WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ชุมชนท่าตะเกียบ

ส่วนที่ 1
ข้อมูลทั่วไป

ประวัติความเป็นมา
บ้านทุ่งยายชีสภาพพื้นที่เดิมเป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง และมีบ้านเรือนชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 7 – 8 ครัวเรือน ขึ้นกับการปกครองในเขตอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กว่า 240 ปีที่ผ่านมามีแม่ชีท่านหนึ่งเดินทางมาจากจังหวัดจันทบุรี เพื่อมุ่งสู่จะไปเมืองแปดริ้ว(ฉะเชิงเทรา)เพื่อกราบไหว้สักการะองค์หลวงพ่อพุทธโสธร แต่พอเมื่อเดินทางมาถึงทุ่งป่าเต็งรังแห่งนี้ ก็ถึงตรงกับวันเข้าพรรษาพอดี ชาวบ้านในละแวกนั้นจึง ได้เชิญให้อยู่จำศีลปฏิบัติในช่วงเข้าพรรษาอยู่บริเวณนี้ โดยได้ร่วมมือร่วมมือ ร่วมใจสร้างกุฏิเล็ก ๆ หนึ่งหลังเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของแม่ชี ซึ่งแม่ชีผู้นั้นก็อาศัยเป็นที่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีจนสิ้นอายุขัย จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปี พ.ศ. 2320 จึงเรียกมาทุ่งป่าแห่งนี้ว่า ทุ่งยายชี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราจนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไปของชุมชน

- สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบใช้ในทำการเกษตร และเป็นที่พื้นที่ราบป่าไม้อยู่เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน สภาพดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการทำการเกษตร มีอ่างเก็บน้ำคลองสียัดขนาดใหญ่ใช้เพื่อการชลประทาน
- สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์

บ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ท่าตะเกียบ โดยประมาณ ระยะทาง 12 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านเนินกระบก หมู่ที่ 12 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ
ทิศใต้ ติดกับ บ้านน้อยนาดี หมู่ที่ 11 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านชมพู หมู่ที่ 17 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านสวนป่า อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
มีเนื้อที่ จำนวน 3,500 ไร่
- พื้นที่อยู่อาศัย 300 ไร่
- พื้นที่ทำการเกษตร 3,200 ไร่
พื้นที่ทำนา 1,700 ไร่ (ทำนาปีละ 1-2 ครั้ง)
พื้นที่ทำไร่ 1,150 ไร่
พื้นที่ทำสวน 350 ไร่
- พื้นที่การเกษตรในเขตชลประทาน (เขตสูบน้ำด้วยไฟฟ้าคลองชลประทาน) 250 ไร่
จำนวนครัวเรือนและประชากร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 135 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 321 คน ชาย 153 คน หญิง 168 คน
ที่มา : ข้อมูล จปฐ. ปี 2561
ลักษณะการประกอบอาชีพ
อาชีพหลักของครัวเรือน
อาชีพ ทำไร่ จำนวน 45 ครัวเรือน
อาชีพ ทำนา จำนวน 45 ครัวเรือน
อาชีพ ยางพารา จำนวน 7 ครัวเรือน
อาชีพ ค้าขาย จำนวน 10 ครัวเรือน
อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง
อาชีพ รับจ้างทั่วไป จำนวน 18 ครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
1. สินค้าภายในชุมชน เช่น ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวอินทรีย์
2. ผักปลอดสารพิษจากหลุมพอเพียง เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว
3 .พืชผักตามธรรมชาติ เช่น เห็ด ผักกูด เทา
4. ผลิตภัณฑ์ OTOP เช่น เนื้อแดดเดียว ผักปลอดสาร ไข่เค็ม น้ำพริกเผา ข้าวอินทรีย์ ปลาแดดเดียว
ไส้กรอก กล้วยฉาบ ผลไม้แช่อิ่ม หมูตอก
6. ผลิตภัณฑ์สินค้าจากหมู่บ้านข้างเคียง เช่น ผ้าไหม สบู่รังไหม ครีมจากรังไหม วุ้นลูกชุบ หน่อไม้ไผ่ตรงสัปปะรดกวน ไม้กวาดดอกหญ้า เสื้อถักจากไหมพรม สบู่จากฟักข้าว ผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝก ฯลฯ

บริการสาธารณะในหมู่บ้านชุมชน
- วัด จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียน จำนวน 1 แห่ง
- ศาลากลางบ้านหรือศูนย์ จำนวน 1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
- โรงสีข้าว จำนวน 2 แห่ง
- แหล่งท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง
วัฒนธรรมและประเพณี
- สงกรานต์ เดือน เมษายน มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- บุญบั้งไฟ เดือน พฤษภาคม มีการจัดแห่ขบวนบั้งไฟ มีการจัดประกวดขบวนบั้งไฟ
- เทียนพรรษา เดือน กรกฎาคม มีการแห่เทียนพรรษา
- ออกพรรษา เดือน ตุลาคม ทำบุญตักบาตรเทโว

