WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ชุมชนบางคล้า

รู้จักชุมชน
อำเภอบางคล้า จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444  เดิม นั้นที่ว่าการอำเภอบางคล้า ตั้งอยู่ที่วัดใหม่บางคล้า ตำบลบางสวนในปัจจุบัน เหตุที่เรียกว่าอำเภอบางคล้าก็เนื่องจากว่า บริเวณนั้นเดิมเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งเรียก “บ้านบางคล้า” และมีคลองซอยเล็ก ๆ อีกคลองหนึ่งเรียกกันว่า “คลองบางคล้า” จึงตั้งชื่ออำเภอว่า “อำเภอบางคล้า” และอำเภอนี้ได้ตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ต่อ มาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในบริเวณศูนย์ กลางของอำเภอ การมาติดต่อราชการของราษฎรเป็นไปโดยไม่สะดวกจึงย้ายที่ว่าการไปตั้ง ณ ตำบลเตาสุรา  ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ  5  กิโลเมตร  และเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน  ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อตำบลเตาสุราเป็นตำบลบางคล้าตามนามของอำเภอ
ที่ตั้งและขนาด
- ระยะทางจากอำเภอบางคล้า ถึง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ 25 กิโลเมตร
- จำนวนพื้นที่ของอำเภอบางคล้า ประมาณ 227.9 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ กิ่งอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
- ทิศใต้ ติดกับ อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอราชสาส์น และอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเมือง และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอบางคล้า มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านทางทิศตะวันตก พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม

ชวนเที่ยว
ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkhla Floating Market)
ตั้งอยู่หน้าที่ว่าการ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ตลาดน้ำบางคล้า จัดตั้งขึ้นภายใต้นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของคณะผู้บริหารเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของอำเภอบางคล้า โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งทางเทศบาลตำบลบางคล้า ได้เตรียมการรองรับตลาดน้ำบางคล้าโดยจัดมีการฝึกอบรมอาชีพแก่ประชาชน เช่นบริการนวดเพื่อสุขภาพ การทำอาหาร และทำขนม การประดิษฐ์ของที่ระลึก เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพจริงและสร้างรายได้จริง ตลาดน้ำบางคล้า  มีลักษณะเป็นโป๊ะที่ยื่นลงสู่แม่น้ำบางปะกง และมีการค้าขายสินค้าทางเรือโดยส่วนมาก โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้นเป็นต้น ตลาดน้ำบางคล้ายังมีความพิเศษ ในเรื่องทัศนียภาพที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นป่าชายเลนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ปลา พันธุ์ไม้ต่างๆ หรือแม้แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำที่มีการดักลอบปลา หรือพายเรือจับปลา จับกุ้ง ตลาดน้ำบางคล้าเปิดให้บริการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 - 18.00 น .

ชวนช๊อป
น้ำตาลสด
หมวกกุ้ยเล้ย

ชวนมอง
หมู่บ้านน้ำตาลสด (The Village Raw Sugar)
ตั่งอยู่ที่บ้านปากน้ำ หมู่ที่ 11 ถนน วนะภูติ ตำบลปากน้ำ เป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดพร้อมดื่มแห่งเดียวในภาคตะวันออก สัมผัสวีถีชีวิตของเกษตรกรที่ผลิตน้ำตาลสด ชมกระบวนการผลิตน้ำตาลสด ชมชั้นตอนการผลิตน้ำตาลสดจากต้นตาลโตนด โดยเกษตรกรในแบบดั่งเดิม เริ่มต้นด้วยการปีนต้นตาลสูงระฟ้าเพื่อรองน้ำตาล ต่อด้วยขบวนการต้มน้ำตาลสด ทำน้ำตาลสด ทำน้ำตาลปึก ก่อนส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย ชิมน้ำตาลสดหอมหวาน ก่อนเลือกซื้อกลับเป็นของฝากไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลสด น้ำตาลปึก งวงตาลตัวผู้ซึ่งเชื่อว่ารักษาโรคเบาหวานได้

