WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ซืนวาน

สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองอุบล ซืยวานตกแต่งและออกแบบแนวย้อนยกซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเที่ยวชม ของเก่า ในสมัยเราตอนเด็ก หรือ รุ่นคุณปู่คุณย่า ซึ่งหาชมได้ยาก ซืนวานได้รวบรวมของเก่ามาให้นักท่องเที่ยวได้ชม และยังมีกิจกรรมการแสดงมากมายให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนและสนุกสนานกับกิจกรรมในซืยวาน


อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ 


อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย

มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530


แก่งสองคอน สามพันโบก

สามพันโบก สถานที่ท่องเที่ยว Amazing ของจังหวัดอุบล ชมความงามของแก่งหินที่เกิดจากโรรมชาติ และชมซากฟอสซิล


หอไตรหนองขุหลุ

ตั้งอยู่ที่บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล เป็นหอไตรที่ตั้งอยู่ในหนองน้ำ หนองขุหลุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2459-2461 โดยหลวงปุ่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย  ตัวอาคารหอไตรเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นอีสาน สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ภายในเป็นห้องทึบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลาน มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศใต้ทางเดียวเท่านั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายแสดงถึงฝีมือของช่างท้องถิ่น


อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด) ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้


เขื่อนสิรินธร
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 แยกขวาที่กิโลเมตร 71 ไปอีก 500 เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร อำนวยประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริมทะเลสาบมีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร. 0 2436 6046-8 หรือ ที่เขื่อนสิรินธรโทร. 0 4536 6081-3

วัดภูหล่น

ตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ ห่างจากตัวอำเภอ 20 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 78 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2135 บริเวณกิโลเมตรที่ 31-32 เส้นอำเนาจเจริญ-ศรีเมืองใหม่  เป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่นเริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานกับหลวงปู่เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์ มีบันไดศิลาแลงทอดขึ้นไปบนยอดเขา ซึ่งมีเพิงผาหินและร่มครึ้มด้วยแมกไม้


วัดดอนธาตุ

ตั้งอยู่บนเกาะกลางลำน้ำมูลที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวอำเภอไปตามทางหลวงหมายเลข 2222 (พิบูลฯ-โขงเจียม) ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยจำพรรษา ปัจจุบันยังมีเวชนียสถานและอัฐบริขารของท่านที่หลงเหลืออยู่ เช่น กุฎิ แท่นหินนั่งสมาธิ

 

 


วัดป่าโพธิญาณ

ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปตามทางหลวงหมายเลข 217 (สายอุบล-ช่องเม็ก) ประมาณ 90 กิโลเมตร โดยก่อนถึงด่านช่องเม็กประมาณ 2 กิโลเมตร ด้านขวามือมีถนนเข้าสู่วัดระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นวัดป่าสาขาที่ 8 ของวัดหนองป่าพง

 

 


วัดป่าไทรงาม

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตร ทางเข้าวัดอยู่เยื้องกับทางเข้าสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดม เป็นวัดป่าสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง และเป็นวัดที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

 


บ้านคำปุน
เป็นร้านออกแบบ ผลิตและจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของเมืองอุบลฯ มีโรงเรือนนผลิตผ้าทอ ตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ ซึ่งเป็นเรือนไทยอีสานประยุกต์ที่งดงามและมีเอกลักษณ์ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและด้านการตกแต่งภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองอีสาน ที่อนุรักษ์สั่งสมผ้าโบราณสูงค่ามากมาย  บ้านคำปุนจะเปิดโรงเรือนผลิตผ้าทอให้บุคคลภายนอกได้ชื่นชม ปีละครั้ง ในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

แก่งสะพือ
เป็นแก่งหินที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม เป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน เกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช   เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว สร้างเมื่อ   พ.ศ. 2461 เดิมใช้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาทางจังหวัดได้มอบอาคารหลังนี้ให้กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติการตั้งเมือง โบราณวัตถุซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านศิลปโบราณคดี หัตถกรรมพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง และเครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบล 

เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. 