ส่วนที่ 2
การดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

1. ด้านการบริหารจัดการชุมชน
1.1 การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ควบคู่ไปกับคณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัด ซึ่งเกิดจากความเห็นชอบของประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 2 คณะ ประกอบด้วย
(1) คณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัด
1. นายทวี สาธุชาติ ประธานฯ
2 นายหลิม สาธุชาติ รองประธานฯ
3. นายประเสริฐ พรมภิบาล รองประธานฯ
4. นางสาวสมจิต สาธุชาติ เลขานุการฯ
5. นางสาวโฉมถวิล คนป้อม ผู้ช่วยเลขานุการฯ
6. นางจำรัส เอี่ยมโสภา เหรัญญิก
7. นางสาวบุญญาภา ปัญญาวงศ์ ผู้ช่วยเหรัญญิก
8. นายโสภณ เผือกนิสัย ประชาสัมพันธ์
9. นางสอนไล พรมภิบาล ประชาสัมพันธ์
10. นายบุญมี บัวรุ่ง ผู้จัดการ
11. นายทวีศักดิ์ บัวรุ่ง ผู้ช่วยผู้จัดการ
12. นายบรรจง สาธุชาติ กรรมการ
13. นายปราโมทย์ สิงหาชารี กรรมการ
14. นายณรงค์ สุขสวัสดิ์ กรรมการ
15. นายปัญญา วาจาดี กรรมการ
16. นายเนตร ขันคำ ที่ปรึกษา
17. นางสาวพัชญา ทับทิม ที่ปรึกษา

(2) คณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
1. นางจำรัส เอี่ยมโสภา ประธาน
2 นายปราโมทย์ สิงหาชารี รองประธาน
3 นายชัยวัฒน์ งามวงษ์ เหรัญญิก
4 นางสาวบุญญาภา ปัญญาวงศ์ เลขานุการ
5 นางสิริมา เอี่ยมโสภา กรรมการ
6 นายดวน พรมพิบาล กรรมการ
7 นางสาลี่ สานกล้อง กรรมการ
8 นายณัฐพล สาธุชาติ กรรมการ
9 นายสายัณห์ บุญมาก กรรมการ
ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. เป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการบริหารจัดการกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว
2. มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ / การพัฒนาด้านที่พัก / การพัฒนาด้านการจำหน่ายอาหาร
3. ขับเคลื่อนกระบวนการการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของชุมชน
4. สร้างความเข้มแข็ง สร้างความร่วมมือและความสามัคคีของคนในชุมชน
5. จัดเก็บข้อมูลทั่วไปของชุมชน ข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยว และข้อมูลเพื่อการพัฒนาอื่นๆ
ภายใต้ข้อตกลงการบริหารจัดการชุมชน ดังนี้
1. ห้ามจับตัวลั้ง ฝ่าฝืนปรับ ตัวละ 1,000 บาท
2. ห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิดด้วยเครื่องช็อตไฟฟ้าหรือใช้ยาเบือ
3. ผู้ใดเสพ หรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนด จะถูกปรับเป็นเงินเข้างบส่วนกลางของหมู่บ้าน 3,000 บาท
4. ทะเลาะวิวาทภายในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ก่อเหตุ จะถูกปรับเป็นเงิน 3,000 บาท
5. ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล ได้แก่ รถสูบส้วมทำสิ่งปฏิกูลตกหล่น , ขยะทั่วไปและขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ ในที่สาธารณะหรือในพื้นที่ส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตจะถูกปรับเป็นเงินเข้าหมู่บ้าน 1,000 บาทต่อครั้ง
6. ให้ทิ้งขยะลงถังขยะหรือภาชนะที่จัดไว้ ห้ามวางถุงขยะไว้ที่พื้น ยกเว้นถังขยะเต็ม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับ ครั้งละ 100 บาท
7 . หากสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงอื่นใดของสมาชิกออกมาถ่ายอุจจาระในสวนสาธารณะ ถนน ทางเท้าหรือบริเวณบ้านสมาชิกท่านอื่น ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงจะต้องจัดการเก็บกวาดให้เรียบร้อยทันที หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับเป็นเงินครั้งละ 500 บาท
8. ห้ามตัดต้นไม้ หรือเด็ดดอกไม้บนต้น ในเขตพื้นที่สาธารณะภายในหมู่บ้าน ยกเว้นผู้ที่มีหน้าที่โดยเฉพาะหรือมีความจำเป็นด้วยเหตุอันควร หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกปรับ ต้นไม้ต้นละ 500 บาท ดอกไม้ดอกละ 100 บาท
9. ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกปรับครั้งละ 500 บาท