ชวนทำ
หมวก กุยเล้ย สานด้วยไม้ไผ่เป็นโครง ใช้ใบตาบสอดตามโครง ถ้าเป็นหมวกกุยเล้ยชั้นดีจะมีกระดาษชุบน้ำมันปิดทับใบตาลอีกชั้นหนึ่ง ทำให้กันฝนได้ดีขึ้น แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย เขตตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้าประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ยังคงอนุรักษ์การสานหมวกกุยเล้ย เป็นหัตกรรมพื้นบ้านชิ้นนี้ไว้ ประกอบกับมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบในท้องถิ่น จึงยังคงมีการสานหมวกกุยเล้ยจนถึงปัจจุบันผลงานฝีมือการสานหมวกกุยเล้ยของ อำเภอบางคล้าได้รับรางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์หัตกรรมพื้นบ้านของกระทรวง อุตสาหกรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
วิธีทำหมวกกุยเล้ย
เริ่มต้นสานโครงหมวกตาหยาบและตาละเอียดอย่างละ ๑ ใบ โดยหาไม้ไผ่ลำพอเหมาะนำมาทอน ท่อนละประมาณ 1 เมตร เหลาให้เป็นตอก แยกขนาดไว้สำหรับสานและเก็บขอบ เริ่มสานจากหัวหมวกจนก่อหัวได้แล้วจึงนำมาวางทาบบนแบบและสานต่อจนได้ขนาด เป็นทรงหมวกเก็บขอบให้เรียบร้อย (เม้มขอบ) นำ โครงหมวก ๒ ใบ ที่เตรียมไว้ซ้อนกันใบล่างหยาบ ใบบนละเอียด ใบล่างกรุด้านล่างด้วยใบไผ่แห้ง ใบบนกรุตรงกลางระหว่างหมวก ๒ ใบด้วยกระดาษถุงอาหารชนิดเหนียว เม้นขาดให้เรียบร้อย ถักหมวกโดยใช้ไม้ไผ่งดไขว้กันเป็นสี่ขา เสียบยอดหุ้มด้วยกระดาษใช้คล้าชุบน้ำมันแล้วถักหุ้มหัวหมวกอีกชั้น แล้วใช้คล้ายึดตรึง โครงหมวกให้แน่นตรงขอบหมวกโดยรอบเป็นอันเสร็จขั้นตอน

ชวนชิม
ร้านกินลมชมน้ำ หนึ่งในร้านอาหารบรรยากาศดีของอำเภอบางคล้า ร้านติดริมน้ำ บรรยากาศดี นั่งกินลมสบายๆ ชมแม่น้ำบางปะกง และเกาะลัด ร้านอยู่ห่างจากวัดโพธิ์บางคล้าไปไม่ไกล เส้นทางอาจดูเข้าถนนสายในเงียบเหงาไปหน่อย แต่รับรองความสวยงาม ประทับใจ กับสถานที่ที่จัดแต่งได้เรียบร้อยเหมาะกับการต้อนรับแขก พักผ่อนกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ร้านกินลมชมน้ำ ตั้งอยู่บนถนนประชาเนรมิต โดยผ่านทางหน้าวัดโพธิ์บางคล้าไปก่อน จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าซอยระเบียบกิจอนุสรณ์ 7 จนไปถึงบริเวณร้าน (มีป้ายร้านบอกตลอดทาง)
ร้านอาหารติดริมแม่น้ำแห่งนี้ ใช้พื้นที่บริเวณบ้านของคุณโอกฤต ทัตติยกุลชัย (อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลบางคล้า) โดยมีลูกสาวทั้ง 2 ของท่าน มาช่วยดูกิจการ ร้านเปิดมาได้ไม่นาน ก็สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่แวะมา เพราะได้บรรยากาศแบบนั่งสบายๆ มีลมพัดเอื่อยๆ ชมแม่น้ำสบายตา สมชื่อร้าน การจัดแต่งร้าน โดยรวมทำเป็นสวนหย่อม มีสนามหญ้า และแนวทางเดินเล็กๆ คดโค้งไปจนถึงริมน้ำ ไม้ประดับโดยรอบจัดแต่งได้อย่างเป็นระเบียบ ทั้งไม้พุ่มเล็ก ไปจนถึงไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มากมาย ทำให้บรรยากาศโดยรอบดูสดชื่น ได้ความร่มรื่นจากต้นไม้ แม้จะมาตอนกลางวันก็ไม่ร้อน มีลมพัดเย็นสบายตลอด