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4525 5071

หมายเหตุ - ตลอดเดือนกรกฎาคม 2550 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี มีกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของเมืองอุบลมากมาย รวมทั้งเป็นที่จัดงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติอีกด้วย

่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
อยู่ถนนสุปัฏน์ เป็นวัดธรรมยุติ วัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี จัดสร้างโดยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้เริ่มสร้างวัดในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “วัดสุปัฎนาราม” อันหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสม เป็นท่าเรือที่ดี สิ่งสำคัญในวัดคือพระอุโบสถ ซึ่งมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร สถาปนิกผู้ออกแบบคือ หลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธุ์) นายช่างทางหลวงแผ่นดิน ลักษณะของพระอุโบสถแบ่งเป็นสามส่วน คือ ส่วนหลังคาเป็นศิลปะแบบไทย ส่วนกลางเป็นศิลปะตะวันตก และส่วนฐานเป็นศิลปะแบบขอม ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานของวัด คือพระสัพพัญญูเจ้า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

วัดพระธาตุหนองบัว

อยู่ชานเมืองอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตรตามถนนเลี่ยงเมือง จะมีทางแยกตลาดหนองบัว (จากถนนใหญ่) เข้าไปประมาณ 700 เมตร ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น

 


แก่งลำดวน  

ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ณ ผืนป่าสมบูรณ์ปลายล่างสุดของภาคอีสานในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี   ซึ่งอยู่ใกล้รอยต่อเขตแดน 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและกัมพูชาหรือที่รู้จักกันดีในนาม “สามเหลี่ยมมรกต”  จะปรากฏเหตุการณ์ที่แสนมหัศจรรย์เมื่อบรรดากุ้งน้ำจืดนับล้านๆตัวต่างพากัน พร้อมใจเดินพาเหรดผ่าน ลานหินเลียบแก่งน้ำมุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงแห่งสามเหลี่ยมมรกต  ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” เกิดขึ้นที่แก่งลำดวน บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี อำเภอน้ำยืน โดยจะเดินขบวนในช่วงกลางคืนหลังฝนตกหนักหรือสายน้ำในแก่งลำดวนมีความเชี่ยว กราก นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
แก่งลำดวน อยู่ห่างจากตัวอำเภอน้ำยืน 16  กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 160 กิโลเมตร สามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกห้วยหลวงได้สะดวก
ติดต่อสอบถาม ได้ที่ ที่ว่าการอำเภอน้ำยืน โทร. 0 4537 1089 , 0 4537 1442  สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี  หมู่ 5 บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 5491 9848, 0 9286 0935

หมายเหตุ - เนื่องจากในช่วงที่มีกุ้งเดินขบวนอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำป่าไหลหลากได้ จึงควรระมัดระวังอันตรายและรับฟังการเตือนภัยจากสถานีพัฒนาและส่งเสริมการ อนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี  ทั้งนี้ ทางสถานีฯ ได้ ติดตั้งหอกระจายข่าว บริเวณสถานีฯ และแก่งลำดวน  สามารถแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวได้ทันทีที่ได้รับรายงานสภาวะน้ำจากจุดเฝ้า ระวัง และจัดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เผ้าระวังสภาวะน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยมีจุดเฝ้าระวังอยู่เหนือปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนขึ้นไป 7 กิโลเมตร สามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง
่ 


ถ้ำเหวสินธุ์ชัย  

ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงโขงเจียมประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รอบๆวัดมีก้อนหินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย มีต้นไม้และดอกไม้ตามฤดูกาลสวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำตกไหลจากหน้าผาด้านบนผ่านลงมาบริเวณด้านหน้าพระนอนเป็น ก่อนที่จะตกลงสู่หุบเหวเบื้องล่างสร้างบรรยากาศให้ร่มเย็น จะมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน


วัดถ้ำคูหาสวรรค์  

ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ 6 กิโลเมตร วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย "หลวงปู่คำคนิง จุลมณี" ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบันหลวงปู่ท่านได้มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่าง ชัดเจน

 


แม่น้ำสองสี  
แม่น้ำสองสี หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงเกิดเป็นสีของแม่น้ำที่ต่างกันจึง เรียกกันอย่างคล้องจองว่าโขงสีปูน มูลสีคราม จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่งหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่ น้ำ ชมแม่น้ำสองสี 200 บาท / แก่งตะนะ 400 บาท/ บ้านเวินบึก 400 บาท/ ผาแต้ม 800 บาท) โดยสามารถแวะซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อีกด้วย

ัวัดทุ่งศรีวิไล  

อยู่ที่บ้านชีทวน การเดินทางทางเดียวกับวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ วัดนี้มีหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงแกะสลักปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะของชาวบ้านชีทวน นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถและวิหารหลังเก่าไปจน ถึงกำแพงรอบวัดทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ รวมทั้งหอไตรและธรรมาสน์ซึ่งก่อด้วยอิฐในสมัยนั้น

 


วัดป่านานาชาติ

ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 จะมีป้ายบอกทางขวามือ ทางเข้าเดียวกับวัดป่ามงคล วัดป่านานาชาติเป็นวัดป่าสาขาที่ 19 ของวัดหนองป่าพง ในวัดจะมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระภิกษุชาวต่างประเทศในวัดเกือบทุกรูปสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป


หาดคูเดื่อ  

เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 231(ถนนเลี่ยงเมือง) ประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณหาดคูเดื่อจะมีแพร้านอาหารเป็นจำนวนมากให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักท่องเที่ยว


วัดใต้  

หรือ “วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” (อ.เมือง) ที่นี่มี “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเมตตรัยสัทโธ” เป็นพระประธาน มีลักษณะเป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว หนักถึง 3,850 กิโลกรัม



เขื่อนปากมูล  
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้าน หัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร กรณีเขื่อนเปิดทำการสันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอ โขงเจียมไปอำเภอสิรินธรได้

วัดบ้านนาเมือง  

ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือของสนามบิน เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ประดับตกแต่งด้วยเซรามิค โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง

 


น้ำตกห้วยทรายใหญ่

(แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข 2369 ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร ถึงกม.ที่ 29 มีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน

 


ปราสาทบ้านเบ็ญ  

ตั้งอยู่ที่บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 63 กิโลเมตร บนเส้นทางเดชอุดม-น้ำยืน ปราสาทบ้านเบ็ญเป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อมประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2533 ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง 9 องค์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบอาจกำหนดอาย

ปราสาท หลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16่


วัดภูเขาแก้ว  

อยู่บนเนินเขา ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย


้ธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน  

ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี (กม.268) มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก 5 กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง 


วัดหนองป่าพง  

ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 หลวงปู่ชา (พระโพธิญาณเถร) ได้ทำการบุกเบิกปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมและได้จัดตั้ง เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีนั้น และเปลี่ยนสภาพเป็นวัดในโอกาสต่อมา วัดแห่งนี้เป็นต้นแบบของวัดป่าสายหลวงปู่ชาอีกกว่า 100 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ บริเวณวัดสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นอาคารที่จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท เปิดให้เข้าชม ตอนเช้า เวลา 10.30-12.00 น. ตอนบ่าย เวลา 14.00-18.00 น. และภายในมีเจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชา การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2178 (สายอุบล-กันทรลักษ์)ประมาณ 6 กิโลเมตรมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร


พิพิธภัณฑ์บ้านก้านเหลือง  
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลืองจากตัวเมืองไปตามทาง หลวงหมายเลข 212 ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 231 (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปอีก 2 กิโลเมตร วัดบ้านก้านเหลืองอยู่ทางซ้ายมือ กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2539 พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และแกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่าง 1,500-2,500 ปีมาแล้ว

ทุ่งศรีเมือง  

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ทุ่งศรีเมืองมีประตูทางเข้า 4 ทิศ คือ ประตูอุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในทุ่งศรีเมือง มีปฏิมากรรมจำลองเทียนพรรษาแกะสลักที่งดงาม สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น เปิดตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองมีสถานที่น่าสนใจที่สำคัญคือ
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือนซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515 เปิดระหว่างเวลา 05.00-19.00 น.
อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง)  ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีปกครองเมืองระหว่าง  พ.ศ. 2321-2338
ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
อนุสาวรีย์แห่งความดี เป็นอนุสาวรีย์ที่เชลยศึกชาวต่างประเทศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณีและคุณงามความดีของชาวเมือง อุบลราชธานี
ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึงความ


วัดทุ่งศรีเมือง

ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสังฆปาโมก(สุ้ย) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้นท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสระเกศ ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านจึงได้นำพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศฯ มายังอุบลราชธานี และได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้นเป็นที่ประดิษฐาน หอพระพุทธบาทหลังนี้คือ พระอุโบสถที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมมีลักษณะของศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศิลปะเวียงจันทน์ผสมกันอยู่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้านเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อาคารที่สำคัญอีกหลังหนึ่งคือ หอพระไตรปิฎก เป็นหอไตรที่สร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำเพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้มดปลวกไปกัดทำลาย มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว กล่าวคือ ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยเป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง ภายในห้องที่เก็บตู้พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทอง ส่วนของหลังคามีลักษณะศิลปะไทยผสมพม่าคือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้นแสดงถึงอิทธิพลศิลปกรรมพม่าที่ส่งผ่านมายังศิลปะ ลาวล้านช้าง ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้ง 2 ด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว ตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างแกะเป็นรูปสัตว์ประจำราศีต่างๆ และลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นช่องๆโดยรอบ นับเป็นหอไตรที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง


วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)  

