคยใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ในระหว่างปี พ.ศ. 2453-2464 ได้กลายเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2450-2471 |
|
|
|
ส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย |
|
ตั้งอยู่บนเส้นทางสายตราด-คลองใหญ่บ้านโขดทราย หมู่ที่ 2 บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 81–82 ส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 450 เมตร เท่านั้น
|
|
|