1.2 คนในชุมชนทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี
บ้านทุ่งยายชีมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 135 ครัวเรือน โดยในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ดังนี้
1) มีการประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้รับรู้อย่างทั่วถึง
2) คัดเลือกนักเล่าเรื่องจากชุมชน ฝึกอบรมสร้างทักษะในการเล่าเรื่องของชุมชน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย
1. นายบุญมี บัวรุ่ง
2. นายทวีศักดิ์ บัวรุ่ง
3. นางสาวบุญญาภา ปัญญาวงศ์
4. นายปราโมทย์ สิงหาชารี
5. นางสาวประทุม คำมณี
3) คัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมฝึกฝนการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อพัฒนาทักษะในการให้บริการและ การสื่อสารกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกตามอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 10 คน ประกอบด้วย
1. นางจำรัส เอี่ยมโสภา
2. นายบรรจง สาธุชาติ
3. นายวีระ คงมั่น
4. นายชัยวัฒน์ งามวงษ์
5. นายณัฐพล สาธุชาติ
6. นายสน สร้อยสมยา
7. นายทวีศักดิ์ บัวรุ่ง
8. นายบุญมี บัวรุ่ง
9. นายโสภณ เผือกนิสัย
10. นายวุฒิชัย เอี่ยมโสภา
4) คณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัดร่วมกับคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ร่วมกันดำเนินการสำรวจข้อมูลชุมชนด้านต่างๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ของชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม และทุนชุมชนด้านต่างๆ แล้วนำมาเสนอให้ที่ประชุมของหมู่บ้านทราบ เพื่อร่วมกันวางแผนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน
5) มีการจัดตลาดนัดชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้นำสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
6) ให้บริการการท่องเที่ยวพายเรือคายัคให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัตุรัส/ชมรมจักรยาน/การรับจัดสถานที่ฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานต่างๆหรือนักท่องเที่ยวทั่วไป
7) ประชาชนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มีโอกาสได้นำสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมาเข้าร่วมจำหน่าย เป็นการสร้างเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น ข้าวหลาม ข้าวจี่ เห็ดฟาง ขนมไทย ผ้าไหม ไม้กวาด กระเป๋าผ้าขาวม้า สัปปะรดกวน ผลไม้ตามฤดูกาล ฯลฯ
ซึ่งจากการจัดกิจกรรมในการจำหน่ายสินค้าในชุมชนในห้วงเดือน มกราคม – กรกฎาคม 2561 ส่งผลให้ประชาชนในชุมชน จำนวน 135 ครัวเรือน มีรายได้จากการนำสินค้ามาจำหน่าย เป็นเงิน 235,950 บาท
และในปัจจุบันมีการจำหน่ายสินค้า เช่น ผักปลอดสารพิษจากหลุมพอเพียง อาหารพื้นเมือง ส้มตำ ลูกชิ้น น้ำดื่ม ให้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมและพักผ่อนบริเวณน้ำตกทุ่งยายชี และมีร้านค้าเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดเสาร์ -อาทิตย์
• ข้อมูลชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
ด้านแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย
(1) ฝายมีชีวิต ซึ่งเป็นฝายกั้นน้ำตามหลักของศาสตร์พระราชาที่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และชะลอการชะล้างของลำน้ำในฤดูน้ำหลาก รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ผักกูด เทา ผักน้ำชนิดต่างๆ รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของตัวกิ้งก่ายักษ์ (ลั้ง) ซึ่งฝายมีชีวิตช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับ แหล่งน้ำและผืนป่า
(2) แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกทุ่งยายชี ที่มีความโดดเด่น คือ การสร้างขึ้นด้วยฝายหินทิ้งเพื่อชะลอ
น้ำทำให้เกิดเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม สะอาด ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกชุมชนมาพักผ่อน มีจุดเช็คอิน ถ่ายภาพที่ระลึกบริเวณสะพานเชื่อมรัก รวมทั้งมีการให้บริการเรือคายัคสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความสนุกสนานและท้าทาย
(3) เยี่ยมชมหลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายๆชนิดในบริเวณเดียวกันและมีสัดส่วน ที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้พืชผัก/ต้นไม้แต่ละชนิดเกื้อกูลกันอย่างลงตัว ทำให้มีผลิตผลทางการเกษตรสำหรับบริโภคและจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวหรือนำไปจำหน่ายตลาดนัดชุมชนต่างๆ ทำให้ครัวเรือนลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ รวมทั้งเป็นการเรียนรู้ตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
(4) ให้บริการพายเรือคายัค แก่นักท่องเที่ยว รวมถึงการจัดที่พักแบบ Home Stay ริมสายน้ำคลองสียัด โดยกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัด
(5) มีที่พัก Home Stay สามารถรองรับนักท่องเที่ยว แบบส่วนตัว ครอบครัว หมู่คณะ รวมถึง
เป็นสถานที่รับจัดประชุม สัมมนา ได้จำนวนมากกว่า 70 คน
(6) ชมวิถีชุมชนและร่วมกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง ฝัดข้าวแบบโบราณ การทำน้ำอ้อยจากแรงงานควาย กิจกรรมร้องรำทำเพลงยามค่ำคืน ชมวิถีชีวิตกรีดยาง ชมช้างป่า พายเรือเก็บผักกูด
1.4 ประโยชน์จากทุนชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
(1) ทุนทางธรรมชาติ
บ้านทุ่งยายชี ม. 3 ต. ท่าตะเกียบ เป็นชุมชนที่เป็นทางผ่านของสายน้ำที่มีชื่อว่า “ คลองสียัด” ซึ่งเป็นทางผ่านของน้ำจากเขื่อนสียัด ที่มีระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร เป็นความสวยงามของลำคลองที่คดเคี้ยว และริมสองฝั่งของลำน้ำมีธรรมชาติที่สวยงาม ร่มรื่น นับเป็นทุนทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของบ้านทุ่งยายชี
(2) ทุนทางกายภาพ
ประชาชนในหมู่บ้านทุ่งยายชี มองเห็นถึงความสวยงามของคลองสียัดที่ไหลผ่าน กอร์ปกับแนวนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในชุมชน โดยการทำฝายชะลอน้ำกั้นคลองสียัด เป็นระยะๆจึงก่อให้เกิดเป็น น้ำตกทุ่งยายชี ไหลตลอดเวลาและเกิดบริเวณน้ำที่กว้าง มีความสะอาดเหมาะสำหรับให้นักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจ และคนในชุมชนมีแนวคิดในการสร้างจุด Check in ในชุมชน ด้วยการร่วมแรงร่วมใจในการสร้าง สะพานเชื่อมรัก ซึ่งเป็นทุนทางกายภาพของหมู่บ้านแห่งนี้
(3) ทุนมนุษย์/ ทุนทางสังคม
ประชาชนในหมู่บ้านทุ่งยายชี เป็นคนพื้นถิ่นที่อาศัยในหมู่บ้านนี้มาเป็นเวลานาน จึงมีความสนิทสนม มีความเป็นพี่เป็นน้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เสมือนเครือญาติ จึงก่อให้เกิดความรักความสามัคคี มีความร่วมมือร่วมใจ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเป็นอย่างดี จึงสามารถดำเนินการตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ทุนทางวัฒนธรรม
ชุมชนบ้านทุ่งยายชี เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เช่น การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง ฝัดข้าวแบบโบราณ การทำน้ำอ้อยจากแรงงานควาย กิจกรรมร้องรำทำเพลงยามค่ำคืน ชมวิถีชีวิตกรีดยาง ชมช้างป่า พายเรือเก็บผักกูด
(4.1) อาหารพื้นถิ่น เช่น เมนูอาหารจากผักกูด ข้าวหลาม ข้าวจี่ เมนูอาหารแปรรูปชนิดต่างๆจากผลผลิตทางการเกษตร
(4.2) ความเชื่อ ชาวบ้านทุ่งยายชีและประชาชนในอำเภอท่าตะเกียบ มีความเชื่อและศรัทธา จากเจ้าพ่อเขากา ซึ่งเป็นทหารเอกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะมีพิธีบวงสรวง กราบไหว้อยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุ่งยายชีและของอำเภอท่าตะเกียบ
ซึ่งจากข้อมูลทุนชุมชนต่างๆคณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัดและคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จึงได้มีการพัฒนา/ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น/ แหล่งท่องเที่ยว มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กันอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้มีนักข่าว นักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเยี่ยมชมและช่วยเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หลากหลายสาขา เช่น ข่าว TV / สารคดี / Youtube /Web block ฯลฯ