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด ถนนอุปราช สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ “พระแก้วบุษราคัม” เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุศราคัม ตามตำนานเล่ากันว่า พระวรราชภักดี(พระวอ) พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตาคือ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหมและท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมทีพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ทางราชการได้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเป็นองค์ประธานในพิธี โดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลราชธานีจะร่วมใจกันอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า
นอกจากนี้ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม   เป็นอาคาร 2  ชั้นขนาดใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาหอแจก ซึ่งหมายถึงสถานที่ในการทำบุญทำทานของคนในสมัยก่อน   ปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุและการตกแต่งแบบเดิม   และได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่ปี 2549  โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นที่เก็บและจัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  เช่น ตู้เก็บพระไตรปิฎก ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6   ตู้เก็บคำภีร์ไบลาน    ถุงผ้าใหมสำหรับเก็บคัมภีร์  บาตรและเชิงบาตรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  รวมทั้งฮางฮด (รางน้ำทำจากไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาค)  ที่ใช้ในการสรงน้ำพระแก้วบุษราคัมของวัดศรีอุบลรัตนาราม พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าช


วัดแจ้ง  

ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ ตามประวัติเล่ากันว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการดำริของเจ้าราชบุตร(หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น โบราณสถานที่สำคัญคือ พระอุโบสถที่สร้างเสร็จในราวปี 2455 หรือหลังจากการตั้งวัด 24 ปี ได้รับการยกย่องว่ารูปทรงสวยงาม และมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นฐานโดยแท้ ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างได้ยาก อุโบสถมีลักษณะไม่ใหญ่มาก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร ฐานเตี้ยหลังคาชั้นเดียวเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีบันไดอยู่ด้านหน้า ราวบันไดปั้นเป็นรูปจระเข้หมอบ ส่วนหน้าบันหน้าอุดปีกนก และรวงผึ้งสลักไม้เป็นลายดอกบัว กอบัวอย่างสวยงาม โดยเฉพาะหางหงส์ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ทำเป็นรูปหัวนาคตรงหงอนสะบัดปลายเป็นนกเปลว อุโบสถวัดแจ้งได้รับการบูรณะเรื่อยมาโดยพยายามให้คงสภาพเหมือนเดิมที่สุด ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เคยได้รับเกียรติบัตรในงานนิทรรศการ “สถาปนิก 30” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


วัดมหาวนาราม  
ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง ถนนสรรพสิทธิ์ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดป่าใหญ่” เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการ สร้างเมืองอุบลราชธานี ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์(ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย จึงให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสมัยนิยมเป็นวัดมหาวนาราม จากหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงปูชนียวัตถุ ที่สำคัญของวัดระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับพ.ศ. 2350 โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป พระอินทร์แปง หรือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะศิลปะแบบลาว ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

หาดสลึง  
เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร  ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) ในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม-มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกัน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ปากบ้อง ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง กว้างประมาณ 56 เมตร, หินหัวพะเนียง, แก่งสองคอน, หาดหงษ์และสวนเกษตร (สวนลำไย สวนมะขามหวาน) นอกจากนี้ ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ คือ ประเพณีตักปลาในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และประเพณีสงกรานต์

วัดบูรพาราม  

ตั้งอยู่ถนนบูรพาใน เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของอาจารย์ชื่อดังทาง วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ อาจารย์สี ทาชยเสโน อาจารย์มั่น ภูริทัตโต อาจารย์ลี ธัมมธโร อาจารย์เสาร์ กันตสีโล และอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ปัจจุบันคงมีแต่รูปเหมือนทำจากหินบริสุทธิ์จากลำน้ำต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมือง

 

 


ช่องเม็ก  
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 90 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 เป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว ที่มีถนนเชื่อมต่อสู่แขวงจำปาสักซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางภาคใต้ ของประเทศลาว ในบริเวณด่านนอกจากจะเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการแล้วยังมีตลาดสินค้าชายแดน ร้านค้าปลอดภาษีในเขตประเทศลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมและจับจ่ายสินค้าได้ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแขวงจำปาสัก ได้แก่ เมืองปากเซ ปราสาทขอมวัดพู มหานทีสีทันดอน หรือสีพันดอน ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงแผ่กว้างกว่า 7 กิโลเมตร ทำให้มีเกาะแก่งจำนวนมาก และจุดที่น่าสนใจมากคือ น้ำตกหลี่ผี และน้ำตกคอนพะเพ็ง
การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศลาวผ่านด่านช่องเม็กนั้นในส่วนของชาว ต่างประเทศจะต้องใช้หนังสือเดินทาง และทำวีซ่า สำหรับคนไทยทำใบอนุญาตผ่านแดนที่สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีหรือที่ว่าการ อำเภอสิรินธรได้โดยใช้สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4525 5507 ที่ว่าการอำเภอสิรินธร โทร. 0 4536 6092 หรือนักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวแบบ 3 วัน 2 คืน สามารถติดต่อบริษัทนำเที่ยวภายในตัวเมืองอุบลได้