ชวนแวะ และ ชวนพัก
วัดแจ้ง (Wat Chaeng)
ตั้ง อยู่บริเวณตลาดบางคล้า มีพระอุโบสถที่งดงาม เป็นศิลปแบบไทยผสมจีน มีรูปปั้นยักษ์ข้างโบสถ์ ไม่ปรากฏว่าสร้างในปีใด ชาวบ้านเล่าต่อๆกันมาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยกทัพไปตีเขมร พระองค์เดินทัพมาจนสว่างที่บริเวณนี้ จึงได้สร้างวัดแห่งนี้และขนานนามว่า “ วัดแจ้ง ”
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (San Prajaotaksin Maharaj )
อยู่ ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3121 ไปอีก 6 กิโลเมตร เข้าตัวอำเภอบางคล้า ผ่านศาลเจ้าตากสินมหาราช แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 500 เมตร หรือสามารถเดินทางโดยทางเรือ จากตลาดตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งท่าเรือจะอยู่บริเวณด้านหลัง ของห้างตะวันออกพลาซ่า มาขึ้นที่ท่าน้ำของวัดก็ได้ วัดโพธิ์บางคล้าเป็นวัดเก่าแก่สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราว พ.ศ.2310-2315 เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เคยใช้บริเวณนี้เป็นที่พักในคราวเดินทัพเพื่อกอบกู้ เอกราช ปัจจุบันมีวิหารเก่าเหลืออยู่หลังหนึ่ง รูปทรงจัตุรมุข ภายในมีพระพุทธรูปไสยาสน์ วิหารหลังนี้บูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อปีพ.ศ.2485 ได้เปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องเกล็ดเต่าสีเขียว และปี พ.ศ.2541 ได้ซ่อมหลังคาโครงสร้างใหม่หมด เพื่อเสริมความแข็งแรง เป็นวัดที่น่าชมอย่างยิ่ง
โบสถ์สีทอง วัดปากน้ำโจ้โล้ ตั้งอยู่ อ. บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ชมพระอุโบสถหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ทาสี ทองทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็น ภาพในหรือหรือนอกตัวอุโบสถ์ ที่งดงามตระการตาเป็น อย่างมาก และภายนอกวัด ก็มี เรือโบราณ ในสมัยก่อนที่อยู่ในยุค สมเด็จพระจ้าตากสิน โชว์ไว้อีด้วย นอกจากนี้ภายในอุโบสถ ยังสามารถลอด ใต้ฐานพระประธานได้เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกด้วย แต่เดิม วัดปากน้ำโจ้โล้ เป็นสำนักสงฆ์ ในอดีตบริเวณนี้เป็น ที่ ตั้งของ ทัพพม่า ซึ่งยกทัพบกทัพเรือไปปะทะกับกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน ต่อมาสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราชทรงมีชัย จึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ปัจจุบันได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นสีทองทั้งหลัง
แผ่นที่ภูมิภาค

จ.ส.ต บรรดิษฐ์ หมวดหอม
ตำแหน่ง : พัฒนาการอำเภอบางคล้า
ติดต่อ : 081-819-8941

 

 


 
 
 
 
 
 
 

ชุมชนคลองเขื่อน

ชุมชนท่าตะเกียบ

ชุมชนบางคล้า