1.5 แผนธุรกิจชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
ที่
แผนธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน
1
แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า ของที่ระลึกและอาชีพ สนับสนุนการท่องเที่ยว
-มีผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนเพิ่มขึ้น 10 ผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียน OTOP
- มีการรวมกลุ่มสัมมาชีพเพื่อผลิตสินค้า/ของที่ระลึก สนับสนุน การท่องเที่ยว
2
แผนพัฒนาด้านกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนการท่องเที่ยว
-มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ทำสวนหย่อมพร้อมทั้งปลูกดอกไม้ ทั้งสองฝั่งถนนเข้าหมู่บ้าน
3
แผนพัฒนาด้านที่พักสนับสนุนการท่องเที่ยว
- มีการเพิ่มจำนวนบ้านพักHome – Stay ขึ้น จำนวน 5 หลัง
4
แผนพัฒนาด้านการจำหน่ายอาหาร/เครื่องดื่ม สนับสนุนการท่องเที่ยว
- มีการจัดทำเมนูอาหารและเครื่องดื่มประจำถิ่นเพิ่มเติม จำนวน 6 รายการ
5
แผนพัฒนากิจกรรมบริการนักท่องเที่ยว
- มีการเพิ่มกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเก็บผักจากหลุมพอเพียงมาประกอบอาหาร
6
แผนพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม การจัดการขยะ รองรับปริมาณการท่องเที่ยว
- มีการเพิ่มปริมาณจำนวนถังขยะจำนวน 10 ถัง
- มีการซ่อม / ปรับปรุงแคร่ไม้ไผ่ให้มีสภาพที่แข็งแรงและมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ
7
แผนบริหารจัดการการท่องเที่ยว การเงิน การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
- มีการจัดเก็บค่าจอดรถและจัดทำสถิติบันทึกจำนวนนักท่องเที่ยว
- มีการทำแบบสอบถามเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็น
8
แผนพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว
- จัดประชุมคณะกรรมการทั้ง 2 คณะทำงานเป็นประจำทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้ง
- ประชุมทำความเข้าใจ / ชี้แจงผลการดำเนินงาน / รับฟังข้อเสนอแนะ กับประชาชนเป็นประจำทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง

ที่
แผนธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน
9
แผนรับมือภาวะฉุกเฉินต่างๆ
- ส่งทีมกู้ภัยไปอบรมหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือหรือดูแลผู้ประสบภัยเบื้องต้น
- ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะอากาศอย่างใกล้ชิด
1.6 การปรับปรุงภูมิทัศน์
บ้านทุ่งยายชี บริหารจัดการชุมชนด้วยคณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัด และคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเกิดจากมติและความเห็นชอบของคนในชุมชน จึงได้ร่วมมือกันในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม หน้าบ้านน่ามอง รวมถึงการจัดการทำป้ายบอกทาง ป้ายประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. ทำความสะอาดหน้าบ้าน
2. ป้ายบอกทาง
3. ป้ายเตือนภัยต่างๆ
4. แผนที่ท่องเที่ยว
5. ป้าย Home stay
6. จุด Check in
7. มีกฎระเบียบในการท่องเที่ยว
8. มีเวรยามในการคอยดูแลความปลอดภัย

• การเชิญชวนมาเที่ยวบ้านฉัน
(1) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การจัดทำ Clip วิดีโอ การท่องเที่ยวชุมชน บ้านทุ่งยายชี และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทีวี ช่อง NBT / Thai PBS
2. การเสนอข่าวการท่องเที่ยวบ้านทุ่งยายชี ผ่านสื่อโทรทัศน์
3. การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
4. การจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวชุมชน
5. การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การแสดงควาย/ การตำข้าวแบบโบราณ/ การแสดงกลองยาว / เชิญดารามาทำข่าว
6. การจัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ณ ตลาดร้อยร้าน
7. จัดกิจกรรมเปิดเทศกาลล่องเรือคายัค โดยนายกิตติพันธ์ โรจนชีวะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2560
8. จัดกิจกรรมพิธีเปิดการสร้างฝายมีชีวิต ต่อชีวิตคลองสียัด โดยนายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560
9. จัดกิจกรรมพิธีเปิดตำนานฝายมีชีวิต พายเรือคายัคหมู่บ้านท่องเที่ยว อำเภอท่าตะเกียบ โดยนายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561
10. การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ โดย นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561
11. การจัดงานรวมพลังขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2561 โดยนายสุวิทย์ คำดี/พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย/ดาราแหม่ม จินตหรา/ โย ทัศวรรณ /ตุ๊ก ดวงตา/ปู โลกเบี้ยว
(2) ด้านภูมิปัญญา
1. ด้านเกษตรกรรม นายปราโมทย์ สิงหาชารี เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับ การทำนา
2. ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม นางนิ่ม ดารารัตน์ เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจักสาน
3. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ/ สิ่งแวดล้อม นายทวี สาธุชาติ เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ควายไทย และเป็นครูฝายตามศาสตร์พระราชา
4. ด้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ประเพณี นายสายัณห์ บุญมาก เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับ การตีกลองยาว การร้องเพลง
(3) ประเพณีพื้นบ้าน
• วันสงกรานต์
• วันลอยกระทง
• วันเข้าพรรษา/วันออกพรรษา
• วันสักการะปู่เขียน
(4) ผลิตภัณฑ์/ สินค้าชุมชน
1. ข้าวหลาม
2. ข้าวอินทรีย์
3. ข้าวจี่
4. หมูตอก
5. ไข่เค็ม
6. ผักปลอดสาร
7. กล้วยฉาบ
8. ผลไม้แช่อิ่ม
9. เนื้อแดดเดียว
10. น้ำพริกเผาไข่เค็ม
11. ปลาแดดเดียว
ซึ่งข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนได้นำมาจัดวางไว้อย่างเป็นระบบ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้มาเยี่ยมชม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แนะนำสินค้าในชุมชนมาวางจำหน่าย ณ สถานที่ท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านในวงกว้าง

