WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

 
อุทยานแห่งชาติภูซาง

เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง  เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลาว น้ำเปื่อย น้ำบง และน้ำญวณ  เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย  นอกจากธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริเวณอุทยานฯ ยังมีเต่าปูลู ซึ่งเป็นเต่าพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ มีขนาดเล็ก ตัวเตี้ย หางยาว และด้วยเป็นเต่าพันธุ์หัวโต ขาทั้ง 4 ข้างและหางไม่สามารถหดเข้ากระดองได้ เวลามีศัตรูหรือภัยมา โดยเฉพาะเวลาเกิดไฟไหม้ป่าจะพบเต่าปูลูถูกไฟไหม้ตายเป็นประจำ เต่าปูลูจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันไฟป่าของเมืองไทย เต่าปูลูเป็นเต่าที่ชอบอยู่ในป่าอุดมสมบูรณ์บนภูเขาสูงใกล้น้ำตกหรือลำห้วย ที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลา สามารถชมเต่าพันธุ์นี้ได้ในเวลากลางคืนขณะ กำลังออกหากิน อุทยานมีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่


อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม

ได้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่อยู่ใน จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 356 ตารางกิโลเมตร หรือ 222,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย เนื้อที่ 67,500 ไร่
ส่วนที่ 2 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปืมและป่าแม่พุง อ.พาน อ.ป่าแดง จ.เชียงราย อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่ปืม และป่าดงประดู่ อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ฮ่องป้อ ป่าห้วยแก้ว และป่าแม่อิงฝั่งซ้าย กิ่ง อ.ภูกามยาว จ.พะเยา เนื้อที่ 248 ตารางกิโลเมตร หรือ 155,000 ไร่  พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปืมอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือ 137,431 ไร่ และอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ประมาณ 136 ตารางกิโลเมตร หรือ 85,069 ไร่ ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืมอยู่ระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติ
ลักษณะภูมิประเทศ


วนอุทยานภูลังกา

สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลงดอยภูลังกา ภาษาชาวเขาเผ่าเมี่ยน เรียกว่า "ฟินจาเบาะ" หมายความว่า "ภูเทวดา" เป็นยอดดอยที่สวยงามมีความสูง 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สูงที่สุดในเทือกเขาสันปันน้ำ ไทย-ลาว ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 7,800 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลผ่าช้าง อ.ปง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นลง และดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีถ้ำหลบภัยของ ผกค.ในอดีต มีน้ำตกสวยงาม


วัดพระธาตุสบแวน

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้

 


อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง

อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง

 


หอวัฒนธรรมนิทัศน์

อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงามจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทหินทราย และเครื่องปั้นดินเผา เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.  อัตราค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 40 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท โทร. 0 5441 0058-9

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ได้รับรางวัลอุตสากรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคเหนือดีเด่น


วัดท่าฟ้าใต้
บนเส้นทางสายปง-เชียงม่วน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311 โดยครูธรรมเสนาและพ่อเฒ่าแสนอัฐิ ผู้นำชาวไทลื้อซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา ลักษณะตัวพระอุโบสถเป็นทรงเตี้ยก่ออิฐถือปูน หลังคาสามชั้นมุงด้วยแป้นเกล็ดตามแบบสถาปัตยกรรมไทยลื้อ องค์พระประธานแกะสลักจากไม้ประดู่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 117.5 เซนติเมตร สูง 227.5เซนติเมตร ซึ่งอัญเชิญมาจากสิบสองปันนา ประดิษฐานบนฐานชุกชีทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมศิลปะไทลื้อ ประดับด้วยลายปูนปั้นรูปเครือเถาลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีแท่นธรรมาสน์ ลักษณะคล้ายมณฑปหรือปราสาท ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบชั้นประดับลายปูนปั้นรูปเครือเถาและสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวาง ช้าง ม้า นกยูง ลักษณะเด่นคือลวดลายดอกไม้ที่แพรวพราวไปด้วยกระจกประดับหลายสี

วัดพระเจ้านั่งดิน

อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์ อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

 

 


วัดนันตาราม

อยู่ที่บ้านดอนไชย ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อไร เป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทยใหญ่ ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วน ประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบัน ระเบียง  เป็นต้น ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรเก่า เครื่องใช้โบราณ ผ้าลายโบราณ ภาพวาดโบราณเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเทศน์มหาชาติแต่ละตอน เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00 - 18.00 น.

