WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ัหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ

ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง การเดินทางจากตัวเมืองหนองคายใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ทางไปอุดรธานี เลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 211 สายหนองคาย-ท่าบ่อ ถึง กม.ที่ 31 จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 43 กิโลเมตร หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทอง ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร สูง 4 เมตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก จากหลักฐานศิลาจารึกทำให้ทราบว่า พระเจ้าองค์ตื้อสร้างเมื่อพุทธศักราช 2105 ผู้สร้างคือ พระไชยเชษฐา กษัตริย์นครเวียง หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ 1 ตื้อ (ตื้อ เป็น มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง 7 ปี 7 เดือน ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4


หลวงพ่อพระใส
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวหนองคาย ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย อ. เมือง เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านช้าง

ตามตำนานกล่าวว่า พระราชธิดาทั้ง ๓ พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๓-๒๑๑๕) กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง พระนามว่า สุก, เสริม, ใส โปรดให้หล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ ขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของพระองค์ว่า พระเสริม พระสุก และพระใส ประดิษฐานรวมกันไว้ในเมืองเวียงจันทน์

ต่อมาเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ยกทัพไปปราบกบฏในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๑ เมื่อเหตุการณ์สงบ ฝ่ายไทยจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์มาฝั่งไทย ขณะล่องแพมาตามแม่น้ำงึม เกิดพายุ ทำให้พระสุกจมลงในน้ำงึม ในที่สุดจึงอัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย และอัญเชิญพระใสไปประดิษฐานไว้ ณ วัดหอกอง (วัดประดิษฐธรรมคุณ) ใน จ. หนองคาย

วัดหินหมากเป้ง
ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) ถึง กม. 64 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2186 วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม อาจารย์เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย่

วัดโพธิ์ชัย

เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ


้พระธาตุบังพวน

ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู ตำบลพระธาตุบังพวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 23 กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองหนองคายมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (หนองคาย-อุดรธานี) ประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 211 ทางไปท่าบ่อ ถึงกม. 10 วัดอยู่ด้านขวามือ พระธาตุบังพวนเป็นเจดีย์เก่าแก่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายมาช้านาน ตัวองค์พระธาตุเดิมสร้างด้วยอิฐเผา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น เป็นสถูปแบบอินเดียรุ่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้พังทลายลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 เนื่องจากฐานทรุด เจดีย์องค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เป็นรูปปรางค์สี่เหลี่ยมต่อกันเป็นบัวปากระฆัง มีฐานทักษิณ 5 ชั้น กว้าง 17.20 เมตร ชั้นที่ 6 เป็นรูประฆังคว่ำ ชั้นที่ 7 เป็นรูปดาวปลี เหนือขึ้นไปเป็นที่ตั้งฉัตร สูงจากพื้นดิน 34.25 เมตร ชาวหนองคายจัดงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 11 ค่ำเดือนยี่ของทุกปี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ สัตตมหาสถาน หรือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งในพุทธประวัติหลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วและ ได้เสด็จประทับเสวยวิมุติสุขแห่งละ 7 วัน และสระปัพพฬนาค หรือสระพญานาค ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ก็จะนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อเป็นสิริมงคล


วัดผาตากเสื้อ

วัด ผาตากเสื้อ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทยลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์สามารถเดินเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและ ทิวทัศน์ที่สวยงามได้

การเดินทาง จากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่ถนนหลวงหายเลข 211 เรียบแม่น้ำโขง ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร ถึงบ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จะมีป้ายทางซ้ายมือบอกเส้นทางไปวัดถ้ำเพียงดินอีก 14 กิโลเมตร และวัดผาตากเสื้อ 7 กิโลเมตร โดยแยกทางขวามือ การเดินทางสามารถมาได้โดยรถประจำทาง บขส. สายหนองคาย-เลย ผ่านอำเภอสังคม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง วันละหลายเที่ยวตั้งแต่เวลา 06.00-16.00 น. ออกทุก 30 นาที และต่อสองแถวซึ่งออกวันละ 1 เที่ยวเท่านั้น เพื่อเข้าไปชมวัดถ้ำเพียงดิน และวัดผาตากเสื้อ ระหว่างทางมีร้านอาหารไม่มาก นักท่องเที่ยวควารเตรียมสะเบียงอาหารสำรองไว้ด้วย

นัก ท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวชมวัดถ้ำศรีมงคล (ถ้ำเพียงดิน) และวัดผาตากเสื้อ สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง โทร. 0 4290 1013


วัดสว่างอารมณ์

(วัดถ้ำศรีธน) จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ไป 90 กิโลเมตร ถึงอำเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไปอีก 500 เมตร วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้และลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอนให้ผู้คนสักการะบูชา บนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว์


วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์
ตั้งอยู่ริมถนนสายศรีเชียงใหม่-สังคม ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์และเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อถวายหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เกจิอาจารย์ที่มีศิษยานุศิษย์มากมาย มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา ปัจจุบันได้มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2548

ศาลาแก้วกู่

ศาลาแก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้เกิดจากแรง บันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้งานปั้นอันใหญ่โต อลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆรูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.30 น. ค่าเข้าชม 10 บาท