WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

9 วัด พระองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

แนะนำสถานที่ทำบูญไหว้พระ 9 วัด พระองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อเป็นศิริมงคลให้กิจการรุ่งเรืองใหญ่โต
รวมถึงหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้าและใหญ่โต สมกับได้กราบไหว้พระพุทธรูปองค์ใหญ่

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร

ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ บางขุพรหม เป็นวัดเก่าแก่ เริ่มก่อตั่ง ปีพ.ศ. 2410 คนเก่าแก่เชื่อว่าได้ไปกราบไหว้ท่าน จะทำการค้าขาย มีเงินทอง ไม่ขาดมือ

ประวัติโดยย่อ
ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2471

ปัจจุบันมีงานฉลองเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี

พระนอนวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

พระนอนวัดโพธิ์ หรือพระพุทธไสยาสน์ คนโบราณเชื่อกันว่าได้ไปกราบท่าน จะทำให้ชีวิต อยู่เย็นเป็นสุขสบาย

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันว่า วัดโพธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระนอนที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐคือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์
พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๒๐ บาท
สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรี ห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชม

สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.0-๒๒๒๒-๗๘๓๑, ๒๒๕-๙๕๙๕, ๒๒๑-๑๓๗๕, ๒๒๑-๙๔๔๙
โทรสาร 0-๒๒๒๒-๙๗๗๙, ๒๒๑-๔๘๔๓

หลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

หลวงพ่อโต ปางมาวิชัย วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของชาวจีน และชาวฝั่งธน และเชืกันว่าได้ไปกราบท่าน และของพร กิจการเจิรญใหญ่โต และ หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรืองเช่นกัน

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ
พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างพระราชทาน เป็น ๑ ใน ๒ วัด ของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคืออุโบสถวัดบางขุนเทียนใน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔

www.watkalyanamitra.com

พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ

พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ เป็นพระพุทธรูปอีกหนึ่งองค์ที่ความสวยงาม และมีประวัติ
เก่าแก่ของชาว กรุงเทพ เชื่อกันว่าได้มากราบขอพร จะทำให้ การงานมั่นคง และเจริญก้าวหน้า

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส" โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ
และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า "วัดสุทัศนเทพธาราม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร
พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์
พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก

หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง อยุธยา เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นที่นับถือคนไทยเชื้อสายจีนเป้นอย่างมาก เชื่อกันว่าได้ไปกราบท่าน และขอพร กิจการเจิรญใหญ่โต และ หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรืองเช่นกัน

หรือเรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง
ประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโตองค์นี้ว่า "ซำปอกง" (三寶公/三宝公) หรือ "ซำ​ปอฮุดกง​"

พระพุทธไตรรัตนนายกประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุม
ตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง

วัดม่วงตั้งอยู่ บ้านหัวตะพาน ต.หัวตะพานอ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
มี หลวงพ่อใหญ่ ที่สวยงาม สามารถมองเห็นแต่ไกล และเป็นวัดที่ชาวอ่างทอง
และคนทั่วทุกสารทิศต่างมา กราบไหว้หลวงพ่อใหญ่ ด้วยเหตุถือว่าเป็นศิริมงคล
ขอพรทำอะไรของให้ประสบความสำเร็จ และธุรกิจเจิญรุ่งเรือง ใหญ่โต ตาม
ชื่อหลวงพ่อใหญ่นั่นเอง

วัดม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล

โทร. 035-631556, 035-631974

หลวงพ่อโต ที่วัดป่าเลไลย์

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลย์ เป็นวัดที่าเก่าแก่ชองชาวสุพรรณ และหลวงพ่อมีความศักสิทธิ์มากเชื่อกันว่า มากราบไหว้ท่าน และขอพรจะทำให้ ติดต่องานง่าย ไปไหนมาไหนคนเมตตรา และทำให้การค้าขายรุ่งเรือง

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์”
 
เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
   ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลา

วัดศรีชุม พระอจนะ

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า “พระอจนะ” องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าได้ไปกราบท่านแล้ว จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิต

วัดศรีชุมมีการวางผังที่แปลกกว่าวัดทั่วไป ที่ใช้มณฑปที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานเป็นประธานของวัดเปรียบเป็นอุเทสิกเจดีย์ และมีพระวิหารต่อออกมาแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นักโบราณคดีให้ความเห็นว่ามณฑปพระอจนะน่าจะสร้างโดยมีคติเป็นพระคันธกุฎี คือที่ประทับของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล

หลวงพ่อโต วัดบางจาก นนทบุรี

วัดบางจากสร้างเมื่อ พ.ศ. 2365 ย้ายมาจากวัดบางภูมิร้าง มาอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีโบสถ์เก่าแก่อายุเกือบ 200 ปีพอทำการบูรณะยกโบสถ์ก็ได้พบพระพุทธรูปใต้ฐานจนเกิดเป็นความเชื่อของการลอดโบสถ์เพื่อความเป็นสิริมงคล และกราบไหว้หลองพ่อโต จะทำให้กิจการรุ่งเรือง ดั่งหลวงพ่อโต

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เกาะเกร็ด หมู่บ้านมอญ