WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ
บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยา มีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ จำนวน 9 บ่อ ตั้งอยู่รวมกันในบริเวณพื้นที่ที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 ไร่  ภายในพื้นที่มีโขดหินน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และมีไอน้ำลอยกรุ่นขึ้นมาจากบ่อปกคลุมรอบบริเวณ น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ 17 นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติมันอร่อย ส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า

น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่กำเนิดจากลำน้ำแม่มอญ
มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสาย
ไหลตกลงมาเป็นชั้น ๆ มี 6 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการ
อุทยานฯ 1 กิโลเมตร มีทางเดินไปสะดวกและมามารถ
เดินจากบ่อน้ำพุร้อนไปถึงน้ำตกได้ น้ำตกแม่มอญ
เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลแรงจากชะง่อนผาสูงลงสู่หุบเหว
เบื้องล่าง น้ำจะตกลมาเป็นช้น ๆ สวยงาม ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 5 กิโลเมตร
น้ำตกแม่ขุน  อยู่ใกล้กับน้ำตกแม่มอญ มีลักษณะ
เป็นน้ำตกสายยาว สูงประมาณ 100 เมตร ไหลลงมา
บรรจบกับน้ำตกแม่มอญ ต้องเดินเท้าจากที่ทำ
การอุทยานฯ 5 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวควรติดต่อ
เจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทาง ถ้ำผางาม  ห่างจากที่ว่า
การอำเภอวังเหนือ 8 กิโลเมตร
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ แจ้ซ้อน 3 (ผางาม) หน่วยนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 60 กิโลเมตร มีถ้ำที่สามารถเข้าไปศึกษาและท่องเที่ยวได้
เช่น ถ้ำฟางาม ถ้ำน้ำ ถ้ำหม้อ เป็นต้น

ชมดอกกระเสี้ยวบาน  ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ของทุกปี ดอกเสี้ยวจะบานเต็มผืนป่า นักท่องเที่ยวสามารถขับรถชม ดอกเสี้วบานได้ตามเส้น
ทางแจ้ซ้อน-บ้านป่าเหมี่ยง เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร

แอ่งน้ำอุ่น  ตั้งอยู่ติดกับบ่อน้ำพุร้อน เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของน้ำพุร้อน
และน้ำเย็นที่มาจากน้ำตก แจ้ซ้อนทำให้เกิดเป็นน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิเหมาะแก่การแช่อาบ
ห้องอาบน้ำแร่ มีทั้งห้องอาบแช่ สำหรับ 3-4 คน ห้องรวมแบบตักอาบและบ่อสำหรับแช่อาบกลางแจ้ง น้ำแร่ที่ใช้ต่อท่อโดยตรงมาจากบ่อน้ำพุร้อน 
มีอุณหภูมิน้ำแร่ประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส
ซึ่งสามารถใช้แช่อาบได้ ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่คือ ช่วยบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูก แต่น้ำแร่จากที่นี่ไม่สามารถใช้ดื่มได้ เพราะมีแร่ธาตุบางชนิดสูงกว่ามาตรฐาน

ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยเส้นทางจะผ่านจุดสื่อความหมาย 19 จุด ผ่านสภาพป่าและพรรณไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด รวมถึงอาจพบสัตว์หายากอย่างนกเขนเทาหางแดงและปลาปุงแห่งลำห้วยแม่มอญ เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับเยาวชนผู้สนใจศึกษาพรรณไม้ต่าง ๆ เช่น ต้นก๋ง กวาวเครือ หรือ ยางปาย ศึกษาระบบนิเวศน์ เช่น วงจรชีวิตหนอนรถด่วน และสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบลานน้ำพุร้อน เช่น อะไรทำให้เกิดบ่อน้ำพุร้อน ทำไมน้ำพุร้อนทำให้ไข่แดงสุกแต่ไข่ขาวเหลว หรือจั๊กจั่นน้ำแร่ เป็นอย่างไร (จั๊กจั่นน้ำแร่จะมีชุกในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) แอ่งอาบน้ำอุ่นนี้เกิดจากน้ำร้อนในบ่อน้ำพุร้อนมาบรรจบกับน้ำเย็นที่มาจาก น้ำตกแจ้ซ้อน สำหรับอุทยานฯ ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเองจาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งจะอยู่ในเส้นทางนี้ด้วย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 60 กิโลวัตต์ ผู้สนใจสามารถขับรถขึ้นไปดูได้ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แต่ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะสภาพทางค่อนข้างเละและชัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก ระยะทางประมาณ 3.7 กิโลเมตร เป็นเส้นทางวงรอบเลียบริมห้วยแม่เปียก ผ่านจุดสื่อความหมาย 16 จุด ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางจะได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ การนำทรัพยากรจากป่ามาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันยาง สารพัดประโยชน์ที่นำมาใช้กับเครื่องยนต์จนถึงทำน้ำมันใส่แผล ไผ่ข้าวหลาม ที่มีเปลือกบางเผาง่าย เมี่ยง(ชา) ที่ใบอ่อนจะนำมานึ่งแล้วหมักทำเป็นเมี่ยงนิยมรับประทานเป็นของว่างใช้ต้อน รับแขกทางภาคเหนือของไทย ยอดอ่อนนำมาอบแห้งแล้วชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา ซึ่งเมี่ยง(ชา)จะมีสารคาเฟอีนออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกาแฟ แหย่ง ใบใช้ห่ออาหารแทนใบตอง หรือนำลำต้นไปตากให้แห้งแล้วสานเป็นเสื่อ หรือแม้แต่การสร้าง ฝายน้ำล้น ที่นำไปผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้ภายในอุทยานฯ ระหว่างเส้นทางถ้าโชคดีอาจพบ หมูป่า และเต่าปูลู ที่มีลักษณะไม่เหมือนเต่าทั่วไปและกำลังจะสูญพันธ์ เต่าปูลูมีหางยาวหัวและขาไม่สามารถหดในกระดองเหมือนเต่าทั่วไป มีความสามารถในการปีนป่ายและกินสัตว์จำพวกปูหรือปลาเป็นอาหาร ในเส้นทางจะพบน้ำตกวังไฮ และน้ำตกแม่เปียกซึ่งน้ำตกแม่เปียกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 3 กิโลเมตร มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น และชั้นที่ 3 จะมีความสวยงามที่สุดโดยมีความสูงประมาณ 100 เมตร ด้านล่างบริเวณแอ่งรองรับน้ำจากน้ำตกจะมีกล้วยป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปทำให้ มีความงามไปอีกมุมมองหนึ่ง
ค่าเข้าชมอุทยานฯ คนไทย ผ้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ขาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก คนละ 100 บาท
สถานที่พัก อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนนอกจากจะได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดเยี่ยมในด้านการออกแบบสิ่งอำนวยความ สะดวกในอุทยานฯ ได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติแล้ว สภาพแวดล้อมภายในอุทยานฯ ยังตกแต่งได้อย่างสวยงามไม่แพ้รีสอร์ทเอกชน เหมาะสำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวแบบครอบครัว สามารถเที่ยวได้ตลอดปี ฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด บ้านพักในอุทยานมีจำนวน 11 หลัง พักได้หลังละ 3-15 คน ราคา 900-3,600 บาท ค่ายพักแรม พักได้ 40 คน ราคา 4,000 บาท อุทยานฯ มีเต็นท์ให้นักท่องเที่ยวเช่า พักได้ 2-5 คน ราคา 150-225 บาท หรือนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าสถานที่กางเต็นท์ คนละ 30 บาท/คืน ในอุทยานฯ ยังมีร้านอาหารสวัสดิการบริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760-2 อุทยานฯ แจ้ซ้อน โทร.      08 9851 3355 9851 หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด มีให้เลือก 2 เส้นทาง คือ
รถยนต์  - จากสนามกีฬาประจำจังหวัดไปตามถนนสายลำปาง-ห้างฉัตร (สายเก่า) เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านน้ำโท้งไปตามถนนสาย 1157 เส้นลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน ไปประมาณ 55 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย 1287 เมืองปาน-แจ้ห่ม ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 1252 เส้นข่วงกอม-ปางแฟง อีก 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเขาอุทยานฯไปตามถนน รพช. อีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ
- จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงหมายเลข 1035 เส้นลำปาง-แจ้ห่ม ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1287 ซึ่งเป็นทางเข้าไปอำเภอเมืองปาน แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยก ใช้ทางหลวงหมายเลข 1252 เส้น ข่วงกอม-ปางแฟน ป่ระมาณ 11กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ ตามถนน รพช. อีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

        - เส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1006 ผ่านอำเภอสันกำแพง แล้วเข้าสู่ถนนสานถ้วยแก้ว-บ้านแม่กำปอง ผ่านบ้านป่าเหมี้ยง ถึงที่ทำการอุทยานฯ
รถโดยสารประจำทาง มีคิวรถโดยสารประจำทางสายลำปาง-แจ้ซ้อนถึงที่ทำการอุทยานฯ อยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ราคา 50 บาท ออกจากลำปางเวลา 08.00-18.00 น. หรือเหมารถประมาณ 350 บาท

 

 
 
 
 
   

ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ

ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา

ไหว้พระ 9 วัด อ่างทอง

ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

ไหว้พระ 9 วัด นครปฐม

ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี

ไหว้พระ 9 วัด สิงห์บุรี

ไหว้พระ 9 วัด เพชรบุรี

ไหว้พระ 9 วัด น่าน

ไหว้พระ 9 วัด ลำปาง

ไหว้พระ 9 วัด ลำพูน

ไหว้พระ 9 วัด เชียงใหม่

ไหว้พระ 9 วัด แม่ฮ่องสอน