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
2.1 เอกลักษณ์เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์
บ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากมีน้ำไหลผ่านตลอดปี ด้วยมีน้ำมาจากเขื่อนสียัด จึงทำให้ชาวนาในพื้นที่นี้สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่าง เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเป็นพื้นที่ๆมีผลผลิตข้าวเป็นจำนวนมากและคุณภาพดี ทั้งยังได้รับการส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ การทำนาอินทรีย์และจากการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า การแปรรูปจากข้าวเป็นอาหารพื้นถิ่นมีมากมายหลายประเภท และมีความเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่น คือ การสักการะเจ้าพ่อเขากาด้วยข้าวหลาม ซึ่งเป็นการแปรรูปอาหารและถนอมอาหารสำหรับนักรบหรือขุนศึกในสมัยโบราณเพื่อใช้เป็นเสบียงในการเดินทางไปทำศึก ดังนั้น เพื่อเป็นการสักการะบูชาเจ้าพ่อเขากา ซึ่งเป็นขุนศึกของพระเจ้าตากสินมหาราช ในครั้งยกทัพมาทำศึกที่เมืองจันทน์ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารพื้นถิ่นของชุมชน จากมูลเหตุดังกล่าวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านทุ่งยายชี จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ตามขั้นตอนดังนี้
(1) การจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้เวทีการประชุมของหมู่บ้าน ทั้งที่มีความชำนาญอยู่แล้วและเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตามกลุ่มสนใจ ได้แก่
(1.1) ข้าวอินทรีย์
(1.2) หมูตอก
(1.3) แหนม
(1.4) ไข่เค็ม
(1.5) ผักปลอดสาร
(1.6) เนื้อแดดเดียว
(1.7) น้ำพริกเผาไข่เค็ม
(1.8) กล้วยฉาบ
(1.9) ปลาแดดเดียว
(1.10) ไส้กรอก
(2) จัดกลุ่มสนใจเพื่อการวางแผนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นรายกลุ่ม
(3) จัดหาวิทยากรมาฝึกประสบการณ์และสร้างการเรียนรู้
(4) สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่กลุ่มและส่งเสริมการขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น อย, มผช เป็นต้น
(5) สนับสนุนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
(6) นำสินค้าไปจำหน่ายในกิจกรรม / Event ต่างๆ
(7) ประเมินความรู้และติดตามเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.2 เมนูอาหารพื้นถิ่น
ด้วยวิถีชีวิตของคนบ้านทุ่งยายชี ที่มีวิถีชีวิตอยู่กับผืนป่าและธรรมชาติ จึงทำให้มีผลิตผล ที่หลากหลาย เช่น เห็ดป่า ผักกูด เทา (สาหร่ายน้ำจืด) และผักต่างๆ จึงทำให้มีเมนูอาหารของคนพื้นถิ่น เช่น แกงลูกกล้วย (แกงกะทิกล้วยดิบ) แกงเห็ดป่า อาหารจากผักกูด ( ผัด ยำ ทอด ) น้ำพริกผักจากหลุมพอเพียง ขนมหน่อไม้ ปลาแดดเดียวทอด น้ำใบเตย ยำสาหร่ายน้ำจืด (เทา)

แกงลูกกล้วย อาหารจากผักกูด

ปลาแดดเดียวทอด น้ำพริกผักจากหลุมพอเพียง

ขนมหน่อไม้ น้ำใบเตย

ยำสาหร่ายน้ำจืด (เทา) แกงเห็ดป่า


3. ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ
3.1 มีกิจกรรมท่องเที่ยวและโปรแกรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดังนี้
(1) โปรแกรมท่องเที่ยว 1 วัน ราคา 399 บาท /คน
“ หนีร้อนนอนน้ำ ชุ่มช่ำหัวใจ ท่องเที่ยวไทย สไตล์ทุ่งยายชี ”
“ หนีร้อนนอนน้ำ ชุ่มช่ำหัวใจ ท่องเที่ยวไทย สไตล์ทุ่งยายชี ”

พายเรือคายัค พักผ่อนน้ำตกทุ่งยายชี ชมวิถีชีวิตการแสดงควาย หลากหลายความรู้ ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง

