น้ำตกผานางคอย | |||
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งเป็นชั้นๆ มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ และลักษณะเด่นคือ มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง การเดินทาง จากสี่แยกอำเภอเขาวงทางหลวงหมายเลข 2291 เดินทางเข้าทาง รพช. มีป้ายตรงไปน้ำตกผานางคอยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร |
|||
น้ำตกตาดทอง | |||
อยู่ในเขต อำเภอเขาวง บนเส้นทาง เขาวงดงหลวง-มุกดาหาร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามด้วยโขดหินสลับซับซ้อน ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด น้ำตกตาดทองจะจัดให้มีงานขึ้นทุกๆ ปี ในช่วงเดือนตุลาคม รถยนต์สามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้โดยสะดวก
การเดินทาง เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2291 ถึงสามแยกกุดปลาเค้าเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2287 กิโลเมตรที่ 76 น้ำตกจะอยู่ทางขวามือ |
|||
ผาเสวย | |||
อยู่บนเทือกเขาภูพาน เขตบ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 58 กิโลเมตร เส้นทางสายสมเด็จ-สกลนคร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ผารังแร้ง” เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับนั้นว่า “ผาเสวย” ลักษณะตั้งอยู่บนเหวลึก หน้าผาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่า “เหวหำหด” บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพและเป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี | |||
พุทธสถานภูสิงห์ | |||
อยู่บนยอดเขาภูสิงห์ ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ 34 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2319 มีทางขึ้น 2 ทาง คือ ทางลาดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก และทางเดินเท้าทำเป็นบันได 401 ขั้น ทางทิศตะวันออก เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา หมู่บ้านและน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วย พุทธสถานภูสิงห์เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10.5 เมตร มีพระวรกายสง่างาม เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่น | |||
เมืองฟ้าแดดสงยาง | |||
เมืองฟ้าแดดสงยาง ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปง ห่างจากตัวจังหวัด 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสย เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2367 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยอีกประมาณ 400 เมตร เมืองฟ้าแดดสงยางหรือที่เรียกเพี้ยนเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกเมืองเสมาเนื่องจากแผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบ 2ชั้น ความยาวของคันดินโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางคันดินทั้งสอง จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ดังหลักฐานทางพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและนอกเมือง เช่น ใบเสมาหินทราย จำหลักภาพเรื่องชาดก และพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามซึ่งอยู่ภายในเมือง บางแห่งอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีซากศาสนสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมืองและนอกเมือง เช่นพระธาตุยาคู และกลุ่มเจดีย์บริเวณศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด และโนนฟ้าแดด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479 พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ใน สมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมือง เคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน.com |
|||
พุทธสถานภูปอ | |||
ตั้งอยู่ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2319 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวารวดี จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่บนภูปอ นอกจากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง ประชาชนในท้องถิ่นจัดงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นประมาณเดือนเมษายนของทุก ปี |
|||
ิอนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) | |||
ตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริงยืนบนแท่นมือขวาถือกาน้ำ มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ทุกหมู่เหล่าได้สละทรัพย์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์ |
|||
วัดกลาง | |||
อยู่ที่อำเภอเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ดำ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปลักษณะงดงาม สร้างในสมัยพระเจ้าคูนาข้าม พระชัยสุนทร (กิ่ง) ได้นำมาเป็นพระพุทธรูปศรีเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ หากปีใดฝนแล้งประชาชนชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปออกแห่ขอฝนเสมอ ที่พระแท่นมีรอยจารึกเป็นอักษรไทยโบราณนอกจากพระพุทธรูปองค์ดำแล้ว วัดกลางยังมีพระพุทธบาทจำลองขนาดกว้าง 1 ศอก ยาว 4 ศอก ทำด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าในสมัยละว้าปกครอง เดิมอยู่ริมลำปาวใกล้แก่งสำโรงได้มีการสมโภชน์ทุกปี แต่ต่อมาตลิ่งลำปาวพังเข้ามาทุกปี ชาวเมืองเกรงจะถูกน้ำเซาะทำลาย จึงได้อัญเชิญมาไว้ในพระอุโบสถร่วมกับพระพุทธรูปองค์ดำ | |||
วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ) | |||
เป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีเสมาจำหลักเมืองฟ้าแดดสูงยางจำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้ โดยปักไว้รอบพระอุโบสถ หลักเสมาจำหลัก ที่สวยงามคือ หลักที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาททำเป็นซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปแบบทวารวดี) ซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ล่างสุดมีรูปกษัตริย์ พระมเหสี และพระโอรส | |||
พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) | |||
ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 28 กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปอีก 1 กิโลเมตร บริเวณภูกุ้มข้าว ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของวัดสักกะวัน เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก รวมทั้งโครงกระดูกไดโนเสาร์ทั้งตัวที่สมบูรณ์ที่ฝังอยู่ในพื้นดินและได้รับ การขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิริธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิดมนุษย์ ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กำหนดเปิดให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ปิดทุกวันจันทร์ เว้นแต่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์จะเปิดให้บริการตามปกติ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4387 1014, 0 4387 1613 - 4 นอกจากนี้ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดสักกะวัน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง พิพิธภัณฑ์สิรินธร ได้รับรางวัลอุทสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือยอดเยี่ยม |
|||
วนอุทยานภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ )์ | |||
ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่นกระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย |
|||
แหลมโนนวิเศษ | |||
เป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต. โนนบุรี อ. สหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมาก ปัจจุบันแหลมโนนวิเศษมีแพขนานยนต์ที่ใช้สัญจรข้ามฟากระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ. หนองกุงศรี จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ทั้งรถ 6 ล้อ และ 4 ล้อ ครั้งละ 4-10 คัน ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 15–20 นาที |
|||
วนอุทยานภูพระ | |||
อยู่ที่ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จากตัวเมืองใช้เส้นทาง อำเภอเมือง-อำเภอยางตลาด-อำเภอท่าคันโท อยู่ห่างจากตัวเมืองท่าคันโทไป 4 กิโลเมตร ภายในวนอุทยานประกอบด้วยสวนหินรูปร่างแปลกตา อยู่ท่ามกลางป่าเต็งรัง ครอบคลุมพื้นที่ 65,900 ไร่ ภายในวนอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ ผาเสวย เป็นลานหินผากว้าง มีความลึกของหน้าผาประมาณ 150-200 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ถ้ำเสียมสับ เป็นถ้ำของหินผาที่มีลักษณะคล้ายเสียมที่ขุดลงหิน ซึ่งเมื่ออยู่หน้าปากถ้ำจะเห็นหินผาที่สูง ถ้ำพระรอด เป็นถ้ำที่เกิดจากการแยกตัวของหินผา ภายในถ้ำมีทางเดินกว้างประมาณ 2 เมตร ระยะทางประมาณ 30 เมตร ในสมัยก่อนจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ผาหินแยก เป็นหน้าผาที่แยกตัวเป็นทางยาวประมาณ 20 เมตร ลึก 6 เมตร ซึ่งผาที่แยกตัวออกมาจะมีลักษณะเอนเอียงเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้ ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำกว้าง 15 เมตร มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และราษฎรในท้องถิ่นต่างให้ความเคารพสักการะเป็น อย่างยิ่ง ในช่วงสงกรานต์จะมีงานเดินขึ้นภูพระเพื่อสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี การเดินทาง จากอำเภอท่าคันโท ใช้ทางหลวงหมายเลข 2299 กิโลเมตรที่16 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถประจำทางสายอุดรธานี-กาฬสินธุ์ ลงที่วัดสว่างถ้ำเกิ้งซึ่งอยู่บริเวณหน้าวนอุทยานฯ |
|||
น้ำตกแก้งกะอาม | |||
บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 213 ประมาณ 55 กิโลเมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ ใกล้ทางหลวงแผ่นดิน
|
|||
วัดพุทธนิมิตภูค่าว | |||
ตั้งอยู่บ้านนาสีนวล ตำบลสหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอสหัสขันธ์ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา ยาวประมาณ 2 เมตร กว้าง 50 ซม. เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ภายในวัดยังมีอุโบสถไม้แบบเปิด แกะสลักลวดลายงดงาม ตามประตู หน้าต่าง เพดาน เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และยังมีวิหารสังฆนิมิตร ซึ่งเป็นที่เก็บพระพุทธรูป และพระเครื่องรุ่นต่างๆ ที่หายาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน |
|||
วงเวียนโปงลาง | |||
ตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์เมืองกำเนิดโปงลาง เครื่องดนตรี โดยศิลปินแห่งชาติ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ผู้ประดิษฐ์ขึ้นจากเกราะหรือกะลอสมัยโบราณนำมาประยุกต์ทำเป็นไม้ 13 ท่อน ทำจากไม้มะหาด เรียงร้อยเป็นเครื่องตีปัจจุบันโปงลางแพร่หลายไปทั่วประเทศรวมถึงต่างประเทศ ที่คนไทยไปอาศัยอยู่และนำไปเผยแพร่ วงเวียนโปงลางสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงดนตรี เพลงลายเต้ยโขง และลายลมพัดพร้าว ณ วิทยาลัยนาฎศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 |
|||
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม หรือ วัดบ้านก้อม | |||
ตั้งอยู่บ้านเสมาตรงข้ามกับทางเข้าเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นวัดเก่าที่ชาวบ้านได้นำใบเสมาหินที่ขุดพบมารวบรวมไว้จำนวนมาก มีใบเสมาหินขนาดใหญ่ที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์ของอีสานเนื่องจากแทบจะไม่พบใน ภาคอื่นเลย ใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยางมีความโดดเด่นคือ นิยมแกะสลักภาพเล่าเรื่องราวพุทธประวัติและชาดก มีใบเสมาจำลองหลักที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุด สลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยพระ เจ้าสุทโธทนะ พระราหุล และนางยโสธราพิมพา เข้าเฝ้าแสดงสักการะอย่างสูงสุดด้วยการสยายพระเกศาเช็ดพระบาทองค์พระ พุทธเจ้า เรียกเสมาหินภาพ “พิมพาพิลาป” ซึ่งใบเสมาหลักนี้ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น |
|||
พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ | |||
ตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัด (อาคารเดิม) จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิต อาชีพหัตถกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทย ชนชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มมอญที่อพยพมาจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูในแคว้นสิบสองจุ ไทย เคลื่อนย้ายผ่านเวียดนามและลาวข้ามฝั่งโขงมาอาศัยตั้งรกรากอยู่ทางอีสานของ ไทยโดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีชนเผ่า ผู้ไทยอาศัยอยู่ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ อำเภอนาคู และกิ่งอำเภอสามชัย ภายในห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ ได้จำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชน ชาวผู้ไทยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น การทอผ้า การทอเสื่อ เรือนผู้ไทย การเลี้ยงสัตว์ การทำเลือกสวนไร่นา เป็นต้น | |||
กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน | |||
อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 227 ผ้าแพรวาเป็นผ้าไหมลายมัดหมี่ที่มีลายเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มทอผ้าชาวผู้ ไทยบ้านโพนแบ่งออกเป็น 2 ลาย ได้แก่ ลายหลัก และลายแถบ ส่วนสีของผ้าแพรวามิได้มีเพียงสีแดงเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีการให้สีต่างๆ มากขึ้นตามความต้องการของตลาด เช่น สีครีม สีชมพูอ่อน สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าการทอผ้าแพรวาเป็นงานศิลปหัตถกรรมประเภทสิ่งทอที่หาได้น้อย แห่งในประเทศไทย ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงสนับสนุนจนเป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ | |||
หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง | |||
เดิน ทางจากอำเภอกุฉินารายณ์ ไปตามถนนหมายเลข 2042 ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านนาไคร้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร หมู่บ้านวัฒนธรรมไทยโคกโก่ง เป็นหมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวผู้ไทย เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้พักแรม (home stay) สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน กิจกรรมที่จัดให้ได้แก่ พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีเหยา (การรักษาผู้ป่วย) ประเพณีลงข่วง รับประทานอาหารพื้นบ้านแบบพาแลง ชมการแสดงศิลปพื้นบ้าน และเพลิดเพลินกับการเดินชมป่าเขาลำเนาไพร น้ำตกตาดสูง-ตาดยาว ศึกษาธรรมชาติพรรณไม้และพืชสมุนไพรท้องถิ่น ตามเส้นทางเดินป่าในวนอุทยานภูผาวัว เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4381 9500 การเดินทาง จากอำเภอกุฉินารายณ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2042 ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านนาไคร้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือดีเด่น |
|||
กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หนองห้าง | |||
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองห้าง ต. หนองห้าง ห่างจากอำเภอกุฉินารายณ์ประมาณ 10 กม. จากที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ไปตามถนนหมายเลข 2042 ประมาณ 2 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดยางประมาณ 8 กม. ชาวบ้านที่นี่มีฝีมือในการจักสานไม้ไผ่เป็นลวดลายผ้าขิด ฝีมือประณีตสวยงามมาก ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กระเตาะ กระติ๊บ กระเป๋า และภาชนะต่างๆ | |||
|