"วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร "

ประวัติ วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบาน ประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุน"พระพุทธเสรฏฐมุนีี ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็น สมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่าย แบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัย ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น

ภาพบน พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ ภาพล่าง เป็นพระรอบโบส์

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรี ย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพยด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

ภาพบน พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม การสถาปนาวัดสุทัศนเทพวรารามนั้นปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า ได้สร้างพระวิหารขั้นก่อนเพื่อจะได้ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ที่ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ส่วนพระอุโบสถนั้นได้สร้างต่อภายหลัง

พระประธานในพระอุโบสนั้น โปรดให้หล่อขึ้นใหม่ที่โรงหล่อในพระบรมมหาราชวัง แต่จะเป็นเมื่อใดนั้นยังไม่พบหลักฐานวันเดือนปีที่แน่นอน ในหนังสือตำนานเรื่องวัตถุสถานต่าง ๆ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อ เมื่อทรงสถาปนาพระอารามใหญ่กว่าพระที่หล่อในกรุงรัตนโกสินทร์องค์อื่น ๆ ก็ได้โปรดให้กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ เป็นแม่กองหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไว้ด้วย หนักตักกว้างถึง 10 ศอก 8 นิ้ว (พงศาวดารว่า 10 ศอก 4 นิ้ว) ตามจดหมายเหตุพอสรุปได้ว่า พระอุโบสถน่าจะได้ลงมือก่อน สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2377 ถึง พ.ศ. 2380 การก่อสร้างก็คงเกือบจะเรียบร้อยคงจะได้มุงหลังคาและทำพื้นพระอุโบสถเรียบ ร้อยแล้ว จึงได้อัญเชิญพระประธานมาประดิษฐาน ครั้นถึง พ.ศ.2386 หลังจากผูกพัทธสีมาแล้ว ปรากฏว่าในเดือน 4 ปีเดียวกันนั้น (วันที่ 12 มีนาคม) โปรดให้แห่พระบรมธาตุไปบรรจุพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ในเวลาเช้าและทรงปิดทองพระประธานด้วย

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญพระศาสดาจากวัดประดู่ฉิมพลี มาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ฯ ต่อพระปราธานใหญ่ออกมา ครั้นเมื่อสร้างวิหารวัดบวรนิเวศเสร็จแล้วจึงให้เชิญพระศาสดาไปประดิษฐาน แล้วโปรดให้สร้างพระพุทธรูปใช้ใหม่องค์หนึ่งและพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ นั่งฟังธรรมเทศนาประดิษฐานไว้แทนในพระอุโบสถ ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" ถ้าว่ากันตามสายตาช่างแล้ว พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ ไม่ใช่พระงาม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงวิจารณ์ว่า " เห็นยาวหมดทุกอย่าง ถ้าถือเอาตามแบบว่าทำอะไรเหมือนตัวก็จะต้องคลุมเอาว่า กรมณรงค์นั้นมีพระรูปผอมยาว กรมณรงค์ซึ่งทรงทราบมาว่าเป็นผู้จัดทำพระพุทธรูปโอรสในรัชกาลที่ 2 เมื่อในรัชกาลที่ 3 ได้ทรางกำกับกรมช่างหล่อ " ส่วนสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีความเห็นว่า "พระประธานที่สร้างในกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐวร การแล้ว ไม่มีงามสู้นัยน์ตาเลยสักองค์เดียว ยิ่งพระประธานวัดสุทัศน์เป็นงามน้อยกว่าเพื่อน"

พระพุทธรูป ปางต่างที่ประดิษฐานรอบวัด

  ที่อยู่ติดต่อ

   146 ถนน บำรุงเมือง แขวง วัดราชบพิตร เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
 โทร. 02 622 2819

แผนที่

  ค้นหาข้อมูล

วัดโพธิ์

ช่างชุ่ย

วัดบวรนิเวศฯ

ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

ตลาดน้ำขวัญ-เรียม

ตลาดน้ำตลิ่งชัน