โปรแกรมนี้ประกอบด้วย 1. พายเรือคายัค พร้อมอุปกรณ์ 2. การแสดงวิถีชีวิต คนกับควาย

2. โปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 399 บาท /คน
“ เที่ยวทุ่งยายชี ดูวิถีชาวสวนยาง เปิดโลกกว้างดูช้างป่า ตื่นตาน้ำตก ดูนกชมไม้ พายเรือไปเที่ยวคลองสียัด”
“ เที่ยวทุ่งยายชี ดูวิถีชาวสวนยาง เปิดโลกกว้างดูช้างป่า ตื่นตาน้ำตก ดูนกชมไม้ พายเรือไปเที่ยวคลองสียัด”

วันที่ ๑ เดินทางถึงบ้านทุ่งยายชี พักผ่อนตามอัธยาศัย สามารถเล่นน้ำตกคลายร้อนได้ที่น้ำตกทุ่งยายชี ตอนเย็น รับประทานอาหารเย็น หลังจากนั้นเราจะพาไปเปิดประสบการณ์ครั้งใหม่ในชีวิตด้วยการไปดูช้างป่าที่ออกมาหากินในยามค่ำคืนในพื้นที่ อ.ท่าตะเกียบ เสร็จแล้วกลับมาพักผ่อนยังบ้านพักภายในหมู่บ้าน
วันที่ ๒ ตอนเช้า ไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวสวนยางพารา กลับมารับประทานอาหารเช้าและเตรียมตัวไปพายเรือคายัค ล่องคลองสียัด
๑๐.๐๐ น.พายเรือคายัค ล่องคลองสียัด ระหว่างสองข้างทางจะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติและบางครั้งอาจจะได้พบตัวลั้ง ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานประจำถิ่นของที่นี่ สัตว์ชนิดนี้จะช่วยบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในบริเวณนี้ ระยะทางการพายเรือประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร ประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานอาหารกลางวัน ก่อนเดินทางกลับสามารถเดินศึกษาดูหลุมพอเพียงแหล่งเสบียงของหมู่บ้านได้
หมายเหตุ โปรแกรมนี้ประกอบด้วย
- ค่าพายเรือคายัคและอุปกรณ์
- ค่าอาหาร ๓ มื้อ พร้อมเครื่องดื่มและอาหารว่าง
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ (นอนรวม) ห้องพัดลม คนละ 200 บาท ห้องแอร์ คนละ 300 บาท
กระท่อม หลังละ 500 บาท
- ชมช้างป่า
- สัมผัสวิถีชาวสวนยาง

3.2 มีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวกับชุมชนอื่น
(1) เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับหมู่บ้านอื่น (บ้านอ่างเตย – บ้านทุ่งยายชี) (ราคา 499 บาท / ท่าน)
“ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงหม่อนไหม และชมการสาธิตการทอผ้าไหมจากบ้านอ่างเตย หลังจากนั้นกลับมาผักผ่อนพายเรือคายัคล่องคลองสียัด สัมผัสบรรยากาศสองฝั่งคลอง

(2) มีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวกับหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หมู่บ้านอื่น
“เดินขึ้นผาหินโยก ไหว้พระขอโชคขอลาภ กราบพระ ณ ศูนย์วิปัสสนา ขึ้นห้างชมช้างป่า ณ ฝายมีชีวิตบ้านเนินน้อย จับจ่ายใช้สอย ณ ตลาดร้อยร้าน เบิกบานใจที่น้ำตกทุ่งยายชี”

(3) การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเมืองหลัก และเมืองรอง โดยสามารถเดินทางแวะเที่ยวชมกิจกรรมของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเขาหินซ้อน ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคามซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอท่าตะเกียบเพียง 40 กิโลเมตรจากนั้นเดินทางต่อไปยังตลาดน้ำบางคล้า อำเภอบางคล้า ไหว้พระพุทธโสธรในตัวจังหวัดหรือจะเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียงเช่น ปราจีนบุรี สระแก้ว ซึ่งเป็นทางผ่านประตูสู่อีสาน อีกเส้นทางหนึ่งด้วย

3.3 มีการจัดการที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวอย่างพอเพียง
(1) มีที่พักภายในชุมชน จำนวนเพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว และมีความหลากหลายรูปแบบที่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักได้ตามความต้องการ แบ่งเป็น
- โฮมสเตย์
1. พักรวมห้องพัดลม คนละ 200 บาท
2. พักรวมห้องแอร์ คนละ 300 บาท
- กระท่อม หลังละ 500 บาท พักได้ 2 ท่าน

(2) มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ได้แก่
- มีร้านค้า ร้านอาหารให้บริการ

- มีจุดบริการนักท่องเที่ยว

- มีป้ายบอกทาง

- มีป้ายเตือนตามจุดต่างๆ

- มีป้ายสื่อความหมายและชี้แจงการใช้พื้นที่ (ป้ายบอกทาง ป้ายชื่อหมู่บ้าน แผนผังชุมชน)

