❝ วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร เพชรบุรี เดิมชื่อว่า "วัดน้อยปักษ์ใต้" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วัดได้รับการปฏิสังขรณ์ที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม ความสวยงาม และความเก่าแก่ของ วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร เพชรบุรี มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ได้แก่ ❞
1.พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยรูปหล่อพระสังฆราชแตงโม หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต วิหารคต
2.ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน ลงรักปิดทอง แต่การบูรณะผิดพลาดทำให้ถูกทาทับด้วยสีแดงทั้งหลัง เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นของเจ้าฟ้าพระขวัญ ตำหนัก ต่อมาพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโมโดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีหลัก มีรอยแผลบนประตู ทำให้มีประตูแตก ชำรุดถาวร เรียกรอยพม่าฟัน แต่นักวิชาการให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นการทำลายประตูตั้งแต่ครั้งรื้อตำหนักถวายสมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุณี) พระสังฆราช เกี่ยวเนื่องกับเรื่องวิญญานเจ้าฟ้าพระขวัญ เจ้าของตำหนักเดิม ที่ถูกพระเจ้าเสือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชาประชวรใกล้สวรรคต
3.หอเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก
ชมสถาปัตยกรรม และความสวงงามของ "วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร เพชรบุรี "
เวลาเปิดทำการ