 

 


วัดแสนเมืองมา

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ.2351 สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอ เชียงคำนี้ จุดเด่นของวัดอยู่ที่หลังคาวิหารที่ซ้อนลดกันหลายชั้น ไม่นิยมทำหลังคาสูง ตรงหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ซึ่งทำเป็นรูปหงษ์แกะสลัก หรือตัวนาคคาบแก้ว นอกนั้นมีการประดับประดาด้วยไม้แกะสลัก ตกแต่งด้วยสีต่างๆดูงดงามตา ส่วนบานประตูทำด้วยไม่แกะสลักทุกบาน ประตูเข้าสู่พระวิหารจะทำเป็นสามมุข มุขแต่ละทิศทำเป็นสัตว์สามอย่างที่เชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองศาสนา ได้แก่ พญานาค เสือ และ สิงห์ และภายในฝาผนังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วาดเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทลื้อ และพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

ที่ตั้ง113 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ต.หย่วน โทร.0 5445 1399 ี


กว๊านพะเยา 
กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ ๗๐ ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว  เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ ๑๘ สาย ต่อมาในปี ๒๔๗๘ กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิงและ สร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา  เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน  และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๘๓๑ ไร่   เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา   ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา  มีความร่มรื่น  สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก และมีบริการนั่งเรือพายชมทัศนียภาพในกว๊านพะเยา ค่าโดยสารเรือพายคนละ 20 บาท และมีการจัดกิจกรรมเวียนเทียนทางน้ำรอบวัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา ซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อศิลา อายุกว่า 500 ปี ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชาอีกด้วย

วัดอนาลโยทิพยาราม

ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด


วัดศรีโคมคำ

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณี นมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ 


วัดพระธาตุขิงแกง

ห่างจากอำเภอจุนตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านธาตุขิงแกงประมาณ 10 กิโลเมตร แยกขวาเป็นทางเดินไปอีก 300 เมตร ถึงตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาธาตุขิงแกง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกงได้อย่างชัดเจน องค์พระธาตุเป็นทรงล้านนาคล้ายกับพระธาตุสบแวนที่อำเภอเชียงคำ แต่ขนาดใหญ่กว่า

 

 


อนุสรณ์ผู้เสียสละ 

อยู่ห่างจาก ตัวอำเภอเชียงคำตามทางหลวงหมายเลข 1021 ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตยในพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยา และเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้ชมในวันเวลาราชการ เวลา 09.00-16.00 น.


โบราณสถานเวียงลอ

อยู่ห่างอำเภอจุนตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้ว ประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีกประมาณ 12 กิโลเมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมือง เพราะปรากฎซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้างอยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุนไหลลงแม่น้ำอิงด้วย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "สบอิง"


อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง 

ตั้ง อยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังภายในอุทยานฯ มีสัตว์หลายชนิด เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูง นับเป็นอุทยานฯที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือประมาณ 265 ตัว เป็นนกยูงเขียว (หรือนกยูงไทย) ชนิดพันธุ์ย่อยอินโดจีน ฤดูผสมพันธุ์ของนกอยู่ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี


อุทยานแห่งชาติดอยหลวง 
ครอบ คลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย และลำปาง รวมเนื้อที่ 731,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2533 ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นป่าต้นน้ำของกว๊านพะเยา แม่น้ำวังและแม่น้ำลาว สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าหลายชนิดเช่น เลียงผา กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี กระจง หมาใน ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกชนิดต่างๆมากกว่า 150 ชนิด ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อุทยานฯ มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกปูแกง จังหวัดเชียงราย น้ำตกวังแก้วจังหวัดลำปาง และน้ำตกจำปาทอง จังหวัดพะเยา 