3.4 นักเล่าเรื่องชุมชน
คณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวอนุรักษ์คลองสียัดและคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว otop นวัตวิถี ได้พิจารณานักเล่าเรื่องชุมชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด เข้ารับการฝึกอบรม 4 วัน ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย
1. นายบุญมี บัวรุ่ง ซึ่งมีความสามารถด้านภาษาไทย
2. นายทวีศักดิ์ บัวรุ่ง ซึ่งมีความสามารถด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. นางสาวบุญญาภา ปัญญาวงศ์ ซึ่งมีความสามารถด้านภาษาไทย
4. นายปราโมทย์ สิงหาชารี ซึ่งมีความสามารถด้านภาษาไทยและภาษาพื้นถิ่น
5. นางสาวประทุม คำมณี ซึ่งมีความสามารถด้านภาษาไทยและภาษาพื้นถิ่น
และนักเล่าเรื่องชุมชนเป็นบุคคลที่นำนักท่องเที่ยวเข้าสู่เรื่องราวของเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของบ้านทุ่งยายชี รวมทั้งเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
3.5 ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
จากการดำเนินงานตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว otop นวัตวิถี ส่งผลให้ครัวเรือนมีอาชีพเพิ่มขึ้น 30 ครัวเรือน มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ในห้วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2561 เป็นเงินทั้งสิ้น 60,000 บาท

ส่วนที่ 3
สรุปผลการดำเนินงาน

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาชุมชน การนำชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มาขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างการบริหารจัดการชุมชน ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยใช้ทุนชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
การนำหลักคิดแนวทางและขั้นตอนในการนำแนวคิดการพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ด้วยนวัตกรรมให้มีการพัฒนาสินค้า OTOP และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การสร้างรายได้ โดยการสร้างสรรค์ทุนชุมชน ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม เสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนด้วยโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นกับบ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้
1. สถานที่ท่องเที่ยว เล่นน้ำน้ำตกทุ่งยายชี เช็คอิน และตลาดร้อยร้าน เกิดขึ้นในชุมชน บ้านทุ่งยายชี จากการจัดระเบียบ ปรับปรุง คลองสียัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ น้ำใสสะอาด เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ให้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ที่กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก ปลอดภัย ซึ่งเกิดจากเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมกันคิดร่วมกันทำของคนในชุมชน
2. ผู้นำ ประชาชนในหมู่บ้านทุ่งยายชีมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความรักความสามัคคี และมีความเสียสละต่อส่วนรวม มีจิตใจดี มีเมตตา มีการทำงานเพิ่มขึ้น มีการรวมกลุ่มกันในการประกอบกิจกรรมต่างๆ มีการกำหนดระเบียบ กติกา ชุมชน และปฏิบัติร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล
3. ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ ที่โดดเด่นเกิดจาก ภูมิปัญญา และการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตโดยใช้นวัตกรรม เติมแต่งให้ผลิตภัณฑ์น่าสนใจ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน 135 ครัวเรือน มีรายได้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. 38,000 / คน / ปี
4. การค้นพบประเพณีวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความเป็นเอกลักษณ์และตัวตนของคนบ้านทุ่งยายชีสู่สังคมอย่างกว้างขวาง
จากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่พลิกเปลี่ยนวิธีคิดในการสร้างอาชีพสร้างรายได้จากการนำผลผลิตไปจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก เปลี่ยนเป็นให้บุคคลภายนอกได้เข้ามารับรู้สัมผัสความเป็นตัวตนที่แท้จริงและได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าของชุมชนที่มอบให้เป็นการดีต่อใจทั้งผู้รับและผู้ผลิต ส่งผลให้คนในชุมชน มีความรักและหวงแหนประเพณีวัฒนธรรมเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวิถีของชุมชน รวมถึงเป็นการส่งต่อสิ่งที่ ดีงามของพื้นถิ่นสู่ลูกหลานให้สืบต่อและมีความยั่งยืนต่อไป

หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
“บ้านทุ่งยายชี”

หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำนำ

กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีแนวคิดการพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ด้วยนวัตกรรม ให้มีการพัฒนาสินค้า OTOP และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การสร้างรายได้โดยการขายสินค้า/ผลิตภัณฑ์/งานบริการที่มีอยู่ในชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว และสร้างสรรค์ทุนชุมชน ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม เสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและเกิดกระบวนการเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยใช้ทุนชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง บ้านทุ่งยายชี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนที่มีศักยภาพของทุนชุมชนครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาเป็นสินค้าและบริการ รวมทั้งมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน / ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

คณะผู้จัดทำ
กรกฎาคม 2561

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1
ส่วนที่ 2 การดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 4
การบริหารจัดการชุมชน 4
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 11
การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ 13
ส่วนที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน 22

 

 


 
 
 
 
 
 
 

ชุมชนคลองเขื่อน

ชุมชนท่าตะเกียบ

ชุมชนบางคล้า