|
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 |
เมืองมัลลิกา ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กับเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าไปเที่ยวชมและพักผ่อน ได้สนุกกับการแต่งตัวแบบไทยๆ ชมบรรยาศแบบย้อนยุคที่สรรสร้างเพื่อให้ใกล้เคียงกับสมัยก่อน รวมถึงเที่ยวชมการใช้ชิวิตของชาวบ้านในยุคนั้น และได้ชมบ้านเรือนไทย ร้านค้าแบบไทย ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และได้ทานอาหารแบบไทยๆ แบบเปิปข้าวด้วยมือ อร่อยไปอีกแบบ และยังมีการแสดงโขนให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน
เป็นเมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วิถีชีวิตของชาวสยามในยุค ร.ศ.๑๒๔ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายหลายด้าน ที่เด่นชัดมากคือการประกาศเลิกทาส เมื่อทาสได้รับความเป็นไทพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติหรือการดูแลของบรรดาเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป พวกเขาต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอด พึ่งตนเอง และอยู่ร่วมกับคนสยามทุกหมู่เหล่า การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้นับเป็นรากเหง้าสำคัญของคนไทยในยุคปัจจุบัน
|
|
|
|
เมืองมัลลิกา ในความหมายของ อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ เป็นเมืองที่มีความหมายมาจากแม่น้ำที่เป็นต้นน้ำอิระวดีในประเทศพม่า ซึ่งเป็นแหล่งรวมอารยะธรรมโบราณในแถบภูมิภาคนี้ แต่ตามความหมายของพจนานุกรมไทยแปลว่า “มะลิ“ ซึ่งการออกแบบทางสถาปัตยกรรมนั้น ผู้ออกแบบคือ อาจารย์ ชาตรี ปกิตนนทกานต์ ในขณะที่ออกแบบท่านดำรงตำแหน่ง คณะบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชา สถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้ผูกเรืองเพื่อการออกแบบโดยมีตัวละครหลักคือ แม่มะลิ หญิงสาวชาวบ้านอันงดงามอาศัยอยู่บ้าน “เรือนเดี่ยว” เป็นลูกสาวชาวนา ต่อมาได้แต่งงานกับข้าราชการหนุ่ม และเริ่มค้าขายโดยสร้าง “เรือนแพ” ไว้สำหรับค้าขาย โดยอาศัยที่มีสามีเป็นข้าราชการทำให้มีช่องทางในการค้าขายโดยเฉพาะการค้าขายน้ำตาลโดยเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาซื้อมากขึ้น และโดยที่แม่มะลิเอง มีความงดงามและเรียบร้อยตามแบบฉบับหญิงไทย ทำให้การค้าขายยิ่งเจริญงอกงามในขณะที่สามีซึ่งรับราชการก็มีบรรดาศักดิ์สูงขึ้น ฐานะก็มั่นคงขึ้นจึงได้สร้าง “เรือนคหบดี” ขึ้นให้สมกับฐานะที่สูงขึ้น จากบรรดาศักดิ์ ที่สูงขึ้นประกอบการค้าที่เจริญรุ่งเรือง ทำให้มีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กับบรรดาข้าราชการผู้สูงศักดิ์มากขึ้นจึงได้สร้าง “เรือนหมู่” ขึ้นเพื่อไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอย่างสมศักดิ์ศรี จึงเกิดมีเรือนไทยตามแบบที่ถูกต้องตามหลักการสร้างเรือนประเภทต่างๆ ในเมืองมัลลิกา |
|
เมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔ จึงเป็นเมืองที่เราภาคภูมิใจ เพื่อแสดงให้ชาวไทยได้รู้ว่าบรรพบุรุษของเรานั้นมีภูมิปัญญาไม่แพ้ชาติใดในโลก แสดงให้ชาวโลกได้รู้ว่าชนชาติไทยมีเอกลักษณ์ที่เป็นไทยแท้ไม่แพ้ชาติใดในโลก |
|
|
|
|
|
ติดต่อ |
|
168 หมู่ 5 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
|
ติดต่อได้ที่ โทร.034-540884–86 |
|
http://www.mallika124.com |
|
https://www.facebook.com/MallikaR.E.124/ |
|
|
แผนที่ เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 |
|
|