วัด ลี 
ตั้งอยู่ที่บ้านหล่ายอิง ใกล้กับดรงเรียนเทศบาล 3 ตำบลเวียง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของเมืองพะเยา สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2038 ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งสร้างถวายแด่พระเจ้ายอดเชียงรายกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ วัดลีเป็นชื่อดั้งเดิม และเป็นคำไทยโบราณทางภาคเหนือ หมายถึง กาดหรือตลาด วัดลี จึงหมายถึงวัดที่อยู่ในย่านชุมชนตลาด ภายใน วัดมีปูชนียสถานที่สำคัญ คือองค์พระธาตุวัดลี และยังพบโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมของโบราณไว้อีกด้วย

น้ำตกห้วยชมพู
ูเป็นน้ำตกที่มีสี สวยงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเดือน กันยายน - ธันวาคม จะพบกับพันธุ์ไม่นานาชนิด ป่าเขาลำเนาไพร   และดอกไม้ตามธรรมชาติ  ที่สวยงาม  ชมทะเลหมอกที่ยอดดอย  ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงาม  ชมถ้ำมหัศจรรย์  มากกว่า  10 แห่ง  ( ถ้ำผนแสนห่า  ถ้ำป่องเปลว  บ่อน้ำทิพย์มหัศจรรย์  ถ้ำกิ่วส้าน  หรือถ้ำโจร   ถ้ำผาสลอน  ท่าผ้าขาว  ถ้ำผาตูบ  ถ้ำพันกานต์  เป็นต้น 

วัดศรีอุโมงค์คำ

ตั้งอยู่ที่ถนนท่ากว๊าน ในตัวเมือง ภายในวัดมีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านนาไทย

 

 


วัดพระธาตุจอมทอง 
ตั้งอยู่บน ดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามวัดศรีโคมคำ มีทางรถยนต์ขี้นไปถึงยอดเขา เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปนมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทองซึ่งเป็นปูชนียสถานโบราณ คู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกขชาติมองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า 

จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการบุกเบิกพื้นที่พัฒนาที่ดินจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ จัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ราษฎรเพื่อยุติการบุกทำลายป่าไม้ จากนั้นส่งเสริมการปลูกไม้ผลเมืองหนาว โดยในช่วงแรกมีการแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าเย้าและม้งปลุกสาลี่ พลับ อโวคาโด และถั่วแดงหลวง พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส

กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ชมแปลงดอกไม้ เช่น เยอบีร่า กุหลาบและแปลงผักตามฤดูกาล ชมสวนลิ้นจี่บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ สัมผัสวิถีของชนเผ่าม้งและเย้า ชมศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา และสามารถเลือกซื้อหัตถกรรมชาวเขา อาทิ การทำผ้าพิมพ์ลายของชาวบ้านสิบสองพัฒนา การปักผ้า และทำของที่ระลึกจากผ้าปัก การทำเครื่องเงิน การทำแคนและสมุนไพรรักษาโรค  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ เช่น ชมดอยภูลังกาเดินป่าในเส้นทางน้ำตกขุนน้ำต้มและดูนก

การเดินทาง  จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1179 เลี้ยวขวาบริเวณกิโลเมตรที่ 8 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1148 (เชียงคำ-น่าน) จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 9 ให้ตรงไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จนถึงศูนย์ฯ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง  การเดินทางที่จะขึ้นดอยภูลังกาต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น

สถานที่พัก  ทางศูนย์ฯ มีบริการบ้านพักรับรอง จำนวน 4 หลัง พักได้ 2-12 คน ราคา 800-2000 บาท และมีเต็นท์พร้อมถุงนอนไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวเช่า ราคา 200 บาท พักได้ 2 คน/เต็นท์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาการโครงการหวงปังค่า บ้านปังค่า ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา โทร. 0 5440 1023, 08 5720 1499 
ดูข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิโครงการหลวงได้ที่


ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี
ตั้ง อยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 723 ตำบลแม่กา ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมสาขาอัญมณีและ เครื่องประดับ ให้แก่เยาวชน ราษฎรในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณี ศึกษาดูงานการเจียรไนพลอย ทำเครื่องประดับเงิน จัดแสดงและจำหน่ายอัญมณีเครื่องประดับ และสินค้าหัตถกรรม 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ของดีเมืองพะเยาอีกด้วย เปิดวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5446 6071-3 โทรสาร 0 5446 6069

ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียง ม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น